เมื่อตะวันยอแสง..เรี่ยวแรงก็เริ่มอ่อนล้า..พักลงตรงนี่ที่เดิมแล้วหลับตา..
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
27 พฤศจิกายน 2558
 
All Blogs
 
ทรงเป็นนักดนตรีที่ยิ่งใหญ่ ทรงเป็นดุริยกวีที่ยิ่งใหญ่ และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่


siamhealthandbeauty-king2

ดร.สุทิน ลี้ปิยะชาติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านการดนตรีเป็นอย่างสูง ด้วยทรงตระหนักถึงความสำคัญของดนตรีว่าช่วยทำให้จิตใจสบาย ดังพระบรมราโชวาทพระราชทานเนื่องในงานวันสังคีตมงคลครั้งที่ 2 ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2512 ความตอนหนึ่งว่า

“…ดนตรีนี้มีไว้สำหรับให้บันเทิง แล้วก็ให้จิตใจสบาย…”

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เพลงไว้มากกว่า 40 เพลง ซึ่งเป็นที่นิยมของคนไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งประชาชนได้อัญเชิญและนำบทเพลงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนำมาบรรเลงในรูปแบบต่างๆ มากมาย ทั้งที่บรรเลงในลีลาเพลงแจ๊ส คลาสสิค เพลงสมัยนิยม บทเพลงขับร้องและบทบรรเลง เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2507 สถาบันการดนตรีเมืองเวียนนา [The Institute of Music and Arts of the City of Vienna] ได้ทูลเกล้าฯ ถวายประกาศนียบัตร และสมาชิกกิตติมศักดิ์ เมื่อปี 2530 และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาดนตรี เมื่อปี 2536 รวมทั้ง มหาวิทยาลัยมหิดลได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาดนตรีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

     ต่อมาในปี 2536 มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดตั้งโครงการวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ขึ้น เพื่อที่จะจัดการเรียนการสอนวิชาการดนตรี ในระดับอุดมศึกษาอย่างจริงจังมากขึ้น ให้สามารถเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกได้ทุกสาขาวิชา เพื่อพัฒนาวิชาการดนตรี ผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ทั้งด้านครูดนตรี นักวิชาการดนตรีและการแสดง โครงการจัดตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ นับเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 50 ปี

1259668418

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักดนตรีที่ยิ่งใหญ่ ทรงเป็นดุริยกวีที่ยิ่งใหญ่ และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่

     ในวันนี้ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่เปรียบมิได้ กระผมขออัญเชิญพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับการเล่นดนตรีเพื่อการพัฒนาจิตใจให้เข้มแข็งเพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาสังคมร่วมกัน โดยได้รับความสนับสนุนด้านข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและมูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์ ดังนี้

     พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานภายหลังที่สถาบันดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนาทูลเกล้าฯ ถวายประกาศนียบัตรเกียรติคุณชั้นสูง ให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์หมายเลข 23 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสตอบเป็นภาษาเยอรมัน (ต่อมา ม.ล.เดช สนิทวงศ์ ได้แปลและถ่ายทอดเป็นภาษาไทย) กล่าวถึงความสำคัญของดนตรี ความตอนหนึ่งว่า

“…ดนตรีทุกชนิดเป็นศิลปะที่สำคัญอย่างหนึ่ง มนุษย์เกือบทั้งหมดชอบและรู้จักดนตรี ตั้งแต่เยาว์วัยคนเริ่มรู้จักดนตรีบ้างแล้ว ความรอบรู้ทางดนตรีอย่างกว้างขวางย่อมขึ้นกับเชาวน์ และสามารถในการแสดงของแต่ละคน อาศัยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า ในระหว่างศิลปะนานาชนิด ดนตรีเป็นศิลปะที่แพร่หลายกว่าศิลปะอื่นๆ และมีความสำคัญในด้านการศึกษาของประชาชนทุกประเทศด้วย…”

     พระบรมราโชวาทพระราชทาน เนื่องในงานสังคีตมงคล ครั้งที่ 2 ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร วันที่ 31 กรกฎาคม 2512 ความตอนหนึ่งว่า

“…ดนตรีนี้มีไว้สำหรับให้บันเทิง แล้วก็ให้จิตใจสบาย ดนตรีนี่คือเสียง แต่สิ่งประกอบยังมีว่า เสียงนั้นเป็นเสียงอะไร นั่นน่ะ ยังเป็นคุณภาพของเสียง …พวกเราเป็นนักดนตรี นักเพลง นักเกี่ยวข้องกับเรื่องศิลปะในด้านการแสดง การแสดงโดยเฉพาะดนตรี พวกเรานี่มีความสำคัญมาก ไม่ใช่น้อยสำหรับส่วนรวม เพราะว่าดนตรีนั้น เป็นสิ่งหนึ่งที่จะแสดงออก ซึ่งความรู้สึกของชนหมู่หนึ่ง ในที่นี้ชนคนไทยก็คือ ประชาชนคนไทยทั้งหลาย จะแสดงความรู้สึกออกมา หรือจะรับความรู้สึกที่แสดงออกมา ก็ด้วยดนตรี พวกเราที่เป็นนักเพลงนักดนตรี จึงมีความสำคัญยิ่ง…”

02747_003

     พระราชดำรัสพระราชทานในโอกาสที่คณะกรรมการของสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยฯ เฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเงินเพื่อสมทบทุน “โครงการพัฒนาตามพระราชประสงค์” ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2525 ความตอนหนึ่งว่า

“…ดนตรีนี้มีอานุภาพสูงมาก ทั้งไม่ต้องเสียสตางค์อะไรเท่าไร คือว่าขีดเขียนไปนิดหน่อยแล้วก็เล่นไปก็ทำให้คนเขาเกิดความปีติยินดีเกิดความพอใจได้ความรู้สึกได้ บางทีก็เกิดปลาบปลื้มจนขนลุกก็มี แต่ในที่สุดก็แสดงว่า ถ้าเราทำไปๆ ก็อาจจะล้างสมองเขาได้ อาจจะทำให้จิตใจเขาเปลี่ยนไปได้ ฉะนั้นการดนตรีนี้ก็เป็นประโยชน์ต่อคนทั่วไปที่ไม่ได้เล่นดนตรี ไม่ได้แต่งเพลง ไม่ได้ร้องเพลงแต่ก็ฟังเพลงก็ถึงจิตใจของเขาได้ เท่ากับทำให้จิตใจเขามีความเบิกบานก็ได้ ความเศร้าหมองก็ได้ ความตื่นเต้นก็ได้ ชักจูงต่างๆได้ นื่คือความสำคัญของการดนตรีซึ่งเหนือศิลปะอื่นๆ ฉะนั้น การดนตรีนี้จึงมีความสำคัญสำหรับประเทศชาติสำหรับสังคม ถ้าทำดีๆ ก็ทำให้คนเขามีกำลังใจที่จะปฏิบัติงานการ ก็เป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งให้ความบันเทิง ทำให้คนมีกำลังท้อใจมีกำลังใจขึ้นมาได้ คือเร้าใจได้ คนกำลังไปทางหนึ่งทางที่ไม่ถูกต้อง ก็อาจจะดึงให้กลับมาในทางที่ถูกต้องได้ ฉะนั้นดนตรีนี้ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง จึงพูดได้กับท่านทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการดนตรีในรูปการณ์ต่างๆว่ามีความสำคัญ และต้องทำให้ถูกต้อง ต้องทำให้ดีทั้งถูกต้องในทางหลักวิชา ของการดนตรีอย่างหนึ่ง และก็ถูกต้องตามหลักวิชาของผู้ที่มีศีลมีธรรมมีความซื่อสัตย์ สุจริต ก็จะทำให้เป็นประโยชน์อย่างมาก เป็นประโยชน์ทั้งต่อส่วนรวมทั้งส่วนตัว เพราะก็อย่างที่กล่าวว่าเพลงนี้มันเกิดความปีติภายในของตัวเองได้ ความปีติในผู้อื่นได้ ก็เกิดความดีได้เกิดความเสียก็ได้ ฉะนั้นก็ต้องมีความระมัดระวังให้ดี…”

5-71

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับดนตรีว่าเป็นเหมือนเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาจิตใจผู้ฟังและผู้เล่นให้สงบ ด้วยทรงให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพจิตให้เข้มแข็งเป็นพื้นฐานก่อนนำมาซึ่งสุขภาพกายที่สมบูรณ์ ดังพระราชดำรัสพระราชทานในโอกาสที่คณะจิตแพทย์ นักวิชาการสุขภาพจิตอาจารย์จากมหาวิทยาลัย และผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันต่างๆ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 ความตอนหนึ่งว่า

     “…สุขภาพจิตและสุขภาพกายนั้น พูดได้ว่าสุขภาพจิตสำคัญกว่าสุขภาพกายด้วยซ้ำ เพราะว่าคนไหนที่ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแต่จิตใจฟั่นเฟือนไม่ได้เรื่องนั้น ถ้าทำอะไรก็จะยุ่งกันได้ กายที่แข็งแรงนั้นจะไม่เป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือสังคมอย่างใด ส่วนคนที่สุขภาพกายไม่สู้จะแข็งแรงแต่สุขภาพจิตดี หมายความว่าจิตใจดี รู้จักจิตใจของตัวและรู้จักปฏิบัติให้ถูกต้อง ย่อมเป็นประโยชน์ต่อตัวเองมาก และเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้มาก ในที่สุดสุขภาพจิตที่ดีก็อาจจะพามาซึ่งสุขภาพทางกายได้ หรือถ้าสุขภาพกายไม่ดีนักก็ไม่ต้องถือว่าเป็นของสำคัญ…”

     พระราชดำรัสพระราชทานแก่ครูและนักเรียนที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2511 ความตอนหนึ่งว่า

“…การทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น ก็คือช่วยกันขจัดปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นด้วยการปฏิบัติตนให้ดีตามหน้าที่ของตน คือตั้งใจที่จะเป็นคนดี ถ้าเป็นนักเรียนก็ให้เล่าเรียนให้ดี เป็นครู เป็นพยาบาล เป็นอะไรก็ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด การช่วยขจัดปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นด้วยความตั้งใจแท้จริงเพื่อส่วนรวมนั้น จะเป็นการให้พรที่ประเสริฐที่สุด…”

27_26_7d9be10a490b464

     พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2515 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 13  กรกฎาคม 2516 ความตอนหนึ่งว่า

“…การฝึกหัดทางใจนี้สำคัญอย่างยิ่งยวด จำเป็นที่จะต้องระมัดระวังฝึกฝนอยู่เสมอตลอดชีวิต จึงจะคงความสุจริต เข้มแข็ง และเป็นระเบียบไว้ได้ ไม่พ่ายแพ้แก่ความลุ่มหลงลืมตัว…”

     ท่านผู้อ่านที่เคารพครับ กระผมขอเชิญชวนทุกท่านร่วมศึกษาพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเพื่อน้อมนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ให้ความสำคัญกับการเล่นดนตรีและการฟังดนตรี เพื่อสุนทรียภาพในการดำเนินชีวิตและนำมาซึ่งการพัฒนาให้เกิดความเข้มแข็งจากจิตใจของแต่ละท่านต่อไปครับ

………………………………………………

ที่มา : “พระบารมีปกเกล้าฯ” ในสยามรัฐ




Create Date : 27 พฤศจิกายน 2558
Last Update : 27 พฤศจิกายน 2558 1:28:41 น. 0 comments
Counter : 2218 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สาว17
Location :
ลูกสาวเมืองสิงห์ Germany

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Color Codes ป้ามด







เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตครอบครัว
มีบางครั้งที่เราต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ
มีบ้างบางครั้งที่เราต้องเลิกทำในสิ่งที่ชอบ
เพื่อความก้าวหน้าของชีวิตครอบครัว
มีบ่อยครั้งที่เราต้องรู้จักใช้สติ
ต้องรู้จัก อดทน และให้อภัย
ดูอย่างต้นไม้ซิ
มันไม่เคยที่จะผืนลิขิตของฤดูกาล
มันไม่คิดจะขัดธรรมชาติ
เมื่อถึงคราวต้องทิ้งใบก็ยินยอมแต่โดยดี
อดทนและอดทน
เพื่อผลิใบ และดอกผลเมื่อฝนมา
เพราะเมื่อเวลามาถึงทุกสิ่งจะดำเนินไป
ชีวิตที่เรียบง่ายคือชีวิตที่มีสุข








Free Hit Counter ทีเว็บมาสเตอร์ รวมพลคนทำเว็บ
Google
New Comments
Friends' blogs
[Add สาว17's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.