เมื่อตะวันยอแสง..เรี่ยวแรงก็เริ่มอ่อนล้า..พักลงตรงนี่ที่เดิมแล้วหลับตา..
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2558
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
31 กรกฏาคม 2558
 
All Blogs
 

ทรงต่อสู้กับสงคราม “ความยากจน”

58 - 1

“ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงงานอยู่ เพราะประชาชนยังยากจนอยู่ เมื่อยังมีความยากจนจึงไม่มีเสรีภาพ เขาจึงเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ ซึ่งปัญหาความยากจนไม่ใช่เป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่โยงไปถึงการเมืองด้วย

      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีโครงการทั้งหมดประมาณ 6,000 โครงการ ซึ่งไม่ซ้ำกับโครงการรัฐบาล เพื่ออุดช่องโหว่ช่วยเหลือประชาชน แต่เมื่อราชการเข้ามาถึงจึงถอนออกมา จะเห็นได้ว่าโครงการต่างๆ ของพระองค์เน้นรักษา ดิน น้ำ ลม ไฟ หรือ ทรัพยากรธรรมชาติ

      เพราะถ้าไม่มีแผ่นดินจะมีประเทศได้อย่างไร แผ่นดินนี้ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งหมายถึง ชีวิต ที่ผ่านมาทุกคนใช้แผ่นดินนี้ด้วยความโลภ ทำลายแผ่นดิน

      ทั้งนี้พระองค์ทรงทำได้ด้วยการให้คำแนะนำหรือสอนเท่านั้น เพราะคนที่ดูแลคนทั่วประเทศ คือ รัฐบาล กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ หากพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดี มีความสงบ ไม่ถูกข่มเหง ไม่ถูกโกง

       ทำได้เช่นนี้ประเทศมีความมั่นคง และไม่เป็นลัทธิบริโภคนิยม

      ไม่ใช้ทุกอย่างเกินตัว ต้องใช้อย่างพอประมาณ ต้องรู้ต้นทุนตัวเอง คนรวยแล้วต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่คดโกง ไม่คอร์รัปชั่น”

 ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวตอนหนึ่งในโอกาสร่วมบรรยายในการประชุมเชิงปฏิบัติการการนำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริไปขยายผลในพื้นที่ความมั่นคง ที่โรงแรมแม็กซ์ พระราม 9 เมื่อ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

c4

นับตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชย์ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489  ในพระราชหฤทัยมีแต่ความห่วงใยพสกนิกร  และนับแต่เสด็จนิวัติพระนครเมื่อปี พ.ศ. 2493 ก็ทรงงานเพื่อพสกนิกรมาโดยตลอด  กว่า 60 ปี ที่ทรงงานพระองค์มีเป้าหมายประการเดียวคือ  การทำให้คนไทยทั้งประเทศอยู่ดีมีสุข  ทรงนำทัพต่อสู้กับความยากจนด้วยหลากหลายยุทธวิธี  โดยเน้นไปที่การสร้างความยั่งยืนให้กับประชาชน

ในจำนวนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่มีอยู่ประมาณ 6,000 โครงการนั้น  2 ใน 3 เป็นโครงการที่เกี่ยวกับน้ำและดิน  โดยทรงเห็นความสำคัญของน้ำ เป็นอันดับแรก  ดังในพระราชดำรัส ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 17  มีนาคม 2529 ความตอนหนึ่งว่า

  “…หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้…”

aaa12

     หนึ่งในโครงการพระราชดำริ คือ อ่างเก็บน้ำห้วยตาจูอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ความจุ 22,278,000 ลูกบาศก์เมตร สร้างกั้นลำน้ำห้วยตาจูที่ไหลมาจากป่าต้นน้ำในเทือกเขาพนมดงรัก ตั้งอยู่ที่ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

     อ่างเก็บน้ำนี้สามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่น่าในตำบลกันทรอม ตำบลขุนหาญ ตำบลโนสูงและตำบลห้วยจันทร์ ได้ประมาณ 13,000 ไร่ในช่วงฤดูฝนและ ประมาณ 4,400-6,500 ในฤดูแล้ง  ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวจากเดิมที่ผลิตได้เฉลี่ย200-300 กิโลกรัมต่อไร่เป็น 500 กิโลกรัมต่อไร่  ส่วนนาปรังแต่เดิมไม่สามารถทำได้  แต่หลังจากโครงการฯแล้วเสร็จสามารถทำนาปรังได้ผลผลิตสูงถึงไร่ละ 800-1,000 กิโลกรัม

168

     จุดเด่นของโครงการฯ นี้ คือการบริหารจัดการน้ำของกลุ่มผู้ใช้น้ำที่ตกลงกับกรมชลประทาน ว่า จะบริหารจัดการกันเอง เพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่เพาะปลูกของพวกตน  และพร้อมที่จะรับผิดชอบหากผลผลิตอาจจะได้รับความเสียหายจากแนวทางของพวกตน เจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานทำหน้าที่เพียงปล่อยน้ำไปตามที่กลุ่มผู้ใช้น้ำแจ้งมา  ทำให้เกิดรูปแบบของ “น้ำตามสั่ง” คือจะใช้ก็สั่งให้ปล่อยมา

     และมีการปรับระบบการทำนามาใช้การหว่านแห้งที่เรียกกันว่า “นาสำรวย” ซึ่งสามารถประหยัดการใช้น้ำทำนาจากเดิม 1,600 ลูกบาศก์เมตรเหลือ 1,000 ลูกบาศก์เมตร  ทำให้มีน้ำเหลือมากพอที่จะกระจายให้กับพื้นที่นอกเขตชลประทานได้ด้วย

     ผลสำเร็จนี้ทำให้ “กลุ่มผู้ใช้น้ำห้วยตาจูอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” เป็นต้นแบบของการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ใกล้เคียงหลายแห่ง เช่น อ่างเก็บน้ำหนองสิ อ่างเก็บน้ำห้วยตามาย  อ่างเก็บน้ำห้วยตึ๊กชู และอ่างเก็บน้ำห้วยศาลา

จากบทบาทของกลุ่มผู้ใช้น้ำที่อ่างเก็บน้ำห้วยตาจูฯ  พิสูจน์ให้เห็นว่า  ประชาชนเข้าใจในพระราชดำริหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างดีและได้ริเริ่มดำเนินตามรอยพระบาทในการบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สมดังที่ทรงมีพระราชประสงค์

w4

     และอีกหนึ่งโครงการ คือ “โครงการเขื่อนลำนางรองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ”ตั้งอยู่ที่บ้านโนนดินแดง ตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ความสำคัญของเขื่อนนี้ไม่ได้อยู่ที่การจัดสรรน้ำให้เกษตรกรในพื้นที่ 68,410 ไร่เท่านั้น  แต่ยังแฝงความสำคัญทางยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศอยู่ด้วย

10653798_665138653593306_3803684781004565001_n

เรื่องมีอยู่ว่าในปี 2520 นั้นพื้นที่อำเภอโนนดินแดงและอำเภอละหานทราย  กลุ่มผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ได้แสดงอิทธิพลขัดวางการพัฒนาทุกรูปแบบ  มีการขัดขวางการสร้างถนนเส้นทาง เชื่อมระหว่างอำเภอละหานทรายของจังหวัดบุรีรัมย์กับอำเภอตาพระยาของจังหวัดปราจีนบุรี(ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดสระแก้ว) ที่มีระยะทาง 50 กิโลเมตร

     จนทำให้ราษฎรและเจ้าหน้าที่ได้รับความสูญเสียมากมาย เพราะผู้ก่อการร้ายได้ใช้วิธีการวางทุ่นระเบิดและกับระเบิดดักเอาไว้  มีการต่อสู้ในพื้นที่อย่างรุนแรง  ราษฎรถูกกวาดต้อนไปนอกประเทศเพื่ออบรมลัทธิคอมมิวนิสต์  นอกจากนี้ยังมีการปล้นสะดมตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา  ความรุนแรงของสถานการณ์ทำให้ราษฎรต้องอพยพหลบภัยมาอยู่บ้านโนนดินแดง  ก่อให้เกิดความแออัด  อดอยากทุกข์ยากแสนสาหัส

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทถึงเหตุการณ์ดังกล่าว  ในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2521  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายมนัส  ปิติวงษ์ อธิบดีกรมชลประทานในขณะนั้นเข้าเฝ้าฯ และพระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาจัดสร้างอ่างเก็บน้ำและฝายทดน้ำบริเวณต้นน้ำลำนางรอง

king-bhumibhol5 (1)

     ต่อมา วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2521 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้อธิบดีกรมชลประทานเข้าเฝ้าฯ และได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาลุ่มน้ำลำนางรอง  โดยให้พิจารณาสร้างอ่างเก็บน้ำคลองมะนาวที่บ้านโนนดินแดงซึ่งแล้วเสร็จใน พ.ศ.2522  จากนั้นก็สร้างเขื่อนลำนางรองฯ ในพ.ศ.2522 จนแล้วเสร็จใน พ.ศ.2525

     ใน พ.ศ.2525 สร้างอ่างเก็บน้ำลำปะเทียแล้วเสร็จในพ.ศ.2527 ต่อมาได้สร้างระบบส่งน้ำอาคารประกอบ  ซึ่งใน พ.ศ.2529 กรมชลประทานได้อนุมัติตั้งเป็นโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำนางรอง สังกัดสำนักชลประทานที่ 8 เพื่อควบคุมการจัดสรรน้ำให้แก่เกษตรกรเพื่อใช้ในการเพาะปลูกและดูแลการบำรุงรักษาอาคารชลประทานให้สามารถใช้งานได้ดี  มีประสิทธิภาพตลอดเวลา  ในปีเดียวกันนี้ก็ได้สร้างอ่างเก็บน้ำลำจังหันฯจนแล้วเสร็จใน พ.ศ.2535

จะเห็นได้ว่าพระราชดำริในการพัฒนาลุ่มน้ำลำนางรองนี้  นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อราษฎรในพื้นที่ซึ่งหนีร้อนมาพึ่งเย็นแล้ว  ยังเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในด้านการป้องกันภัยคุกคามจากกลุ่มผู้ก่อการร้ายไปพร้อมกันด้วย  เพราะเมื่อราษฎรมีที่อยู่ที่ทำกิน  เขาก็จะช่วยกันเป็นหูเป็นตาให้กับภาครัฐ  ช่วยกันป้องกันภัยที่คุกคามประเทศทั้งจากภายนอกและภายใน

k3

     ปัจจุบันในพื้นที่ลุ่มน้ำลำนางรอง  เกษตรกรสามารถสร้างผลผลิตได้ตลอดทั้งปีในรูปแบบเกษตรครบวงจร  โดยช่วงฤดูฝนตั้งแต่ เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม  ทำนาได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ยไร่ละ 50 ถัง  พอหมดฝนย่างเข้าฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมีนาคมก็จะปลูกมะเขือเทศซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 6,700 กิโลกรัม  เข้าฤดูแล้งช่วง เมษายนถึงพฤษภาคมก็จะปลูกข้าวโพดฝักอ่อนที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 680 กิโลกรัมต่อไร่และแตงกวาเพื่อป้อนโรงงาน

นอกจากประโยชน์การเกษตรและอุปโภคบริโภคแล้ว  “อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนลำนางรองฯ” ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวของประชาชนทั่วไปในฐานะของ “ทะเลสาบแห่งอีสานใต้”ด้วย

IMG_49984536262573

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริ แก่ พล.ท.พิศิษฐ์  เหมบุตร แม่ทัพภาคที่ 2 ในขณะนั้น พร้อมคณะทำงานพัฒนาเสริมพื้นที่ชายแดนอีสานตอนบนและตอนล่าง เมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2529 ณ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยเดียกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร  สรุปใจความได้ว่า  จะต้องทำการพัฒนาให้เข้าใกล้ชายแดนให้มากขึ้น  จะต้องเข้าไปถึงในที่ที่จะทำให้สามารถสร้างหมู่บ้านตามชายแดนซึ่งจะเป็นส่วนรักษาความปลอดภัยของประเทศให้ได้มากขึ้น 

     ตามแผนที่นั้นมีแห่งหนึ่งที่เป็นช่องเห็นได้ชัด คือ ช่องบก ในเขตอำเภอน้ำยืน  ในบริเวณนี้มีห้วย 2 ห้วยมาบรรจบกัน สามารถสร้างเขื่อนกั้นอ่างเก็บน้ำสูงประมาณ 10 เมตร  ถ้าทำระบบให้ดีก็สามารถเลี้ยงพื้นที่ได้ถึง 10,000 ไร่

13494_888629944527291_6128965256847770868_n

นี่คือ จุดเริ่มต้นของ “อ่างเก็บน้ำห้วยพลาญเสือ ทั้งตอนบนและตอนล่าง”  เป็นเหตุผลที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อราษฎรในพื้นที่และความมั่นคงของประเทศชาติ  เพราะช่องบกซึ่งอยู่ในรอยต่อ 3  

การสร้างอ่างเก็บน้ำดักเอาไว้จะทำให้การเคลื่อนพลทำไม่ได้  โดยเฉพาะรถถังเบิกทาง

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่สอดประสานยุทธวิธีป้องกันประเทศ เข้ากับแนวพระราชดำริต่อสู้ความยากจน เพื่อความผาสุกของราษฎร  เป็นการแสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำหลักการประสานประโยชน์สูงสุดมาใช้ในการทรงงานเพื่อพัฒนาประเทศไทยได้อย่างยอดเยี่ยม.

383665_329394687075256_1799975111_n

……………………………………………………..

ที่มา : บางส่วนจากบทความแนวพระราชดำริสู้สงครามความยากจน ในสยามรัฐ

สำนักข่าวเจ้าพระยา




 

Create Date : 31 กรกฎาคม 2558
0 comments
Last Update : 31 กรกฎาคม 2558 13:31:23 น.
Counter : 7120 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


สาว17
Location :
ลูกสาวเมืองสิงห์ Germany

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Color Codes ป้ามด







เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตครอบครัว
มีบางครั้งที่เราต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ
มีบ้างบางครั้งที่เราต้องเลิกทำในสิ่งที่ชอบ
เพื่อความก้าวหน้าของชีวิตครอบครัว
มีบ่อยครั้งที่เราต้องรู้จักใช้สติ
ต้องรู้จัก อดทน และให้อภัย
ดูอย่างต้นไม้ซิ
มันไม่เคยที่จะผืนลิขิตของฤดูกาล
มันไม่คิดจะขัดธรรมชาติ
เมื่อถึงคราวต้องทิ้งใบก็ยินยอมแต่โดยดี
อดทนและอดทน
เพื่อผลิใบ และดอกผลเมื่อฝนมา
เพราะเมื่อเวลามาถึงทุกสิ่งจะดำเนินไป
ชีวิตที่เรียบง่ายคือชีวิตที่มีสุข








Free Hit Counter ทีเว็บมาสเตอร์ รวมพลคนทำเว็บ
Google
New Comments
Friends' blogs
[Add สาว17's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.