space
space
space
 
กรกฏาคม 2565
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
19 กรกฏาคม 2565
space
space
space

อภิปรายไม่ไว้วางใจ จับตารัฐบาล ‘หมองู’ อาจจะตายเพราะ ‘งูเห่า’
จับตารัฐบาล ‘หมองู’ อาจจะตายเพราะ ‘งูเห่า’
19 กรกฎาคม 2565 จะเป็นวันเปิดศึกใหญ่ในสภาฯ ครั้งสุดท้ายระหว่างพรรคฝ่ายค้านกับรัฐบาลผ่านการอภิปรายและลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและพวก รวม 11 คน ก่อนจะไปสู่ศึกการเลือกตั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้นอย่างช้าในปี 2566

ทั้งนี้ แม้ที่ผ่านมา ฝ่ายค้านจะไม่สามารถกำชัยชนะในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ แต่ก็มีเรื่องให้ตื่นตาตื่นใจ ทั้งเนื้อการอภิปราย เว็บตรง ไปจนถึงผลการลงมติ

การอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้น่าจับตากว่าทุกครั้ง เนื่องจากความนิยมในฝ่ายรัฐบาลกำลังตกต่ำ อันจะเห็นได้จากผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือ ผลการเลือกตั้งซ่อมลำปาง จนอาจจะเกิดการพลิกขั้วกันกลางสภาฯ

อย่างไรก็ดี ผู้กุมความอยู่รอดของรัฐบาลคือพรรคขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งเป็นผลจากการออกแบบโครงสร้างการเมืองตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ที่ไม่ต้องการให้พรรคการเมืองใหญ่กุมเสียงข้างมากในสภา แต่มันก็ต้องแลกมากับการเป็นสภา ‘สภาสหพรรค’ ที่เสถียรภาพทางการเมืองรัฐบาลลดน้อยถอยลง และอำนาจต่อรองของพรรคร่วมรัฐบาลมีสูงกว่าพรรคจัดตั้งรัฐบาล
ดังนั้น ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งสุดท้ายของสภาชุดที่ 25 จึงเป็นทั้งการไต่สวนความผิดรัฐบาล และเป็นการทดสอบการออกแบบรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ด้วยว่า ยังเป็นรัฐธรรมนูญที่ออกแบบมาเพื่อพวกเขา (รัฐบาล คสช.) หรือจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ ‘หมองู ตายเพราะงู’

ฝ่ายค้านเตรียมเปิดยุทธการ ‘เด็ดหัว สอยนั่งร้าน’
ในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลครั้งสุดท้ายของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 ถูกขนานนามโดยพรรคฝ่ายค้านว่า ‘ยุทธการเด็ดหัว สอยนั่งร้าน’ ที่มีเป้าหมายหลักคือการเด็ดหัวกลุ่ม 3 ป. ได้แก่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ส่วนเป้าหมายรองลงมา คือ บรรดารัฐมนตรีของพรรครัฐบาลที่เปรียบเสมือน ‘นั่งร้าน’ ค้ำอำนาจกลุ่ม 3 ป. อีกที

โดยมีการคาดการณ์กันว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจพรรคภูมิใจไทยจะพุ่งเป้าไปที่เรื่องการแก้ปัญหาโควิด-19 ที่ล้มเหลว ปัญหาการปลดล็อคกัญชาเสรีโดยไม่มีมาตรการรองรับที่ชัดเจนและเอื้อประโยชน์กลุ่มทุน รวมทั้งปัญหาการประมูลรถไฟสีส้ม ส่วนพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นความล้มเหลวในการบริหารประเทศทั้งเรื่องสินค้าราคาแพง และปมความไม่โปร่งใส
และการอภิปรายปิดท้ายจะเป็นของพรรคพลังประชารัฐ และกลุ่ม 3 ป. จะเกี่ยวกับเรื่องการเอื้อประโยชน์กลุ่มทุนโทรคมนาคม การดูแลกลุ่มแรงงานข้ามชาติ การทุจริตท่อส่งน้ำในโครงการอีอีซี การประมูลรถไฟสายสีเขียว ปัญหาการค้ามนุษย์ และความไร้ประสิทธิภาพของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

รัฐบาลป่วยไข้ คะแนนนิยมตก พรรคร่วมถอนตัว
นับตั้งแต่การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. พรรครัฐบาลกลับต้องเผชิญกับความปราชัยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเลือกตั้งในเมืองหลวงที่ถูกขั้วการเมืองตรงข้ามกุมชัยชนะด้วยผลคะแนนสูงเป็นประวัติการณ์ แม้แต่ในการเลือกตั้งซ่อมที่ลำปาง เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 พรรครัฐบาลก็ยังพ่ายแพ้ให้กับผู้สมัครม้ามืดของเสรีรวมไทยที่ชนะแบบถล่มทลาย

หลังความพ่ายแพ้ติดต่อกันเหมือนโดมิโน่กำลังล้ม พรรคเศรษฐกิจไทย นำโดย ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า ได้ประกาศแยกทางกลับรัฐบาล พร้อมอธิบายว่า การถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล เป็นเพราะผลการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.จังหวัดลำปาง ที่ประชาชนสะท้อนและให้บทเรียน แสดงถึงความนิยมของรัฐบาลตกต่ำลง และยังบอกให้ตนรู้ว่าอย่าเชื่อมั่นในตัวเองมากเกินไป แม้จะทำงานให้กับประชาชนในพื้นที่มาโดยตลอดก็ตาม

ร้อยเอกธรรมนัส เปิดเผยด้วยว่า แม้จะรู้ตัวเองดีว่าในการเลือกตั้งซ่อมจังหวัดลำปางเกิดอะไรขึ้น แต่ผลที่ออกมาไม่คาดคิดว่าจะออกมาอย่างนี้ ทำให้ต้องมานั่งทบทวนว่าเกิดอะไรขึ้น และเมื่อย้อนไปดูปัจจัยเมื่อปี 2562 ฐานคะแนนอยู่ที่ 30,368 คะแนน แต่โดยภาพรวมคะแนนของพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในจังหวัดลำปางจะได้กว่า 140,000 คะแนน ทำให้รู้ว่าฐานมีเท่านี้ มันขายไม่ได้ แต่เมื่อการเลือกตั้งซ่อมปี 2563 มีปัจจัยหลายอย่าง ผลงานของรัฐบาล โดยเฉพาะจัดสรรที่ดินทำกิน การแก้ปัญหาเรื่องน้ำ ทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากผลงานของรัฐบาล จึงได้ประมาณ 61,914 คะแนน ขณะที่พรรคเสรีรวมไทยได้ 38,336 คะแนน แต่การเลือกตั้งครั้งนี้คะแนนสวิงกลับ

ฝ่ายค้านต้องการเสียงอีกอย่างน้อย 28 เสียง เพื่อล้ม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
รัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 151 วรรคสี่ ระบุว่า มติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถ้านับรวมผลการเลือกตั้งซ่อมที่ลำปางเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 จำนวน ส.ส. ในสภาฯ มีประมาณ 478 คน ดังนั้น เสียงกึ่งหนึ่งของสภาอยู่ที่ 239 คน และเสียงเกินกึ่งหนึ่งคือ 240 เสียง ซึ่งปัจจุบัน พรรคฝ่ายค้านมีจำนวน ส.ส. รวมกัน 195 คน และมีพรรคที่ประกาศเป็นพรรคฝ่ายค้านอิสระ รวมกัน 17 เสียง ในขณะที่พรรครัฐบาลรวมกับเสียงของพรรคฝ่ายค้านที่เป็น ‘งูเห่า’ จะมีเสียงรวมกัน 266 เสียง (ดังปรากฎในตารางด้านล่าง) ดังนั้น เพื่อจะล้มรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พรรคฝ่ายค้านและฝ่ายค้านอิสระต้องการเสียงจากขั้วรัฐบาลอีก 28 เสียงเท่านั้น
หมายเหตุ: พรรคเสรีรวมไทย นับรวม เดชทวี ศรีวิชัย ที่เพิ่งชนะการเลือกตั้งซ่อม จังหวัดลำปาง เขต 4

ตัวแปรสำคัญในการอยู่หรือไปของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา คือพรรคขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยพรรคเล็กมีก๊วนที่เรียกตัวเองว่า ‘กลุ่ม 16’ ที่นำโดย พิเชษฐ สถิรชวาล ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคพลังประชารัฐ และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธรรมไทย (1 ในกลุ่ม 9 พรรคเล็ก) ที่ยังอยู่ระหว่างประเมินท่าที เพราะแม้จะมีการต่างตอบแทนกันทางอ้อมโดย ส.ว. ที่มาจากแต่งตั้งและ ส.ส.พลังประชารัฐ ที่ยอมหักมติเดิมแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งให้เข้าทางพรรคเล็กก่อนอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่การตอบแทนในเรื่องนี้ก็ไม่ชัดเจนว่า พรรคเล็กจะได้ประโยชน์จริง เพราะยังต้องขึ้นอยู่กับเสียงลงคะแนนของประชาชน

ที่น่าจับตาอีกเช่นเดียวกันคือ พรรคขนาดกลางที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล อาทิ พรรคภูมิใจไทย ว่าจะยอมสละเรือปล่อยให้กลุ่ม 3 ป. จมไปแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมา พรรคภูมิใจไทยเคยเป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองมาแล้ว เมื่อครั้งต้องลงมติเลือกผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ระหว่าง พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก ที่พรรคเพื่อไทยเป็นผู้เสนอ กับ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้เสนอ ผลปรากฎว่า อดีต ส.ส.พรรคพลังประชาชน ที่ย้ายไปภูมิใจไทย กลับโหวตสวนพรรคเพื่อไทย พรรคต้นสังกัดเดิม ดังนั้น การลงมติในโค้งสุดท้าย จึงยังมีความหมายต่อความเป็นไปได้ทางการเมือง

สุดท้ายนี้ หาก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาล คสช. ก็คงจะโทษใครไม่ได้ เพราะสาเหตุมาจากรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ที่ คสช. เป็นคนออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบกติกาการเลือกตั้งเพื่อลดทอนจำนวน ส.ส. ของพรรคขนาดใหญ่ขั้วตรงข้าม ซึ่งส่งผลให้พรรคขนาดกลางและขนาดเล็กเติบโตจนกลายเป็นกลุ่มที่เข้ามาต่อรองผลประโยชน์กับรัฐบาล แต่คนที่เสียประโยชน์มากที่สุดในเรื่องนี้ไม่ใช่ใคร นอกเสียงจากประชาชน เพราะไม่ได้อยู่ในสมการการต่อรองผลประโยชน์ของฝ่ายรัฐบาลแต่อย่างใด


Create Date : 19 กรกฎาคม 2565
Last Update : 19 กรกฎาคม 2565 7:44:16 น. 0 comments
Counter : 186 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

สมาชิกหมายเลข 7116186
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 7116186's blog to your web]
space
space
space
space
space