space
space
space
 
กรกฏาคม 2565
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
13 กรกฏาคม 2565
space
space
space

อากาศร้อนเป็นภัยกว่าที่คิด เสี่ยงทำอุณหภูมิร่างกายปรับตัวไม่ได้

โลกเผชิญคลื่นความร้อนรุนแรงขึ้นทุกปี แล้วร่างกายของคนเราสามารถทนต่อความร้อนและความชื้นในอากาศได้มากแค่ไหน
ในช่วงที่อุณหภูมิร้อนระอุหลายคนตั้งคำถามว่า“ร้อนขนาดไหนถึงจะถือว่าร้อนเกินไปสำหรับดำเนินกิจวัตรประจำวัน” คำตอบมีมากกว่าอุณหภูมิที่ปรากฏบนเทอร์โมมิเตอร์และเกี่ยวกับความชื้นในอากาศโดยผลการวิจัยชี้ว่าการรวมกันของทั้งสองสิ่งสามารถเป็นอันตรายได้มากกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดคิด ดิไอคอนกรุ๊ป

สำนักข่าวChannel News Asia รายงานว่าคลื่นความร้อนที่สะสมความร้อนมากเกินไปทำให้คนจำนวนมากต้องทนกับอุณหภูมิร่างกายที่ไม่สามารถเย็นลงเองได้ทั้งยังมีแนวโน้มทำให้ผู้คนเป็นโรคลมแดดมากขึ้น
---คลื่นความร้อนที่โลกต้องเผชิญ---

บรรดานักวิทยาศาสตร์และผู้สังเกตการณ์ต่างตื่นตระหนกกับความร้อนและความชื้นที่พุ่งสูงขึ้นซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ถูกวัดด้วย"อุณหภูมิกระเปาะเปียก" หรือWet Blub Temperature

เดือนพฤษภาคมและมิถุนายนที่ผ่านมาเป็นช่วงที่คลื่นความร้อนพัดปกคลุมเอเชียใต้เมืองจาโคบาบัดในปากีสถานรายงานอุณหภูมิกระเปาะเปียกสูงสุดอยู่ที่33.6 องศาเซลเซียสและกรุงเดลีในอินเดียมีอุณหภูมิสูงสุดซึ่งใกล้เคียงกับขีดจำกัดสูงสุดตามทฤษฎีความสามารถในการปรับตัวของมนุษย์ที่มีต่อความร้อนชื้น

ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน2010 ประมาณการว่าอุณหภูมิกระเปาะเปียกที่35 องศาเซลเซียสและความชื้น100% หรืออุณหภูมิ45 องศาเซลเซียสและความชื้น50% จะเป็นขีดจำกัดสูงสุดของความปลอดภัยซึ่งเกินกว่าที่ร่างกายมนุษย์จะสามารถเย็นตัวได้เองโดยธรรมชาติผ่านเหงื่อเพื่อรักษาอุณหภูมิภายในให้คงที่
แต่ไม่นานมานี้ขีดจำกัดดังกล่าวได้รับการทดสอบกับมนุษย์ในห้องปฏิบัติการและผลการทดสอบแสดงให้เห็นถึงสาเหตุที่น่าเป็นห่วงมากกว่าเดิม

---ร้อนแค่ไหนร่างกายถึงรับไม่ไหว---

ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตตพบว่าคลื่นความร้อนที่สะสมความร้อนมากเกินไปซึ่งเกิดจากปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงจะเกิดยาวนานขึ้นบ่อยครั้งขึ้นและร้อนขึ้นเรื่อยๆ

เพื่อตอบคำถามที่ว่า“ร้อนแค่ไหนถึงจะร้อนเกินไป” นักวิจัยได้นำคนวัยหนุ่มสาวที่มีสุขภาพแข็งแรงไปยังห้องทดลองนอลล์มหาวิทยาลัยเพนน์สเตตเพื่อสัมผัสกับภาวะความเครียดจากความร้อนในสภาพแวดล้อมที่ควบคุมได้

การทดลองครั้งนี้ให้ข้อมูลเชิงลึกว่าการรวมกันของอุณหภูมิและความชื้นในอากาศเริ่มก่อให้เกิดอันตรายแม้แต่กับมนุษย์ที่มีสุขภาพดีที่สุด
---อันตรายจากอุณหภูมิและความชื้น---

ผู้เข้าร่วมต้องกลืนยาTelemetry ขนาดเล็กเพื่อตรวจวัดอุณหภูมิแกนหรือCore Temperature โดยนั่งอยู่ในที่ร่มและจำลองกิจวัตรประจำวันเช่นการทำอาหารและรับประทานอาหารโดยนักวิจัยจะค่อยๆเพิ่มอุณหภูมิหรือความชื้นในห้องทดสอบและคอยตรวจสอบเมื่ออุณหภูมิแกนของร่างกายเริ่มสูงขึ้น

การรวมกันของอุณหภูมิและความชื้นซึ่งทำให้อุณหภูมิแกนหรืออุณหภูมิในส่วนลึกของร่างกายสูงขึ้นเรียกว่า“ขีดจำกัดสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ” หรือCritical environmental limit

หากต่ำกว่าขีดจำกัดร่างกายจะสามารถรักษาอุณหภูมิแกนที่ค่อนข้างคงที่ได้ตลอดแต่หากเกินขีดจำกัดดังกล่าวอุณหภูมิแกนจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและความเสี่ยงที่จะเกิดการเจ็บป่วยก็จะสูงตามไปด้วย

เมื่อร่างกายมีความร้อนสูงเกินไปการสูบฉีดเลือดไปยังผิวหนังเพื่อระบายความร้อนจะทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นปริมาณของเหลวในร่างกายจะลดลงหากมีเหงื่อออกร่วมด้วยกรณีร้ายแรงที่สุดหากได้รับความร้อนเป็นเวลานานอาจทำให้เป็นโรคลมแดดหรือHeatstroke ได้

---ปรับตัวอย่างไรให้ปลอดภัย---

การดูแลร่างกายไม่ให้ขาดน้ำและอยู่ในที่ร่มเป็นสิ่งสำคัญมากในสถานการณ์ที่มีความร้อนสูง

เมืองต่างๆในสหรัฐฯกำลังขยายศูนย์ทำความเย็นเพื่อช่วยผู้คนให้พ้นจากความร้อนแต่ก็ยังมีคนจำนวนมากที่จะประสบกับสภาวะอันตรายเหล่านี้โดยที่ไม่อาจทำให้อุณหภูมิร่างกายเย็นลงได้

แม้แต่บ้านที่มีเครื่องปรับอากาศก็ไม่อาจเปิดใช้ได้เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พบได้บ่อยในฟีนิกซ์รัฐแอริโซนาหรือการที่ไฟฟ้าดับเป็นวงกว้างจากคลื่นความร้อนหรือไฟป่าซึ่งพบได้ทางตะวันตกของสหรัฐฯ

ขณะที่ผลการศึกษาล่าสุดที่เน้นเรื่องภาวะความเครียดจากความร้อนในแอฟริกาพบว่าสภาพอากาศในอนาคตจะไม่เอื้อต่อการใช้ระบบทำความเย็นต้นทุนต่ำเนื่องจากพื้นที่เขตร้อนและชายฝั่งของแอฟริกาจะมีความชื้นมากขึ้น

อาทิพัดลมหมุนเวียนอากาศผ่านความเย็นและแผ่นเปียกลดอุณหภูมิซึ่งต้องการพลังงานน้อยกว่าเครื่องปรับอากาศแต่จะใช้งานไม่ได้หากอุณหภูมิกระเปาะเปียกสูงกว่า21 องศาเซลเซียส

---ชาวญี่ปุ่นเผชิญโรคลมแดด---

ในญี่ปุ่นประชากรหลายพันคนกำลังเผชิญกับโรคลมแดดจากคลื่นความร้อนที่เข้าครอบงำในหลายพื้นที่และอุณหภูมิที่พุ่งสูงเร็วกว่าปกติทำให้เจ้าหน้าที่สภาพอากาศในญี่ปุ่นประกาศสิ้นสุดฤดูฝนเร็วที่สุดเป็นประวัติการณ์

ขณะที่ข้อมูลจากหน่วยงานบริหารจัดการอัคคีภัยและภัยพิบัติพบว่าประชาชนกว่า10,000 คนถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลด้วยโรคลมแดดในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนซึ่งเพิ่มขึ้นราวสองเท่าเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว

ด้านกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นเรียกร้องให้ประชาชนระมัดระวังโรคลมแดดรวมถึงแนะให้ถอดหน้ากากในพื้นที่กลางแจ้งเมื่อสามารถรักษาระยะห่างทางสังคมและพูดคุยกันไม่มากนักแต่หลายคนคิดว่าการสวมหน้ากากอนามัยเป็นธรรมเนียมปฏิบัติและยังคงสวมหน้ากากแม้ในวันที่อากาศร้อนจัด

กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นตั้งข้อสังเกตว่าหน้ากากอนามัยสามารถเก็บความร้อนได้จึงอาจทำให้ร่างกายควบคุมอุณหภูมิได้ยากและอาจขาดน้ำโดยไม่รู้ตัว

จากทั้งหมดที่กล่าวมายังคงมีหลักฐานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆว่าสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไม่ได้เป็นเพียงปัญหาสำหรับอนาคตแต่เป็นสิ่งที่มนุษยชาติกำลังเผชิญอยู่และจะต้องจัดการเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมาก่อนจะสายเกินแก้


Create Date : 13 กรกฎาคม 2565
Last Update : 13 กรกฎาคม 2565 23:25:04 น. 0 comments
Counter : 332 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

สมาชิกหมายเลข 7116186
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 7116186's blog to your web]
space
space
space
space
space