space
space
space
 
กรกฏาคม 2565
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
16 กรกฏาคม 2565
space
space
space

เกษตรกรเลี้ยงไก่ ชี้ ราคาไก่สมเหตุผลตามกลไกตลาด
เลี้ยงไก่เพื่อบริโภค
สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่ วอนผู้บริโภคเห็นใจ ราคาเนื้อไก่ปรับตามกลไกตลาด ต้นทุนวัตถุดิบ ปัจจัยการผลิต ต้นทุนพลังงาน พร้อมเดินหน้าการผลิตต่อเนื่อง สร้างหลักประกันอาหารมั่นคง ให้คนไทยมีไก่บริโภคเพียงพอไม่ขาดแคลนในราคาสมเหตุผล เว็บใหญ่

นางฉวีวรรณ คำพา นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไม่ต่างกับผู้ประกอบการธุรกิจอื่นๆ ที่ต้องเผชิญภาระต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ น้ำมัน และปัจจัยการผลิตและการป้องกันโรค จึงมีความจำเป็นต้องปรับราคาหน้าฟาร์มขึ้นบ้างให้สามารถดำเนินธุรกิจอยู่ได้ หากเนื้อไก่ถูกควบคุมราคามากเกินไปเกษตรกรโดยเฉพาะรายย่อยและรายเล็กไม่สามารถประคองธุรกิจต่อไปได้ต้องปิดกิจการแน่นอน การปล่อยให้ราคาเป็นไปตามกลไกตลาด โดยภาครัฐเป็นกำกับดูแลเป็นการสร้างสมดุลผู้บริโภคและเกษตรกรให้อยู่รอดในภาวะวิกฤตไปด้วยกัน
“ช่วง 2 ปีมานี้ เกษตรกรเลี้ยงไก่เนื้อประสบปัญหาการบริโภคลดลงตั้งแต่เกิดโรคระบาดโควิด-19 สวนทางกับต้นทุนผลิตสูงขึ้นต่อเนื่อง มาปีนี้เจอวิกฤตสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซ้ำเติมอีก ต้นทุนว้ตถุดิบอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น 30-40% ต้นทุนพลังงานสูงขึ้นจากราคาน้ำมันในตลาดโลกและการปรับเพิ่มราคาน้ำมันดีเซลในประเทศ ที่สำคัญการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ BA.4 และ BA.5 หากส่งผลให้มีการล็อกดาวน์อีกครั้ง เกษตรกรอาจต้องประสบปัญหาขาดทุนมากกว่าที่แบกภาระในปัจจุบัน”

สำหรับไก่เนื้อหน้าฟาร์ม จำเป็นต้องปรับราคาจากเดือนมกราคม 2565 ที่ราคา 39 บาท เป็น 41 บาทต่อกิโลกรัม ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และยังคงยืนราคานี้เพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ เนื่องจากต้นทุนการผลิตเฉลี่ยในปัจจุบันประมาณ 42-43 บาทต่อกิโลกรัม

ซึ่งเป็นผลมาจากราคาข้าวโพดเลี้ยงสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในปีนี้เกินกว่า 13 บาทต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ การปรับเพิ่มราคาน้ำมันดีเซลในประเทศจากลิตรละ 30 บาท เป็นลิตรละ 35 บาท ยังส่งผลให้ค่าขนส่งสูงขึ้น 20% เป็นค่าใช้จ่ายที่เกษตรกรต้องแบกรับไว้ด้วย ซึ่งผู้ประกอบการในห่วงโซ่การผลิตก็ต้องรับภาระต้นทุนสูงขึ้นไม่ต่างกัน

นางฉวีวรรณ กล่าวว่า คนไทยไม่ต้องกังวลว่าเนื้อไก่จะขาดแคลน โดยคาดการณ์ว่าผลผลิตเนื้อไก่ไทยปี 2565 อยู่ที่ 2.93 ล้านตัน ขณะที่ความต้องการบริโภคในประเทศประมาณ 1.99 ล้านตัน และจะมีการส่งออกผลผลิตส่วนเกินประมาณ 900,000 ตัน เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาในประเทศไม่ให้ตกต่ำจนเกษตรกรไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อได้ ที่สำคัญไก่ที่นำไปส่งออกไม่กระทบต่อการบริโภคของคนไทยแน่นอน

ปัจจุบัน คนไทยบริโภคเนื้อไก่ประมาณ 21 กิโลกรัมต่อคนต่อปี แต่ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 การบริโภคลดลงมากเนื่องจากการทำงานที่บ้านและการเรียนออนไลน์ของโรงเรียนทั่วประเทศ ในปีนี้การบริโภคลดลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและเงินเฟ้อสูงทำให้ผู้บริโภคลดค่าใช้จ่ายและซื้ออาหารแค่เพียงพอในแต่ละมื้อ ไม่ซื้อจำนวนมากเช่นที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม เนื้อไก่ยังเป็นโปรตีนคุณภาพสูงที่ราคาสมเหตุผล เป็นทางเลือกให้กับประชาชนซื้อหาทดแทนเนื้อสัตว์ชนิดอื่น

ขอให้ผู้บริโภคมั่นใจการปรับราคาเนื้อไก่เป็นตามกลไกตลาด ที่สร้างความเป็นธรรมให้กับเกษตรกรและผู้บริโภค การควบคุมราคาสินค้ามากเกินไปในภาวะวิกฤตอาจจะทำให้ผู้ประกอบการขาดทุนสูงจนไม่สามารถแบกภาระขาดทุนต่อไปได้จนทำให้เลิกกิจการ จะทำให้ผลผลิตสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมลดลงและอาจจะหายไปจากตลาดหรือราคาผลผลิตน้อยและมีราคาสูงกว่าปกติ จะกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศมากกว่าการปล่อยให้ราคาปรับขึ้นได้อย่างสมเหตุผลตามต้นทุนที่แท้จริง


Create Date : 16 กรกฎาคม 2565
Last Update : 16 กรกฎาคม 2565 7:08:12 น. 0 comments
Counter : 292 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

สมาชิกหมายเลข 7116186
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 7116186's blog to your web]
space
space
space
space
space