มีนาคม 2560

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
31
 
 
All Blog
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551






หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551



หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
เป็นการต่อยอดจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2544 มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน 
ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม 
มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก 
ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 
มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ
และการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า 
ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

(หลักสูตรแกนกลางหมายถึง หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 
มีรายละเอียดแสดงให้เห็นกรอบทิศทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่1 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สามารถนำไปใช้จัดการศึกษา
ทั้งในระบบ  นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
รวมทั้งสำหรับการจัดการศึกษาทุกกลุ่ม 
เช่นการศึกษาพิเศษ การศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ เป็นต้น
โดยมีมาตรฐานการเรียนรู้เป็นข้อกำหนดคุณภาพของผู้เรียน)


มาตรฐานการเรียนรู้

(Content standards/Academic standards/Learning standards)

คุณภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนเป็นสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐานความรู้ ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะที่ระบุไว้ในมาตรฐาน การเรียนรู้ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้เรียนทุกคนดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาทั้งระดับชาติ เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษามีหน้าที่และความรับผิดชอบ ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุคุณภาพตามที่มาตรฐานกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐานถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบตามอัธยาศัย และใช้สำหรับผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแนวคิดดังกล่าวอยู่บนฐานความเชื่อที่ว่า ผู้เรียนทุกคนสามารถพัฒนาอย่างมีคุณภาพ เท่าเทียมกันได้

ตัวชี้วัด (Indicators)

สิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดมีลักษณะเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรมในการนำไปใช้ ในการกำหนดเนื้อหาการเรียนการสอนและเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดและประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียนโดยทั่วไปจะมีการกำหนดตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการตรวจสอบผู้เรียนเป็นระยะ ๆในการพัฒนาไปสู่มาตรฐานการเรียนรู้ การกำหนดตัวชี้วัดดังกล่าวนั้นในระบบการศึกษาบางแห่งอาจกำหนดไว้เป็นช่วงๆ ทุก ๓-๔ปีแต่บางแห่งอาจกำหนดทุกระดับชั้นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับบริบทการศึกษาแต่ละแห่ง

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน . ๒๕๕๑ กำหนดตัวชี้วัดชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ ( . - . ตัวชี้วัดช่วงชั้นในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ( . - . )

ตัวชี้วัดชั้นปี (Grade-levelIndicators/Grade-level expectations)

สิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ในแต่ละระดับชั้นเป็นตัวชี้วัดพัฒนาการของผู้เรียนไปสู่มาตรฐานการเรียนรู้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กับมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนด ตัวชี้วัดชั้นปีมีความชัดเจนมีความเฉพาะเจาะจง และมีความเป็นรูปธรรมในการนำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหาจัดการเรียนการสอน และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดและประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ได้กำหนดตัวชี้วัดชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ (ป.๑-ม.๓)เพื่อเป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

ตัวชี้วัดช่วงชั้น(Interval indicators)

หมายถึงสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้เมื่อเรียนจบแต่ละช่วงชั้นเป็นตัวชี้วัดพัฒนาการของผู้เรียนไปสู่มาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดช่วงชั้นจึงมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้แต่มีความเฉพาะเจาะจงมากกว่า หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ได้กำหนดตัวชี้วัดช่วงชั้นเพื่อใช้สำหรับเป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการจัดทำหลักสูตรกำหนดเนื้อหา การเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

หลักสูตร (Curriculum)

ประมวลความรู้และประสบการณ์ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถทักษะ และคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการเรียนรู้หลักสูตรจึงเป็นเสมือนแผนที่กำหนดทิศทางในการพัฒนาผู้เรียนไปสู่มาตรฐานการเรียนรู้ซึ่งเป็นเป้าหมายและมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าของผู้เรียนในการพัฒนาไปสู่มาตรฐานที่กำหนด

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Basiceducation  curriculum)

หลักสูตรที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในระดับการศึกษาที่ต่ำกว่าอุดมศึกษาโดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนมีความสมบูรณ์ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา อีกทั้งมีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต และมีคุณภาพได้มาตรฐานสากลเพื่อการแข่งขันในยุคปัจจุบันหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยส่วนที่เป็นแกนกลางซึ่งกำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานส่วนที่เกี่ยวกับสภาพชุมชนและท้องถิ่นซึ่งพัฒนาโดยเขตพื้นที่การศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่นและส่วนที่สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับความสนใจความต้องการ และความถนัดของผู้เรียน

หลักสูตรแกนกลาง (Core curriculum)

หลักสูตรแกนกลางเป็นหลักสูตรในส่วนที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดเพื่อใช้ในการพัฒนาผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานหลักสูตรแกนกลางมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดสาระการเรียนรู้แกนกลางโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐานซึ่งระบุการจัดเวลาเรียนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและเกณฑ์กลางในการจบหลักสูตรหลักสูตรแกนกลางเป็นกรอบทิศทางในการพัฒนากรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษาเป็นส่วนจำเป็นสำหรับพัฒนาเยาวชนไทยทุกคนให้เป็นพลเมืองดีของชาติและสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม ความเจริญทางวิทยาการในโลกยุคปัจจุบัน

กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น (Localcurriculum  framework)

กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นเป็นกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งจัดทำโดยเขตพื้นที่การศึกษาหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในระดับท้องถิ่นมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่เป้าหมาย/จุดเน้นในการพัฒนาผู้เรียนในท้องถิ่น สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นและการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับท้องถิ่นสถานศึกษาในเขตพื้นที่นั้นๆจะใช้ข้อมูลในกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นเป็นแนวทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ และเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชนมีความรักและหวงแหนมรดกทางสังคม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหา การแก้ไขปัญหาการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพในชุมชน

หลักสูตรสถานศึกษา(School curriculum)

แผนหรือแนวทางในการจัดประมวลความรู้และประสบการณ์ซึ่งจัดทำโดยคณะบุคคลในระดับสถานศึกษาเพื่อใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้และส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในโรงเรียนชุมชนและสังคมอย่างมีความสุข การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาพิจารณาจากหลักสูตรแกนกลางและกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นนอกจากนั้นสถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถพัฒนาเพิ่มเติมในส่วนที่สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทและจุดเน้นของสถานศึกษาตลอดจนความต้องการ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียน

หลักสูตรอิงมาตรฐาน (Standards-basedcurriculum)

หลักสูตรที่มีมาตรฐานเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ซึ่งเป็นคุณภาพที่คาดหวังให้เกิดในตัวผู้เรียนขึ้นดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรตลอดแนวตั้งแต่ระดับชาติ ระดับท้องถิ่นระดับสถานศึกษาตลอดจนถึงระดับชั้นเรียนจะมีลักษณะเป็นหลักสูตรอิงมาตรฐานคือยึดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและเป็นกรอบทิศทางในการกำหนดโครงสร้างเนื้อหากิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้กล่าวโดยรวมก็คือการกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรอิงมาตรฐาน (Standards-based curriculum) การเรียนการสอนอิงมาตรฐาน (Standards-based instruction) และการประเมินผลอิงมาตรฐาน (Standards-basedassessment)

คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและวิชาการ(School academic board)

คณะบุคคล ประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอาทิเช่น ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ทรงคุณวุฒิผู้แทนกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้แทนฝ่ายวิชาการฝ่ายวัดและประเมินผลการเรียนรู้แนะแนว ฯลฯทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาด้านวิชาการ หลักสูตร การเรียนการสอนของสถานศึกษาให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

........................



ที่มา : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

และขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.gotoknow.org/posts/414717

https://th.wikipedia.org

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=sansook&month=09-04-2008&group=22&gblog=9





Create Date : 30 มีนาคม 2560
Last Update : 30 มีนาคม 2560 14:29:41 น.
Counter : 361 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1559763
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]



ทักทายเรื่องราวมากมาย
รู้จักผ่านปลายปากกา
สัมผัสนามแฝงแห่งคุณค่า
ชื่อว่า "ข้าวฟ่าง" และ "เฌอมาลย์"
...รักกัน รักกันค่ะ...
ปล.ยินดีให้คำปรึกษาและเขียนแผนบ้านเรียน Homeschool