Group Blog
 
 
สิงหาคม 2551
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
27 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 
วางแผนสร้างบ้านหลังใหม่


สำหรับผู้ที่มีที่ดินอยู่แล้ว และกำลังมีความคิดที่จะปลูกสร้างบ้านใหม่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม คาดว่าหลายคนคงเคยประสบกับปัญหาที่ว่าอยากสร้างบ้านสักหลัง แต่คุณไม่เคยรู้จักใครเลยที่มีความรู้เรื่องนี้โดยเฉพาะ และก็ไม่มีเงินเพียงพอที่จะเสี่ยงต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต รวมทั้งมีงบประมาณจำกัดจึงจำเป็นต้องควบคุมไม่ให้ค่าใช่จ่ายสำหรับการสร้างบ้านหลังใหม่บานปลายออกไปจนกลายเป็นภาระหนี้สิน //www.GHBhomecenter.com มีข้อแนะนำสำหรับผู้ที่กำลังมีความคิดที่จะสร้าบ้านบนที่ดินของตัวเองดังต่อไปนี้

การสร้างบ้านโดยบริษัทรับสร้างบ้าน วิธีนี้ถือเป็นการวางแผนสร้างบ้านหลังใหม่ที่ง่าย
และสะดวกที่สุด เนื่องจากผู้เป็นเจ้าของบ้านไม่ต้องดำเนินการใดๆทั้งสิ้นยกเว้นแต่เลือกหาบริษัทรับสร้างบ้านที่ถูกใจ และเตรียมงบประมาณไว้ให้เพียงพอสำหรับจ่ายเพื่อสร้างบ้านในฝัน อย่างไรก็ดี แม้ว่าวิธีนี้จะง่ายและสะดวกที่สุดแต่ก็ยังมีความเสี่ยง เช่นความเสี่ยงที่เกิดจากบ้านที่ส่งมอบใช้วัสดุก่อสร้างไม่ตรงตามสเป็คที่ระบุไว้ในสัญญา หรือความเสี่ยงที่เกิดจากผู้รับสร้างบ้านทิ้งงาน เป็นต้น

ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้บริการจากบริษัทรับสร้างบ้านรายใดรายหนึ่ง ควรตรวจสอบดูผลงานของบริษัทนั้นๆ จากสถานที่จริง หากบริษัทที่เลือกไม่มีตัวอย่างผลงานให้ดูควรที่จะเปลี่ยนใจเลือกหาบริษัทรับสร้างบ้านรายอื่นแทน ส่วนรายละเอียดในการพิจารณาเลือกผู้ให้บริการรับสร้างบ้านที่มีคุณภาพเป็นเช่นใดนั้น สามารถตรวจสอบได้จากหัวข้อการเลือกบริษัทรับสร้างบ้านใน //www.GHBhomecenter.com

การสร้างบ้านโดยผู้รับเหมา เป็นอีกวิธีหนึ่งซึ่งผู้ที่ต้องการสร้างบ้านหลังใหม่เลือกใช้กันอย่างแพร่หลาย และโดยทั่วไปผู้สร้างบ้านมักจะเลือกใช้บริการจากผู้รับเหมารายย่อยที่มีคนรู้จักแนะนำมา หากเลือกใช้ผู้รับเหมารายย่อยเป็นผู้สร้างบ้าน การวางแผนสำหรับการสร้างบ้านหลังใหม่จะมีขั้นตอนที่ควรรู้หลายขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การเลือกตำแหน่งที่ตั้งของบ้าน การขออนุญาตก่อสร้าง ไปจนถึงการขอเลขที่บ้าน ขอน้ำ ขอไฟ ก่อนที่จะนำเสนอรายละเอียดในขั้นตอนดังกล่าว ผู้ที่กำลังวางแผนสร้างบ้านหลังใหม่ควรตรวจสอบก่อนว่ามีการพิจารณาในส่วนที่เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานแล้วหรือยัง

การสำรวจความต้องการขั้นพื้นฐานสำหรับการสร้างบ้านก็คือ ความต้องการใช้พื้นที่นั่นเอง บ้าน สำหรับครอบครัวไทยโดยปรกติจะมีความต้องการใช้พื้นที่ 3 ห้องนอน 1ห้องรับแขก 1 ห้องพักผ่อน ห้องครัว ห้องรับประทานอาคาร และครอบครัวในปัจจุบันจะมีความต้องการที่จอดรถ และห้องคนใช้เพิ่มเข้ามาด้วย ดังนั้นก่อนที่จะว่าจ้างให้สถาปนิกออกแบบเขียนแปลนบ้าน ควรตรวจสอบในเรื่องนี้ก่อน จากนั้นเป็นเรื่องของการพิจารณาลักษณะของที่ดินและขนาดของที่ดิน เรื่องนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากเพราะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการขออนุญาตปลูกสร้าง

ซึ่งการสร้างบ้านในแต่ละพื้นที่ต้องเป็นไปตามเทศบัญญัติของท้องที่นั้น ๆ เช่นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ.2544 ที่ระบุถึงเรื่องแนวอาคารและระยะห่างของอาคารไว้ว่า การสร้างบ้านพักอาศัยที่มีพื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร สามารถสร้างห่างจากเขตที่ดินได้น้อยกว่า 1 เมตร หากผนังด้านนั้นไม่มีช่องเปิด หากจะออกแบบบ้านให้มีช่องเปิด ซึ่งหมายถึงหน้าต่าง ช่องระบายอากาศ ต้องออกแบบให้ผนังของบ้านด้านนั้นๆ อยู่ห่างจากเขตที่ดินมากกว่า 2 เมตร มินั้นจะถือว่าเป็นการสร้างบ้านที่ผิดกฎหมาย นอกจากนี้กฎหมายยังระบุไว้ด้วยว่าการปลูกสร้างอาคารบนที่ดินต้องไม่มากกว่า 70% ของพื้นที่ดินที่ทำการก่อสร้าง ต้องมีพื้นที่เปิดโลง หรือที่เรียกว่า open space ประมาณ 30% ของพื้นที่อาคารที่ปกคลุมดิน เป็นต้น

ดังนั้นความกว้างและความลึกของที่ดินจึงมีผลต่อตัวบ้านโดยตรง มีข้อแนะนำว่าไม่ควรวางตำแหน่งของตัวบ้านไว้กลางพื้นที่พอดี เพราะจะทำให้พื้นที่เปิดโลงกระจัดกระจาย ไม่ควรวางตำแหน่งบ้านใกล้ทางสาธารณะ ควรจัดวางแปลนของพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านให้สอดคล้องกับทิศทางแดด ลม ฝน เช่น ห้องนอนไม่ควรอยู่ในตำแหน่งทางทิศตะวันตก หรือตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเรื่องนี้มีการนำเสนอไว้อย่างละเอียดในหัวข้อเรื่อง "แบบบ้านและการจัดพื้นที่ใช้สอย "

มาถึงขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งอีกขั้นตอนหนึ่ง คือการขออนุญาตสร้างบ้านกับทางราชการ ผู้ยื่นหรือผู้เป็นเจ้าของบ้านต้องเขียนหนังสือคำร้องที่ทำการเขต หรือ สถานที่ราชการนั้น หรือที่สถาปนิกนำมาให้(กรณีที่ว่างจ้างให้สถาปนิกเป็นผู้ออกแบบและเขียนแปลนบ้าน) พร้อมกับแนบพิมพ์เขียว 5 ชุด และรายการคำนวณ นำไปยื่นขออนุญาตตามแบบ ข.1 โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นนอกจากค่าธรรมเนียมเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว โดยค่าธรรมเนียมจะเรียกเก็บตามจำนวนพื้นที่บ้านหรืออาคารนั้นๆ ในอัตราตารางเมตรละ 4 บาท รายละเอียดในส่วนนี้ผู้ที่ต้องการสร้างบ้านบนที่ดินของตัวเองหากที่ดินอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร สามารถสอบถามได้ที่ กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา หรือ โทรศัพท์ 0-2246-0301-2 หากอยู่ในส่วนภูมิภาคสอบถามได้ ณ ที่ว่าการอำเภอในจังหวัดนั้นๆ

การขอเลขที่บ้าน,ไฟฟ้าและประปา เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการสร้างบ้านใหม่ หากใช้บริการบริษัทรับสร้างบ้าน ทางบริษัทจะเป็นผู้ดำเนินการให้ทั้งในส่วนของการขออนุญาตก่อสร้าง รวมไปจนถึงการขอเลขที่บ้าน รวมไปจนถึงการขอใช้บริการฟ้าฟ้า ประปา แต่หากจ้างผู้รับเหมารายย่อย ผู้เป็นเจ้าของบ้านอาจต้องดำเนินการเองทั้งหมด ซึ่งในส่วนของการขอเลขที่บ้านสำหรับบ้านที่ปลูกสร้างใหม่จำเป็นจะต้องให้บ้านที่ต้องการจะขอเลขที่นั้นสร้างเสร็จก่อน และยื่นขอภายใน 15 วันหลังจากบ้านสร้างเสร็จแล้ว

การขอเลขที่บ้าน ต้องไปที่ทำการเขตซึ่งบ้านหลังนั้นตั้งอยู่ โดยติดต่อกับฝ่ายทะเบียน และนำหลักฐานดังต่อไปนี้ไปยื่นประกอบการขอ คือ 1.บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบ้าน 2.หนังสือมอบอำนาจ(กรณีที่เจ้าของบ้านไม่ได้มาด้วยตัวเอง) 3.หนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร 4.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน และ 5.หากเป็นการสร้างบ้านใหม่บนที่ดินจัดสรรต้องนำสัญญาซื้อขายที่ดินไปแสดงด้วย ขั้นตอนนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น เจ้าหน้าที่เขตจะออกทำการสำรวจบ้านที่ขอและจัดทำทะเบียนเลขที่บ้านหลังจากวันที่ยื่นขอภายในไม่เกิน 15 วันนับจากที่มีการยื่นขอ

การขอไฟฟ้า ผู้เป็นเจ้าของบ้านต้องไปยื่นขอที่ทำการไฟฟ้าย่อยในแต่ละเขตที่บ้านนั้นปลูกสร้างอยู่ การขอไฟฟ้าใหม่จะเป็นต้องมีเลขที่บ้านแล้ว ส่วนเอกสารที่ต้องนำไปแสดงประกอบในการขอคือ 1.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ,บัตรข้าราชการ,บัตรพนักงานองค์การของรัฐ 2.สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอไฟฟ้า 3.สำเนาหนังสือหมายเลขบ้าน / สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอใช้ไฟฟ้า 4.หนังสือมอบอำนาจ(กรณีที่เจ้าของบ้านไม่ได้มาด้วยตัวเอง) หลังจากทำเรื่องยื่นคำขอแล้วภายใน 7-15 วันทำการ เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจะไปสำรวจ และภายใน 10-30 วันก็สามารถติดตั้งได้เรียบร้อย

การขอติดตั้งประปา จะต้องไปขอที่ทำการสำนักงานประปาสาขาย่อยในแต่ละเขตที่บ้านนั้นปลูกสร้างอยู่ โดยนำหลักฐานดังต่อไปในไปแสดงประกอบการขอติดตั้ง คือ
1.หนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร
2.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประชาชนผู้ขอใช้น้ำและผู้มอบอำนาจ
3.เอกสารใช้หมายเลขประจำบ้าน
4.สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ใช้และผู้มอบอำนาจ
5.หนังสือมอบอำนาจ(กรณีที่เจ้าของบ้านไม่ได้มาด้วยตัวเอง) การขอติดตั้งประปาจะมีค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมในการขอติดตั้งซึ่งสอบถามได้ที่การประปานครหลวง และการส่วนภูมิภาค

เมื่อรับทราบขั้นตอนทั้งหมดแล้ว การวางแผนสร้างบ้านหลังใหม่คงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แต่ก่อนที่จะตัดสินใจควรตรวจสอบเรื่องข้อกำหนดผังเมืองด้วย ว่าที่ดินซึ่งเตรียมไว้สำหรับปลูกบ้านมีข้อห้ามอย่างใดหรือไม่ อยู่ในแนวที่จะมีการเวนคืน ที่ดินในอนาคตหรือไม่ ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นได้จากหน่วยงานท้องถิ่นหรือที่ //www.GHBhomecenter.com



-----------------------------------------------------------
บรรณานุกรม
1.ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ.2544
2.บทความเรื่อง จะสร้างบ้านสักหลังเริ่มต้นที่ไหนดี จาก ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง โดยยอดเยี่ยม เทพธรานนท์
3.คู่มือวางแผนสร้างบ้าน โดยนิตยสาร บ้านและตกแต่ง
4.บทความเรื่องจะสร้างอาคารต้องเริ่มต้นอย่างไร โดยกองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร





Create Date : 27 สิงหาคม 2551
Last Update : 27 สิงหาคม 2551 3:40:46 น. 0 comments
Counter : 488 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

inspection
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add inspection's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.