พฤศจิกายน 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
5 พฤศจิกายน 2550
 

ดาวเคราะห์เดือนนี้ (พฤศจิกายน 2550)

อ้างอิงจาก //thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/planets/

โดย คุณ วรเชษฐ์ บุญปลอด



ดาวพุธ อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาวตลอดครึ่งแรกของเดือนและย้ายไปอยู่ในกลุ่มดาวคันชั่งใ นช่วงครึ่งเดือนหลัง ดาวพุธปรากฏบนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืดโดยอยู่ใกล้ดาวรวงข้าวในช่วง 7-8 วันแรกของเดือนพฤศจิกายน วันที่ 1 พฤศจิกายนดาวพุธสว่างที่โชติมาตร +1.2 จากนั้นความสว่างจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไปที่โชติมาตร -0.1 ในวันที่ 4 พฤศจิกายน และ -0.6 ในวันที่ 8 พฤศจิกายนซึ่งจะเห็นพระจันทร์เสี้ยวอยู่ใกล้ดาวพุธ ความสว่างของดาวพุธค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยตลอดเดือน คาดว่าน่าจะเห็นดาวพุธได้จนถึงประมาณวันที่ 21-22 พฤศจิกายน หลังจากนั้นดาวพุธจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น ทำให้อยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้าจนสังเกตได้ยาก เดือนหน้าดาวพุธจะผ่านตำแหน่งร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 17 ธันวาคม 2550

ดาวศุกร์ (โชติมาตร -4.4) อยู่บนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืดจึงเรียกว่าดาวประกายพรึกหรือดาวรุ่ง ดาวศุกร์ย้ายออกจากกลุ่มดาวสิงโตเข้าสู่กลุ่มดาวหญิงสาวในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2550 ดวงจันทร์ผ่านมาอยู่ใกล้ดาวศุกร์ในเช้ามืดวันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน จากนั้นวันที่ 30 พฤศจิกายน และ 1 ธันวาคม ดาวศุกร์จะเคลื่อนเข้าใกล้ดาวรวงข้าวมากที่สุด ห่างกันประมาณ 4.3 องศา เมื่อแสงเงินแสงทองเริ่มจับขอบฟ้าดาวศุกร์จะอยู่สูงเป็นมุมเงยประมาณ 30 องศา เดือนนี้กล้องโทรทรรศน์ส่องเห็นดาวศุกร์สว่างกว่าครึ่งดวงและมีขนาดเล็กลงทุ กขณะเนื่องจากออกห่างจากโลกมากขึ้น

ดาวอังคาร (โชติมาตร -0.9) อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ ขึ้นเหนือขอบฟ้าเร็วขึ้นทุกวันโดยต้นเดือนดาวอังคารจะขึ้นตั้งแต่เวลาประมาณ สี่ทุ่ม ปลายเดือนขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลาประมาณ 2 ทุ่ม ระยะห่างระหว่างดาวอังคารกับโลกที่ลดลงเรื่อย ๆ ทำให้ดาวอังคารสว่างมากขึ้นเป็นลำดับพร้อมกับมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อดูด้วยกล้อ งโทรทรรศน์ หากไม่มีพายุฝุ่นและหมอกปกคลุมมากนักคาดว่าน่าจะมีโอกาสเห็นขั้วน้ำแข็งในบร ิเวณรอบขั้วเหนือของดาวอังคารได้ขณะที่ขั้วใต้แทบไม่มีน้ำแข็งเหลืออยู่เลย

ดาวพฤหัสบดี (โชติมาตร -1.8) อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงูและสังเกตได้ดีที่สุดในช่วงหัวค่ำไม่นานหลังดวงอาทิตย ์ตก เดือนนี้น่าจะเป็นช่วงสุดท้ายของปีที่จะเห็นดาวพฤหัสบดีบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ ต้นเดือนพฤศจิกายนดาวพฤหัสบดีตกลับขอบฟ้าในเวลาประมาณ 2 ทุ่มครึ่ง ปลายเดือนตกลับขอบฟ้าในเวลาทุ่มเศษ มีโอกาสสังเกตพระจันทร์เสี้ยวอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีได้ในคืนวันจันทร์และอังคา รที่ 12-13 พฤศจิกายน โดยอยู่ห่างกัน 7-8 องศา หลังจากนั้นดาวพฤหัสบดีจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนไม่สามารถมองเห็นได้ มาปรากฏบนฟ้าอีกครั้งในเวลาเช้ามืดตั้งแต่กลางเดือนมกราคม 2551 เป็นต้นไปซึ่งเป็นช่วงที่ดาวพฤหัสบดีย้ายเข้าไปอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู

ดาวเสาร์ (โชติมาตร +0.8) ขึ้นเหนือขอบฟ้าตั้งแต่เวลาประมาณตี 1 และอยู่บนท้องฟ้ามองเห็นได้ดีในเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออกในกลุ่มดาวสิงโต วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวเสาร์ด้วยระยะเชิงมุมเพียงไม่เกิน 2 องศา ในอดีตกาล ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ไกลที่สุดเท่าที่มนุษย์รู้จักจนกระทั่งเมื่อกว่า 200 ปีก่อน วิลเลียม เฮอร์เชล ค้นพบดาวยูเรนัส ดาวเคราะห์ดวงที่ 7 ในระบบสุริยะ

ดาวยูเรนัส (โชติมาตร +5.8) และ ดาวเนปจูน (โชติมาตร +7.9) อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำและกลุ่มดาวแพะทะเล ตามลำดับ สามารถสังเกตได้ด้วยกล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์ในเวลาประมาณ 19.00 - 23.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่ดาวเคราะห์สองดวงนี้อยู่ห่างจากขอบฟ้ามากพอสมควร และให้เลือกช่วงที่ไม่มีแสงจันทร์รบกวน แผนที่ตำแหน่งดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนรวมทั้งเวลาดวงจันทร์ขึ้น-ตก ดูได้จากวารสาร "ทางช้างเผือก" ฉบับคู่มือดูดาว (พ.ย.-ธ.ค. 2549)

ดวงจันทร์ ครึ่งเดือนแรกเป็นช่วงข้างแรมจึงเห็นดวงจันทร์อยู่บนท้องฟ้าในเวลาเช้ามืด ดวงจันทร์สว่างครึ่งดวงในเช้ามืดวันที่ 2 พฤศจิกายน ซึ่งจะเห็นมันอยู่ใกล้กระจุกดาวรังผึ้งในกลุ่มดาวปู เช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พระจันทร์เสี้ยวอยู่ใกล้ดาวเสาร์ จากนั้นดวงจันทร์เคลื่อนไปอยู่เกือบตรงกลางระหว่างดาวเสาร์กับดาวศุกร์ในเช้ ามืดวันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน ซึ่งวันนั้นดาวเคราะห์สองดวงนี้อยู่ห่างกัน 19 องศา วันที่ 6 พฤศจิกายน ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวศุกร์ ต่อมาวันที่ 8 พฤศจิกายน จันทร์เสี้ยวบาง ๆ จะผ่านใกล้ดาวพุธด้วยระยะเชิงมุม 6 องศา และน่าจะเป็นวันสุดท้ายที่เห็นดวงจันทร์ในเวลาเช้ามืด

หลังจันทร์ดับในวันที่ 10 พฤศจิกายน ดวงจันทร์เริ่มปรากฏบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน โดยเห็นเป็นเสี้ยวบาง ๆ อยู่ด้านล่างของดาวพฤหัสบดีค่อนไปทางซ้ายมือ ค่ำวันถัดไปดวงจันทร์จะเคลื่อนสูงขึ้นแต่ยังคงไม่ห่างจากดาวพฤหัสบดีมากนัก ดวงจันทร์สว่างครึ่งดวงในวันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน จึงเห็นดวงจันทร์อยู่สูงบนท้องฟ้าทิศใต้ในเวลาหัวค่ำ จากนั้นด้านสว่างของดวงจันทร์จะมีพื้นที่มากขึ้นจนเต็มดวงในคืนวันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นเวลาที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้เคียงกับตำแหน่งที่เข้าใกล้โลกมากที่สุดใน รอบเดือน นอกจากนี้ยังตรงกับวันลอยกระทง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 อันเป็นคืนที่ดวงจันทร์เสวยกฤติกาฤกษ์ซึ่งตามดาราศาสตร์สากลตรงกับดาวในกระจ ุกดาวลูกไก่ คืนวันลอยกระทงของทุกปีดวงจันทร์จึงอยู่ใกล้กระจุกดาวนี้

คืนวันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน ดวงจันทร์จะเคลื่อนเข้าบังดาวหัวใจสิงห์โดยด้านสว่างเข้าบังก่อน เริ่มบังในเวลาประมาณเที่ยงคืนครึ่ง สิ้นสุดในเวลาประมาณตี 1 ครึ่ง ปรากฏการณ์นี้สามารถมองเห็นได้ทั่วประเทศรวมไปถึงเกือบทั้งหมดของภูมิภาคเอเ ชียตะวันออกเฉียงใต้




Create Date : 05 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2550 23:36:27 น. 1 comments
Counter : 2133 Pageviews.  
 
 
 
 
มีดาวมากมายเป็นร้อยพัน แต่มีหนึ่งจันทร์ในพันดาว
 
 

โดย: ยุง บิน ชุม วันที่: 5 พฤศจิกายน 2550 เวลา:23:37:25 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

ยุง บิน ชุม
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ยุง บิน ชุม's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com