มิถุนายน 2560

 
 
 
 
1
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
มิลินทปัญหา - บทที่ ๑๐ อุปมาปัญหา (๑. - ๒๐. )


มิลินทปัญหา - บทที่ ๑๐ อุปมาปัญหา (๑. - ๒๐. )

     "พระคุณเจ้านาคเสน พระภิกษุต้องประกอบด้วยคุณสมบัติใดเพื่อกระทำความเป็นอรหันต์ให้แจ้ง"

๑. ลา
"ขอถวายพระพร ลาไม่ว่าจะนอนที่ใด จะไม่นอนนาน ฉันใด ภิกษุผู้ตั้งความเพียรเพื่อเป็นอรหันต์ ไม่พึงนอนนาน ฉันนั้น"
๒.ไก่
"ไก่ย่อมเข้ารังตามเวลาอันควร ฉันใด หลังจากออกไปบิณฑบาตแล้วภิกษุพึงทำหน้าที่โดยพลัน และไปสุ่ที่อันสงัดเพื่อตั้งจิตให้เป็นสมาธิ ฉันนั้น"
"ไก่คุ้ยเขี่ยพื้นดินเพื่อหาอาหารฉันใด ภิกษุพึงพิจารณาอาหารที่บริโภคว่า 'เราบริโภคมิใช่เพื่อความเพลิน หรือเพื่อความมีผิวพรรณเปล่งปลั่ง แต่ทว่าเพื่อระงับความหิว เพื่อจะได้ประพฤติพรหมจรรย์ให้ถึงซึ่งความดับทุกข์' ฉันนั้น"
"ไก่ แม้มีตาดี แต่ก็ฝ้าฟางดุจตาบอดในตอบกลางคืน ฉันใด ภิกษุผู้บำเพ็ญเพียรพึงเป็นราวกับคนตาบอด ไม่ใส่ใจกับอายตนะทั้งปวงที่จะรบกวนสมาธิ ฉันนั้น"
"ไก่ แม้ถูกขับไล่ด้วยท่อนไม้และก้อนหิน ก็ไม่ทิ้งเรือนรังของตน ฉันใด ภิกษุไม่พึงละวางโยนิโสมนสิการ ไม่ว่าจะทำการงานเกี่ยวกับ จีวร ก่อสร้าง สอนหรือศึกษาพระบาลี หรือในงานอื่น ฉันนั้น"
๓.กระแต

“ ขอถวายพระพร ธรรมดากระแต เมื่อพบศัตรูย่อมพองหางขึ้นให้ใหญ่ต่อสู้กับศัตรูฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น เมื่อเกิดศัตรูคือกิเลสขึ้นก็พองหางคือสติปัฏฐาน ให้ใหญ่ขึ้นกั้นกางกิเลสทั้งปวงด้วยหาง คือสติปัฏฐานอันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งกระแต ข้อนี้สมกับคำของพระจุฬปันถกว่า“เมื่อกิเลสอันจะกำจัดคุณสมณะปรากฏขึ้นในเวลาใด เวลานั้นพระโยคาวจรก็พองหาง คือสติปัฏฐานขึ้นบ่อยๆ ฉันนั้น”
๔.แม่เสือดำ
"แม่เสือดำตั้งครรภ์เพียงครั้งเดียว และไม่เข้าใกล้ตัวผู้อีกเลย ฉันใด ภิกษุเมื่อเห็นทุกข์ในสังสารวัฏ พึงกระทำโยนิโสมนสิการที่จะไม่ปฏิสนธิในภพใด ๆ อีก ฉันนั้น ขอถวายพระพร ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ ในธนิยสูตร สุตตนิบาต
          "เราจักไม่เข้าถึงการนอนในครรภ์อีก เหมือนโคตัดเชือกสำหรับผูก ขาดแล้ว เหมือนช้างทำลายเถากระพังโหมได้แล้ว ฉะนั้น
           แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด"
๕.เสือเหลือง
“ ขอถวายพระพร ธรรมดาว่า เสือเหลือง ย่อมไปแอบซุ่มอยู่ตามกอหญ้า พุ่มไม้ ซอกเขา ในป่าแล้วก็จับเนื้อฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือพระโยคาวจรย่อมไปหาที่อยู่ในที่สงัด อันได้แก่ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าใหญ่ ที่แจ้ง ลอมฟาง เมื่อได้ที่สงัดอย่างนั้นก็ได้สำเร็จอภิญญา ๖ ในไม่ช้า อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งเสือเหลืองข้อนี้สมกับคำของ พระเถระผู้ทำสังคายนาทั้งหลาย ว่า“เสือเหลืองแอบซุ่มจับเนื้อฉันใด พระพุทธบุตรผู้ประกอบความเพียร ผู้เจริญวิปัสสนา ก็เข้าไปอยู่ในป่าแล้วถือเอาซึ่งผลอันสูงสุดฉะนั้น”
"ธรรมดาเสือเหลืองย่อมไม่กินเนื้อที่ล้มลงข้างซ้ายฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือพระโยคาวจรย่อมไม่ฉันอาหารที่ได้ด้วยผิดธรรมวินัย คือได้ด้วยการลวงโลก การประจบ การพูดเลียบเคียง การพูดเหยียดผู้อื่น การแลกลาภด้วยลาภ หรือด้วยการให้ไม้แก่น ให้ใบไม้ ให้ดอกไม้ ให้ผลไม้ ให้ดินเหนียวให้ผลผัดหน้า ให้เครื่องถูตัว ให้ไม้สีฟัน ให้น้ำล้างหน้า ให้ข้าวต้ม ให้แกงถั่ว ให้ของแลกเปลี่ยนแก่ชาวบ้าน หรือรับใช้ชาวบ้าน หรือเป็นหมอ เป็นทูต เป็นผู้รับส่งข่าว หรือให้อาหารแลกอาหาร หรือวัตถุวิชา เขตตวิชา อัควิชา อย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือนกับเสือเหลืองไม่กินเนื้อที่ล้มลงข้างซ้าย อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งเสือเหลืองข้อนี้สมกับคำของ พระสารีบุตรเถระ ว่า 'พระภิกษุคิดว่า ถ้าเราฉันอาหารที่เกิดจากการขอด้วยวาจา เราก็จะมีโทษ มีผู้ติเตียน ถึงไส้ของเราจะทะลักออกมาภายนอกก็ตามเราก็จักไม่ทำลายอาชีวปาริสุทธิศีล (เลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ) เป็นอันขาด' คำนี้ พระอุปเสนวังคันตบุตร ก็ได้กล่าวไว้ว่า 'ถึงไส้ใหญ่ของเราจักทะลักออกมาข้างนอกก็ตาม เราก็จะไม่ให้เสียอาชีวปาริสุทธิศีล ไม่ประพฤติอเนสกรรม ทำลายอาชีวะนั้นเป็นอันขาด” ขอถวายพระพร”
๖.
เต่า
“ ขอถวายพระพร ธรรมดา เต่า ย่อมอยู่ในน้ำฉันใด พระโยคาวจรก็อยู่ด้วยเมตตาฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งเต่า"

"ธรรมดาเต่าเมื่อโผล่ขึ้นจากน้ำ ย่อมชูศีรษะแลดูสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วจึงจมไปให้ลึกด้วยคิดว่า อย่าให้มีผู้อื่นเห็นเราฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือเมื่อกิเลสเกิดขึ้น ก็ดำลงไปในสระน้ำคือารมณ์ให้ลึก ด้วยคิดว่าอย่าให้กิเลสเห็นเราอีก อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แหงเต่า"

"ธรรมดาเต่าย่อมขึ้นจากน้ำมาผิงแดดฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือพระโยคาวจรเลิกจากการนั่ง การยืน การนอน การเดินแล้ว ก็ทำให้ใจร้อนในสัมมัปปธาน (ความเพียรที่ตั้งไว้ถูกต้อง) อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งเต่า"

"ธรรมดาเต่าย่อมขุดดินลงไปอยู่ในที่เงียบฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือพระโยคาวจรทิ้งลาภ สักการะ สรรเสริญ แล้วก็เข้าป่าหาที่อยู่สงัด อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งเต่า ข้อนี้สมกับคำของ พระอุปเสนวังคันตบุตร ว่า“พระภิกษุควรอยู่ในเสนาสนะที่สงัดที่ไม่มีเสียงอึกทึก มีแต่หมู่สัตว์ร้าย เพื่อเห็นแก่ความสงัด” ดังนี้"

"ธรรมดาเต่าเมื่อเที่ยวไป ถ้าได้เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือได้ยินเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็หดเท้าหดหัวเข้าอยู่ในกระดองนิ่งอยู่เพื่อรักษาตัวฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือเมื่ออารมณ์อันน่ารักใคร่ภายนอกปรากฏ พระโยคาวจรปิดประตูระวังสำรวมใจไว้ข้างในมีสติสัมปชัญญะรักษา         สมณธรรมอยู่ อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งเต่าข้อนี้สมกับคำของพระพุทธเจ้าว่า“เต่าย่อมซ่อนอวัยวะทั้ง ๕ ไว้ในกระดองของตนฉันใด พระภิกษุก็ควรตั้งใจมิให้อยู่ในวิตก ไม่อิงอาศัยอะไร ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ติเตียนใครฉันนั้น” ดังนี้ ขอถวายพระพร ”
๗.ไม้ไผ่
"ไม้ไผ่เอนไปตามลม ฉันใด ภิกษุพึงคล้อยตามและตั้งอยู่ในธรรม ฉันนั้น"
๘.แล่งธนู

“ ขอถวายพระพร ธรรมดา แล่งลูกธนู คือรางหน้าไม้ที่ช่างทำดีแล้ว ย่อมตรงตลอดต้นตลอดปลายฉันใด พระโยคาวจรก็ควรตรงต่อเพื่อนพรหมจรรย์ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งแล่งธนู ข้อนี้สมกับคำพระพุทธองค์ใน วิธุรปุณณกชาดก ว่า 'ธีรชนควรเป็นเหมือนแล่งธนู ควรอ่อนตามลมเหมือนไม้ไผ่ ไม่ควรทำตนเป็นข้าศึก จึงจักอยู่พระราชสำนักได้' ขอถวายพระพร”
๙.กา

“ ขอถวายพระพร ธรรมดา กา ย่อมระแวงสงสัยอยู่เสมอ ย่อมขวนขวายอยู่เสมอฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือพระโยคาวจรมีความระมัดระวังอยู่เสมอ สำรวมอินทรีย์อยู่เสมอ อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งกา"
"ธรรมดากาเห็นอาหารสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คือซากสัตว์หรือของเดน แล้วก็ป่าวร้องพวกญาติมากินฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นฉันนั้น คือเมื่อได้ลาภโดยชอบธรรมแล้ว ควรแจกแบ่งให้เพื่อนพรหมจรรย์ อันนี้เป็นองค์ ๒ แห่งกาข้อนี้สมกับคำของ พระสารีบุตรเถระ ว่า 'ถ้ามีผู้น้อมนำโภชนาหารให้แก่เรา เราก็แจกแบ่งเสียก่อนแล้วจึงฉัน' ขอถวายพระพร ”
๑๐.วานร
"วานรอาศัยต้นไม้ใหญ่ พรั่งพร้อมด้วยกิ่งก้านสาขาเพื่อซ่อนเร้นจากภัย ฉันใด ภิกษุพึงอาศัยอยุ่กับอาจารย์ผู้เป็นพหูสุต ผู้ควรแก่การเคารพยกย่อง และเป็นผู้ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ได้ ฉันนั้น"
๑๑.เครือน้ำเต้า
“ ขอถวายพระพร ธรรมดา เครือน้ำเต้า ย่อมเอางวงของตนเกาะหญ้าหรือต้นไม้เครือไม้ขึ้นไปงอกงามอยู่เบื้องบนฉันใด พระโยคาวจรผู้มุ่งความเจริญในพระอรหันต์ ก็ควรยึดหน่วงอารมณ์ด้วยใจ ขึ้นไปเจริญอยู่ในความเป็นพระอรหันต์ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งเครือน้ำเต้าข้อนี้สมกับคำของ พระสารีบุตรเถระ ว่า 'ธรรมดาเครือน้ำเต้าย่อมเอางวงของตนพันหญ้าหรือต้นไม้ หรือเครือไม้ แล้วขึ้นไปงอกงามอยู่เบื้องบนฉันใด พระพุทธบุตรผู้มุ่งหวังอรหัตตผล ก็ควรยึดหน่วงอารมณ์ ทำให้อเสขผล (ผลที่ไม่ต้องเป็นผู้ศึกษาอีก) เจริญฉันนั้น' ดังนี้ ขอถวายพระพร ”
๑๒.ดอกบัวหลวง
"ดอกบัวหลวงเกิดและเติบโตขึ้นมาในน้ำ แต่ไม่เปื้อนน้ำ ฉันใด ภิกษุก็ไม่พึงติดในการอุปฐาก ในสักการะ และในความนับถือ ฉันนั้น"
"ดอกบัวหลวงชูดอกสูงเหนือน้ำ ฉันใด ภิกษุพึงอยู่เหนือโลกียธรรม ฉันนั้น"
"ดอกบัวหลวงสั่นไหวแม้เมื่อต้องสายลมเพียงเบา ๆฉันใด ภิกษุพึงหวาดหวั่นแม้เพียงแต่คิดว่าจะทำบาป เพราะเห็นภัยในกิเลสแม้เพียงเล็กน้อย ฉันนั้น"
๑๓.พืช

“ ขอถวายพระพร ธรรมดา พืช ถึงมีเพียงเล็กน้อย เมื่อเขาปลูกหว่านลงในที่ดี เวลาฝนตกลงมาดี ก็ย่อมให้ผลมากฉันใด พระโยคาวจรก็ควรปฏิบัติชอบ เพื่อให้ศีลส่งให้ได้โลกุตตรผลฉันนั้น อันนี้เป็นองค์แรกแห่งพืช"
"ธรรมดาพืชที่เขาปลูกหว่านลงในที่บริสุทธิ์ดี ย่อมงอกขึ้นได้เร็วฉันใด จิตของพระโยคาวจรผู้อยู่ในที่สงัด ผู้อบรมสติปัฏฐานก็งอกงามขึ้นได้เร็วฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งพืชข้อนี้สมกับคำของ พระอนุรุทธเถระ ว่า“พืชอันตั้งอยู่ในที่บริสุทธิ์ดี ย่อมมีผลไพบูลย์ ทำให้ผู้ปลูกหว่านดีใจฉันใด จิตของพระโยคาวจรที่บริสุทธิ์อยู่ในที่สงัด ก็งอกงามขึ้นเร็วในที่ดินอันดี คือสติปัฏฐานฉันนั้น” ดังนี้ ขอถวายพระพร ”
๑๔.ไม้ขานาง

“ ขอถวายพระพร ธรรมดา ไม้ขานาง ย่อมเจริญอยู่ใต้ดิน แล้วสูงขึ้นตั้ง ๑๐๐ ศอก ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรแสวงหาสมณธรรมคือสามัญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ อยู่ในที่สงัดฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งไม้ขานางข้อนี้สมกับคำของ พระราหุลเถระ ว่า 'ไม้ขานางมีรากหยั่งลงไปใต้ดินตั้ง ๑๐๐ ศอก เวลาถึงกาลแก่แล้ว ก็งอกขึ้นในวันเดียวตั้ง ๑๐๐ ศอกฉันใด พระโยคาวจรผู้อยู่ในที่สงัด ก็เจริญขึ้นด้วยธรรมฉันนั้น' ดังนี้ ขอถวายพระพร”
๑๕.เรือ

“ ขอถวายพระพร ธรรมดา เรือ ย่อมพาคนเป็นอันมากข้ามแม่น้ำไป ด้วยการพร้อมกันแห่งไม้ขนานต่างๆ เป็นอันมากฉันใด พระโยคาวจรก็ควรข้ามโลกนี้กับทั้งเทวโลกไปด้วยความพร้อมกัน แห่งความขนานกันด้วยธรรมหลายอย่าง คือ อาจารคุณ สีลคุณ ข้อวัตรปฏิบัติ อันนี้เป็นองค์แรกแห่งเรือ"
"ธรรมดาเรือย่อมสู้ลูกคลื่น สู้ลมเป็นอันมากฉันใด พระโยคาวจรก็ควรสู้ลูกคลื่นคือกิเลสต่างๆ เป็นอันมาก เช่นลาภ สักการะ ยศ สรรเสริญ การบูชา การกราบไหว้ การนินทา สรรเสริญ ความสุข ความทุกข์ ความนับถือ ความดูหมิ่น เป็นอันมากฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งเรือ"
"ธรรมดาเรือย่อมแล่นไปในมหาสมุทรอันกว้างลึก เต็มไปด้วยสัตว์น้ำหาประมาณมิได้ มีปลาติงมิงคละ มังกร เป็นต้น ฉันใดพระโยคาวจรก็ควรให้ใจอันขวนขวายซึ่งบารมี ที่จะข่มขี่เสียซึ่งสัญญาทั้งปวง เที่ยวไปในการรู้แจ้งแทงตลอด ซึ่งสัจจะ ๔ อันมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งเรือสมกับพระพุทธพจน์ใน สัจจสังยุตต์ อันมีในสังยุตตนิกายว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายจะคิดก็ควรคิดว่า อันนี้เป็นทุกข์ อันนี้เป็นทุกขสมุทัย อันนี้เป็นทุกขนิโรธ อันนี้เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา' ขอถวายพระพร ”
๑๖.เครื่องขัดข้องเรือ
“ ขอถวายพระพร ธรรมดา เครื่องขัดข้องแห่งเรือ ย่อมขัดข้องเรือไว้ในมหาสมุทรกว้างใหญ่ อันมากไปด้วยละลอกคลื่น ไม่ให้ไปสู่ทิศต่างๆ ได้ฉันใดพระโยคาวจรก็มีจิตข้องอยู่ในลูกคลื่น คือราคะ โทสะ โมหะ ในเครื่องกระทบคือวิตกใหญ่ไม่ให้ไปสู่ทิศต่างๆ ได้ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์แรกแห่งเครื่องขัดข้องเรือ"
"ธรรมดาเครื่องขัดข้องเรือ ย่อมข้องเรือไว้ในน้ำอันลึกตั้ง ๑๐๐ ศอกก็มีฉันใด พระโยคาวจรไม่ควรข้องอยู่ในเครื่องข้อง คือ ลาภ ยศ สักการะ การกราบไหว้บูชา ควรตั้งจิตไว้ในปัจจัย พอให้ร่างกายเป็นไปได้เท่านั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งเครื่องขัดข้องเรือข้อนี้สมกับคำของ พระสารีบุตรเถระ ว่า 'เครื่องขัดข้องเรือในมหาสมุทร ย่อมไม่ลอยอยู่ มีแต่จมอยู่ข้างใต้ฉันใด ท่านทั้งหลายอย่าข้องอยู่กับลาภสักการะ อย่าจมอยู่ในลาภสักการะฉันนั้น'ขอถวายพระพร ”
๑๗.เสากระโดง

“ ขอถวายพระพร ธรรมดา เสากระโดง ย่อมทรงไว้ซึ่งเชือกและรอกและใบเรือฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะทุกเวลาก้าวหน้า ถอยกลับ แลเหลียว คู้เหยียด ครองสังฆาฏิ บาตร จีวร ฉันดื่ม เคี้ยวลิ้ม ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ เดิน ยืน นั่ง นอน ตื่น พูด นิ่ง ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งเสากระโดงข้อนี้สมกับคำของพระพุทธเจ้าว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ อันนี้เป็นคำสั่งสอนสำหรับเธอทั้งหลาย' ดังนี้ ขอถวายพระพร”
๑๘.นายท้ายเรือ
“ ขอถวายพระพร ธรรมดา ต้นหน ย่อมเอาใจใส่เรืออยู่เป็นนิจ ทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ประมาทเผลอเรอฉันใด พระโยคาวจรก็ควรไม่ประมาท ควรกำหนดจิตไว้ด้วยโยนิโสมนสิการอยู่เป็นนิจ ทั้งกลางวันและกลางคืนฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งต้นหนข้อนี้ สมกับพระดำรัสของสมเด็จพระทศพลใน พระธรรมบท ว่า 'เธอทั้งหลายจงยินดีในความไม่ประมาท จงรักษาจิตของตน จงยกตนขึ้นจากหล่มเหมือนกับกุญชรที่ตกหล่ม แล้วยกตนขึ้นจากหล่มได้ฉันนั้น' "
"ธรรมดาต้นหนย่อมรู้สิ่งที่ดีและไม่ดีในมหาสมุทรได้สิ้นฉันใด พระโยคาวจรก็ควรรู้จักสิ่งที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษไม่มีโทษ             ควรเกี่ยวขัองไม่ควรเกี่ยวข้อง เลวดี เปรียบด้วยของดำของขาวฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งต้นหน"
"ธรรมดาต้นหนย่อมตั้งเข็มทิศด้วยตนเอง ไม่ให้ผู้อื่นแตะต้องฉันใด พระโยคาวจรก็ควรตั้งเข็มทิศไว้ในใจ ห้ามใจไม่ให้นึกถึงสิ่งที่เป็นบาปอกุศลต่างๆ ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งต้นหน ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ สังยุตตนิกาย ว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่านึกถึงสิ่งที่เป็นบาปอกุศล อันเป็นกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกเลย' ขอถวายพระพร”
๑๙.กรรมกร
“ ขอถวายพระพร ธรรมดากรรมกรย่อมคิดว่า เราเป็นลูกจ้าง เราจักต้องให้ได้ค่าจ้างมาก เราจักต้องไม่ประมาทฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นฉันนั้น คือควรคิดว่า เมื่อเราพิจารณากายอันประกอบด้วยธาตุ ๔ นี้เราก็เป็นผู้ไม่ประมาทเนื่องๆ มีสติสัมปชัญญะดี มีใจแน่วแน่ เมื่อเป็นอย่างนี้เราก็จักพ้นจากความเกิดแก่ เจ็บ ตาย โศกเศร้า รำพัน ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ คับแค้นใจ เพราะฉันนั้น เราไม่ควรจะประมาท อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งกรรมกร ข้อนี้สมกับคำของพระสารีบุตรเถระ ว่า 'ขอท่านทั้งหลาย จงพิจารณากายนี้ จงกำหนดรู้กายนี้ร่ำไป จงเห็นสภาพในกายจึงจักทำให้สิ้นทุกข์ได้' ดังนี้ ขอถวายพระพร
๒๐.มหาสมุทร
"มหาสมุทรซัดซากสัตว์มาบนฝั่ง ฉันใด ภิกษุพึงซัดกิเลสทิ้งจากใจ ฉันนั้น"
"มหาสมุทรแม้มีขุมทรัพย์มากกมาย ก็ไม่ปล่อยให้กระจัดกระจายไป ฉันใด ภิกษุได้ครองรัตนะแห่งะรรมที่ได้บรรลุแล้ว ก็ปกปิดไว้ไม่นำออกมาอวด ฉันนั้น"
"มหาสมุทรอยุ่ร่วมกับสัตว์ที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย ฉันใด ภิกษุพึงสมาคมกับเพื่อนพรหมจารีผู้มักน้อย มีศีล รอบรู้ และมีปัญญา ฉันนั้น"
"มหาสมุทรไม่ล้นฝั่ง ฉันใด ภิกษุไม่พึงก้าวล่วงศีลแม้เพื่อรักษาชีวิตตน ฉันนั้น"
"มหาสมุทรไม่เต็มเปี่ยมแม้มีแม่น้ำหลายสายไหลลงไป ฉันใด ภิกษุไม่พึงอิ่มในการฟังพระธรรม พระวินัย และพระอภิธรรม ฉันนั้น"


ที่มา: หนังสือมิลินทปัญหา - กษัตริย์กรีกถาม พระเถระตอบ โดย นวพร เรืองสกุลถอดความเป็นภาษาไทย

หมายเหตุ: เนื่องจากหนังสือมิลินทปัญหานี้อธิบายอุปมาเนื้อหาเป็นบางข้อ ฉะนั้น ข้อ ๓, ๕-๖, ๘-๙, ๑๑ , ๑๓-๑๙  ข้าพเจ้าจึงคัดลอกมาจากเวป //tripitaka-online.blogspot.com/2016/05/ml034.html 




Create Date : 16 มิถุนายน 2560
Last Update : 18 มิถุนายน 2560 18:59:13 น.
Counter : 832 Pageviews.

4 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณไวน์กับสายน้ำ

  

ขอบคุณกำลังใจ
กว่าจะทำได้สวยก็เรียนผิดเรียนถูก จากบล๊อกแนะนำ
โดยทำทีละอย่างค่ะ

ถ้าอยากแต่งเองทำอย่างไรต้องดูที่บล๊อกแก๊งแนะนำ
จะเลือกอะไร

ค่อยๆทำความเข้าใจค่ะ ถ้าเข้าใจแล้วไม่ยากค่ะ

มีอะไรสงสัยยินดีแนะนำ
โดย: ป้าเก๋า (ชมพร ) วันที่: 16 มิถุนายน 2560 เวลา:15:50:59 น.
  

ขอบพระคุณ ป้าเก๋ามาก ๆๆๆเลยค่ะ
โดย: Ineverdie วันที่: 16 มิถุนายน 2560 เวลา:17:01:36 น.
  
ดีใจครับ ที่ไปเยี่ยมที่บล๊อก........ก็อยู่สายธรรมมะ นะครับ

ผมเขียนเรื่อง สมาธิไว้ไม่มาก น่าจะประมาณ 50 ชิ้นได้... ครั้งหลัง
สุด เมื่อไม่กี่วัน บล๊อก No. 593 ตอน นั่งเฉย ๆ แล้ว เจอดี....

ส่วนใหญ่ผมอยู่สายปฏิบัติ คือเรียนมาโดยตรง ด้านปริยัติเรียนน้อย
หน่อย หุ หุ ความจำไม่ค่อยดีประเภทนั้นแหละครับ

เขียนเรื่องพุทธศาสนา..สมาธิ จะมีคนเข้าดูน้อย แต่ใจก็อยากให้
คน "สนใจ" เนื้อหา กับ ผลที่ได้ ปฏิบัติ.... แต่ก็ยังอยากเขียน

คงเป็นด้วย ผมยังมีความอยาก คือ อยากให้คนพบความสุขแบบ
ที่หลาย ๆ คนพบ..ครับ

งั้นผมโหวต...ให้กำลัง ..



Ineverdie Dharma Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

ทีแรกผมคิดว่า ผู้เขียน เป็นชาย 555 หรือไม่งั้นก็เป็น ภิกษุครับ
โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 16 มิถุนายน 2560 เวลา:18:17:47 น.
  
ขอบคุณมากเลยค่ะที่เป็นกำลังใจให้ค่ะ คุณไวน์กับสายน้ำ ตัวข้าพเจ้าเองเป็นผู้ที่ยังต้องฝึกเรียนรู้ปฏิบัติอีกมากค่ะ พยายามฟัง อ่าน ค่อย ๆซึม ค่อยซับ ทีละเล็กทีละน้อย บางเรื่องก็งงๆงวยๆ แบบว่าปัญญาน้อย ความจำก็ไม่ดี ก็ที่ลอกเขียนมา ก็คงต้องเข้าไปอ่านอีกหลาย ๆรอบค่ะ กว่าจะพอเข้าใจบ้างค่ะ ธรรมะที่ท่องอยุ่ในใจเกือบทุกวัน เวลาเจอเหตุการณ์อะไรสุข สนุก ทุกข์ หลันล้า อารมณ์เซ็ง ก็มีแต่คำว่า มีขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป จำง่ายดีค่ะ จะได้ไม่หลงระเริงเกินไปค่ะ
โดย: Ineverdie วันที่: 16 มิถุนายน 2560 เวลา:20:56:17 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ineverdie
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments