มิถุนายน 2560

 
 
 
 
1
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
มิลินทปัญหา - บทที่ ๗ สติ (ข้อ ๑. - ข้อ ๕.)


มิลินทปัญหา - บทที่ ๗ สติ (ข้อ ๑. - ข้อ ๕.)

     ๑. "พระคุณเจ้านาคเสน สติเกิดขึ้นได้กี่วิธี"
         "สติจะบังเกิดขึ้นโดยอาการ ๑๗ สถาน ขอถวายพระพร อาการ ๑๗นั้นคือ
          สติที่ระลึกสิ่งที่มีประสบการณ์มาแล้วได้ เช่น ท่านพระอานนท์ที่ระลึกชาติได้ (โดยไม่ต้องมีการเจริญธรรมอื่น ๆ) (อภิชานโต สติ)
          สติที่ระลึกได้เมื่อได้รับการกระตุ้นจากผู้อื่นหรือสิ่งอื่น ของผู้มักหลงลืม(กุฎมพิกาย สติ)
         สติที่ระลึกสถานการณ์พิเศษได้ เช่น พระราชาธิบดีจำวันราชาภิเษกได้ หรือพระโสดาบันจำตอนที่บรรลุโสดาปัตติผลได้(โอฬาริกวิญญาณโต สติ)
          สติที่ระลึกความประทับใจที่ดี เช่น บุคคลจำสิ่งที่ทำให้มีความสุขได้(หิตวิญญาณโต สติ)
          สติที่ระลึกถึงทุกข์ยากที่เคยประสบมาได้ เช่น บุคคลจำเรื่องที่ทำให้ตนเจ็บปวดได้(อหิตวิญญาณโต สติ)
          สติที่ระลึกได้โดยความละม้ายเหมือน เช่น ระลึกถึงพ่อแม่พี่น้องทั้งหญิงและชายได้เมื่อเห็นคนที่คล้าย ๆ(สภาคนิมิตตโต สติ)
          สติที่ระลึกได้โดยความไม่เหมือนเลย เช่น ระลึกถึงบางคนเมื่อประสบกับคนที่ไม่เหมือนเลย(วิสภาคนิมิตตโต สติ)
          สติที่ระลึกได้ดังบุคคลที่เคลิ้มสติลืมไป ถูกผู้อื่นกระตุ้นเตือนให้ระลึก(กถาภิญญาณโต สติ)
          สติที่ระลึกได้โดยเห็นเครื่องหมาย เช่น จำโคงานได้ ได้เมื่อเห็นตราประทับ(ลักขณโต สติ)
         สติที่ระลึกได้โดยความพยายามจะระลึก เช่น ถูกเตือนแล้วเตือนอีกจึงระลึกได้(สรณโต สติ)
         สติที่ระลึกได้โดยสะกดการันต์ เช่น คนที่เขียนหนังสือเป็น ระลึกได้ว่าสะกดอย่างไร(มุทธโต สติ)
         สติที่ระลึกได้โดยการนับ เช่น นักบัญชีที่บวกลบคูณหารเลขจำนวนสูง ๆได้ ด้วยทักษะด้านตัวเลข (คณนาโต สติ)
         ระลึกได้จากการท่องจำ เช่น นักท่องคัมภีร์ที่ทรงจำคัมภีร์ต่าง ๆได้(ธารณโต สติ)
         ระลึกได้โดยการภาวนา เช่น ภิกษุที่ได้บุพเพนิวาสนุสสติญาณ ระลึกชาติได้(ภาวนาโต สติ)
         ระลึกได้โดยอาศัยการอ่าน เช่น พระราชาจำระเบียบที่ได้ออกไปแล้วได้ด้วยการอ้างอิงจากเอกสารที่จารึกไว้(โปตถกนิพนธนโต สติ)
         ระลึกได้จากการเห็นสิ่งที่เก็บไว้ เช่น บุคคลหนึ่งเห็นสินค้าที่ได้รับฝากไว้ ก็นึกถึงเหตุแวดล้อมที่ได้รับจำนำสิ่งของนี้ไว้ขึ้นมาได้       (อุปนิกเขปนโต สติ)
          ระลึกได้โดยการโดยความเชื่อมโยงกัน เช่น ระลึกถึงรูปได้ ด้วยเคยเห็นรูป จำเสียงได้ด้วยเคยฟัง(อนุภูตโต สติ)"
     ๒. "พระคุณเจ้านาคเสน ท่านกล่าวว่า บุคคลใดที่ทำอกุศลมาตลอดร้อยปี แต่เวลาจะสิ้นชีวิตนึกถึงพระพุทธคุณได้ อาจจะได้เกิดในหมู่เทวดา และบุุคลใดที่เป็นคนดี แต่ทำอกุศลกรรมแม้เพียงครั้งเดียว ก็อาจเกิดในนรกได้ ข้าพเจ้าไม่เชื่อสองอย่างนี้หรอก"
         "ขอถวายพระพร มหาบพิตรคิดอย่างไร ก้อนหินก้อนน้อย ๆจะลอยน้ำได้หรือถ้าไม่อยู่ในเรือ"
         "ไม่ได้หรอก"
         "แต่ว่าแม้กระทั่งหินหนึ่งเล่มเกวียนยังลอยอยูได้เมื่อบรรทุกอยู่ในเรือ ขอให้ทรงคิดเปรียบกุศลกรรมดั่งเรือเถิด"
     ๓. "เหล่าภิกษุทั้งหลายพยายามกำจัดทุกข์ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตหรือ"
          "มิได้ พวกอาตมภาพบำเพ็ญเพียรเพื่อทำทุกข์นี้ให้ดับไปและทุกข์อื่นไม่เกิดขึ้น"
          "แต่ว่า พระคุณเจ้านาคเสน มีทุกข์ในอนาคตอยู่ตอนนี้หรือ"
          "ไม่มีหรอก"
          "ถ้าเช่นนั้น พวกพระคุณเจ้าต้องฉลาดล้ำที่จะเพียรขจัดทุกข์ซึ่งยังไม่มี"
          "มีพระราชาฝ่ายตรงข้ามรุกรานพระองค์บ้างหรือไม่ ขอถวายพระพร"
          "มีอยู่"
          "ถึงเวลามีผู้รุกรานหรือ พระองค์จึงจะเตรียมการเพื่อทำศึก"
          "ไม่ใช่เลย ต้องมีการตระเตรียมแต่เนิ่น ๆแล้ว เพื่อป้องกันภัยในอนาคต"
         "แต่ว่าตอนนี้มีภัยในอนาคตหรือ ขอถวายพระพร"
         "ยังไม่มี พระคุณเจ้า"
         "ดังนั้นพระองค์ต้องฉลาดล้ำที่จะขจัดภัยที่ยังไม่มี"
         "พระคุณเจ้านาคเสน วิสัชนาของพระคุณเจ้าเฉียบคมยิ่ง"
     ๔. "พรหมโลกอยู่ไกลแค่ไหน"
         "ไกลมาก ขอถวายพระพร ต้องใช้เวลาถึง ๔ เดือนกว่าหินก้อนหนึ่งจะหล่นจากพรหมโลกลงมาถึงโลกมนุษย์ ด้วยความเร็ววันละ ๔๘,๐๐๐โยชน์"
         "ถ้าเช่นนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจะเดินทางไปถึงได้อย่างไร แม้จะมีฤทธิ์ช่วย"
         "แดนประสูติของพระองค์อยู่ที่ไหน ขอถวายพระพร"
         "ข้าพเจ้าเกิดที่เกาะชื่อ อลสันทะ"
         "เกาะอลสันทะ อญุ่หางจากที่นี่ไปแค่ไหน"
         "ประมาณ ๒๐๐ โยชน์"
         "ทรงระลึกถึงกรณียกิจที่ได้ทรงทำที่นั่นได้บ้างหรือไม่"
         "ข้าพเจ้าระลึกได้"
         "พระองค์ทรงเสด็จไปตลอดทางสองร้อยโยชน์ได้เร็วจริง ๆ ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุผู้มีฤทธิ์ก็สามารถไปถึงพรหมโลกอย่างทันใดได้ด้วยฤทธิ์"
     ๕. พระเจ้ามิลินท์รับสั่งถาม "ถ้าบุคคลผู้หนึ่งตายแล้วไปเกิดใหม่ในพรหมโลก และในขณะเดียวกัน บุคคลอีกผู้หนึ่งตายและไปเกิดใหม่ในกัศมีรนคร คนไหนจะไปถึงก่อนกัน"
          "เมืองทีประสูติของพระองค์ห่างจากที่นี่แค่ไหน"
          "สองร้อยโยชน์"
          "กัศมีรนครเล่า อยู่ห่างไปแค่ไหน"
          "สิบสองโยชน์"
          "ในสองเมืองนี้ พระองค์ทรงระลึกถึงเมืองไหนได้เร็วกว่ากัน"
          "ใช้เวลาเท่า ๆกัน พระคุณเจ้า"
          "ฉันใดก็ฉันนั้น ขอถวายพระพร บุคคลสองคนที่ตายไปในขณะเดียวกัน ย่อมไปเกิดใหม่ในขณะเดียวกัน"


ที่มา: หนังสือมิลินทปัญหา - กษัตริย์กรีกถาม พระเถระตอบ โดย นวพร เรืองสกุลถอดความเป็นภาษาไทย



Create Date : 15 มิถุนายน 2560
Last Update : 15 มิถุนายน 2560 21:39:09 น.
Counter : 552 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ineverdie
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments