มิถุนายน 2560

 
 
 
 
1
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
มิลินทปัญหา - บทที่ ๑ อัตตา (ข้อ ๑๐.- ข้อ.๑๕.)












มิลินทปัญหา - บทที่ ๑ อัตตา (ข้อ ๑๐.- ข้อ.๑๕)

๑๐."ศรัทธามีอะไรเป็นลักษณะ"
          "ผ่องใสอย่างหนึ่ง และให้เแล่นไปด้วยดี อีกอย่างหนึ่ง"
          "ศรัทธาเมื่อเกิดขึ้นย่อมข่มนิวรณ์ทั้งหลายได้ จิตปราศจากนิวรณ์จะผ่องใส สงบไม่ขุ่นมัว ดั้งนั้นศรัทธามีลักษณะให้ดวงจิตผ่องใสเช่นนี้ ส่วนการแล่นไปด้วยดีนั้นคือ เมื่อผู้บำเพ็ญสมาธิรับรู้ว่าจิตของผู้อื่นพ้นจากกิเลสอาสวะแล้ว ย่อมเกิดความคิดที่จะทำความเพียรเพื่อบรรลุธรรม(มรรค) ที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อได้ธรรม(ผล) ที่ตนยังไม่ได้ และเพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ตนยังไม่แจ้ง ดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้
                          "คนข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา  ข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท ล่วง   ทุกข์ได้ด้วยความเพียร บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา"
     ๑๓."พระคุณเจ้า วิริยะมีอะไรเป็นลักษณะ
          "อุปถัมภ์ค้ำจุนไว้ ขอถวายพระพร เพื่อที่ว่ากุศลธรรมทั้งปวงที่วิริยะค้ำจุนไว้แล้วนั้นจะไม่เสื่อมไป"
         "อาราธนาพระคุณเจ้าแสดงตัวอย่าง"
        "ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า เมื่อกองทัพเล็กพ่ายแพ้กองทัพใหญ่ พระราชาจะทรงหาทุกวิถีทางที่จะเสริมกำลังทัพของพระองค์ จนตีกองทัพใหญ่ได้ ดังนั้นการเสริมกำลังหรือค้ำจุนไว้เป็นลักษณะของวิริยะ ดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้
        "ภิกษุมีความเพียร ละอกุศล บำเพ็ญกุศล ละธรรมที่มีโทษ บำเพ็ญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดได้"
     ๑๒."พระคุณเจ้านาคเสน สติมีอะไรเป็นลักษณะ"
          "ความไม่เลอะเลือนอย่างหนึ่งและการชักชวนให้ถือเอาอีกอย่างหนึ่ง เมื่อสติเกิดขึ้นในใจของสมณะผู้ใด ผู้นั้นย่อมไม่สับสนธรรมที่เป็นกุศล ธรรมที่เป็นอกุศล ธรรมที่ปราศจากโทษ ธรรมที่เป็นโทษ ธรรมที่ไม่สำคัญ ธรรมที่สำคัญ ธรรมที่ดำ ธรรมที่ขาว และอื่น ๆในทำนองเดียวกัน ขณะที่คิดว่า 'นี้คืออิทธิบาท ๔ นี้คือสัมมัปทาน๔ นี้คืออิทธิบาท๔ นี้คืออินทรีย์๕ นี้คือพละ๕ นี้คือโพชฌงค์๗ นี้คืออริยมรรคมีองค์แปด นี้คือสมถะ นี้คือวิปัสสนา นี้คือวิชชา นี้คือวิมุตติ' ดังนั้นผู้นั้นจึงเจริญในธรรมที่พึงเจริญ และหลีกจากธรรมที่พึงหลีก"
         "อาราธนาพระคุณเจ้า แสดงตัวอย่างประกอบ"
         "เปรียบเหมือนขุนคลังของพระราชาผู้ทูลเจ้านายให้ทรงระลึกถึงขนาดของรี้พลและพระราชทรัพย์ในท้องพระคลัง"
         "สติมีการชักชวนให้ถือเอาเป็นลักษณะคืออย่างไร"
         "เมื่อสติเกิดขึ้น ย่อมแยกแยะธรรมทั้งหลายที่ดีและเลวได้ว่า 'ธรรมเหล่านี้เป็นคุณ ธรรมเหล่านี้เป็นโทษ' ผู้บำเพ็ญเพียรย่อมขจัดอกุศลในตน และรักษาธรรมที่เป็นกุศล"
         "อาราธนาพระคุณเจ้าแสดงตัวอย่างประกอบ"
         "เปรียบเหมือนเสนาบดีของพระราชาที่ทูลแนะนำให้ถือเอาการกระทำที่ถูกต้อง ดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้
                          "ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสติแลว่ามีประโยชน์ในที่ทั้งปวง"
     ๑๓."พระคุณเจ้านาคเสน สมาธิมีอะไรเป็นลักษณะ"
          "ความเป็นประธาน ขอถวายพระพร เพราะกุศลธรรมทั้งปวงมีสมาธิเป็นประธานจึงน้อมไปสู่สมาธิ พาไปสู่สมาธิ
          "อาราธนาพระคุณเจ้าแสดงตัวอย่างประกอบ"
          "เปรียบเหมือนจันทันของเรือนหลังหนึ่งล้วนน้อมไปสู่ นำไปสู่ไม้อกไก่ซึ่งเป็นส่วนสูงสุดของหลังคา ฉันใด กุศลธรรมทั้งหลายล้วนน้อมไปสู่ นำไปสู่สมาธิ ฉันนั้น ดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้
                           "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง"
     ๑๔."พระคุณเจ้านาคเสน ปัญญามีอะไรเป็นลักษณะ"
          "ขอถวายพระภร ปัญญามีความส่องสว่างเป็นลักษณะ เมือปัญญาเกิดขึ้นในดวงจิต ย่อมกำจัดความมืดคืออวิชชา ย่อมทำความสว่างให้เกิดขึ้น ทำวิชชาให้ฉายแสง และย่อมทำอริยสัจทั้งหลายให้ปรากฎ ผู้บำเพ็ญสมาธิจึงรับรู้ด้วยปัญญาอันแจ่มชัดในความไม่เที่ยงและทุกข์ และเป็นอนัตตาของสิ่งทั้งปวง"
          "อาราธนาพระคุณเจ้าแสดงตัวอย่างประกอบ"
          "ขอถวายพระพร เหมือนประทีปส่องห้องที่มืดให้สว่างขึ้นจนอาจเห็นสิ่งต่าง ๆในห้องนั้นได้"
     ๑๕."พระคุณเจ้านาคเสน ธรรมทั้งหลายอันมีลักษณะต่าง ๆกันนี้ ทำให้สำเร็จประโยชน์อย่างเดียวกันหรือ"
          "ขอถวายพระพร ธรรมทั้งหล่ายหล่านี้ล้วนกำจัดกิเลสทั้งหลายได้ ประดุจดังส่วนต่างๆ ของกองทัพ เช่น ทัพช้าง ทัพม้า ทัพรถและกองทัพพลธนู นำไปสู่ผลสำเร็จเดียวกัน คือชนะกองทัพฝ่ายอื่นได้"
          "พระคุณเจ้านาคเสน คำตอบของท่านหลักแหลมนัก"


ที่มา: หนังสือมิลินทปัญหา - กษัตริย์กรีกถาม พระเถระตอบ โดย นวพร เรืองสกุลถอดความเป็นภาษาไทย



Create Date : 14 มิถุนายน 2560
Last Update : 14 มิถุนายน 2560 20:56:22 น.
Counter : 519 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ineverdie
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments