มิถุนายน 2560

 
 
 
 
1
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
มิลินทปัญหา - ปุพพโยคกถา(บุพพกรรม ความเป็นมา)


ขอเกริ่นก่อนนิดนึง สืบเนื่องจากว่าข้าพเจ้าอยากอ่านศึกษาเรื่องมิลินทปัญหา จึงได้สืบค้นจาก google และ youtube เห็นว่ามีผู้สร้างเป็นหนังการ์ตูนไว้และแชร์ไว้ใน youtube ก็เลยเปิดดู ก็ปรากฎว่า เขาสร้างทำหนังการ์ตูนได้น่าสนใจ ตื่นเต้น น่าติดตาม สนุกสนาน ชมไม่รู้สึกเบื่อ  ก็เลยเปิดดูไปเรื่อย ๆ วันไหนว่าง วันหยุด ก็เปิดชม จนจบตอน  ต่อมา ก็อยากหาหนังสือมาอ่านบ้าง พอเข้าไปค้นหาก็มีเรื่องมิลินทปัญหา ของผู้เรียบเรียงหลายคน ซึ่งบางฉบับคัดลอกฉบับเต็มมา จึงมีเนื้อหาค่อนข้างยาว ข้าพเจ้าพิจารณาแล้วว่า เป็นผู้ปัญญาน้อยคงไม่สามารถอ่านจบและเข้าใจได้  ก็คิดว่าน่าจะมีฉบับที่เนื้อหาน้อยหน่อยจะได้มีกำลังใจอ่าน แล้ววันหนึ่ง มีคนรู้จักคนหนึ่งที่ให้ข้าพเจ้ายืมหนังสือมิลินทปัญหาอ่าน เมื่ออ่านแล้วก็เห็นว่าเนื้อหากระชับ เพราะเป็นมิลินทปัญหาฉบับย่อ อ่านแล้วเข้าใจง่าย และเหมาะกับผู้มีเวลาน้อย และเห็นว่าน่าจะคัดลอกให้ผู้อื่นได้อ่านบ้าง จึงเป็นที่มาของการนำมาเขียนลงไว้ใน Bloggang นี้  เนื้อหาทั้งหมดใน Dooprajan Bloggang นี้ ข้าพเจ้าจึงคัดลอกเนื้อหาภาษาไทยมาจากหนังสือ
กษัตริย์กรีกถาม - พระเถระตอบ
(มิลินทปัญหาฉบับย่อ)
ภิกขุเปสละ เรียบเรียงเป็นภาษาอังกฤษ
นวพร เรืองสกุล ถอดความเป็นภาษาไทย

มิลินทปัญหา - ปุพพโยคกถา(บุพพกรรม ความเป็นมา)

พระมิลินท์กษัตริย์แห่งสาคลนคร ทรงรอบรู้ในศิลปะวิทยา และทรงมีพระทัยฝักใฝ่ในการสนทนาเพื่อหาความรู้  ทรงมีพระปรีชาในการได้แย้งและไม่มีผู้ใดแม้แต่อาจารย์
ผู้มีชื่อเสียงทั้งหลาย ที่จะทำให้พระองค์หายข้องพระทัยในเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนาได้
     พระอรหันต์อัสสคุตต์ หนึ่งในพระอรหันต์กลุ่มใหญ่ที่อาศัยอยู่ในบริเวณหิมพานต์ ทราบด้วยญาณถึงความสงสัยของพระองค์ จึงจัดประชุมพระภิกษุสงฆ์เพื่อถามว่ามีภิกษุผู้สามารถตอบข้อสงสัยของพระเจ้ามิลินท์ได้หรือไม่ แต่ว่าหาไม่ได้ มหาสมาคมจึงไปปรากฎตัวยังดาวดึงส์ เทวโลกและขออัญเชิญเทพบุตรมหาเสนให้ไปอุบัติในโลกมนุษย์เพื่อปกป้องพระศาสนา พระภิกษุรูปหนึ่งนามว่าโรหณะรับที่จะเดินทางไปยังหมู่บ้านกขังคลาที่เทพบุตรมหาเสนมาอุบัติ และเฝ้ารอเวลาที่เด็กชายจะเติบโต พราหมณ์โสนุตตระผู้บิดาให้บุตรเล่าเรียนไตรเพทจนจบ ทว่าเด็กชายนาคเสนกลับประกาศว่า "ไตรเพทนี้ว่างเปล่าและเหลวเปล่า พระเวทเหล่านี้ไร้แก่นสาร ไร้ค่า ไร้สาระ"
     ถึงตอนนี้พระภิกษุโรหณะ ก็รู้ว่าเด็กชายนาคเสนพร้อมแล้ว จึงไปยังบ้านพราหมณ์ผู้เป็นบิดาและมารดา ทั้งสองยินยอมให้บุตรบวชเณร เณรนาคเสนศึกษาพระอภิธรรมจนแตกฉานทั้ง ๗ คัมภีร์แล้วจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ พระโรหณะส่งพระนาคเสนไปสู่เสนาสนะวัตตนิยะ เพื่อศึกษาเล่าเรียนกับพระอรหันต์อัสสคุตต์ ระหว่างจำพรรรษาอยู่ พระนาคเสนได้รับมอบหมายให้แสดงธรรมต่ออุบาสิกาผู้อุบาสิกาผู้อุปัฏฐากพระอัสสคุตต์ ครั้งนั้นทั้งอุบาสิกาและพระนาคเสนมีดวงตาเห็นธรรม  ได้รู้ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อพระนาคเสนบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันดังนี้แล้ว พระอัสสคุตต์จึงส่งพระนาคเสนไปศึกษายังสำนักของพระธัมมรักขิต ผู้พำนักอยู่ในอโศการาม เมืองปาฎลีบุตร ในเวลาเพียงสามเดือน พระนาคเสนก็เจนจบพระไตรปิฎกทั้งหมด พระธัมมรักขิตเตือนศิษย์มิให้พอใจเพียงความรู้ประยัติ และในคืนนั้นเอง พระนาคเสนก็เพียรปฏิบัติจนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ จากนั้นพระนาคเสนก็กลับไปอยู่ร่วมกับเหล่าอรหันต์ ณ หิมพานต์ ในยามนั้นพระนาคเสนพร้อมแล้วที่จะวิสัชนาธรรมกับใครก็ได้
     ฝ่ายพระเจ้ามิลินท์ยังคงแสวงหาคำตอบต่อปัญหาที่ค้างพระทัยอยู่ ได้เสด็จไปสนทนากับภิกขุอายุปาละ ณ บริเวณสังเขยยะ เพื่อถามว่าเหตุใดพระภิกษุสงฆ์จึงปฏิเสธความสุขสบายทางโลกด้วยการออกบวช พระเถระตอบว่า"การบวชมีประโยชน์ในการประพฤติธรรม ประพฤติสงบ" พระเจ้ามิลินทร์จึงถามต่อไปว่า "พระคุณเจ้า ฆราวาสที่ประพฤติปฏิบัติเช่นนี้มีอยู่บ้างหรือไม่" พระเถระรับว่าผู้ประพฤติธรรมประพฤติสงบแม้ที่เป็นฆราวาสก็มีอยู่จำนวนมาก พระเจ้ามิลินท์จึงย้อนว่า
     "ถ้าอย่างนั้นนะ พระคุณเจ้าอายุปาละ การบวชของท่านก็ไร้ประโยชน์ พวกสมณะทั้งหลายที่บวชและประพฤติธุดงค์คงเพราะเป็นผลของกุศลกรรมที่ทำไว้ในภพก่อน ๆจึงทำให้ต้องมานุ่งห่มผ้าบังสุกุล ต้องฉันมื้อเดียว หรือถือการไม่นอนเป็นวัตร การประพฤติเช่นนี้เป็นคุณก็หาไม่ ได้ตบะบารมีก็หาไม่ ได้ประพฤติธรรมก็หาไม่"
     เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้ ท่านพระอายุปาละนิ่งเฉย ไม่กล่าวตอบแต่อย่างใด ข้าราชบริพารกรีกจากบากเตรีย(ชาวโยนก) ทั้งหาร้อยที่ติดตามมากราบทูลว่า "พระเถระเป็นบัณฑิต แต่ว่าประหม่า จึงไม่กล่าวตอบพระองค์" พระเจ้ามิลินท์ตอบข้าราชบริพารโดยประกาศว่า "ชมพูทวีปว่างเปล่าเหมือนแกลบ ไม่มีใครที่อาจสนทนากับเราเพื่อบรรเทาความสงสัยของเราได้เลย"
     เหล่าข้าราชบริพารไม่ได้หวั่นไหวกับรับสั่งของพระเจ้ามิลินท์ พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสถามว่า "นี่แน่ะเจ้าทั้งหลาย หมายความว่าบัณฑิตผู้สามารถสนทนากับเราและบรรเทาความสงสัยของเราได้มีอยู่ใช่หรือไม่"
     ครั้งนั้นเทวมันติยอำมาตย์กราบทูลว่า " ข้าแต่พระราชา ยังมีพระเถระรูปหนึ่งชื่อพระนาคเสน เป็นบัณฑิตผู้มีจริยวัตรนุ่มนวล แต่เป็นผู้แกล้วกล้า พระเถระสามารถสนทนากับพระองค์ได้ บัดนี้พระเถระพำนักอยู่ที่บริเวณสังเขยยะนี้ ขอพระองค์จงเสด็จไปถามปัญหากับพระนาคเสนเถิด พระเจ้าข้า" ทันทีที่ทรงสดับนาม นาคเสน  พระราชาก็รู้สึกหวั่นหวาดพระโลมชาติชูชัน ลำดับนั้นพระเจ้ามิลินท์ให้ส่งม้าเร็วไปแจ้งยังสำนักพระนาคเสนว่า พระราชาประสงค์จะเสด็จมาพบ แล้วพระเจ้ามิลินท์ก็เสด็จขึ้นรถทรงแวดล้อมด้วยข้าราชบริพารชาวโยนกทั้งห้าร้อย ไปสู่ที่พำนักของพระนาคเสน

ที่มา: หนังสือมิลินทปัญหา - กษัตริย์กรีกถาม พระเถระตอบ โดย นวพร เรืองสกุล ถอดความเป็นภาษาไทย




Create Date : 02 มิถุนายน 2560
Last Update : 18 มิถุนายน 2560 20:12:14 น.
Counter : 1121 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ineverdie
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments