Dr.Danai @ DNT Consultants
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
24 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 
Case Study: บมจ แอ็ดวานซ์อินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยี

การเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา โดยเฉพาะ MBA ในวิชาการบริหารกลยุทธ หรือ การจัดการกลยุทธ ซึ่งในโลกของความเป็นจริงจะมีความแตกแต่งจากชั้นเรียนเป็นอย่างมาก

การที่จะทำให้ นศ.MBA ได้เรียนรู้และสร้างคุณค่าทางปัญญาจากผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่สูงถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ แต่การลงมือปฏิบัติในสภาพจริงของธุรกิจโดยการศึกษา และวิเคราะห์ หรือ ดูงาน ก็มีส่วนสำคัญเช่นเดียวกัน

สำหรับ การวิเคราะห์ธุรกิจ จาก Case Study ของ นศ.ในอันดับต่อมา ครับ ลองรับฟังและรับชม
(สามารถให้ความเห็นได้อย่างอิสระ)

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
Managing Director
DNTConsultants

*******************************************************

Case Study Analysis : บริษัท แอ็ดวานซ์อินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)

โดย นศ.เจริญรัตน์ พจนปัญญารุจน์

บทนำ
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งผลให้มีการพัฒนาและคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้สามารถผลิตสินค้าและการบริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น ส่งผลให้การติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา โลกของการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันได้นำระบบสารสนเทศ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและระบบเครือข่ายระหว่างประเทศ เข้ามาประสานการทำงานร่วมกันในการสร้างโอกาสการดำเนินธุรกิจแบบใหม่สำหรับองค์กรทุกระดับไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน ระบบสารสนเทศในธุรกิจแบบใหม่ช่วยให้องค์กรได้รับข่าวสารที่อยู่ไกลออกไป ช่วยนำเสนอผลิตภัณฑ์และการบริการ ช่วยปรับโครงสร้างและขั้นตอนการทำงานและอาจช่วยเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจขององค์กรได้ ระบบสารสนเทศส่งผลให้อุตสาหกรรมไอทีในประเทศไทยเติบโตต่อเนื่อง สินค้าไอทียังเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็น นักเรียน นักศึกษา และองค์กรธุรกิจต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นต้น
ประวัติบริษัท
บริษัท แอ็ดวานซ์อินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2535 เพื่อประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications Technology) ซึ่งความสำเร็จจากจุดเริ่มต้นในฐานะผู้แทนจำหน่ายสินค้า ได้ผลักดันให้บริษัทเดินหน้าขยายธุรกิจสู่การเป็นผู้ให้บริการด้านการติดตั้งระบบโครงข่ายสารสนเทศ เพื่อให้งานบริการของบริษัทสามารถรองรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร และตลอดระยะเวลามากกว่า 10 ปี จากการทุ่มเทด้านวิชาการ เทคโนโลยี และบุคลากรอย่างต่อเนื่อง อันมีจุดหมายเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพงานบริการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า ในวันนี้ บริษัทซึ่งพร้อมด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ และเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจระดับโลก จึงพร้อมให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอันหลากหลาย ครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบและรับเหมาวางระบบโครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (System Integration) การพัฒนาโปรแกรมระบบงาน (Application Service) การบริการด้านบำรุงรักษา (Maintenance Service) และการให้เช่าระบบสารสนเทศ (Outsourcing Service) ปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 200 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 40 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท บริหารงานภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการตรวจสอบ โดยมีคุณศิริพงษ์ อุ่นทรพันธุ์ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ซึ่งในปี 2549 คณะผู้บริหารได้ร่วมกันกำหนดภารกิจสำคัญ 3 ด้าน เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ให้การประกอบธุรกิจดำเนินไปสู่เป้าหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ
วิสัยทัศน์
“ความสำเร็จของท่าน คือ ความสำเร็จของเรา” (Your Success Is Our Success)
พันธกิจ
บริษัทดำเนินการคัดสรรสินค้าและบริการบนฐานความรู้ (Knowledge Based Goods and Services) เพื่อความ สำเร็จของลูกค้าในราคาและคุณภาพที่เหมาะสมด้วยการให้บริการที่เพียบพร้อมด้วยธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ
วัตถุประสงค์
• เพื่อสร้างความพึงพอใจและความสำเร็จและความสำเร็จสูงสุดให้กับลูกค้า
• เพื่อเพิ่มรายได้และกำไรสุทธิของบริษัท
• เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันของบริษัท และบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
ภาพรวมธุรกิจ
บริษัท แอ็ดวานซ์อินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information & Communications Technology) โดยเป็นผู้ให้บริการด้านการออกแบบและรับเหมาวางระบบโครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมทั้งจำหน่ายอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบงานสารสนเทศต่างๆ โดยร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีชื่อเสียงในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในลักษณะของพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partner) ซึ่งช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัท เช่น การให้คำปรึกษาด้านเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของอุตสาหกรรม หรือส่วนลดพิเศษ เป็นต้น ปัจจุบันพันธมิตรทางธุรกิจของบริษัทประกอบด้วย Cisco Systems, AMP, 3COM, Hewlett Packard , SUN Micro System และ Oracle เป็นต้น
นอกจากนี้ บริษัทยังให้บริการด้านบำรุงรักษาและการพัฒนาโปรแกรมระบบงาน ตลอดจนให้เช่าระบบสารสนเทศ ซึ่งการขยายขอบเขตของบริการนอกเหนือจากเป็นผู้รวบรวมระบบฯ ทำให้บริษัทเป็นผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างเต็มรูปแบบ (“The ICT Solution Provider”)


โครงสร้างรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549
การบริการของ AIT

1. ออกแบบและรับเหมาวางระบบโครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (System Integration)
ให้บริการด้านการออกแบบ และรับเหมาวางระบบโครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อันประกอบด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ Hardware, System software, Application software, ระบบโครงข่ายสารสนเทศ และระบบโครงข่ายการสื่อสาร โดยบริษัทจะศึกษาความต้องการ และเสนอบริการการวางระบบฯ ที่เหมาะสมให้แก่ลูกค้าแต่ละราย ตลอดจนการให้บริการด้านการให้คำปรึกษา แนะนำ ออกแบบ วางระบบ ติดตั้ง ทดสอบ และฝึกอบรม สำหรับธุรกิจทุกประเภทและทุกขนาด
2. พัฒนาโปรแกรมระบบงาน (Application Service)
ให้บริการด้านการวาง ติดตั้งระบบงาน การพัฒนาโปรแกรมระบบงาน การปรับปรุงโปรแกรมระบบงานสำเร็จรูป และการติดตั้งโปรแกรมระบบงานสำเร็จรูป ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า เช่น ระบบใบแจ้งหนี้ (Billing System) และระบบจัดเก็บข้อมูลการใช้โทรศัพท์ (CDMA)
3. บริการด้านบำรุงรักษา (Maintenance Service)
ให้บริการด้านบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ Hardware, System software, Application software, ระบบโครงข่ายสารสนเทศ และระบบโครงข่ายการสื่อสารสำหรับลูกค้าทั่วไป โดยส่วนหนึ่งเป็นลูกค้าที่ต่อเนื่องภายหลังจากหมดระยะเวลารับประกัน คุณภาพ (Warrantee term) และอีกส่วนหนึ่งเป็นลูกค้าใหม่ โดยปกติสัญญาบำรุงรักษาจะมีอายุประมาณ 1- 3 ปี
4. ให้เช่าระบบสารสนเทศ (Outsourcing Service)
บริการให้เช่าอุปกรณ์สื่อสารข้อมูลคุณภาพสูง พร้อมข้อเสนอให้บริการบำรุงรักษาเป็นรายปีเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับลูกค้าที่มีงบประมาณในการลงทุนวางระบบโครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างจำกัด

การวิเคราะห์สถานการณ์
(Scenario Analysis)

การวิเคราะห์สถานการณ์ (Scenario Analysis) เป็นสิ่งที่บอกให้รู้หรือมองถึงอนาคต การ
สำรวจและการเตรียมการสำหรับอนาคตดังนี้
1.1 การเมือง (Political)
จากสภาพการเมืองที่จะมีการเลือกตั้งและเข้าสู่ระบบประชาธิปไตยเต็มตัวในอนาคตจะส่งผลให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการปกครองประเทศ อันที่เสียงส่วนใหญ่จากประชาชนเป็นผู้ตัดสิน และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะส่งผลต่ออำนาจการตัดสินใจซื้อและลงทุน ในอุตสาหกรรมด้านไอทีจะเพิ่มมากขึ้น จนเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มยอดขายและส่วนแบ่งตลาด
1.2 เศรษฐกิจ (Economic)
สภาพเศรษฐกิจของไทยในอนาคตจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ในระดับที่ค่อนข้างช้าจากการที่น้ำมันราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน
ในอุตสาหกรรมทางด้านไอที ก็ได้รับผลกระทบจากความผันแปรตามสภาพเศรษฐกิจ คือ อัตราการบริโภคจะสูงขึ้นอย่างช้า ๆ
1.3 สังคม-วัฒนธรรม (Social & Culture)
จากแนวโน้มด้านสังคม-วัฒนธรรม การบริโภคสินค้าด้านไอทียังคงได้รับการ
ผลการตอบสนองของผู้บริโภคยังต่อเนื่อง มีการวัดกันด้านการให้บริการและราคาสินค้า มากกว่า ความนิยมกับแบรนด์ในอดีต ทำให้ตลาดเปิดกว้างกับทุกค่าย
1.4 เทคโนโลยี (Tecnology)
กระบวนการผลิต รูปลักษณ์ และการใช้งานเป็นปัจจัยในการเลือกซื้อ
สินค้าในอนาคตสินค้าด้านไอที ที่มีจุดแข็งด้านเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ มากกว่าจะเป็นผู้นำในการจำหน่ายสินค้า เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง

วิเคราะห์แนวโน้ม Trends
- ค่าเงินบาทและภาวะทางเศรษฐกิจ
- สถานการณ์ของตลาดอสังหาริมทรัพย์
- ราคาน้ำมัน
- พฤติกรรมการบริโภคสินค้าของประชากร
- การทำการตลาดของคู่แข่งขันทางธุรกิจ
- สถานการณ์ทางการเมือง
- การพัฒนาเทคโนโลยีและ นวัตกรรมในการผลิต กำลังการผลิต

แนวโน้มที่แน่นอน (Certainly Trends)
C1 รัฐบาลมีการสนับสนุนผู้ประกอบการรายใหม่มากขึ้น
C2 ลูกค้าเริ่มใส่ใจเกี่ยวกับสินค้าด้านไอทีมากขึ้นเพราะ การเปลี่ยนการรูปแบบการทำงานและระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป การบริหารงานมีความจำเป็นต้องนำเอาเทคโนโลยีด้านไอทีเข้ามาใช้ C3 คู่แข่งที่อยู่ใน Segment เดียวกันเริ่มมีการทำการตลาดและทำแผนโฆษณาแบรนด์สินค้าอย่างจริงจัง
C4 การขยายตัวของบริษัทขนาดใหญ่ระดับประเทศ เช่น IBM, HP, DELL
C5 ตลาดผู้ประกอบการด้านไอทีภายในประเทศเริ่มเปลี่ยนโครงสร้างและการขยายธุรกิจใหม่เพื่อเปลี่ยนเป็นคู่แข่งขันกับรายใหญ่

แนวโน้มที่ไม่แน่นอน (Uncertainly Trends)
U1 การแข็งค่าของค่าเงินบาทจะทำให้สินค้ามีต้นทุนต่ำลงเพราะนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศแล้วขายสินค้าภายในประเทศ
U2 ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มจะขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งในวงกว้าง
U3 ปัญหาการเข้าออกของพนักงานระดับล่าง ที่ส่งผลให้งานด้านการบริการให้บริการได้ไม่ต่อเนื่อง
U5 การพัฒนาเทคโนโลยีและ นวัตกรรมในการผลิตที่มีอย่างต่อเนื่อง
U6 สถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่ชัดเจนเนื่องจากยังไม่มีการเลือกตั้งใหม่ ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว และขาดความมั่นใจในการลงทุน


วิเคราะห์ 7-S

1. Structure
โครงสร้างของ AIT มีบริษัทมหาชน ที่มีความมั่นคงและใหญ่เป็นต้นๆของบริษัทในด้านผู้ให้บริการทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถสร้างผลกำไรได้ดี

2. Strategy
จากข้อมูลและสภาพการณ์ปัจจุบันมองให้เห็นว่า มีการใช้แผนกลยุทธ์เชิงรุก โดยใช้จุด
แข็งและเงินทุนเป็นตัววางเกมส์

3. System
AIT ค่อนข้างจะมีความเสถียรภาพสูง เนื่องจากเป็นองค์กรที่บริหารงานเป็นรูปแบบสากล โดยมีเจ้าของกิจการและ CEO คอยดูแลและมอบหมายตามนโยบาย

4. Style
รูปแบบของการบริหารองค์กร เป็นอิสระในการปฏิบัติงานในระดับกลางและล่าง แต่ให้ยืนอยู่ในการปฏิบัติการหลัก นั่นคือ เป็นไปในวิสัยทัศน์ เดียวกัน

5. Skill
มีความชำนาญในการให้บริการเทคโนโลยี ด้านการสื่อสาร ระบบเครือข่าย และ โซลูชั่นทางด้านการให้บริการ Automation Office โดยทักษะในการดำเนินงานและบริหารงานสูงมาก

6. Staff
มีการให้ความสำคัญกับบุคลากรอย่างต่อเนื่อง โดยการให้ ความรู้และฝึกอบรมบุคลากร เพื่อนำมาใช้ในการทำงานในองค์กร

7. Share Value
เน้นที่ลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความสำคัญต่อลูกค้า สร้างความพึงพอใจต่อลูกค้า ดังวิสัยทัศน์ที่ว่า “ ความสำเร็จของท่าน คือความสำเร็จของเรา ”


บทสรุปและข้อเสนอ
จากลักษณะธุรกิจของ บริษัท AIT จำกัด การดำเนินธุรกิจในลักษณะ Face-to-Face ทาง AIT ต้องกำกับและทำหน้าที่ดูแล บริหารความสัมพันธ์ของลูกค้าแบบครบวงจรและเต็มรูปแบบ เพื่อตอบสนองรูปแบบธุรกิจ On Demands ให้ครอบคลุมทั้งกลุ่มลูกค้าปัจจุบันและธุรกิจกลุ่มเป้าหมายใหม่ ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางจัดการโซลูชั่นให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า และสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง และให้ความรู้และการจัดฝึกอบรมและร่วมพัฒนากับลูกค้าโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้า มหาวิทยาลัย, หน่วยงานของรัฐ ซึ่งเหล่านี้จะเป็นผลช่วยสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Loyalty) ที่จะส่งผลย้อนกลับมาให้ทางบริษัทฯ สามารถเข้าไปเสนองานและขายหน้าได้ในภายหลัง
ทางด้าน Partner ธุรกิจ ทางบริษัทฯ ต้องมีการปรับกลยุทธ์ในการทำ Cluster IT ร่วมกับพันธมิตรทางการค้า ไม่ว่าจะเป็น Partner ที่ทางบริษัทฯ มีการสั่งซื้อสินค้า เช่น HP, IBM, ACER, Cisco, 3Com เป็นต้น และการสร้าง Hub ( ช่องทางการจัดจำหน่าย ) หา Dealer ต่างจังหวัดเพื่อเข้าเสนองานแทนบริษัทฯ กับหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนที่อยู่ตามต่างจังหวัดต่างๆ เพื่อเป็นการขยายฐานตลาดกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดต้นทุนในการเข้าเสนองานเอง จากข้อเสนอดังกล่าวนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ บริษัท AIT จำกัดมีฐานลูกค้าเพิ่มมากขึ้นและช่วยให้การทำงานมีประสิทธิและประสิทธิผลมากขึ้นด้วย




Create Date : 24 สิงหาคม 2551
Last Update : 24 สิงหาคม 2551 23:54:35 น. 0 comments
Counter : 4145 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

dnt
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




ที่ปรึกษาธุรกิจชั้นนำด้านจัดการกลยุทธ
( ผู้นำและริเริ่มการจัดทำ Balanced
Scorecard & KPIs)
การบริหาร HR ที่เน้นความสามารถ
(Competency Based Approach)
การพัฒนา HRD-KM และ
การจัดการสมัยใหม่
*************************
Friends' blogs
[Add dnt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.