Dr.Danai @ DNT Consultants
Group Blog
 
<<
เมษายน 2552
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
19 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
เถ้าแก่และความเป็นผู้ประกอบการ

เถ้าแก่และความเป็นผู้ประกอบการ
(Entrepreneurship & Entrepreneurs)

บทนำ

การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตลอดช่วง 50 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่แผน-พัฒนาประเทศฉบับที่ 1-10) จะเห็นว่ากระบวนการพัฒนาประเทศมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของประเทศเพราะเชื่อว่าจะนำพาให้ประเทศเข้าไปแข่งขันในเวทีโลกได้ แต่หลังจากผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศที่เกิดขึ้นในปี 2539 นับจากนั้นมา บรรษัทขนาดใหญ่หรือกลุ่มทุนธุรกิจครอบครัวไทยได้ล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก อาจจะด้วยหลายๆ สาเหตุ
# ความเก่งที่มีอยู่อาจจะไม่ใช่ความเก่งที่แท้จริงเนื่องจากเป็นความเก่งในประเทศที่ได้รับการปกป้องและอุ้มชูประคบประหงมจากภาครัฐ หรือการรับสิทธิสัมปทานผูกขาดโดยไม่มีการแข่งขัน
# อุตสาหกรรมหรือธุรกิจยักษ์ใหญ่ของประเทศ มักอิงแอบการเมืองหรือสนับสนุนขั้วอำนาจในการบริหารประเทศหรือแลกกับการดำเนินธุรกิจให้ราบรื่น ไม่มีติดขัดและกำจัดคู่แข่งทางธุรกิจไปในขณะเดียวกัน
# รัฐเองได้ปรับตนเองให้กลายเป็นผู้ปกป้องผลประโยชน์ของเหล่าผู้มีอำนาจ พ่อค้าและนักการเมืองที่เข้ามาบริหารประเทศ ทำให้ผู้บริโภคและประชาชนไม่มีโอกาสมากนักที่จะได้รับความเท่าเทียมหรือความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าและดำรงชีวิตความเป็นอยู่
ดังเช่น กรณีที่รัฐบาลขิงแก่ชราภาพ (รัฐบาลชั่วคราวจากการปฏิวัติ 19 ก.ย.49) ได้ออกกฎหมายมากมายเพื่อกลุ่มคนบางกลุ่มหรือพ่อค้นคนกลางบางธุรกิจ เช่น พ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่งที่ไม่ครอบคลุมถึงห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ 3-4 แห่งในประเทศ ซึ่งสินค้าราคาสูงกว่าตลาดและกลุ่มพ่อค้าโชวห่วยที่สินค้าราคาแพงในระดับชุมชน แต่กลับคุมการเติบโตของดิสเคาน์สโตร์ ซึ่งราคาถูกกว่าทั้งห้างระดับบนและระดับล่าง ผู้บริโภคจึงถูกผลักให้ซื้อของแพงโดยไม่มีทางเลือก


ทิศทางการพัฒนาธุรกิจได้ถูกบิดเบือนอีกครั้งเมื่อเกิดรัฐบาลประชานิยมที่ทุ่มงบลงไปยังกลุ่มธุรกิจ SMEs ให้ก้าวขึ้นมาทดแทนกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่ล้มหายตายจากไป แต่จะยังคงอยู่เฉพาะกลุ่มที่อิงแอบการเมืองและมีอำนาจเหนือรัฐ การส่งเสริมธุรกิจ SMEs ดังกล่าวมีนัยได้ 3 อย่างคือ

(1) มองผิวเผินดูเหมือนเป็นสิ่งที่ดีเพราะทำให้เกิดปริมาณธุรกิจ SMEs เกิดขึ้นจำนวนมาก เพราะเน้นที่จำนวนการเกิดธุรกิจ SMEs หรือผู้ประกอบการหน้าใหม่
(2) ธุรกิจ SMEs ที่เกิดใหม่เมื่อต้องการเข้าสู่ตลาดให้ได้ จึงทำการตัดราคาและทำทุกวิถีทางที่จะแจ้งเกิด ขณะเดียวกันก็ได้สิทธิจากภาครัฐในการยกเว้นหรือเพิ่มฐานเพื่อจ่ายภาษีที่ต่ำ ขณะเดียวกันได้จัดเวทีหรือใช้งบประมาณอุดหนุนให้ไปงาน Trade Fair ต่างๆ
ในทางคู่ขนานได้กลายเป็น ดาบเล่มใหม่ที่เข้าไปเชือดเฉือนธุรกิจเดิมที่กำลังเติบโตอยู่ให้แข่งขันยากขึ้น หรือไม่ได้รับการส่งเสริมจากรัฐ ทำให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมของธุรกิจดังกล่าวไม่มีการพัฒนาในทางต่อยอดความรู้และกลายเป็นเตี้ยอุ้มค่อมไปในที่สุด
(3) ธุรกิจขนาดใหญ่หรือบรรษัทขนาดใหญ่ที่อยู่รอดจึงปราศจากคู่แข่งขันจากธุรกิจขนาดกลางถึงกำลังจะขนาดใหญ่ เพราะถูกธุรกิจ SMEs ที่รัฐให้การสนับสนุนเชือดเฉือนตัดกำลัง บริษัทธุรกิจขนาดใหญ่จึงได้รับผลประโยชน์โดยตรงอย่างไม่ต้องออกแรงอะไรเลย


ประเด็นที่กล่าวมาแม้ว่าจะมีผลคู่ขนานทั้งด้านบวกและด้านลบ ธุรกิจ SMEs ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศมีทางรอด หากได้มีการศึกษาและทำความเข้าใจพร้อมทั้งการกำหนดนโยบายที่ถูกต้อง


ผู้เขียนจึงเห็นว่าน่าสนใจที่จะศึกษาเรื่องราวของ “เถ้าแก่” หรือ “ผู้ประกอบการ” (Entrepreneur0 กับความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) แต่ในแง่ของความเป็นธุรกิจแล้ว “ธุรกิจครอบครัว” (Family Business) มีความร้อนแรงและน่าศึกษายิ่งกว่าธุรกิจ SMEs อย่างไรก็ตามผู้เขียนมีประสบการณ์ในการพัฒนาธุรกิจ SMEs จึงจะได้ประมวลมานำเสนอไว้ด้วย

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
Managing Director
DNTConsultants Co.,Ltd.






Create Date : 19 เมษายน 2552
Last Update : 19 เมษายน 2552 13:26:32 น. 0 comments
Counter : 1335 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

dnt
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




ที่ปรึกษาธุรกิจชั้นนำด้านจัดการกลยุทธ
( ผู้นำและริเริ่มการจัดทำ Balanced
Scorecard & KPIs)
การบริหาร HR ที่เน้นความสามารถ
(Competency Based Approach)
การพัฒนา HRD-KM และ
การจัดการสมัยใหม่
*************************
Friends' blogs
[Add dnt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.