|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
จิตของคุณมีกิเลสมากน้อยแค่ไหน ?
อุปกิเลส 16 เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมอง, เป็นสิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก ดุจผ้าเปรอะเปื้อนสกปรก ย้อมไม่ได้ดี การมีกิเลสเหล่านี้ บางคนนึกว่ามันเล็กน้อย นิดหน่อย แต่แท้ที่จริงแล้วสิ่งเหล่านี้แหล่ะที่ทำให้จิตใจเราขุ่นมัว
ดังนั้นเราต้องพิจารณาจิต ตามรู้ ตามดูจิตอยู่ตลอดเวลา ทั้งเมื่ออยู่ในอิริยาบถตามปกติ และขณะตั้งใจปฏิบัติ เมื่อเราตั้งใจพิจารณา ตามดูจิตแล้ว เราจะมองเห็นอาการของจิตต่าง ๆ ทำให้เข้าใจจริตนิสัยของตัวเองมากขึ้น เมื่อเราเข้าใจตัวเอง ยอมรับตัวเองตามความเป็นจริง ก็จะเป็นพื้นฐานในการปรับปรุงพัฒนาตนเอง คือเมื่อรู้สึกตัวแล้ว ก็จะไม่หลงไปตามอารมณ์
จิตเดิมแท้ของเราทุกคนเป็นประภัสสร บริสุทธิ์ผ่องใสโดยธรรมชาติแต่กิเลสเป็นอาคันตุกะที่จรเข้ามาครอบงำจิต ทำให้จิตเศร้าหมอง กิเลสหรืออกุศลมูล อันได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ เมื่อมีเหตุปัจจัยประสมประสานกันแล้วก่อตัวขึ้นมาเป็นอุปนิสัยต่าง ๆ มี 16 ลักษณะ เรียกว่า อุปกิเลส 16
มาลองพิจารณาดูว่าในอุปกิเลสทั้ง 16 ตัวคุณมีอยู่กี่ข้อ ?
๑. อภิชฌมวิสมโลภะ คือ ความละโมภ อยากได้ อยากมี อยากเป็นอย่างไม่รู้จักพอ เห็นแก่ได้จนลืมตัว
๒. พยาบาท คือ ความคิดร้าย มุ่งจะทำร้ายเขา ใครพูดไม่ถูกใจก็คิดตำหนิเขา คิดจะทำร้ายฆ่าเขาก็มี บางครั้งทำร้ายผู้อื่นไม่ได้ ก็หันมาตำหนิตัวเอง ทำร้ายตัวเอง จนฆ่าตัวตายก็มีซึ่งเป็นเพราะอำนาจพยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ
๓. โกธะ คือ ความโกรธ มีอะไรมากระทบก็โกรธ เป็นลักษณะโกรธง่าย แต่เมื่อหายแล้วก็เหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น คือไม่ผูกใจเจ็บ ไม่พยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ
๔. อุปนาหะ คือ การผูกโกรธ ใครพูดอะไร ทำอะไรให้เกิดความโกรธแล้วจะผูกใจเจ็บ เก็บไว้ ไม่ปล่อย ไม่ลืม เป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น กระทบอารมณ์เมื่อไร ก็เอาเรื่องเก่ามาคิดรวมกันคิดทวนเรื่องในอดีตว่าเขาเคยทำไม่ดีกับเราขนาดไหน เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ
๕. มักขะ คือ การลบหลู่คุณท่าน ปิดบังความดีของผู้อื่น ลบหลู่ความดีของผู้อื่น เช่น เขาให้ของแก่เรา แทนที่จะขอบคุณกลับนึกตำหนิเขาว่า เอาของไม่ดีมาให้ หรือเมื่อมีใครพูดถึงความดีของเขา เราทนไม่ได้ เราไม่ชอบ จึงยกเรื่องที่ไม่ดีของเขามาพูด เพื่อปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่คนดีถึงขนาดนั้น เป็นต้น
๖. ปลาสะ คือ การตีเสมอ ยกตัวเทียมท่าน ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน แต่ชอบยกตัวเองดีกว่าเขา มักแสดงให้เขาเห็นว่าเราคิดเก่งกว่า รู้ดีกว่า ถ้าให้เราทำ เราจะทำให้ดีกว่าเขาได้
๗. อิสสา คือ ความริษยา เห็นเขาได้ดี ทนไม่ได้ เมื่อเห็นเขาได้ดีมากกว่าเรา เขาได้รับความรักความเอาใจใส่มากกว่าเรา เรารู้สึกน้อยใจ อยากจะได้เหมือนอย่างเขา ความจริงเราอาจจะมีมากกว่าเขาอยู่แล้ว หรือเรากับเขาต่างก็ได้รับเท่ากัน แต่เราก็ยังเกิดความรู้สึกน้อยใจ ทนไม่ได้ก็มี
๘. มัจฉริยะ คือ ความตระหนี่ ขี้เหนียว เสียดายของ ยึดในสิ่งของที่เราครอบครองอยู่อย่างเหนียวแน่น อยากแต่จะเก็บเอาไว้ ไม่อยากให้ใคร
๙. มายา คือ เจ้าเล่ห์หลอกลวง ไม่จริงใจ พยายามแสดงบทบาทตัวเองเกินความจริง หรือจริงๆ แล้วเรามีน้อยแต่พยายามแสดงออกให้คนอื่นเข้าใจว่ามั่งมี เช่น ด้วยการแต่งตัว กินอยู่อย่างหรูหรา หรือบางกรณี ใจเราคิดตำหนิติเตียนเขา แต่กลับแสดงออกด้วยการพูดชื่นชมอย่างมาก หรือบางทีเราไม่ได้มีความรู้มาก แต่ของคุยแสดงว่ารู้มาก เป็นต้น
๑๐. สาเถยยะ คือ การโอ้อวด หลอกลวงเขา ชอบอวดว่าดีกว่าเขา เก่งกว่าเขา พยายามแสดงให้เขาเห็น เพื่อให้เขาเกิดอิจฉาเรา เมื่อได้โอ้อวดแล้วมีความสุข
๑๑. ถัมภะ คือ ความดื้อ ความกระด้าง ยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง ใครแนะนำอะไรให้ก็ไม่ยอมรับฟัง
๑๒. สารัมภะ คือ การแข่งดี มุ่งแต่จะเองชนะเขาอยู่ตลอด จะพูดจะทำอะไรต้องเหนือกว่าเขาตลอด เช่นเมื่อพูดเถียงกันก็อ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา เพื่อเอาชนะให้ได้ ถึงแม้ความจริงแล้วตัวเองผิด ก็ไม่ยอมแพ้
๑๓. มานะ คือ ความถือตัว ทะนงตน
๑๔. อติมานะ คือ การดูหมิ่นท่าน ความถือตัวว่าเราดียิ่งกว่าเขา ทำให้ดูถูกดูหมิ่นคนอื่น
๑๕. มทะ คือ ความัวเมา หลงว่ายังเป็นหนุ่มเป็นสาว ยังไม่แก่ ยังไม่ตาย หลงในอำนาจ หลงในตำแหน่ง คิดว่าเราจะเป็นอย่างนี้ตลอดไปแล้วทำอะไรเกินเหตุ
๑๖. ปมาทะ คือ ความประมาท เลินเล่อ ไม่คิดให้รอบคอบ อาการที่ขาดสติ ขาดปัญญา
ข้อมูลอ้างอิงจาก //www.kanlayanatam.com
Create Date : 27 มิถุนายน 2551 |
|
29 comments |
Last Update : 27 มิถุนายน 2551 9:58:01 น. |
Counter : 665 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
โดย: TonYaa 27 มิถุนายน 2551 21:16:51 น. |
|
|
|
| |
โดย: walkerahead (Walkerahead ) 28 มิถุนายน 2551 13:48:45 น. |
|
|
|
| |
โดย: แนน (idol_nan ) 28 มิถุนายน 2551 16:34:37 น. |
|
|
|
| |
โดย: นวลกนก 28 มิถุนายน 2551 20:36:59 น. |
|
|
|
| |
โดย: jiney (สวยตลอดกาล ) 29 มิถุนายน 2551 9:16:22 น. |
|
|
|
| |
โดย: เนระพูสี 29 มิถุนายน 2551 10:16:16 น. |
|
|
|
| |
โดย: กชมนวรรณ 29 มิถุนายน 2551 12:09:51 น. |
|
|
|
| |
โดย: แมงหวี่ (แมงหวี่@93 ) 30 มิถุนายน 2551 15:38:52 น. |
|
|
|
| |
โดย: โบ (bowkavi ) 30 มิถุนายน 2551 19:36:57 น. |
|
|
|
| |
โดย: Paulo 30 มิถุนายน 2551 22:18:37 น. |
|
|
|
| |
โดย: ธิธารา 1 กรกฎาคม 2551 9:53:06 น. |
|
|
|
| |
โดย: ลุงกล้วย 1 กรกฎาคม 2551 18:14:17 น. |
|
|
|
| |
โดย: ขวัญ (toyor ) 2 กรกฎาคม 2551 15:09:34 น. |
|
|
|
| |
โดย: oor_dt 27 สิงหาคม 2551 23:45:26 น. |
|
|
|
|
|
|
|
กิเลสมากน้อยใช่ปัญหา ปัญหาอยู่ที่ว่าสามารถควบคุมกิเลสให้อยู่ในขอบเขตที่ถูกต้องได้ขนาดไหน
ขอบคุณที่นำธรรมมาฝาก จ๊ะ