Comfortably Numb

<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
13 กรกฏาคม 2555
 

Issues No.07/2012 "สมมติเสวนา"กับไพโรจน์ ชัยนาม ว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550

"สมมติเสวนา"กับไพโรจน์ ชัยนาม ว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550

วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 10:50:27 น.




โดย สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มติชน 11 กรกฎาคม 2555

เนื่องจากในปัจจุบันได้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับการเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่การตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้ปรากฏความเห็นที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในหมู่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย บางส่วนเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้เนื่องจากเป็นสิทธิตามที่รัฐธรรมนูญได้รองรับไว้ ขณะที่บางส่วนกลับมีความเห็นว่ากำลังเป็นการกระทำในลักษณะของการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย

จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะได้มีโอกาส "สมมติเสวนา" กับ ศ.ไพโรจน์ ชัยนาม ผู้เป็นปรมาจารย์ทางด้านกฎหมายรัฐธรร


มนูญ โดยท่านเป็นผู้บรรยายลักษณะวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ (ทั้งปริญญาตรีและปริญญาโท) ที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และสืบเนื่องต่อมากระทั่งเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญเป็นจำนวนมากจนเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง

โดยความเห็นของ ศ.ไพโรจน์ที่นำมาอ้างอิง ณ ที่นี้จะมาจาก ไพโรจน์ ชัยนาม, คำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ (โดยสังเขป) เล่ม 1 ข้อความเบื้องต้นและหลักทั่วไปของกฎหมายรัฐธรรมนูญ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2497 โดยการอ้างอิงในแต่ละแห่งจะระบุหน้าที่ นำมาเอาไว้อย่างชัดเจน

นักเรียนกฎหมาย : อ.ไพโรจน์มีความ เห็นอย่างไรเกี่ยวกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญว่าเป็นสิ่งที่จะสามารถกระทำได้หรือไม่

ไพโรจน์ ชัยนาม : การที่จะถือว่ารัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่เราจะแตะต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขเสียใหม่ไม่ได้นั้นย่อมเป็นสิ่งที่ขัดกับความเป็นจริง ทั้งในทางกฎหมายและในทางการเมือง

ในทางกฎหมายก็คือว่า รัฐธรรมนูญเป็นการกระทำในทางนิติบัญญัติซึ่งบางทีก็เกิดขึ้นโดยเจตนาของฝ่ายเดียว เช่น รัฐธรรมนูญซึ่งพระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่ราษฎร หรือเป็นสิ่งซึ่งเกิดขึ้นโดยการตกลงด้วยเจตนาร่วมกันระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎรก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จะให้รัฐธรรมนูญนั้นเป็นของที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ย่อมฟังไม่ขึ้น

รัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยหนึ่งย่อมเหมาะสมแก่สภาพของประเทศในสมัยนั้น เพราะผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญย่อมพิจารณาวางบทบัญญัติลงไปตามที่ตนเห็นสมควรในขณะนั้น แต่ภายหลังเมื่อเวลาได้ล่วงเลยมาช้านาน สภาพความเป็นอยู่ของประเทศย่อมเปลี่ยนแปลงไป

ฉะนั้น จะให้ฐานะในทางการเมืองและทางสังคมของประเทศต้องถูกจำกัดอยู่ภายใต้บทกฎหมายฉบับหนึ่ง (คือรัฐธรรมนูญ) จึงเป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยเหตุผล

ในทางการเมืองนั้น การที่ถือว่ารัฐธรรมนูญเป็นสิ่งตายตัวจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ย่อมฟังไม่ขึ้น ถ้าหากว่าสภาพความเป็นอยู่ของประเทศได้เปลี่ยนแปลงผิดไปจากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญซึ่งล่วงพ้นสมัยแล้ว รัฐธรรมนูญก็จะกลายเป็นแต่เพียงตัวหนังสือไม่มีการปฏิบัติตาม และในไม่ช้าก็จะเกิดมีการปฏิวัติขึ้น

ฉะนั้น ในทางการเมืองเพื่อป้องกันมิให้ราษฎรก่อการปฏิวัติจึงจำเป็นที่จะต้องไม่ประกาศออกมาว่ารัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่ตายตัวจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ และจะต้องมีบทบัญญัติบอกวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นไว้ เพื่อสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมัยอยู่เสมอ (หน้า 423-424)

นักเรียนกฎหมาย : หากในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมีข้อกำหนดห้ามมิให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรูปแบบอันใดอันหนึ่งที่ปรากฏอยู่ บทบัญญัติเช่นนี้จะมีผลผูกพันให้ต้องปฏิบัติตามหรือไม่ เช่นการกำหนดว่าห้ามเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองที่ดำรงอยู่ในห้วงเวลานั้น

ไพโรจน์ ชัยนาม : ในบางครั้งผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญต้องการที่จะให้รูปการปกครองที่ตนสร้างขึ้นมั่นคงถาวรอยู่ชั่วกาลนาน แม้จะยอมให้แก้ไขในเรื่องอื่นๆ ได้ก็ดี โดยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญห้ามมิให้แก้ไขรัฐธรรมนูญในทางที่เกี่ยวกับรูปการปกครองของประเทศ เช่น ตามมาตรา 90 ของรัฐธรรมนูญบราซิล ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1981 หลังจากที่ได้กล่าวถึงหลักการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วได้ห้ามไว้ว่า ไม่ให้แก้รูปการปกครองแบบสาธารณรัฐและแบบสหพันธ์ของประเทศ

รัฐธรรมนูญโปรตุเกส ลงวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ.1911 ได้กล่าวไว้ในมาตรา 82 ว่า ห้ามมิให้เสนอแก้ไขรูปการปกครองแบบสาธารณรัฐของประเทศ รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสฉบับก่อน ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎหมายลงวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ.1884 มาตรา 2 มีว่า "รูปการปกครองแบบสาธารณรัฐของฝรั่งเศสนั้น ไม่อาจจะเป็นวัตถุประสงค์แห่งการเสนอขอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญได้"

ทั้งนี้ก็เพราะในเวลานั้นพวกนิยมสาธารณรัฐเป็นฝ่ายมีเสียงข้างมากในสภามากขึ้น และเพื่อที่จะป้องกันมิให้กลับไปมีพระมหากษัตริย์ปกครองอีกก็เลยรีบฉวยโอกาสขอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยบัญญัติถ้อยคำเหล่านี้ลงไปทันที (หน้า 427)

นักเรียนกฎหมาย : แล้วบทบัญญัติในลักษณะเช่นนี้มีผลผูกพันในทางรัฐธรรมนูญโดยห้ามเป็นการแก้ไขในส่วนเหล่านี้อย่างเด็ดขาดเลยใช่หรือไม่

ไพโรจน์ ชัยนาม : ทั้งนี้เป็นความจริงว่าบทบัญญัติเหล่านี้เพียงแต่เป็นสิ่งแสดงความปรารถนาของผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญให้บุคคลรุ่นหลังๆ ทราบเท่านั้น แต่หาได้มีค่าในทางกฎหมายเป็นการบังคับให้พวกเหล่านี้พึงปฏิบัติตามไม่ (หน้า 427)

นักเรียนกฎหมาย : เนื่องจากในปัจจุบันได้เกิดข้อถกเถียงว่าในการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญอันจะมีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่อยู่ในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ อาจารย์มีความเห็นต่อเรื่องดังกล่าวนี้อย่างไร

ไพโรจน์ ชัยนาม : การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกใช้แทนฉบับเก่านั้นย่อมจะทำได้ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับเก่าเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติม แต่บางทีรัฐธรรมนูญหนึ่งก็มีบทบัญญัติกล่าวถึงการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่ทั้งฉบับไว้ (การยกเลิก) โดยเรียบร้อย นอกจากนี้อาจมีการตั้ง "สภาร่างรัฐธรรมนูญ" ขึ้น ประกอบด้วยสมาชิกที่ราษฎรได้เลือกตั้งมาทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใช้ใหม่ (หน้า 438)

นักเรียนกฎหมาย : แต่ได้มีข้อโต้แย้งว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นแต่เพียงอนุญาตให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเป็นบางมาตรา ไม่ได้หมายความให้สามารถแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อนำไปสู่การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับนี้แต่อย่างใด

ไพโรจน์ ชัยนาม : อย่างไรก็ดี การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งนั้นอาจทำได้เสมอ แม้เมื่อไม่มีบทบัญญัติกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยเรา คือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินไทยชั่วคราว ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475 แม้จะไม่มีบทบัญญัติบอกวิธีแก้ไขเพิ่มเติม หรือวิธียกเลิกตัวเองไว้ก็ดี ก็ได้ถูกยกเลิกไปโดยรัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 เพราะเมื่อได้มีสภาผู้แทนราษฎรขึ้นตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวแล้ว สภาผู้แทนราษฎรก็ได้ตั้งอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่งไปร่างรัฐธรรมนูญมาเสนอ เมื่อสภาได้ลงมติให้ใช้แล้ว ก็ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ต่อไป รัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 ก็เช่นกัน ได้ถูกยกเลิกไปโดยรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 (ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2492) (หน้า 438-439)

นักเรียนกฎหมาย : อาจารย์มีสิ่งใดจะฝากไว้ให้พิจารณาสำหรับกรณีความขัดแย้งในการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่

ไพโรจน์ ชัยนาม : ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ อาจสรุปลงได้ว่า

1.รัฐธรรมนูญทุกฉบับจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมได้

2.การแก้ไขเพิ่มเติมนั้น จะทำได้ทุกๆ ส่วนของรัฐธรรมนูญตามความจำเป็น

3.การแก้ไขเพิ่มเติมจะทำได้ทุกขณะไม่ว่าเวลาใด

4.การแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องเป็นไปตามวิธีการที่รัฐธรรมนูญนั้นบัญญัติไว้ (หากมี) (หน้า 429)

โปรดพึงตระหนักว่าท่านได้ถึงแก่อสัญกรรมไปเมื่อ พ.ศ.2537 ก่อนหน้าที่จะปรากฏความขัดแย้งระหว่างไพร่/อำมาตย์ หรือเสื้อเหลือง/เสื้อแดง จึงหวังว่าจะไม่มีบุคคลใดกล่าวหาอย่างเลื่อนลอยว่า ศ.ไพโรจน์ให้ความเห็นเข้าข้างทางฝ่ายเสื้อแดง หรือกล่าวหาว่าท่านเป็น "ปัญญาชนเสื้่อแดง" ดังที่มักชอบกระทำกับบุคคลที่ได้แสดงความเห็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของทางฝ่ายเสื้อแดงอยู่เนืองๆ



Create Date : 13 กรกฎาคม 2555
Last Update : 29 พฤศจิกายน 2555 12:22:58 น. 1 comments
Counter : 2161 Pageviews.  
 
 
 
 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
 
 

โดย: สมาชิกหมายเลข 3757448 วันที่: 21 มีนาคม 2560 เวลา:14:45:16 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

Borkum_Monet
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




...เป็นคนกรุงเทพฯโดยกำเนิด
...อดีตข้าราชการพลเรือน
...เลื่อมใสการทำงานของ พตท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
...นิยมความเสมอภาค และความเท่าเทียม...
...เคารพกฎหมาย,ความเห็นที่แตกต่าง
...และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ขอบคุณภาพสวยๆจากอินเตอร์เนต
ขอบคุณเพลงเพราะๆ จากยูทูป
ขอบคุณเพื่อนๆ ที่แวะเข้ามาเยี่ยมด้วยครับ
free counters ...Counter Hits
Vol. 1 อัสนี-วสันต์ โชติกุล ღ
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 2 Van Morrison
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 3 Roger Waters The Wall Live In Berlin 1990
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 4 David Gilmour Unplugged
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 5 Queen
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 6 สุภัทรา อินทรภักดี
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 7 Beautiful Spanish Guitar Music: Al Marconi
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 8 Beautiful Spanish Guitar Music: Armik
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 9 Beautiful Spanish Guitar Music: Jesse Cook
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 10 Chinese music: Kraig Yang
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 11 The Language of Pipa
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 12 Relaxation Music Chinese :Bamboo Flute; Erhu
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 13 Sad Erhu
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 14 Secret Garden, A truely wonderful Song
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ ================================= =================================
Vol. 15 Uploads from VOICE TV
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
New Comments
[Add Borkum_Monet's blog to your web]

MY VIP Friends


 
 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com