Comfortably Numb

<<
มิถุนายน 2555
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
22 มิถุนายน 2555
 

Issues No.02/2012 ทดสอบ...#1 ความจำเป็นการปฏิวัติ 247

//www.enlightened-jurists.com/page/69
ความจำเป็นการปฏิวัติ 2475 และองค์กรเก่าในระบอบการเมืองใหม่
หลังการปฏิวัติ 2475 สำนักจารีตประเพณีอธิบายถึงสถานะของการปฏิวัติ 2475 ในแง่ลบว่าเป็นการ“ชิงสุกก่อนห่าม” โดยหลวงจักรปราณีฯยอมรับว่าองค์กรทางการเมืองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เช่น อภิรัฐมนตรีสภาและสภาองคมนตรีที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงตั้งขึ้นก่อนการปฏิวัตินั้นไม่สามารถตอบสนองความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้ เขาเห็นว่า “ย่อมเป็นที่เห็นกันอยู่ทั่วไปว่า ราษฎรสามัญไม่ใคร่มีหวังในสภาทั้ง 2 นี้เท่าใดนัก เพราะอภิรัฐมนตรีแต่ละคนล้วนเป็นคนชั้นสูง ซึ่งตามปกติย่อมมีความเห็นแตกต่างกับราษฎรสามัญอันมากและไม่มีทางที่จะเข้าใจสภาพความต้องการของพลเมืองส่วนมากได้ ส่วนองคมนตรีก็ไม่ได้ใคร่ประชุมกัน”[25]  จวบกระทั่งเกิดการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ขึ้น คณะราษฎรขอให้พระมหากษัตริย์อยู่ใต้ธรรมนูญการปกครอง แต่สุดท้าย เขาอธิบายว่ายืนยันการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นการ“ชิงสุกก่อนห่าม”ด้วยการกล่าวว่า  “พระองค์เองก็ทรงคิดที่จะทำการเปลี่ยนแปลงในทำนองเดียวกันอยู่แล้ว[26]

ในขณะที่สำนักรัฐธรรมนูญนิยมมองการปฏิวัติในแง่บวก และเห็นว่าเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และมีความจำเป็นในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง หลวงประเจิดอักษรลักษณ์ ได้อธิบายสภาพการปกครองในระบอบเก่าว่า “ก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศสยาม เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ราษฎรทั้งหลายไม่มีส่วนในการปกครองประเทศเลย เพราะอำนาจสูงสุด เป็นของพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวเท่านั้น ”[27]  ส่วนเดือน บุนนาคและไพโรจน์ ชัยนาม ได้สะท้อนความรู้สึกว่า “เมื่อตกมาถึงปัจจุบันนี้(หลังการปฏิวัติ 2475)ก็มีความรู้สึกอยู่ทั่วไปว่า เป็นการล้าหลังพ้นสมัย…ประเทศสยามได้เป็นรัฐสุดท้ายในโลกซึ่งมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เหลืออยู่จนกระทั่งวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 ”[28]

สำหรับคำอธิบายสถานะของการปฏิวัติ 2475 หลวงประเจิดฯ อธิบายว่าเป็นจุดเริ่มต้นของอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนว่า “ครั้นมาเมื่อสมัยประเทศมีการปกครองเปลี่ยนแปลงอย่างประเทศสยาม อำนาจอธิปไตยได้หลุดจากมือประมุขของประเทศ คือ พระมหากษัตริย์ไปอยู่ในอำนาจของพลเมืองทั้งหลาย ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวของเราเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 มาตรา 1 บัญญัติไว้ว่า อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของราษฎรทั้งหลาย ”[29]  ข้อความของหลวงประเจิดฯนี้ย่อมสามารถสะท้อนแนวความคิดหลักของนักกฎหมายกลุ่มรัฐธรรมนูญนิยมได้เป็นอย่างดี

ในขณะที่ หลวงจักรปราณีฯ จากสำนักจารีตประเพณี เห็นว่าแม้ว่ารัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว)จะจำกัดอำนาจกษัตริย์เกือบหมดสิ้นแล้ว แต่เขาเห็นว่ากษัตริย์ยังทรงคุณแก่บ้านเมืองได้ เพราะราษฎรยังคุ้นเคยกับการปกครองกับราชาธิปไตยมากกว่าแบบอื่น ดังนั้นหาก กษัตริย์ยังคงเสวยราช รัฐบาลจะได้รับความเชื่อถือจากราษฎร ทรงมีความสามารถในการให้คำแนะนำ เตือนสติรัฐบาลและให้ความเห็นทางกฎหมายได้ การจำกัดอำนาจกษัตริย์นั้น เขาเห็นว่า ไม่มีข้อเสีย เนื่องจาก “เพราะต่อไปนี้กษัตริย์ที่ไม่ฉลาดหรือไม่สามารถก็ไม่มีอำนาจทำการบ้านเมืองให้เสียได้ ส่วนกษัตริย์ที่ทรงเกียจคร้านก็คงไม่ทำอะไรเลย แต่งานของรัฐบาลก็คงดำเนิรไปตามเคยนั่นเอง”[30]

ส่วนเดือนและไพโรจน์กล่าวถึงความคิดสัญญาประชาคมที่เป็นรากฐานของระบอบใหม่ว่า “ลัทธิประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อจำกัดอำนาจของพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีมากมายจนเป็นที่เสียหายแก่ราษฎร ลัทธินี้หาได้มีความประสงค์ที่จะล้มล้างอำนาจของพระมหากษัตริย์เสียให้หมดสิ้นไม่ เพียงแต่ขอให้ราษฎรมีส่วนเกี่ยวข้องในการปกครองบ้าง เจ้าของลัทธิเดิมมีความประสงค์ให้พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจการปกครองในทางที่จะเกิดประโยชน์แก่ราษฎร แต่เมื่อพระมหากษัตริย์ทำการปกครองไม่เป็นที่พอใจราษฎร พวกเจ้าลัทธิก็แสดงความเห็นว่า ราษฎรมีสิทธิถอดถอนพระมหากษัตริย์ออกเสียจากตำแหน่งผู้ใช้อำนาจสูงสุดได้ ”[31]

---------------------------------------------

 25. หลวงจักรปราณีศรีศีลวิสุทธิ์, อธิบายธรรมนูญปกครองแผ่นดินสยามเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ , (พระนคร : สยามบรรณกิจ , 2475),หน้า 7.

26. หลวงจักรปราณีศรีศีลวิสุทธิ์, อ้างแล้ว ,(2475), หน้า 7.

27. หลวงประเจิดอักษรลักษณ์ ,กฎหมายการเลือกตั้ง(พระนคร : มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง, 2477),หน้า1.

28. เดือน บุนนาค และไพโรจน์ ชัยนาม, คำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญ(รวมทั้งกฎหมายเลือกตั้งด้วย) ภาค 2รัฐธรรมนูญสยาม , (พระนคร : นิติสาส์น,2477), หน้า 12.

29. หลวงประเจิดอักษรลักษณ์ , กฎหมายรัฐธรรมนูญ ,(พระนคร : มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง, 2477),หน้า 26.

30. หลวงจักรปราณีศรีศีลวิสุทธิ์, อ้างแล้ว ,(2475), หน้า 33.

31. เดือน บุนนาค และไพโรจน์ ชัยนาม, คำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญ(รวมทั้งกฎหมายเลือกตั้งด้วย) ภาค 1 หลักทั่วไปของกฎหมายรัฐธรรมนูญ , (พระนคร : นิติสาส์น,2477), หน้า 93.


บทเริ่มต้น และบทอื่น ๆ ของบทความ

ความชอบด้วยระบอบฯ
การหายไปของ - คำถาม- ในคำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญปัจจุบันของไทย
การก่อตัวของคำอธิบายว่าด้วยความชอบธรรมของรัฏฐาธิปัตย์ไทย
บริบทของการวางหลักการ - ความสืบเนื่องและความแตกหักของโลกทัศน หลังการปฏิวัติ 2475
อุดมการณ์บนเส้นขนาน - ความคิด อเนกนิกรสมโสรสมมติ ฯ
อำนาจสูงสุดอยู่ที่ใด - กษัตริย์หรือประชาชน
ความชอบด้วยระบอบ หรือ ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
บรรณานุกรม
Credit : คณะนิติราษฎร์ 



Create Date : 22 มิถุนายน 2555
Last Update : 29 พฤศจิกายน 2555 12:16:18 น. 1 comments
Counter : 2157 Pageviews.  
 
 
 
 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
 
 

โดย: สมาชิกหมายเลข 3757448 วันที่: 21 มีนาคม 2560 เวลา:14:51:07 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

Borkum_Monet
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




...เป็นคนกรุงเทพฯโดยกำเนิด
...อดีตข้าราชการพลเรือน
...เลื่อมใสการทำงานของ พตท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
...นิยมความเสมอภาค และความเท่าเทียม...
...เคารพกฎหมาย,ความเห็นที่แตกต่าง
...และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ขอบคุณภาพสวยๆจากอินเตอร์เนต
ขอบคุณเพลงเพราะๆ จากยูทูป
ขอบคุณเพื่อนๆ ที่แวะเข้ามาเยี่ยมด้วยครับ
free counters ...Counter Hits
Vol. 1 อัสนี-วสันต์ โชติกุล ღ
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 2 Van Morrison
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 3 Roger Waters The Wall Live In Berlin 1990
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 4 David Gilmour Unplugged
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 5 Queen
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 6 สุภัทรา อินทรภักดี
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 7 Beautiful Spanish Guitar Music: Al Marconi
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 8 Beautiful Spanish Guitar Music: Armik
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 9 Beautiful Spanish Guitar Music: Jesse Cook
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 10 Chinese music: Kraig Yang
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 11 The Language of Pipa
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 12 Relaxation Music Chinese :Bamboo Flute; Erhu
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 13 Sad Erhu
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
Vol. 14 Secret Garden, A truely wonderful Song
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ ================================= =================================
Vol. 15 Uploads from VOICE TV
ʚïɞ ღღ❤ * •    • Borkum_Mone't •    • * ❤ღღ ʚïɞ
New Comments
[Add Borkum_Monet's blog to your web]

MY VIP Friends


 
 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com