|
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
เดือนเอลูล และโรช ฮะชานาในเดือนทิชเร
อันนี้ต้องแยกมากลุ่มใหม่นะคะ เพราะวันสำคัญเยอะ และวันหยุดงี้เพียบ อิอิ เดี๋ยวต้องขออธิบายเรื่องระบบปฏิทินของที่นี่หน่อย คือจะยังยึดระบบของเขาเอง ไม่ได้ตามปฏิทินคริสต์ แบบที่ชาวบ้านชาวเมืองอื่นเขาใช้กันค่ะ ที่น่าสนใจ คือเขาดูวันข้างขึ้นข้างแรม เหมือนคนไทยเลยหล่ะ เอ๊ะ...หรือว่าคนไทยจะเป็นเผ่ายิวที่หายสาบสูญไป เมื่อในอดีตกันเนี่ย.... ล้อเล่นนะจ๊ะ มาต่อกันหล่ะ....
เดือน אלול (เอลูล) เป็นเดือนที่ 12 และเป็นเดือนสุดท้ายของปี ตามระบบยูดาย เพื่อความเข้าใจในระบบเดือนของยูดาย เราจะกล่าวถึงเรื่องราวของ תורה โทรา (เดือนเอลูลคือเดือนนี้หล่ะค่ะ ตอนนี้ใกล้สิ้นเดือนแล้ว เย็นวันอาทิตย์ ที่ 2 ตุลา คือล่วงเข้าปีใหม่ หรือ โรช ฮะชานานี่แหละ)
เรื่องราวเริ่มจากภูเขาซีไน (ฮาร ซีไน) משה (โมเช่ หรือ โมเสส) ขึ้นไปยัง הר סיני (ภูเขาซีไน) เพื่อพบกับพระเจ้า และรับมอบלוחות הברית ลูโคท ฮาบริท (แผ่นหินคำจารึก)
ในขณะนั้น ชาวอิสราเอล (มาจากคำเรียกว่า Son of Israel) เห็นว่าโมเช่ กลับลงมาช้า ไม่เป็นไปตามที่สัญญาไว้ พวกเขาจึงกล่าวตำหนิไปยัง אהרון(อาฮารอน) พี่ชายของ โมเช่ และกล่าวว่า โมเช่ คงจะหายสาบสูญไปแล้ว และตอนนี้พวกเขาไม่มีผู้นำอีกต่อไปแล้ว จากนั้นพวกเขาจึงนำเอาทองมารวมกันแล้วสร้างเป็นรูปลูกวัว แล้วก็เริ่มเฉลิมฉลองไปรอบๆ รูปปั้น และกล่าวว่าสิ่งนี้คือพระเจ้า เมื่อโมเช่กลับลงมา และเห็นรูปปั้นที่ชาวอิสราเอลทำไว้ เขาโกรธมาก และคิดว่าคนพวกนี้ ไม่สมควรจะได้รับมอบแผ่นหินคำจารึก ดังนั้นเขาจึงทำลาย לוחות הברית พระเจ้าต้องการที่จะ ทำลายชาวอิสราเอล เนื่องจาก ชาวอิสราเอลไปนับถือสิ่งอื่นแทนพระเจ้า แต่แล้ว โมเช่ก็กลับขึ้นไปยังยอดเขาซีไน ซึ่งตรงกับวันแรกของเดือนเอลูล และ 40 วัน ที่เขาเฝ้าขอประทานอภัยจากพระเจ้าให้กับชาวอิสราเอล และหลังจาก 40 วัน พระเจ้าก็กล่าวว่า "ฉันให้อภัยพวกเขา ตามคำขอของเธอ" แล้วโมเช่ก็กลับลงมาอีกครั้ง พร้อมกับลูโคท ฮาบริท อันใหม่ ซึ่งนี่คือเรื่องราวของเดือนเอลูล โคเดช เอลูล (เดือนเอลูล)
เมื่อเริ่มเข้าสู่ เดือนสุดท้ายของปี אלול א เมื่อใกล้จะถึงสิ้นปี ชาวอิสราเอล จะเริ่มการขออภัย ตลอด 40 วัน ซึ่งถือเป็น 40 วันแห่งการขอโทษและขออภัย จนกระทั่งถึง "ยุด ทิชเร" י תשרי (วันที่ 10 ในเดือนทิชเร) ซึ่งเป็น "วันถืออด" יום כיפור ยม คิปูร์ (วันได้รับการให้อภัย)
ซึ่ง 30 วัน ของเดือนเอลูล אלול ชาวอิสราเอลจะเพิ่มการสวดมนต์ตอนเช้า ด้วยการสวดมนต์ บทที่เรียกว่า סליחות ซลิโคท (มาจากรากศัพท์ แปลว่าขอโทษ) นั่นเอง จึงทำให้ เดือนเอลูลאלול มีชื่อเรียก 2 ชื่อ 1)חודש הרחמים โคเดช ฮาราคามิม (เดือนแห่งความเมตตา) 2) חודש הסליחות โคเดช ฮาซลิโคท (เดือนแห่งการขอโทษ)
ชื่อเดือน เอลูล เองก็มีความหมายเช่นกัน אני לדודי ודודי לי ประโยคนี้ หมายความว่า จากตัวข้าเอง ถึงคุณลุง และจากคุณลุง ถึงตัวข้าเอง ซึ่งหมายความว่า ในเดือนนี้ เรามีความรู้สึกว่าใกล้ชิดกับพระเจ้า เหมือนกับใกล้ชิดญาติสนิทอย่างคุณลุง
ראש השנה ותקיעת השופר โรช ฮะชานา เว ทคิอัท ฮะโชฟาร์ (วันปีใหม่ และเป่าเขาของสัตว์-โชฟาร์ )
มาถึง 2 วันของปีใหม่ ראש השנה และเป็นวันที่พระเจ้า จะตัดสินใจเกี่ยวกับเรา สำหรับปีต่อไป แต่ท่านจะยังไม่ลงนามตามนั้น ซึ่งเราจึงมีเวลาอีก 10 วัน ที่จะเปลี่ยนการตัดสินใจของท่าน
และในวันที่เรียกว่า "ยมคิปูร์" יום כיפור เราทำการถืออด צום หรือ "ทโซม" (การงดกินและดื่ม) และสวดมนต์ทั้งวัน และบทสุดท้ายการสวดในวันยม คิปูร์ คือ "เนอิล่า" נעילה (หมายถึงการปิด การล็อก) พระเจ้าจะลงนามการตัดสินของท่าน ถือเป็นการสิ้นสุด
ในช่วงวันปีใหม่ และในวัน יום כיפור (ในการสวดมนต์ บทสุดท้าย) เราจะเป่า שופר โชฟาร์ (เขาของเนื้อทราย) เสียงเป่าของโชฟาร์ ในอดีต เพื่อที่จะเรียกทุกๆ คนมารวมกัน หรือเพื่อเตือน เมื่อมีสงคราม
ดังนั้นเราจึง โทคอิม บาโชฟาร์ (เป่าโชฟาร์) ตามเหตุดังนี้ 1) เสียงของโชฟาร์ ช่วยให้เราตื่น พร้อมสำหรับ ยมคิปูร และเราต้องเริ่มต้นที่จะเปลี่ยนแปลงนิสัยและการกระทำที่เลวร้าย 2) เสียงของโชฟาร์ เป็นเสียงที่ดัง และมีพลัง ที่จะเข้าไปสู่ยังจิตวิญญาณ ของเรา 3) เสียงของโชฟาร์ เป็นเหมือนกับเสียงร้อง เป็นเสียงร้อง จากการกระทำของเรา ที่ขอการให้อภัย
ראש השנה เป็น 2 วัน ที่เราเป่าโชฟาร์ ทั้ง 2 วันนี้ของวันปีใหม่ (วันที่ 1 และวันที่ 2 ของเดือนทิชเร)
เราเป่าโชฟาร์ กันอย่างไร ? มีทั้งหมดด้วยกัน 3 แบบ 1) תקיעה ทคิอา เสียงยาว 1 ครั้ง 2)שברים ชวาริม (เสียงสั้นลงมา 3 ครั้ง) 3)תרועה ทรูอา (เสียงสั้น ๆ มา 9 ครั้ง)
จำเป็นต้องใช้ 2 คนในพิธีการเป่าโชฟาร์ 1)คนที่จะบอกชื่อของเสียงที่จะเป่า 2)และคนที่จะทำหน้าที่เป่า
ทำไมถึงต้องใช้ 2 คน ไม่สามารถทำคนเดียวได้เหรอ
1)คนที่ทำการเป่า ต้องตั้งใจ มีสมาธิในการเป่ามากๆ ทำผิดพลาดไม่ได้ 2)แต่ละเสียงที่เป่านั้นมีความหมาย คนที่บอกชื่อเสียงของโชฟาร์ ต่อผู้คน คนจะได้รู้ความหมายด้วย ไม่เพียงได้ยินแต่เสียง
תשובה ทชูวา (การย้อนไป หรือการกลับ)
תשובה ทชูวา (การย้อนไป หรือการกลับ) มาจากคำว่า "ละชูฟ" לשוב (ย้อนกลับ) เป็นสิ่งที่เราจำเป็นต้องทำ
เราจำเป็นต้องย้อนนึกถึงพฤติกรรมที่ไม่ดีของเรา ที่มีต่อพระเจ้า ดังจากที่กล่าวว่า เดือนเอลูล 30 วัน ซึ่งเราเริ่มต้นที่จะขออภัยจากพระเจ้า ด้วยการสวดมนต์บทที่ชื่อว่า ซลิโคท סליחות ต่อมาเมื่อถึงต้นเดือนของ เดือนทิชเร ראש חודש תשרי ซึ่งก็คือวันปีใหม่ 2 วันของการ สวมนต์ และการเป่าโชฟาร์
และจากวันปีใหม่ มีเวลา 10 วันจนถึง ยมคิปูร์ ซึ่งคือวันที่ 10 ของเดือนทิชเร י בתשרי วันที่เราเรียกว่า עשרת ימי תשובה อะเซเร็ท เยเมย์ ทชูวา (10 วันแห่งการย้อนคิด)
ความจริงทชูวา ต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วน 1) นำของกลับไปคืน เจ้าของ (ตัวอย่างเช่น ถ้าขโมยเงินใครมา ก็ให้นำไปคืนเจ้าของ) 2) ตั้งใจจะเลิกพฤติกรรมไม่ดีนั้นจริงๆ ไม่ใช่แค่ขอโทษ แล้วทำซ้ำอีก 3) กล่าวขอโทษผู้คน ที่เราเคยทำร้าย ว่าร้ายเขา
นั่นคือสิ่งที่เราปฏิบัติ ในวันยมคิปูร์ เราสามารถขอให้พระเจ้าอภัยให้เรา ต่อสิ่งที่เรากระทำต่อท่าน แต่สิ่งที่เราทำกับเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง เราก็ต้องกล่าวขออภัยจากบุคคลเหล่านั้นด้วยตัวเอง
**การขออภัยบุคคล มีโอกาสขอ 3 ครั้งนะคะ ถ้าครั้งที่ 3 แล้วเขายังไม่ให้อภัย บาปนั้นจะตกอยู่กับตัวเขาเอง อิอิ เป็นระบบที่ดีเนอะ แต่ยังไงก็ตาม ต้องขอด้วยความจริงใจและสำนึกผิดจริงๆนะคะ **
ใกล้ปีใหม่ยิวแล้ว คิดว่าปีนี้คงเข้าไปสวดมนต์กับเขาค่ะ อยากถ่ายรูปบรรยากาศจริงมาให้ดูเหมือนกัน แต่คงจะยาก งั้นดูรูปโชฟาร์ไปก่อนนะคะ แฟนบอกว่าเป่ายากมากๆค่ะ
Create Date : 27 กันยายน 2548 |
Last Update : 28 กันยายน 2548 14:10:49 น. |
|
3 comments
|
Counter : 1412 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: Urim IP: 169.237.108.20 วันที่: 28 กันยายน 2548 เวลา:3:59:37 น. |
|
|
|
โดย: ชโลม IP: 64.131.242.146 วันที่: 2 พฤศจิกายน 2550 เวลา:8:39:12 น. |
|
|
|
|
|
|
|
คือ แถบๆเมืองไทย หรือ เขมร หรืออะไรทำนองนี้ อาจจะมีเชื้อสายยิวที่สาบสูญไปมาตั้งรกรากไว้ เมื่อนานมาแล้ว ก็เป็นไปได้ครับ