แหล่งรวมความรู้ สาระ บันเทิง เทคโนโลยี
<<
กันยายน 2564
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
19 กันยายน 2564
 
 
เห็นภาพซ้อน มองเห็นตัวหนังสือซ้อนกัน เกิดจากอะไร อันตรายไหม


อาการมองเห็นภาพซ้อน หรือมองเห็นตัวหนังสือซ้อนกัน สาเหตุเป็นได้ตั้งแต่ปัญหาสายตาเบา ๆ ไปจนโรคทางตาที่น่าเป็นห่วง ดังนี้
1. สายตาเพลีย

          การมองเห็นภาพซ้อน หรือมองเห็นตัวหนังสือซ้อนกัน เป็นอาการของภาวะสายตาเพลียที่เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ทำงานที่ต้องเพ่งสายตามาก ๆ หรืออยู่ในสถานที่ที่มีแสงสลัวจนมองไม่ชัด รวมทั้งการอ่านหนังสือบนรถที่วิ่งอยู่ ไม่จัดว่าเป็นปัญหาสายตาที่รุนแรงมากนัก แต่ก็ทำให้รู้สึกไม่สบายตาพอสมควรเหมือนกัน โดยนอกจากอาการมองเห็นภาพซ้อนแล้ว ยังอาจมีอาการปวดเมื่อยตา หนังตาหนัก เคืองตา ระคายตา แสบตา น้ำตาไหล หรืออาจมีอาการเวียนศีรษะได้ด้วย

2. กลุ่มอาการทางตาเนื่องจากการใช้คอมพิวเตอร์ (Computer Vision Syndrome : CVS)
          จากการศึกษาพบว่า คนที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์จะมีปัญหาทางสายตาและการมองเห็นประมาณ 75-90% และอีก 20% จะมีปัญหาทางกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ โดยปัญหาทางสายตาจะพบภาวะเห็นภาพซ้อนในสัดส่วน 26% ซึ่งเกิดจากความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อตา เนื่องจากการใช้สายตามากนั่นเอง และหลายคนอาจมีอาการปวดตา ตาแห้ง เห็นภาพมัว ปวดศีรษะ ปวดคอ ปวดหลัง ร่วมด้วย เรียกรวม ๆ ว่าเป็นอาการออฟฟิศซินโดรม

           ทางแก้คือ ต้องปรับระดับจอคอมพิวเตอร์ โต๊ะ เก้าอี้ ที่นั่งทำงานให้เหมาะสม รวมทั้งปรับความสว่างของจอและแสงไฟในห้อง พยายามพักสายตาโดยลุกขึ้นเดินไป-มาและมองออกไปไกล ๆ สัก 10-20 วินาที หรือกลอกตาไป-มา เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อลูกตา

          ทั้งนี้ ภาวะสายตาเพลียมักเกิดในช่วงเวลาบ่าย ที่ใช้สายตาจากช่วงเช้าอย่างต่อเนื่องจนเกิดความเหนื่อยล้าสะสม รวมไปถึงภาวะความเครียด สภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว และการเร่งรีบก็มีส่วนกระตุ้นอาการสายตาเพลียได้ง่ายขึ้น ซึ่งถ้าเกิดจากสาเหตุนี้ควรพักสายตาและกะพริบตาบ่อย ๆ ระหว่างทำงาน

3. ภาวะ Diplopia
          ภาวะ Diplopia เป็นอาการผิดปกติของสายตา ที่ทำให้มองเห็นภาพซ้อน หรือการมองเห็นตัวหนังสือซ้อนกัน โดยส่วนที่เป็นภาพซ้อนจะไม่ชัดเท่ากับภาพแรกที่เราเห็น สำหรับการมองเห็นภาพซ้อนจะมี 2 แบบ คือ

มองเห็นภาพซ้อนเมื่อมองด้วยตาข้างเดียว (Monocular) ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสายตา เช่น ตาเอียง กระจกตาโป่ง ตาแห้ง จอประสาทตาผิดปกติ เลนส์ตาเคลื่อน ต้อกระจก เป็นต้น
มองเห็นภาพซ้อนเมื่อมองด้วยตาทั้งสองข้าง (Binocular) เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อตา ตาเข ตาเหล่ กล้ามเนื้อตาบาดเจ็บ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด MG โรคเกรฟส์ ไทรอยด์ รวมไปถึงโรคเบาหวาน ที่ส่งผลต่อการมองเห็น ซึ่งควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย

4. เส้นประสาทสมองเส้นที่ 6 ทำงานผิดปกติ (CN6 palsy)
          ความผิดปกติของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 6 จะส่งผลต่อการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ lateral rectus muscle ซึ่งเกาะอยู่ที่ด้านข้างของลูกตา คอยทำหน้าที่ในการขยับลูกตาออกไปด้านข้าง ทำให้ตามองออกไปด้านข้างไม่ได้ ก่อให้เกิดภาวะตาเหล่ และนำมาสู่การมองเห็นภาพซ้อน ซึ่งความผิดปกติก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เป็นมาแต่แรกเกิด หรือภาวะเส้นประสาทขาดเลือดที่มักพบในผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว อย่างเบาหวาน ความดันโลหิตสูง, การที่เส้นประสาทถูกกดทับจากเนื้องอก, อุบัติเหตุ, ความดันในกะโหลกศีรษะสูง และภาวะปวดไมเกรน

5. ต้อกระจก
          การมองเห็นภาพซ้อนกัน เป็นอาการหนึ่งของโรคต้อกระจก (Cataract) โดยนอกจากนี้อาจมีอาการตาพร่ามัวเหมือนมองเห็นเป็นหมอกหรือฝ้าบัง เห็นแสงไฟกระจาย มองภาพเป็นสีเหลืองหรือสีที่เพี้ยนไป และอาจมีค่าสายตาเปลี่ยนรวดเร็ว ต้องเปลี่ยนแว่นตาบ่อยผิดปกติ ซึ่งโรคนี้พบมากในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ถูกแสงแดดมาก ๆ รวมทั้งการติดเชื้อที่ตาเรื้อรัง หรือได้รับอุบัติเหตุ
 หากเริ่มมองเห็นภาพซ้อน หรือเห็นตัวหนังสือซ้อนกัน นั่นเป็นสัญญาณที่บอกว่าสายตาของเรากำลังอ่อนล้า หรือหากมีภาวะอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะบ่อยขึ้น ปวดเบ้าตา ควรรีบไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยความผิดปกตินี้โดยเร็ว เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจมีปัญหาสายตาหรือกระทบกับการมองเห็นอื่น ๆ ได้ เช่น มีอาการตาแห้ง ตาล้า ค่าสายตาผิดปกติไป ซึ่งอาจทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง การรักษาอาการมองเห็นภาพซ้อนกัน ควรให้จักษุแพทย์วินิจฉัยสาเหตุของอาการแล้วพิจารณาแนวทางการรักษาในแต่ละเคส เพราะอย่างที่เห็นว่าภาวะนี้เกิดได้จากหลายปัจจัยมาก จึงควรต้องหาแนวทางรักษาอย่างตรงจุด ดังนั้น หากมีอาการมองเห็นภาพซ้อน มองเห็นตัวหนังสือซ้อนกัน แนะนำให้ปรึกษาจักษุแพทย์นะคะ

แนะนำโดย : วาไรตี้ https://lonrhohotels.com


Create Date : 19 กันยายน 2564
Last Update : 19 กันยายน 2564 16:48:47 น. 0 comments
Counter : 1576 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

สมาชิกหมายเลข 6496688
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 6496688's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com