ห้องสุขา ของคนปารีส
ส้วมสาธารณะในกรุงปารีส
เทศบาลนครปารีส (Ville de Paris) ได้นำส้วมสาธารณะรุ่นใหม่ที่ทันสมัยกว่ามาใช้แทนส้วมรุ่นเก่าจำนวน๔๐๐หลัง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ๒๐๐๙ ที่ผ่านมา แถมให้ใช้ฟรีอีกต่างหาก
ส่วนหนึ่งยังคงตั้งอยู่ที่เดิม ที่เหลือถูกย้ายไปอยู่ที่อื่นเพื่อไม่ให้เกะกะทางเท้า ส้วมรุ่นนี้ออกแบบโดย “แพททริค จูแอง” สร้างด้วยวัสดุรีไซเคิ้ลและใช้น้ำฝน
การเลือกที่ตั้ง
การย้ายที่ตั้งส้วมบนทางเท้าในนครปารีสทำให้เกิดแนวความคิดในการสร้างส้วมรุ่นใหม่ขึ้น ที่ตั้งบางแห่งไม่เหมาะสำหรับขนาดของมัน ตามแหล่งท่องเที่ยว เช่น แองวาลีดส์ เนินมองมาร์ตร์ หรือแหล่งจอดรถทัวร์ ฯลฯ ต้องมีห้องสุขาให้มากขึ้น สำหรับย่านที่เป็นตลาด ที่จอดรถแท็กซี่ เช่น ตามทางเดินริมแม่น้ำแซน ปารีสฝั่งซ้าย ฯลฯ ในปัจจุบันยังมีไม่เพียงพอ สรุปแล้วนครปารีสยังคงมีส้วมแค่๔๐๐หลังเท่านั้น ๒๐๐หลังตั้งอยู่ที่เดิม อีก๒๐๐ หลังถูกย้ายไปตั้งในที่แห่งใหม่ที่เหมาะสมกว่า

ห้องสุขาที่สะอาดกว่าและดีกว่า
ส้วมรุ่นใหม่ทันสมัยกว่าและดีกว่าเก่าหลายประการ เช่น
ตรงทางเข้า มีราวสำหรับผู้ใช้เก้าอี้ล้อเข็นจับพยุงตัว และมีข้อมูลที่เป็นเสียงสัญญาณ และเป็นอักษรเบรลสำหรับคนตาบอด
หลังการใช้งานทุกครั้ง การ โถส้วม และพื้นจะถูกล้างและทำให้แห้งพร้อมฆ่าเชื้อโดยอัตโนมัติ
มีระบบให้แสงสว่างและถังดับเพลิง และคนภายนอกสามารถเปิดเข้าไปช่วยเหลือผู้ที่ติดอยู่ภายในได้
มีป้ายข้อความต้อนรับหลายภาษา(ไม่รู้มีภาษาไทยหรือเปล่าน้อ) และ คำแนะนำในการใช้(จะถ่ายทุกข์ยังต้องแนะนำเนอะ สงสัยกลัวทำสกปรก)
ประตูทางเข้าเปิดและปิดอัตโนมัติ มีเครื่องทำความอุ่นสำหรับหน้าหนาว มีที่แขวนเสื้อคลุม มีกระจก น้ำฉีด ตะกร้า และแม้กระทั่งเสียงดนตรีที่ให้บรรยากาศ(ในการปลดทุกข์มั้ง)

ห้องสุขาที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม
ส้วมรุ่นนี้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (ฝรั่งเศสก็มีคำนี้ใช้เหมือนกันนะ) ตั้งแต่เริ่มออกแบบ เพื่อให้ดีต่อสภาพแวดล้อม เช่น
มีถังเก็บน้ำฝนไว้ใช้ นำน้ำที่ใช้แล้วมารีไซเคิ้ล และมีการตรวจการรั่วไหลของน้ำ ซึ่งจะประหยัดน้ำได้ ๓๐%
ใช้แสงสว่างธรรมชาติจากแหล่งแสงสว่างบนหลังคา ระบบแสงสว่างนี้จะใช้ไฟฟ้าน้อยและมีเครื่องตรวจวัดเพื่อให้ความสว่างเท่าที่จำเป็น ใช้พลังงานที่นำมาใช้ใหม่ได้ ๑๐๐% คือกระแสไฟฟ้าที่ใช้มาจาก แสงอาทิตย์ ไฮโดรลิค ชีวมวล
วัสดุที่ใช้ทำจากคอนกรีต เหล็ก และอลูมิเนียมที่เลือกสรรแล้วว่ามีคุณสมบัติดีต่อสิ่งแวดล้อมและคงทน และสามารถรีไซเคิ้ลได้เมื่อหมดอายุการใช้งาน
ระบบการบำรุงรักษา ห้องสุขานี้มีการศึกษาไว้ก่อนแล้วว่าต้องทำน้อยครั้งและเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

เรื่องข้างต้นนี้ ผมไม่ได้เห็นมาด้วยตาตนเองหรอกครับ เคยไปมานานมากแล้ว ตอนนั้นไม่ดียังงี้หรอกครับ เช่นส้วมแถวๆปลาส ดองแฟร์ต์-โรเชอโร เหมือนส้วมข้างท้องสนามหลวงยังไงยังงั้น เหม็นก็เหม็น แถมมีคนคอยจ้องจะมาชะโงกดูอีกด้วย ต้องออกท่ายักษ์แล้วรีบโกยแนบนั่นแหละครับจึงรอดมาได้
คนกรุงเทพฯคงอิจฉาคนปารีสกันมั่งละน่ะ ทำไง กรุงเทพมหานคร ของเราจะมีแนวคิด นโยบาย ที่ดีดี ทำได้จริงจริง ไม่รั่วไม่ไหล อย่างนี้มั่งนะ จะต้องรอกลับมาเกิดอีกชาตินึงก่อนมั้ย (ถอดความจาก//www.paris.fr/portail/pratique/Portal.lut?page_id=8938&document_type_id=4&document_id=59613&portlet_id=21141&multileveldocument_sheet_id=12616 เมื่อ ๒๖ พ.ย.๒๐๐๙)



Create Date : 25 กรกฎาคม 2553
Last Update : 27 กรกฎาคม 2553 15:50:33 น.
Counter : 1043 Pageviews.

1 comments
  
ท่านผู้ว่าสุขุมพัน

น่าจะเอามาไว้ที่สนามหลวง

และสวนจตุจักรบ้าง

น่าใช้มาก
โดย: ใบไม้เบาหวิว วันที่: 8 พฤศจิกายน 2554 เวลา:13:16:08 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อุษา
Location :
แพร่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]



กรกฏาคม 2553

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
28
29
30
31
 
All Blog