www.facebook.com/ibehindyou

ทุก comment ที่คุณให้มา ทำให้เรารู้ว่า เราไม่ได้สนุกกับการเขียน blog แล้วอ่านอยู่คนเดียว

Blog No.9 : ในโลก(ที่ถูก)แบนและคนไทยยังไม่พร้อม

(1) มันไม่ใช่ประเด็นที่ว่าทำไม ‘หนังเรื่องโน้น’ได้ฉายแต่เรื่องนี้ไม่ได้ฉายเพราะหนัง ‘ทุกเรื่อง’ ควรได้ฉายโดยไม่ต้องถูกตัด ถูกเบลอ ภายใต้กฎหมายเรตติ้งที่จัดไว้แล้ว

 (2) มันไม่ใช่ประเด็นที่ว่า ‘จัดเรตไปก็เท่านั้น’ เดี๋ยวพนักงานก็ไม่เอาจริงเดี๋ยวโรงหนังก็ไม่กวดขัน ฯลฯ เพราะประเด็นคือการเข้มงวดกับจริงจังในการทำตามกฎให้ได้ ไม่ใช่ยกเลิกกติกาที่สร้างขึ้นมา Smiley

 (3) มันไม่ใช่เรื่องที่ว่า “พ่อแม่ยุคนี้ไม่เวลาเลี้ยงลูก ดังนั้นสังคมต้องช่วยกัน (ด้วยการเซ็นเซอร์เพราะสิ่งที่ควรเป็นคือสังคมต้องเพิ่มความตระหนักให้พ่อแม่ กระตุ้นให้พ่อแม่รับผิดชอบในภาระที่ควรทำ กระตุ้นให้พ่อแม่หาเวลาให้ลูกมากขึ้น ซึ่งการจัดเรตนั่นคือสิ่งที่ทำดีแล้วตามนานาอารยประเทศพึงมี แล้วพ่อแม่ก็ต้องรู้จักใช้เรตนั้นให้เป็นประโยชน์

ไม่ใช่ถึงขั้นควบคุมหรือคัดกรองสื่อแบบที่อยากให้ประชาชนเสพ ซึ่งเท่ากับผลักหน้าที่ของพ่อแม่ไปให้สังคมหรือรัฐมาทำตัวผู้ปกครองแทน

แล้วยิ่งทำแบบนี้ ก็จะยิ่งทำให้กลายเป็นสังคมที่ผู้ใหญ่เชื่อฝังใจว่า หน้าที่บางอย่างที่ควรเป็นของพ่อแม่ คือ หน้าที่ของรัฐหรือผู้ใหญ่ในสังคมที่ต้องทำแทน

แล้วบ่อยครั้งที่มีคนพยายามเสนอเสรีภาพในการเสพสื่อ เสนอว่าไม่ต้องจำกัดรูปแบบให้สื่อมีแต่เชิงสั่งสอนศีลธรรมเพียงอย่างเดียว หรือมีคนพยายามจะบอกว่าเราโตๆกันแล้ว คิดเองได้ เลือกเองได้  ก็จะตามมาด้วยวลีสุดแคลสสิคว่า

"ก็คนไทยยังไม่พร้อม"


(4)
มันไม่ใช่ประเด็นว่า
“คนไทยไม่พร้อม” เพราะเท่าที่เห็นหรือลองกูเกิ้ลดู วลีนี้มักถูกใช้ในแทบทุกประเด็นที่โลกศิวิไลซ์แล้วเขามีกัน แต่เหมือนคนไทยยังอยู่ในโลกยุคกลางที่ยังไม่พร้อมจะทำตามเขา แล้วก็ไม่เคยพร้อมอะไรซักอย่าง

ทุกครั้งที่มีการใช้คำๆนี้คือการบอกถึงการสร้างสังคมแบบ I
mmaturity (ด้อยวุฒิภาวะ)

คือสังคมที่ต้องมีผู้ปกครองคอยดูแล คือสังคมที่คนอายุ 50 ถูกดูแลให้เสพสื่อไม่ว่าจะข่าวหรือหนังหรือละครเสมือนมีวุฒิภาวะเดียวกับเด็ก 5 ขวบ

แล้วก็บังเอิญที่ผู้ปกครองเต็มไปด้วยความกลัวโน่นกลัวนี่จะตามมา กลัวความเสียหาย กลัวความเจ็บปวด ฯลฯ เหมือนพ่อแม่ที่คิดว่าลูกไม่พร้อมจะเดินกลัวเดินแล้วจะล้ม ก็ยังอุ้มตลอดแม้จะเดินได้แล้ว

และสุดท้ายเด็กคนนั้นก็จะไม่มีวันโตอย่างมีวุฒิภาวะ หรือคนไทยก็จะไม่มีวันพร้อมกับอะไรเลย

 (5) มันไม่ใช่ประเด็นที่ว่า ‘สื่อต้องเป็นบทเรียนสอนใจเสมอถึงจะมีคุณค่า เช่น ตอนจบคนดีต้องได้ดี คนชั่วต้องโดนลงโทษหรือจบด้วยการมีพระมาเทศน์ให้ข้อคิดสอนใจ’

สื่อแบบนี้อาจจะเหมาะในการสอนเด็กเล็กให้รู้จักทำดี เป็นกลวิธีหนึ่ง แต่เมื่อโตขึ้นมาถ้ายังปลูกฝังแต่วิธีคิดแบบนี้ก็เหมือนกับคนเสพสื่อยังคงเป็นเด็กเล็ก แล้วพวกเขาโตขึ้นก็จะปรับตัวไม่ได้กับความจริงที่ว่า

‘มีคนชั่วที่ได้ดี คนดีๆต้องพ่ายแพ้  มีความพยายามที่จบลงด้วยความล้มเหลวมีขยะซ่อนอยู่ใต้พรม มีความเลวร้ายในตัวบุคคลหรือองค์กรที่เราศรัทธา’

การรับรู้สิ่งเลวร้ายในสังคมไม่ได้แปลว่าซ้ำเติมให้สังคมแย่ลง มิหนำซ้ำการรับรู้เหล่านี้จะเป็นผลดีเสียด้วยซ้ำ

เพราะการรับรู้ว่าในชีวิตจริงยังมีคนชั่วที่ได้ดี มีคนดีๆต้องพ่ายแพ้ มีความพยายามที่จบลงด้วยความล้มเหลวมีขยะซ่อนอยู่ใต้พรม มีความเลวร้ายในตัวบุคคลหรือองค์กรที่เราศรัทธา

จะทำให้พวกเขาโตมาโดยไม่ได้มีศรัทธาแบบ blind faith

ทำให้เขารู้จักคอยตรวจสอบสังคม รับรู้ว่ามีความอยุติธรรมในสังคม มองมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตสีเทา

และรู้ว่ามีหลายเรื่องที่ไม่ได้เป็นดั่งกฎตายตัวเหมือนสุภาษิตสอนใจ ซึ่งเขาต้องเตรียมรับมือและต้องอดทนสู้กับมัน


 (6) และถ้าประเด็นที่ต้องแบนสื่อในรูปแบบหนังหรือละครบางเรื่องโดยเข้าข่ายว่า‘ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร’ภายใต้เกณฑ์ที่ตั้งไว้ 6 ข้อ

คำถามที่ควรใคร่ครวญมีอยู่สองประเด็นคือ

6.1 เกณฑ์ทั้ง 7 ข้อนั้นจะใช้อะไรเป็นมาตรฐาน เช่นเกณฑ์ข้อหนึ่งที่ใช้แบนหนังมีคำว่า ‘สาระสำคัญของเรื่องเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์”

อะไรคือสาระที่สำคัญหรือไม่สำคัญในการมีเพศสัมพันธ์ที่จะตัดสินใจแบนหนัง ? Smiley

และ 6.2 ถ้าหนังต้องถูกแบน  เพราะจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย,เสื่อมศรัทธา,แตกความสามัคคีฯลฯ

ประเด็นก็คือหนังเรื่องนั้นมี
power มากขนาดนั้นจริงๆชนิดที่เรียกว่าเหมือนหนัง propagandaแบบของนาซี หรือมันดูหมิ่นเหยียดหยามรุนแรงชนิด offensive กับคนส่วนใหญ่ในประเทศจริงๆ เป็นเหมือนระเบิดนิวเคลียร์ที่ยิงออกมาแล้วตายราบทั้งประเทศ

หรือเป็นเพียงหนังสติ๊ก Smileyที่ยิงไปแล้วเจ็บๆคันๆแค่บางคน แต่ก็ดันกลัวว่ามันจะไปสั่นคลอนฐานที่ไม่มั่นคงอยู่แล้วให้ทรุดลง หรือมันไปกระทบความรู้สึกของคนไม่กี่คนที่มีอำนาจ จนต้องแบนมันเสียแทนที่จะปรับปรุงองค์กรหรือเพิ่มภูมิต้านทานของตัวเองในการรับคำวิจารณ์ด้านลบ 

ไม่งั้นมันก็จะเหมือนกับที่ตัวละครใน
The Hunger games เคยบอกไว้แล้วว่า

“มันคงเป็นระบบที่เปราะบางมาก หากเบอรี่เพียงหยิบมือจะทำให้มันล่มสลาย.”

 (7) มันน่าเบื่ออยู่ที่ว่า ไม่ว่าเราจะมีวิธีคิดอย่างไร คนในเน็ตจะแสดงความเห็นมากแค่ไหน จะมีการรวมตัวกันอีกกี่ครั้ง เราก็ยังวนอยู่ในลูปเดิมๆ


สิบกว่าปีที่ผ่านมา เรื่องแบบนี้ก็วนเวียนอีหรอบเดิมๆ เคยเขียนถึงแล้วก็ต้องเขียนถึงอีก ซึ่งก็มาจากวิธีคิดแบบ
5 ข้อข้างต้นและความคลุมเครือในข้อ มันคือวิธีคิดที่ต่อเนื่องมายาวนานตั้งแต่สมัยเบลอนมชิซูกะ ฯลฯ Smiley

มันคือวิธีคิดภายใต้มาตรการที่มีผู้อำนาจในการคัดกรองสื่อให้ประชาชน พวกเขาเป็นคนเลือกให้


แล้วสุดท้ายเสียงบ่นในโลกออนไลน์ที่ไร้พาวเวอร์ก็จะจางหายไปตามกาลเวลา สุดท้ายหนังหรือสื่อก็จะยอมประนีประนอมปรับตัวเพื่อให้ได้ฉายภายใต้ชุดความคิดเดิมๆ

มันจึงเป็นประเด็นที่ว่า 'วิธีคิดแบบผู้ใหญ่ปกครองเด็ก+คนไทยไม่พร้อม' จะเป็นแบบนี้ไปอีกกี่รุ่น ?

กระบวนการเซ็นเซอร์สื่อ กระบวนการเน้นนำเสนอแต่สิ่งดีงามแล้วไม่พูดถึงเรื่องเลวร้าย กระบวนการที่ประชาชนอยู่ภายใต้การดูแลแบบเด็กๆ ที่เป็นอยู่นี้มันดีจริงๆหรือ?

วิธีการแบบนี้มันช่วยปกป้องให้วิชาชีพ ,หน่วยงาน,องค์กรฯลฯ มั่นคงหรือดีงามโปร่งใสขึ้นจริงๆหรือ?  

แล้วมันทำให้สังคมไทยดีขึ้นจริงหรือ ?


แล้วถ้าไม่ , ในอนาคตเราในฐานะประชาชนจะมีสิทธิเลือกหรือไม่

ในอนาคตเราจะมีอำนาจมากพอในการเลือก
‘ใคร’ มากำหนดแนวทางใช้ชีวิต หรือเลือก ‘วิธีคิด’ ใหม่ๆหรือเปล่า ?

*** เพิ่ม ข้อ 8 กับ ข้อ 9 มาเติมทีหลังจ้า ***

(8) เรามักเข้าใจผิดว่า “โอ้ว เราชนะแล้ว” “ โอ้วเสียงของเราช่างยิ่งใหญ่” หลังจาก หนัง/การ์ตูน/ละคร ฯลฯ ที่เราออกมาเรียกร้องให้ได้ฉายหลังโดนแบนหรือเบลอได้กลับเข้ามาฉายอีกครั้งโดยผู้สร้างกลับไปปรับปรุงเพื่อให้ผ่านเซ็นเซอร์

แต่ความจริงแล้ว เรานั่นแหละที่พ่ายแพ้แล้วเสียงของเราก็ไม่ได้มีพลังอะไรเลยเพราะการที่ผู้กำกับหรือทีมงานกลับไปตัด/เติม/เพิ่ม ฯลฯ ก็คือการประนีประนอมเพื่อให้ได้ผ่านการเซ็นเซอร์ เพื่อให้ได้เข้าฉาย (ซึ่งก็น่าเห็นใจ มิเช่นนั้นก็จะลงทุนไปสูญเปล่า)

ดังนั้นสุดท้ายเวอร์ชั่นที่คนดูได้ดูก็คือเวอร์ชั่นที่ถูกตัดตอนจนเห็นว่า‘เหมาะสม’ แล้ว เท่ากับซึ่งคนดูก็ยังพ่ายแพ้ต่อวิธีคิดในเรื่องการเสพสื่อแบบ‘คนไทยยังไม่พร้อม’

แล้วใช้ชีวิตอยู่ในรูปแบบสังคมที่วุฒิภาวะในการรับสื่อของผู้ใหญ่50 ปีมีค่าเท่ากับเด็ก 5 ขวบกันต่อไป

(9)
แม้จะต้านการเบลอนมชิซูกะเพราะมันดูไร้สาระ ต้านการเซ็นเซอร์เรื่องของวงการหรือวิชาชีพนี้เพราะเราเห็นด้านไม่ดีอยากให้เผยแพร่ความจริงอีกด้านให้โลกรู้ ฯลฯ จนเหมือนเราสนับสนุนเสรีภาพการเสพสื่อ แต่เราอาจไม่รู้ตัวว่าวิธีคิดของเราเองอาจยังอยู่ภายใต้กรอบของการยินดีที่จะให้มีผู้ปกครองช่วยเซ็นเซอร์

ซึ่งจะเห็นได้ชัดก็ต่อเมื่อเราเลือก‘ต้านการเซ็นเซอร์’แค่ประเด็นที่กระทบกับตัวเอง

ตัวอย่างเช่นกรณีซิงเกิ้ลเกตเวย์ , แบนหนัง , เบลอนมชิซูกะ เบลอนมรูปปั้นแกะสลัก , เบลอขวดเบียร์ในละคร , การต่อเติมคำสอนของพระหลังตอนจบเพื่อให้มีอะไรสอนใจฯลฯ ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องเดียวกันคือ

‘
เสรีภาพในการเสพสื่อ’ + วิธีการแบบ ‘ผู้ใหญ่ดูแลเด็ก’ + คนไทยยังไม่พร้อม

แต่หากออกมาเรียกร้องก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นกระทบกับเราแล้วเห็นด้วยกับการเซ็นเซอร์สื่ออื่นๆก็เท่ากับเรายังคงเห็นด้วยกับวิธีคิดแบบนี้และที่หนักคือมี ‘ตรรกะวิบัติ’ หรือการใช้ตัวเองเป็นตัวชี้วัดสังคมหรือความเข้าใจอะไรผิดๆ ทำนองว่า

“
พวกที่ออกมาโวยหนะ เอาเข้าจริงก็ไม่ได้ดูหรอก”

“
โอ๊ย ไอ้เรื่องนั้นมันเป็นแผนโปรโมทแน่ๆปล่อยให้มันโดนแบนเหอะ”

“
เออ บางเรื่องเซ็นเซอร์ก็ดีเหมือนกันนะ เราว่ามันแรงไป”

“
เสรีภาพมากไปมันก็ไม่ดีหรอก ดูอย่างเด็กเล่นเกมแล้วไปก่อความรุนแรงซิ”


ฯลฯ

สุดท้ายแล้ววิธีคิดเหล่านี้ก็จะมาจบตรง“อย่าลืมว่า คนไทยเรายังไม่พร้อม” ซึ่งก็จะเป็นวิธีคิดที่ส่งต่อให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานได้ใช้กันต่อไป






 

Create Date : 13 ตุลาคม 2558
4 comments
Last Update : 18 ตุลาคม 2558 20:07:23 น.
Counter : 2238 Pageviews.

 

โดนครับ

 

โดย: rchaiwate IP: 49.229.84.64 13 ตุลาคม 2558 20:10:58 น.  

 

แวะมาอ่านค่ะ
เห็นด้วยกับ blog นี้เลยค่ะ

 

โดย: สมาชิกหมายเลข 2659363 17 ตุลาคม 2558 0:59:35 น.  

 

เห็นด้วยเลยครับ

คิดว่ามีจัดเรตแล้ว...ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องมีการแบนอีก (ก็ใช้เรต ฉ20 ไปสิ)

แล้วหนังเรต "น" (แนะนำ) นี่ความจริงมันก็ไม่ได้เหมาะกับผู้ชมทุกกลุ่มไม่ใช่เหรอ

หมายเหตุ: ยล็อกของคุณหมอเรื่อง facebook แล้วโดนใจมากครับ ส่วนตัวก็คิดถึง บล็อก และ เว็บบอร์ด แบบเก่าอยู่ไม่น้อย

 

โดย: jouslain (สมาชิกหมายเลข 936681 ) 17 ตุลาคม 2558 21:00:32 น.  

 

มีข้อ 8 กับ ข้อ 9 มาเขียนเพิ่มเติมเน้อ ^_^

 

โดย: "ผมอยู่ข้างหลังคุณ" 18 ตุลาคม 2558 20:08:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


"ผมอยู่ข้างหลังคุณ"
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
13 ตุลาคม 2558
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add "ผมอยู่ข้างหลังคุณ"'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.