www.facebook.com/ibehindyou

ทุก comment ที่คุณให้มา ทำให้เรารู้ว่า เราไม่ได้สนุกกับการเขียน blog แล้วอ่านอยู่คนเดียว

Blog No. 2 : ปัญหาจาก ‘ความรู้สึกดี’ ที่ได้ ‘ทำอะไรดีๆ’ (aka. Feel Good จงเจริญ)



https://www.youtube.com/watch?v=Me1GIDy-U9g

... เพิ่งได้ดูโฆษณาจากโตโยตาของญี่ปุ่นคลิปนี้  ดูจบแล้วซึ้งชนิดที่เรียกได้ว่า น้ำตาจะไหลขอแชร์นะครับ ซึ่งผิดวิสัยตัวเองมาก เพราะส่วนตัวแล้วจะมีปัญหากับโฆษณาแนว ‘รู้สึกดี (feel good)’ ของบ้านเรา เรียกได้ว่าพอตั้งท่าว่าเป็นโฆษณาซาบซึ้ง ดูไปอาจจะเริ่มซึ้งบ้างแต่พอถึงตอนท้ายจะหงุดหงิดด้วย

ซึ่งตอนแรกก็เข้าใจว่าตัวเองคงใจทมิฬหินชาติที่ไม่ค่อยซึ้งเต็มที่ แต่พอทบทวนดูแล้วก็พบว่า ‘ความรู้สึกดี’ เหล่านั้นมักมาพร้อมตรรกะพิกลพิการบางอย่าง  ทำให้แทนที่จะคล้อยตามกลับรู้สึกตะขิดตะขวงใจ 

อาทิเช่น

โฆษณา A : หลังเลิกงาน หนุ่มออฟฟิซพบเห็นอะไรก็เข้าช่วยเหลือเช่น ช่วยเข็นรถให้แม่ค้าข้ามถนน , ช่วยยกกระถางต้นไม้ให้โดนน้ำที่ไหลลงมาจากหลังคา  ฯลฯ มันควรจะรู้สึกดีที่เราได้เห็นว่าความเป็นฮีโร่เกิดขึ้นได้จากเรื่องเล็กน้อยที่เราทำ 

แต่ปัญหาที่คนส่วนใหญ่ก็เห็นกันคือ ‘ความรู้สึกดี’ที่ได้ทำอะไรดีๆจากโฆษณานี้ คือการส่งเสริมปัญหาสังคมที่มีอยู่แล้วให้แก้ยากยิ่งขึ้น

เช่น การที่หนุ่มออฟฟิซเห็นเด็กนั่งขอทานเพื่อการศึกษา เขาเปิดกระเป๋ามีเงินอยู่สามร้อยใส่ไปสองร้อย วันถัดมาผ่านมาอีกรอบในกระเป๋าเงินมีร้อยยี่สิบก็หยิบให้ร้อยนึง

แน่นอนครับว่าความรู้สึกดีได้เกิดขึ้น 3 level แล้ว 

(1)เจ้าตัวรู้สึกดีที่ได้ช่วยคน 
(2)เด็กคนนั้นรู้สึกดีที่ได้รับการช่วยเหลือ 
(3)คนพบเห็นเหตุการณ์ รู้สึกดีที่ได้เห็นความเอื้ออาทร

แต่ปัญหาจาก ‘ความรู้สึกดีที่ได้ทำอะไรดีๆ’ คือ มันเป็นการสนับสนุนให้ปัญหาขอทานหรือแก๊งขอทานยังดำเนินอยู่ต่อไป ช่วยต่ออายุให้วงจรนี้มั่นคงขึ้น แล้วอาจช่วยเด็กหนึ่งคนได้ชั่วคราวแต่ระยะยาวก็อาจจบลงที่เดิม แถมส่งเสริมให้เด็กอีกหลายคนต้องอยู่ในวงจรนี้

นอกจากนี้มันยังขัดกับความเป็นจริงที่เราใช้ชีวิตด้วยนะครับ การเอื้ออาทรหรือช่วยเหลือคนอื่น มันไม่ควรจะต้องเบียดเบียนตัวเองจนเกินไป เราต้องสามารถช่วยตัวเองได้ก่อน ไม่ใช่ช่วยคนอื่นจนตัวเองเดือดร้อนหรือเป็นภาระ ดูอย่างบนเครื่องบินที่สอนการใช้หน้ากากออกซิเจน ก็บอกให้ผู้ใหญ่ใส่หน้ากากตัวเองก่อนค่อยใส่ให้เด็ก

อย่างหนุ่มออฟฟิซซึ่งดูแล้วกำลังอยู่ในช่วงชีวิตที่ยากลำบาก มีเงินในกระเป๋าดันเอามาบริจาคเสียเกินครึ่ง ถ้าเป็นแบบนี้ในชีวิตจริง ถ้ามีครอบครัวที่กำลังต้องกินต้องใช้ก็น่าเห็นใจคนในครอบครัว  สุดท้ายก็อาจต้องเป็นหนี้สิน ต้องกู้เงินเอาตัวรอด เวลาเจอปัญหาฉุกเฉินก็ไม่พอใช้หรือกลายเป็นภาระของพ่อแม่  

*****

โฆษณา B : วัยรุ่นสาวชาวกรุงลืมมือถือไว้ที่ต่างจังหวัดแล้วเด็กชาวเขาเก็บได้ ในตอนแรกวัยรุ่นสาวยังไม่รู้ว่าหายไปไหน ก็พยายามหาทางเอาโทรศัพท์คืน จนเมื่อเข้าเน็ตบังเอิญไปเห็นคลิปเด็กชาวเขาที่เก็บมือถือของพวกเธอได้ แล้วเด็กกลุ่มนั้นเอามือถือของเจ้าหล่อนมาถ่ายคลิปเล่นด้วยความดี๊ด๊า วัยรุ่นสาวก็เกิดความซาบซึ้งแล้วยิ้มให้กับการกระทำของเด็กชาวเขา

โฆษณาจบลงด้วยความรู้สึกดีๆครับ วัยรุ่นสาวไม่คิดจะเอามือถือกลับมาแล้ว

การไม่ซื่อสัตย์ของเด็กชาวเขา กลายเป็น ความไม่ซื่อสัตย์ที่ยอมรับได้เมื่อพวกเขา(หนุ่มสาวเจ้าของมือถือ)รู้สึกดีในการเป็นผู้ให้ อยู่ในสถานภาพที่สูงกว่าแล้วมองอีกฝ่ายลงมาด้วยความสงสารเวทนา 

มันคือการสนับสนุนความไม่ซื่อสัตย์ ผ่านความรู้สึกเป็นคนดีของตัวเอง

*****

... ‘ความรู้สึกดี’ ในบ้านเราถูกนำเสนอเยอะมากครับ ไม่ว่าจะเป็นหนัง , โฆษณา หรือกระทั่งสเตตัสในเฟซบุ้คซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจนะครับเพราะ ความรู้สึกดี เป็น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนไลค์หรือแชร์ต่อได้พอๆกับเรื่องดราม่า

แต่เราก็พบว่าสุดท้ายต้องเงิบบ่อยๆ เพราะแชร์เสร็จแล้วมาเจอภายหลังว่าเป็นเรื่องแต่งขึ้นมา เช่น ไม่กี่เดือนก่อนมีคนลงรูปคุณป้าคนหนึ่งสวมเสื้อผ้าเก่าๆเข้าไปในร้านสะดวกซื้อ แล้วคนเขียนสเตตัสเขียนให้เห็นความใจบุญของตัวเองที่ช่วยเหลือออกเงินให้ป้าแล้วทิ้งท้ายให้คนหันมาใส่ใจคนสูงอายุ สุขใจที่ได้ทำอะไรเพื่อคนอื่น ฯลฯ

อ่านจบแล้วมันชวนให้น้ำตาจะไหลขอแชร์ต่อนะครับSmiley  ก่อนที่จะมีคนมาบอกภายหลังว่า เป็นสเตตัสที่คนแต่งเรื่องหยิบรูปจากกระทู้เก่าๆ เอามาสร้างเรื่องขึ้นใหม่

แต่ก็นั่นแหละครับ คงมีไม่กี่คนที่รู้ว่าถูกหลอก เพราะพอเงิบแล้วก็ไม่ได้มีแชร์การแก้ข่าวกันเท่าไหร่ คนที่แชร์ไปแล้วอาจจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าเคยแชร์ไป

ที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่า ในสังคมอุดมฟีลกู๊ดแบบบ้านเรา คือ สังคมที่ไม่รู้สึกเงิบเมื่อแชร์เรื่องหลอกลวงSmiley

เรียกได้ว่าแค่ได้แชร์ก็สุขใจ เพราะ ‘รู้สึกดี’ ที่ได้’ทำอะไรดีๆ’  โดยไม่สนว่า ความรู้สึกดีและการกระทำอะไรดีๆของตัวเองมีส่วนทำให้เกิดปัญหาอะไรตามมาบ้าง จะสร้างเรื่องหลอกลวงต่อไปก็ไม่สน
ครั้นมีคนท้วงติงก็ไม่ฟัง ยังยืนยันในการทำอะไรๆดีของตัวเองต่อไป

คล้ายกับอยู่ในโลกมายาที่เชื่อจริงๆว่า การกระทำของตัวเองจะทำให้โลกน่าอยู่ มองเพียงสถานกการณ์ตรงหน้าไม่มองภาพรวมที่ตามมา กลายเป็นสังคมอีโม คือ เต็มไปด้วยความรู้สึกดี (เหมือนหนุ่มออฟฟิซบริจาคเงิน หรือวัยรุ่นสาวยิ้มให้การขโมยของ) แต่ปัญหามากมายไม่สามารถแก้ไขได้เพราะละเลยการมองปัญหาในระดับโครงสร้าง ไม่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา แค่รู้สึกดีที่ได้ทำอะไรดีๆ

ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ ต่อให้ฟีลกู๊ดจนเดินตกเหว ก็จะยังเชื่อว่าไม่ใช่เพราะการเดินของตัวเองแล้วครับ แต่จะเชื่อว่าเพราะปากเหวมันเคลื่อนมาสู่ใต้เท้าจนตกลงไป



[Declaration of conflict of interest : บทความนี้ผู้เขียนไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆจากโตโยต้า]



Create Date : 22 กันยายน 2558
Last Update : 26 กันยายน 2558 22:29:51 น. 3 comments
Counter : 2118 Pageviews.

 
ชอบนะคะ


โดย: sophy IP: 49.229.89.25 วันที่: 23 กันยายน 2558 เวลา:12:13:08 น.  

 
ตอนดูโฆษณาที่ยกตัวอย่างมา ก็คิดแบบนี้เหมือนกัน


โดย: Koppok IP: 124.121.107.220 วันที่: 26 กันยายน 2558 เวลา:22:26:22 น.  

 
วิเคราะห์ได้ดีเหมือนเดิมเลยครับ

ปล.เสียดายไม่ได้ดูโฆษณา A กับ B เลยไม่รู้ว่าตัวเองจะตะขิดตะขวงใจหรือป่าว XP


โดย: Gonz IP: 1.10.254.13 วันที่: 27 กันยายน 2558 เวลา:16:54:36 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

"ผมอยู่ข้างหลังคุณ"
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
 
กันยายน 2558
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
22 กันยายน 2558
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add "ผมอยู่ข้างหลังคุณ"'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.