มิถุนายน 2552

 
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
20
21
22
23
24
25
26
27
29
30
 
 
All Blog
เศรษฐศาสตร์ กับ วิศวกร
เนื่องจากว่าเมื่ออาทิตย์ก่อนหรือสองอาทิตย์ก่อนจำไม่ได้ละ ไปนั่งเรียนวิชา Energy and Environmental Economic and Policy ข้างๆมีน้องชายผู้น่ารักมานั่งเรียนด้วยกัน แล้วน้องเค้าก็แอบบ่นกะเราว่า...น่าเบื่อ ไม่เห็นจะเป็นวิทยาศาสตร์ตรงไหนเลย มันก็เลยเป็นประเด็นในหัวข้อวันนี้ค่ะ

สำหรับเด็กๆ (คือเราก็ไม่ได้แก่มากนะ แต่ก็พอมีประสบการณ์การทำงานมามั้ง) ที่เพิ่งจบป.ตรีหมาดๆ ชีวิตไม่ได้ลิ้มลองรสชาติแห่งการหาเงินใช้เองเนี่ย คงคิดไม่ค่อยออก ยิ่งสายที่เราเรียนเนี่ย วิทยาศาสตร์ประยุกต์ --- วิศวกร --- ถ้าเรียนอย่างเดียว แล้วไม่ได้ลองไปทำงานจริง ก็ยากที่จะเข้าใจความจริงของโลก ...แต่เราว่าชีิวิตคนกรุงเทพมันน่าจะคิดได้ตั้งแต่ลืมตาดูโลกแล้ว เพราะปากกัดตีนถีบ ขยับตัวไปไหนก็เสียตังค์ นอกจากว่าพ่อแม่จะปิดกั้นไม่ให้รับรู้โลกแห่งความเป็นจริง กู้หนี้ยืมสินมาให้ลูกผลาญเล่น แต่ถ้ารวยจริงก็ไม่ว่ากันค่ะ... ต่อเลยละกัน ก็คือว่าถ้าไม่มีประสบการณ์การทำงานเนี่ย ยากที่จะจินตนาการเรื่องงบประมาณ การวางแผน การจัดการ ในมุมมองของน้องชายคนนี้เค้าก็คิดว่าเค้าเรียนเป็นวิศวกรนะ ไม่เห็นต้องมาเรียนรู้เรื่องการเศรษฐศาสตร์ การวางแผน และทฤษฏีอะไรต่างๆนานา ที่ไม่เกี่ยวกับการออกแบบเครื่อง การคำนวณอัตราเร่ง อัตราการเผาไหม้ นั่นสินะ แต่ถ้าน้องเค้าได้มองภาพให้กว้างไปอีกนิดนึง ขอแค่นิดนึงจริงๆ ว่าคุณจะสร้างเรื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพดีแค่ไหนก็ตาม แต่ถ้าไม่มีคนต้องการใช้มัน ใครจะจ่ายตังค์ให้คุณทำ ค่ามันสมองที่ทุ่มเทไปใครจะจ่ายให้คุณ แค่งานวิจัยที่น้องจะทำนี่เถอะ ก็เพราะว่าประเทศไทยต้องการมัน เค้าถึงจ่ายทุนให้คุณทำ ไม่งั้นเค้าจะมาจ่ายตังค์ให้ประเทศเป็นหนี้เพิ่มขึ้นอีกทำไม นี่แหละมันเป็นหลักการเศรษฐศาสตร์ง่ายๆ (demand & supply) ที่เราควรจะเรียนรู้มัน ...เรื่องคนสอนก็ส่วนหนึ่ง แต่เนื้อหาที่สำคัญคุณก็ควรจะรับรู้ไว้...

[สำหรับตัวเราผ่านงานทั้งในโรงงานด้านการเพิ่มผลผลิต ด้านการออกแบบ ประเมินราคา และจัดการบริหารโครงการนิดหน่อย ถึงแม้ว่าแต่ละที่ก็ใช้เวลากับมันแค่นิดหน่อยๆ แต่ก็ได้อะไรกลับมาเยอะแยะ ที่แน่ๆคือ คน ทุกที่มีปัญหาหมด เงิน ทุกที่เจ้าของต้องการเงินมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่บางประเด็นก็เป็นปัญหาสงสัยเมื่อตอนทำงานนะ แล้วก็มากระจ่างเมื่อได้ฟังอาจารย์ชี้ประเด็น ทำให้เรามีอคติต่อวิชาแบบนี้น้อยลงมาก จากเมื่อตอน ป.ตรี ก็มีปัญหากะวิชาการจัดการวิศวกรรมอย่างยิ่ง]

ในห้องเรียน อาจารย์ยกตัวอย่างว่า...เรื่องโลกร้อนเนี่ยเพิ่งเป็นปัญหาใหญ่แค่ประมาณ 10 เอง รุ่นที่แกเรียน (30 ปีที่แล้ว) แกเรียนแค่ว่าเครื่องยนต์เผาไหม้และเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็จบ ไม่ได้คิดต่อว่าก๊าซที่ว่าเนี่ยจะเป็นบ่อเกิดแห่งปัญหาของโลก และในตอนนี้เด็กรุ่นพวกเรารู้จักมันแล้ว ถ้ามีโอกาศก็อยากให้มีส่วนร่วมในการวางแผนแนวทาง ทิศทางการใช้พลังงานการจัดเตรียมพลังงานให้ประเทศไทยในอนาคตต่อๆไป สำหรับนโยบายของประเทศไทยตอนนี้ค่อนข้างแย่เพราะอะไร...ก็เพราะคนวางแผนคิดถึงประโยชน์ส่วนตนและคิดสั้นๆแค่ให้ตอนนี้มีใช้ คิดแค่ว่าเรามีเงินซื้อจากคนอื่นมาใช้ก็ได้ ไม่ได้วางแผนถึงอนาคตเลย ถ้ามองประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาเค้ามีน้ำมันของเค้าเอง แต่เค้าก็เก็บไว้ไม่เอามาใช้ ตอนนี้ก็ใช้ของประเทศอื่นบวกกับผลิตเอทานอลใช้เอง แต่ของไทย ประเมินมาแล้วว่ามีให้ใช้ไม่เกิน 20 ปี แต่ก็ยังตั้งหน้าตั้งตาใช้ แถมไม่มีมาตรการที่แข็งพอจะให้วางใจได้ว่าเราจะใช้พลังงานได้ถึงเมื่อไหร่้...เรื่องพวกนี้ก็เกี่ยวกับวิชานี้ค่ะ บางทีเด็กๆฟังแล้วคงเบื่อๆไม่น่าสนใจ แต่สำหรับเราอยากจะไปเป็นผู้ร่างแผนการพวกนี้จริงๆเลยค่ะ อยากจัดการกับนักการเมืองทั้งหลายผู้เห็นผลประโยชน์ตัวเองเป็นที่ตั้ง ตอนนี้ก็ดูแลตัวเองไปก่อนค่ะ

บ่นเรื่อยเปื่อยแต่ก็พอมีสาระบ้างแหละมั้ง



Create Date : 28 มิถุนายน 2552
Last Update : 28 มิถุนายน 2552 0:12:25 น.
Counter : 889 Pageviews.

1 comments
  
เอาแค่แปลอังกฤษเป็นไทยก็กรอบแล้วค่ะ ถ้าขั้นแปลไทยแล้วแต่งวิทยานิพนธ์เปงอังกฤษคงยกให้ ป.โทไป...อิอิ
โดย: น้ำเคียงดิน วันที่: 28 มิถุนายน 2552 เวลา:14:02:16 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

aom_mY67
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



โลกอันกว้างใหญ่ใบนี้ ทำให้เราได้เจอคนที่ไม่คาดฝันเสมอ