|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
เตรียมพร้อมหรือยังสำหรับน้องน้ำปี 2555
ช่วงนี้ฝนตกทางภาคเหนือบ่อย ตกมาแต่ละครั้งระดับน้ำในแม่น้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อฝนหยุดตกและเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งระดับน้ำก็ลดลง แต่การที่ฝนตกบ่อย ๆ ปริมาณน้ำที่สะสมอยู่ในแม่น้ำและที่ซึมซับลงในดินเริ่มจะมีมากขึ้น จึงสังเกตเห็นว่าในช่วงนี้ หลังฝนตกใหญ่ต้องใช้เวลานานขึ้นกว่าที่ระดับน้ำจะลดลงเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้คาดการณ์ได้ว่าถ้ามีฝนตกชุกหนาแน่นต่อเนื่องกัน น้ำในแม่น้ำก็อาจล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนได้ ในฐานะที่ผมมีบ้านอยู่ในหมู่บ้านจัดสรรที่ติดกับแม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเคยประสบปัญหาเกี่ยวกับน้ำท่วมหมู่บ้านมาหลายครั้ง และเคยเขียนเล่าประสบการณ์ไปเมื่อปีที่แล้ว วันนี้ผมจะมาอัพเดทข้อมูลว่าในบ้านเมืองที่ผมอยู่อาศัยได้มีการเตรียมการอะไรเพื่อป้องกันน้ำท่วมในปีนี้บ้างครับ
จังหวัดและเทศบาลนครเชียงใหม่
ได้ทำการขุดลอกคูคลอง โดยเฉพาะแม่น้ำปิง ให้กว้างและลึกมากขึ้น เพื่อให้ระบายน้ำในแม่น้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองได้อย่างรวดเร็ว
เทศบาลตำบล
เมื่อปีที่แล้วเทศบาลตำบลทำการยกระดับถนนเลียบแม่น้ำให้สูงขึ้น เพื่อหวังว่าจะเป็นคันกั้นน้ำที่ล้นตลิ่ง ไม่ให้ไหลเข้าท่วมหมู่บ้าน แต่ไม่เป็นผลเพราะระดับยังสูงไม่เพียงพอต้องใช้กระสอบทรายจำนวนมากเสริมที่ขอบถนนด้านที่ติดกับแม่น้ำ แต่ก็ไม่สามารถต้านทานกระแสน้ำที่รุนแรงจนทำให้เกิดน้ำท่วมจนได้
ปีนี้เทศบาลตำบลได้สร้างกำแพงคอนกรีตถาวร สูงประมาณ 1 เมตร ไปตามแนวถนนเลียบริมน้ำที่เคยวางกระสอบทรายเมื่อปีที่แล้ว โดยเว้นช่องว่างให้ประชาชนที่มีบ้านอยู่ชิดริมน้ำได้เข้าออกได้ และจะกั้นกระสอบทรายเสริมในช่องว่างเหล่านี้ ทันทีที่ได้รับคำเตือนว่าน้ำจะเริ่มท่วม

หมู่บ้านจัดสรรที่ผมอยู่
น้ำท่วมเมื่อปีที่แล้วทำให้เกิดการอุดตันในท่อระบายน้ำของหมู่บ้าน เกิดความลำบากในการอยู่อาศัยเพราะน้ำที่ใช้แล้วไม่สามารถระบายไปได้ เอ่อล้นอยู่ภายในบ้านนั่นเอง ถ้ามีน้ำจากภายนอกไหลเข้าหมู่บ้านอีกแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจท่วมถนนในหมู่บ้านได้อย่างง่าย ๆ ทางคณะกรรมการหมู่บ้านได้ของบประมาณจากเทศบาลตำบลมาจัดทำท่อระบายน้ำใหม่ และขณะนี้การก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยใช้งานได้แล้ว
สภาพน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว (ต้นเดือนตุลาคม 2554)

สภาพในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2555) จะสังเกตเห็นแนวท่อระบายน้ำที่สร้างขึ้นใหม่ทางด้านขวามือของถนน

ภายในบ้านของผมเอง
ผมตรวจสอบสภาพภายในบริเวณบ้าน ตามแนวคิดที่เขียนไว้เมื่อปีที่แล้ว พบว่ายังอยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งาน เพื่อน ๆ สามารถเข้าไปอ่านได้ดังนี้ครับ
ตอนที่ 1 วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล

ตอนที่ 2 วิธีทำบานเหล็กกั้นน้ำไม่ให้เข้าท่วมบ้าน

ตอนที่ 3 วิธีทำปล่องกันน้ำท่วมทะลักจากท่อระบายน้ำในบ้าน

หวังว่าสิ่งที่เล่าให้ฟังในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ในการนำไปปรับใช้ เพื่อเตรียมพร้อมรับน้องน้ำ ประจำปี 2555 ได้ตามสมควรครับ.
Create Date : 23 กรกฎาคม 2555 |
Last Update : 28 กรกฎาคม 2555 19:26:38 น. |
|
29 comments
|
Counter : 5705 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: ริมน้ำ_ขอบฟ้า (rimnam_kobfa ) วันที่: 23 กรกฎาคม 2555 เวลา:14:28:01 น. |
|
|
|
โดย: d__d (มัชชาร ) วันที่: 23 กรกฎาคม 2555 เวลา:15:30:08 น. |
|
|
|
โดย: pantawan วันที่: 23 กรกฎาคม 2555 เวลา:23:01:17 น. |
|
|
|
โดย: pantawan วันที่: 25 กรกฎาคม 2555 เวลา:13:13:37 น. |
|
|
|
โดย: pantawan วันที่: 26 กรกฎาคม 2555 เวลา:23:07:57 น. |
|
|
|
โดย: เกศสุริยง วันที่: 27 กรกฎาคม 2555 เวลา:8:34:18 น. |
|
|
|
โดย: pantawan วันที่: 28 กรกฎาคม 2555 เวลา:23:58:03 น. |
|
|
|
โดย: Maeboon วันที่: 30 กรกฎาคม 2555 เวลา:19:12:20 น. |
|
|
|
โดย: เกศสุริยง วันที่: 30 กรกฎาคม 2555 เวลา:19:35:45 น. |
|
|
|
โดย: pantawan วันที่: 31 กรกฎาคม 2555 เวลา:1:02:48 น. |
|
|
|
โดย: เกศสุริยง วันที่: 31 กรกฎาคม 2555 เวลา:21:09:50 น. |
|
|
|
โดย: pantawan วันที่: 5 สิงหาคม 2555 เวลา:12:51:40 น. |
|
|
|
โดย: เกศสุริยง วันที่: 5 สิงหาคม 2555 เวลา:21:35:00 น. |
|
|
|
|
|
|
|
ไว้ว่าง ๆ ค่อยมาอ่านรายละเอียดอีกทีนะคะ