" การเป็นผู้ให้ ย่อมสุขใจ กว่าการเป็นผู้รับ "
Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
4 กันยายน 2553
 
All Blogs
 

นักวิชาการเตือนฟ้าผ่า! ไม่ได้เกิดจากโลหะสื่อล่อฟ้า ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย (สวทช.)

ภัยธรรมชาติที่พึงระวังเป็นอย่างยิ่งในช่วงฝนตก
ฟ้าคะนองทั่วกรุงเช่นนี้ คือ “ฟ้าผ่า”โดยล่าสุดพบศพชาย 2 คน
เสียชีวิตอยู่ใกล้รถจักรยานยนต์ฮอนด้าเวฟ
บริเวณริมอ่างเก็บน้าดอกกราย จังหวัดระยอง
ตรวจสภาพศพพบหน้าอกมีรอยไหม้เกรียม
เสื้อผ้าขาดวิ่น (ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์บ้านเมือง)
เบื้องต้นสันนิษฐานว่าผู้เสียชีวิตได้เข้ามาหลบฝน
ใกล้รถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นสื่อสายไฟทาให้ฟ้าผ่าเสียชีวิต

ด้านนักวิชาการออกมาชี้แจงว่าความจริงแล้วจุดที่ฟ้าผ่า
ไม่จาเป็นต้องมีโลหะหรือตัวนาไฟฟ้าชั้นดีเป็นสื่อล่อก็ผ่าได้
ส่วนโลหะ เช่น เครื่องประดับ แหวน สร้อยคอ เข็มกลัด
ที่เคยเชื่อว่าเป็นต้นเหตุให้เกิดฟ้าผ่าผู้เสียชีวิต
ในหลายกรณีที่ผ่านมานั้นแทบจะไม่มีผลใดๆในการล่อฟ้าเลย

ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ
ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย
สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า
ฟ้าผ่า เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากเมฆฝนฟ้าคะนอง
หรือ เมฆคิวมูโลนิมบัส ซึ่งภายในก้อนเมฆเอง
และพื้นดินมีต่างมีประจุไฟฟ้าที่ต่างกัน
คือประจุบวกและประจุลบ เมื่อประจุที่ต่างกัน
วิ่งเข้าหากันก็จะทาให้เกิดฟ้าผ่าขึ้น
ด้วยเหตุนี้ฟ้าผ่าจึงเกิดขึ้นได้หลายแบบ เช่น
ฟ้าผ่าภายในก้อนเมฆ ฟ้าผ่าจากเมฆก้อนหนึ่งไปยังเมฆอีกก้อน
หรือฟ้าแลบ รวมถึงฟ้าผ่าจากเมฆลงสู่พื้นดิน
ซึ่งเป็นประเภทที่เกิดขึ้นบ่อยและเป็นอันตรายกับคนส่วนใหญ่มากที่สุด

“ฟ้าผ่าจากเมฆลงสู่พื้นดิน เกิดขึ้นเมื่อประจุลบ(อิเล็กตรอน)
เคลื่อนที่จากฐานเมฆลงมาที่อากาศผ่านเข้ามาใกล้พื้นดิน
ซึ่งประจุลบนี้สามารถเหนี่ยวนาให้วัตถุที่พื้นผิวของโลกซึ่งอยู่
“ใต้เงาเมฆ” มีประจุเป็นบวกได้ทั้งหมด
พร้อมทั้งดึงดูดประจุบวกจากพื้นดินให้ไหลขึ้นมาตามต้นไม้
หลังคาบ้าน หรือบริเวณใดก็ได้ที่เป็นที่สูง
เมื่อประจุลบกับประจุบวกเดินทางมาเจอกัน
เคลื่อนที่สวนทาง จึงเกิดเป็นกระแสโต้กลับ
และเกิดเป็นฟ้าผ่าได้ในที่สุด ดังนั้นจะเห็นว่า
วัตถุและพื้นที่ทุกจุดใต้เงาเมฆฝนฟ้าคะนอง
มีโอกาสเป็นจุดที่ถูกฟ้าผ่าได้หมดแม้จะไม่เป็นตัวนำไฟฟ้าก็ตาม
ซึ่งจุดเสี่ยงที่จะเกิดฟ้าผ่ามากที่สุดคือบริเวณที่สูง เช่น ต้นไม้
เสาไฟฟ้า หลังคาบ้าน เนื่องจากเป็นตาแหน่งที่ประจุบวก
สามารถเชื่อมโยงกับประจุลบได้ง่ายที่สุด ในขณะที่ชิ้นส่วนโลหะ เช่น สร้อย แหวน กระดิ่งแขวนคอวัว
นั้นแทบจะไม่มีผลต่อการเป็นสื่อล่อฟ้าเลย

ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ที่ไม่ได้ถูกฟ้าผ่าโดยตรง
ดร.บัญชา กล่าวว่า สามารถได้รับอันตรายจากฟ้าผ่าใน 3 รูปแบบ คือ

1. ไฟฟ้าวิ่งเข้าสู่ร่างกายโดยการสัมผัส
กับสิ่งที่ถูกฟ้าผ่า เช่น หากหลบใต้ต้นไม้ใหญ่
เสาไฟฟ้า เสาอากาศ และมีบางส่วนของร่างกายแตะ
กับสิ่งที่ถูกฟ้าผ่า กระแสไฟฟ้าก็จะไหลเข้าสู่ลำตัวได้โดยตรง

2. ไฟฟ้าแลบจากด้านข้าง (side flash)กล่าวคือ
แม้จะไม่ได้แตะจุดที่ฟ้าผ่า กระแสไฟฟ้าก็อาจจะ
“กระโดด” เข้าสู่ตัวคนทางด้านข้างได้ (ดูภาพ Side Flash ประกอบ)




3. กระแสวิ่งตามพื้น (step voltage) คือ
กระแสไฟฟ้าสามารถวิ่งจากจุดถูกที่ฟ้าผ่าออก
ไปยังบริเวณโดยรอบ เช่น จากลาต้นลงมาที่โคนต้นไม้
และกระจายออกไปตามพื้นดิน ซึ่งมักเป็นบริเวณที่น้าเจิ่งนอง
หากกระแสดังกล่าววิ่งผ่านเข้าสู่ตัวคนก็ย่อมทาอันตรายได้
โดยในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดคือ ทำให้ถึงแก่ความตาย
สาหรับกรณีกระแสวิ่งตามพื้นนี้

เคยมีกรณีเหตุการณ์ฟ้าผ่าวัวจานวนมากตาย
และสันนิษฐาน(อย่างไม่ถูกต้องว่า)
เกิดจากกระดิ่งโลหะที่แขวนคอเป็นตัวล่อ
ซึ่งความจริงแล้วโอกาสที่สายฟ้า
จะผ่าลงมาตรงกระดิ่งขนาดเล็กของวัวพร้อมกันหลายๆ ตัวนั้น
แทบจะเป็นไปไม่ได้ ส่วนกรณีรอยไหม้
ที่พบบริเวณที่ใส่โลหะต่างๆ ดร.บัญชา อธิบายว่า
เกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าสู่ตัวคนได้ทั้งจากเสื้อผ้า
(ซึ่งอาจเปียกน้า) ร่างกาย และผ่านลวดหรือโลหะ
ซึ่งโลหะมีความต้านทานไฟฟ้าต่าสุด
จึงทำให้กระแสไฟไหลผ่านในปริมาณมาก
ก่อให้เกิดความร้อนและเป็นรอยไหม้ที่พบบนผิวหนัง
ดังเช่น กรณีหญิงสาวชาวไทย 2 คน ที่ถูกฟ้าผ่าเสียชีวิตใ
ต้ต้นไม้ในสวนสาธารณะไฮด์พาร์ค กลางกรุงลอนดอน
และพบรอยไหม้ตามแนวขอบเสื้อชั้นใน
ดังที่เคยเป็นข่าวเมื่อปี 2542 เป็นต้น


อย่างไรก็ดี การออกมาชี้แจงเรื่องฟ้าผ่านั้น
ไม่ต้องการให้ประชาชนตื่นตระหนก
แต่เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจกับการเกิด
“ฟ้าผ่า” ที่ถูกต้อง อันจะนาไปสู่การปฏิบัติตัวที่เหมาะสม
เพื่อลดความเสี่ยงในการได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากฟ้า
ทั้งนี้สถานที่หลบภัยจากฟ้าผ่าคือภายในตัวอาคาร
หรือรถยนต์ที่ปิดกระจกโดยมีข้อแม้ว่า
ต้องไม่สัมผัสกับวัสดุที่เชื่อมต่อกับอาคาร
หรือตัวรถด้านนอกซึ่งอาจถูกฟ้าผ่าได้
งดการใช้โทรศัพท์แบบมีสาย ถอดปลั๊กโทรทัศน์
และไม่ควรเล่นอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์
เพราะกระแสไฟฟ้าจากอาคารสามารถวิ่งมาตามสายโทรศัพท์ได้

ขณะที่คนซึ่งอยู่กลางแจ้งเมื่อเกิดฟ้าผ่าให้นั่งยองๆ
ก้มศีรษะเพื่อลดตัวให้ต่าที่สุด เท้าชิดกันและเขย่งเล็กน้อย
เพื่อลดความเสี่ยงกรณีกระแสไฟไหลมาตามพื้น


ขอขอบคุณที่มาจาก //icare.kapook.com/content_detail.php?t_id=0&id=2859






 

Create Date : 04 กันยายน 2553
5 comments
Last Update : 5 กันยายน 2553 7:50:06 น.
Counter : 2767 Pageviews.

 

ขอบใจจ้า....

 

โดย: nanajazz 4 กันยายน 2553 17:24:41 น.  

 

 

โดย: หน่อยอิง 4 กันยายน 2553 19:16:21 น.  

 

มีประโยชน์มากๆ
ขอบคุณค่ะ

 

โดย: Selah 4 กันยายน 2553 22:15:57 น.  

 

ได้ความรู้จริงๆเลยค่ะ ขอบคุณมากๆนะคะ

 

โดย: nadtha 4 กันยายน 2553 23:56:44 น.  

 

ขอบคุณทุกๆ คนที่แวะเข้ามาเยี่ยมชมด้วยนะคะ

 

โดย: อลิซ ในดินแดนไม่มหัศจรรย์ 5 กันยายน 2553 7:50:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


อลิซ ในดินแดนไม่มหัศจรรย์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




การเป็นผู้ให้ ย่อมสุขใจกว่าการเป็นผู้รับ : )
Friends' blogs
[Add อลิซ ในดินแดนไม่มหัศจรรย์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.