" การเป็นผู้ให้ ย่อมสุขใจ กว่าการเป็นผู้รับ "
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
8 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม เติมชีวิตใหม่ให้คนในโลกเงียบ

ต้องยอมรับว่า วิวัฒนาการทางการแพทย์ปัจจุบันนี้ก้าวหน้าไปอย่างมาก เพราะด้วยเทคโนโลยี และวิทยาการสมัยใหม่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการบกพร่องต่าง ๆ ให้มีอาการดีขึ้น หรือกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อย่างไม่น่าเชื่อ

อย่างเช่น การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม ซึ่งสามารถช่วยให้คนที่สูญเสียการได้ยิน หรือหูหนวก กลับมาได้ยินเสียงอีกครั้ง กำลังเป็นนิยมในผู้ปกครองที่มีฐานะ และมีบุตรหลานที่มีความผิดปกติในการได้ยิน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ "การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม" กันให้มากขึ้น




Smiley   ประสาทหูเทียม คืออะไร




การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม หรือ Cochlear Implants เป็นวิทยาการที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินโดยเฉพาะ โดยประสาทหูเทียม คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ช่วยในการได้ยิน ทำให้หน้าที่แทนเซลล์ประสาทในคอเคลีย (Cochlear) ในหูชั้นใน และแปลงพลังงานเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ไปกระตุ้นประสาทการได้ยินและสมองให้รับรู้ โดยประสาทหูเทียม จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ภายนอก และอุปกรณ์ภายใน




 Smiley   ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม



อุปกรณ์ภายนอก มีรูปร่างคล้ายเครื่องช่วยฟังแบบกระเป๋ามีสายและมองเห็นได้ชัดเจน เป็นอุปกรณ์ประมวลสัญญาณเสียงเรียกว่า Sound processor ทำหน้าที่รับสัญญาณเสียงจากสิ่งแวดล้อมด้วยไมโครโฟน และแปลงสัญญาณเสียงเป็นระบบดิจิทัล ก่อนจะส่งสัญญาณเสียงที่ถูกแปลงเป็นระบบดิจิทัล ผ่านไปยังอุปกรณ์นำเสียง (Transmitting antenna) และอุปกรณ์ติดศีรษะ (Headpiece) เพื่อส่งเข้าสู่อุปกรณ์ภายใน


อุปกรณ์ภายใน เรียกว่า Implant เป็นอุปกรณ์ที่ต้องผ่าตัดฝังไว้ในกระดูกหลังใบหู ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ ทำหน้าที่รับสัญญาณระบบดิจิทัลที่ส่งมาจากอุปกรณ์ภายนอก และแปลงกลับเป็นสัญญาณไฟฟ้า จากนั้นจะส่งสัญญาณไฟฟ้าผ่านทางสายอิเล็กโทรด (Electrode array) ไปยังปุ่มอิเล็กโทรด (Electrodes) ที่ผ่าตัดสอดฝังไว้ตามความยาวของโคเคลีย (cochlea) ของหูชั้นใน โดยสัญญาณไฟฟ้านี้จะไปกระตุ้นปลายประสาทการได้ยิน และส่งสัญญาณต่อไปยังสมอง เพื่อแปลความหมายของเสียงที่ได้ยิน

ทั้งนี้ อุปกรณ์ภายนอก และอุปกรณ์ภายใน จะยึดแนบติดกันด้วยแม่เหล็ก ผ่านหนังศีรษะบริเวณหลังใบหู โดยแม่เหล็กชิ้นนอกอยู่ที่อุปกรณ์ติดศีรษะ (Head piece) และแม่เหล็กชิ้นในอยู่ที่ Implant ของอุปกรณ์ภายในกะโหลกศีรษะ

Smiley  ประสาทหูเทียม แตกต่างจาก เครื่องช่วยฟังอย่างไร





เครื่องช่วยฟังที่คนบกพร่องทางการได้ยินมักใช้กันอยู่บ่อย ๆ นั้น จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยขยายเสียงในได้ยินชัดเจนขึ้นเท่านั้น แต่ประสาทหูเทียมนี้ จะเข้าไปทดแทนส่วนของประสาทหูที่ถูกทำลาย และไปกระตุ้นประสาทรับเสียงที่หูชั้นใน ทำให้ผู้ป่วยกลับมาได้ยินที่ชัดเจน และถูกต้องมากขึ้น

Smiley   ชนิดของประสาทหูเทียม





1. แบบ Analogue Coding เป็นประสาทหูเทียมชนิดธรรมดา

2. แบบ Digital Coding เป็นประสาทหูเทียมที่เพิ่มการ sampling คลื่นเสียง และแปลงสัญญาณเป็นจำนวน "bits" ให้เสียงละเอียด คมชัด แล้วส่งต่อไปยังตัวรับ เพื่อแปลรหัส

3. แบบอื่น ๆ เช่น single channel, multiple channel (4-5), multiple electrode (22) , monopolar,bipolar

ทั้งนี้ ในแต่ละแบบจะมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป รวมทั้งราคาก็แตกต่างกันด้วย แต่ในปัจจุบัน นิยมชนิด multiple electrodes ที่มีระบบปรับภายในให้เลือกตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย

ผู้ที่จะได้รับการพิจารณาให้ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม จะต้องมีคุณสมบัติ ต่อไปนี้

1. เป็นผู้ที่ประสาทหูพิการทั้งสองข้าง ในระดับตั้งแต่ 70 เดซิเบลขึ้นไป หรือหูหนวกสนิททั้งสองข้าง และใช้เครื่องช่วยฟังแล้วไม่ได้ผล

2. เด็กเล็กที่สูญเสียการได้ยินอย่างรุนแรงตั้งแต่กำเนิด ทั้งนี้ หากได้รับการผ่าตัดตั้งแต่ยังเล็ก ๆ จะได้ผลดีมาก สามารถช่วยให้เด็กมีพัฒนาการได้เท่ากับเด็กปกติ

3. เด็กที่อายุมากกว่า 2 ขวบ และประสาทหูพิการมากกว่า 90 เดซิเบล แต่ต้องพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ประกอบความเหมาะสม ว่าควรที่จะผ่าตัดหรือไม่

4. ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีความเสี่ยงในการผ่าตัด เช่น มีความผิดปกติในอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการฝังประสาทหูเทียม รวมทั้งมีปัญหาในการดมยาสลบ

   Smiley  ใครไม่เหมาะสมกับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม



ไม่ใช่ว่า ทุกคนที่บกพร่องทางการได้ยินและมีคุณสมบัติดังข้างต้น จะสามารถผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมได้ เพราะยังมีข้อยกเว้นบางประการ ที่ทำให้ผู้ป่วยไม่เหมาะสมแก่การฝังประสาทหูเทียม คือ

1.ผู้ป่วยหูหนวกที่มีระดับการได้ยินมากกว่า หรือเท่ากับ 90 เดซิเบล และมีการได้ยินตรงความถี่ 2,000 เฮิร์ซ เนื่องจากผู้ป่วยที่มีการได้ยินระดับนี้ เหมาะกับการใช้เครื่องช่วยฟังมากกว่า

2.ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของก้นหอย ในหูชั้นใน และมีประสาทการได้ยินผิดปกติ

3. ผู้ที่มีโรคในหูชั้นกลาง เช่น หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง

4. คนที่เป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

5.ผู้ที่มีความผิดปกติทางสมอง เช่น เป็นปัญญาอ่อน หรือโรคจิต รวมทั้งคนที่คาดหวังเกินจริง

   Smiley  ขั้นตอนการประเมินก่อนผ่าตัด



เมื่อแพทย์พิจารณาว่า ผู้ป่วยมีคุณสมบัติเหมาะสมกับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมแล้ว จะต้องวินิจฉัยต่อไปตามขั้นตอนต่อไปนี้

1.ตรวจวินิจฉัยทางโสตสัมผัสวิทยา

2. ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan หรือ MRI ของหูชั้นใน ตรวจเลือด และตรวจร่างกายอื่น ๆ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการผ่าตัด

3. ให้ลองใช้เครื่องช่วยฟังชนิดกำลังขยายสูง

4. ประเมินด้านจิตวิทยา (Psychosocial) เพื่อดูระดับสติปัญญา ความปกติทางด้านอารมณ์และสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในการพิจารณาว่า ผู้ป่วยควรได้รับการผ่าตัดหรือไม่ เนื่องจากพบว่า ผู้ที่มีความบกพร่องบางราย เมื่อได้รับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมแล้ว อาจสามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ที่ดีขึ้น

5. สืบสวนสาเหตุของอาการหูตึง หูหนวก

   Smiley   ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้หลังผ่าตัด 



ความเสี่ยงที่เกิดจากการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมนั้น เกิดขึ้นได้เหมือนการผ่าตัดอื่น ๆ เช่น อาจมีอาการชาบริเวณแผลผ่าตัด ชาที่ลิ้น หรือใบหน้า ปวดคอ มึนงง มีเสียงดังในหู ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดเพียงชั่วคราวเท่านั้น แต่จะกลับมาเป็นปกติหลังแผลผ่าตัดหายสนิทแล้ว นอกจากนี้ ยังพบอาการน้ำในหูชั้นในรั่วได้ แต่สามารถรักษาให้หายได้ ส่วนการติดเชื้อที่แผลนั้นพบเพียง 5% เท่านั้น

   Smiley  ข้อปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม


หลังจากผ่าตัดแล้ว แผลผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมจะหายสนิทหลังผ่านไปได้ 3-5 สัปดาห์ จากนั้นนักตรวจการได้ยินจะทำการปรับแต่งเสียงให้ได้ระดับที่พอเหมาะ ซึ่งการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมนี้ จะมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยเอง เพราะหลังจากฝังประสาทหูเทียมแล้ว ผู้ป่วยจะต้องมารับการบำบัดฟื้นฟู และเรียนรู้การแปลความหมายของเสียงที่ได้ยินจากเครื่อง ซึ่งจะเป็นเหมือนกับหุ่นยนต์ ให้เกิดความเคยชิน โดยระยะเวลาการเรียนรู้จะแตกต่างไปในแต่ละบุคคล

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยสามารถเข้าร่วมกิจกรรม หรือเล่นกีฬาได้เหมือนคนปกติ แต่ต้องระมัดระวังให้มากขึ้น และห้ามเข้าไปในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น เครื่องตรวจจับโลหะที่สนามบิน ซึ่งผู้ป่วยจะต้องแสดงบัตรว่า ใส่ประสาทหูเทียมต่อเจ้าหน้าที่ก่อนขึ้นเครื่องบินแทน นอกจากนี้ต้องหมั่นดูแลรักษาเครื่องมือ ซึ่งก็เพียงแค่รักษาความสะอาด ไม่ให้เปียกชื้น หากชิ้นส่วนที่อยู่ภายนอกชำรุด ก็สามารถเปลี่ยนหรือซ่อมได้

กรณีเด็กเล็กที่ผ่าตัดประสาทหูเทียมมานั้น อาจจะไม่เคยได้รับการฝึกพัฒนาการทางภาษามาก่อน ทำให้ต้องมีคนในครอบครัว ครู เพื่อน ๆ หรือนักอรรถบำบัด ให้ความร่วมมือคอยกระตุ้นตลอดเวลา

 Smiley  ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการใช้ประสาทหูเทียม




อย่างไรก็ตาม แม้ผู้ป่วยแต่ละรายจะได้รับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมแล้ว แต่ประสิทธิภาพการใช้งานไม่เท่ากัน โดยอาจเป็นเพราะปัจจัยต่าง ๆ ต่อไปนี้

1. การรับรู้ แยกแยะเสียงต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อม และสังคม หากผู้ป่วยสามารถรับรู้เสียง และแยกแยะออกมาก่อน ก็จะช่วยให้ประสิทธิภาพการใช้งานดีขึ้น

2. สาเหตุที่สูญเสียการได้ยิน ผู้ที่สูญเสียการได้ยินจากสาเหตุต่างกัน เช่น สูญเสียการได้ยินจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ , สูญเสียการได้ยินที่ประสาทส่วนกลางและสมอง ย่อมมีผลต่อประสิทธิการใช้งานของประสาทหูเทียมต่างกัน

3. อายุที่เริ่มสูญเสียการได้ยิน เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ เพราะหากสูญเสียการได้ยินก่อนเรียนรู้ภาษาต่าง ๆ มาก่อน แต่หากเป็นผู้ที่เคยเรียนรู้ภาษามาก่อน และเพิ่งมาสูญเสียการได้ยิน จะได้รับประโยชน์จากการใช้ประสาทหูเทียมมากกว่า

4.อายุที่ได้รับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเมื่ออายุน้อย ๆ จะได้รับประโยชน์จากประสาทหูเทียมมากกว่าเมื่อผ่าตัดเมื่ออายุมาก โดยเฉพาะในเด็กถ้าทำการผ่าตัดก่อนอายุ 2 ขวบ จะได้รับประโยชน์สูงสุด

5.ระยะเวลาที่สูญเสียการได้ยิน หากเพิ่งสูญเสียการได้ยิน และได้รับการผ่าตัดโดยเร็ว จะทำให้ผู้ป่วยฟื้นฟูความสามารถในการฟังได้ดีกว่ามาก เพราะประสาทการได้ยินและสมองส่วนที่แปลเสียงยังคงการรับรู้ไว้อยู่

6.ชนิดของประสาทหูเทียม เพราะเทคโนโลยีและชนิดของแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อต่างกัน ความสามารถจึงแตกต่างกันไปด้วย

 Smiley   ข้อจำกัดของการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม






ข้อจำกัดที่สำคัญก็คือ การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมเช่นนี้ มีค่าใช้จ่ายสูงมาก คือราคามากกว่า 500,000 บาทขึ้นไปต่อ 1 ข้าง ซึ่งแตกต่างกันตามชนิดของประสาทหูเทียม รวมทั้งค่าบริการของโรงพยาบาลแต่ละแห่งด้วย ดังนั้นแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจึงต้องมีการพิจารณาคัดเลือกผู้ป่วย ที่น่าจะมีโอกาสใช้งานประสาทหูเทียมได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ก่อนทำการผ่าตัด เพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่ามากที่สุด นอกจากนี้ผู้ป่วยไม่ควรตั้งความหวังในประสิทธิภาพมากเกินไป เพราะต้องขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัยประกอบกัน






ขอบคุณข้อมูลจาก hilight kapook ด้วยนะคะ


Create Date : 08 กรกฎาคม 2553
Last Update : 9 กรกฎาคม 2553 12:18:37 น. 2 comments
Counter : 2493 Pageviews.

 
รุ่นของเครื่องช่วยฟัง



โดย: ชำนาญ ธัญเจริญ IP: 115.67.167.94 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:11:16:24 น.  

 
กำลังจะผ่าตัดใส่ระสาทหูเทียม และหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจครับ


โดย: คุณโชคชัย หวังใหม IP: 171.96.184.43 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2557 เวลา:13:38:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อลิซ ในดินแดนไม่มหัศจรรย์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




การเป็นผู้ให้ ย่อมสุขใจกว่าการเป็นผู้รับ : )
Friends' blogs
[Add อลิซ ในดินแดนไม่มหัศจรรย์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.