Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
26 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 
เชื่อมโยงกลยุทธิ์ HRD กับการพัฒนาองค์การ บรรยายให้กับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

คำกล่าวของซุนวู ที่ว่า “จงเลี้ยงดูทหารของเราให้ดี บ่มเพาะความแข็งแกร่งภายใน เพื่อให้ปราศจากโรคภัย นี่คือ หลักประกันแห่งชัยชนะ”

เป็นข้ออ้างอิงหนึ่งที่สนับสนุนว่า ‘คน’ คือ หัวใจแห่งความสำเร็จ มาตั้งแต่อดีตกาลโน่นแล้ว




เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร เกริ่นนำเรื่องนี้ก่อนเข้าสู่การบรรยายในหัวข้อ “HRD Strategy : เชื่อมโยงงานพัฒนาบุคลากรสู่การพัฒนาองค์การ” ซึ่งจัดโดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และได้นำการตีความ HRD -Human Resource Development ของปรมาจารย์ HRD ของโลกอย่าง Dave Ulrich เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องนี้ให้พูนเพิ่มยิ่งขึ้นซึ่งมีใจความว่า

"เป็นการสร้างและส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการเรียนรู้ในองค์การ การออกแบบโปรแกรมการฝึกอบรม รวมถึงเป็นกระบวนการในการถ่ายโยงข้อมูลและประสบการณ์ของพนักงาน การให้คำปรึกษาในการพัฒนาสายอาชีพ (Career Development) ให้พนักงาน ตลอดจนเป็นกระบวนการสร้างองค์ความรู้ต่างๆ ให้เกิดขึ้น"

งานพัฒนาบุคลากรนั้นถือเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จของธุรกิจ เพราะองค์การต้องอาศัยพนักงานที่มีความสามารถ มีการเรียนรู้และพัฒนา เพื่อสร้างกระบวนการทำงานที่ดี สร้างผลงานที่ยอดเยี่ยม ทำให้ลูกค้าพอใจ เพื่อนำมาซึ่งผลกำไร บริษัทมีความก้าวหน้า พนักงานอยู่ดีกินดี

เบ็ญจวรรณ กล่าวว่า ขอบเขตหน้าที่ของ HRD นั้นมีอยู่ 6 เรื่องหลักๆ นั่นคือ การฝึกอบรมและพัฒนา (Training &Development) การพัฒนาสายอาชีพ (Career Development) การพัฒนาสมรรถนะ (Competency Development) การบริหารผลงาน (Performance Management) การบริหารคนเก่งคนดี (Talent Management) และการบริหารองค์การ (Organization Development)

อย่างไรก็ตามธุรกิจในไทยโดยเฉพาะไซส์เล็กๆ ยังไม่ค่อยตื่นตัวในเรื่องนี้ โดยอาจมองว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเกินตัว และเธอเตือนว่าธุรกิจในประเทศลาวจำนวนมากกำลังลุกขึ้นมาทำเรื่องนี้อย่างเร่งรีบ และทำทั้ง 6 เรื่องอีกด้วย หากแต่หลุมพรางของความล้มเหลวของ HRD นั้นก็มักขึ้นอยู่กับสมรรถนะของนัก HRD หมายถึงความรู้ความสามารถด้านทักษะวิชาชีพ เช่น ความรู้ด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การบริหารงานฝึกอบรม การบริหารและพัฒนาผลปฏิบัติการ การจัดการความรู้ในองค์การ ตลอดจนความรู้ความสามารถด้านธุรกิจและสติปัญญา

ส่วนดีกรีความสามารถด้านความสัมพันธ์ส่วนบุคคลก็ต้องเป็นเลิศ เบ็ญจวรรณบอกว่าต้องเก่งชนิดเป็นนักแสดงระดับรางวัลออสการ์ได้ยิ่งดี ประเภทตีบทกระจุย ไม่ว่าจะรับบทนางเอก หรือ นางมาร เพื่อนำไปสู่เป้าหมายคือความร่วมไม้ร่วมมือของคนในองค์การนั่นเอง

HRD ก็เหมือนกับเรื่องอื่นๆ จะแฮปปี้เอ็นดิ้งได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับ ‘กลยุทธ์’

วิทยากรท่านนี้ให้คำแนะนำว่ากลยุทธ์ที่ดีต้องพิจารณากันดีๆ ใน 5 ประเด็น คือ
1. วิสัยทัศน์และภารกิจขององค์การ
2. เป้าหมายและกลยุทธ์ของธุรกิจ
3. ลูกค้าภายนอกและลูกค้าภายใน
4. ขีดความสามารถหรือความได้เปรียบในการแข่งขัน และ
5. องค์การให้ความสำคัญต่อการลงทุนเพื่อพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์มากน้อยเพียงไร

แน่นอนว่ากลยุทธ์ HRD ของบริษัทชั้นนำระดับประเทศและระดับโลกจะสัมผัสได้ถึงความเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ธุรกิจขององค์การเสมอ
ข้อควรระวังก็คือ ความสำเร็จไม่อาจลอกเลียนกันได้ เนื่องจากแต่ละองค์การย่อมมีความต่างและต้องอย่าลืมประเมินผลลัพธ์หรือเป้าหมายหลักของกลยุทธ์ที่ต้องเกิดประสิทธิภาพต่อตัวของพนักงานเองและต่อองค์การด้วย

เบ็ญจวรรณกล่าวว่า อาจจะกำหนดตัวชี้วัด (KPI-Key Performance Indicators) เช่น สัดส่วนพนักงานที่มีผลงานระดับดีมากต่อจำนวนพนักงานทั้งหมด อัตราส่วนของพนักงานที่ได้รับการเลื่อนขั้น การลดอัตราส่วนของพนักงานที่มีผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน อัตราส่วนของพนักงานประเภท Multi-Skill Operator อัตราส่วนของพนักงานที่สามารถสอนงานผู้อื่นได้ ฯลฯ

การเชื่อมโยงงานพัฒนาบุคลากรสู่การพัฒนาองค์การเป็นงานซับซ้อนและต้องทำเป็นลำดับขั้น เริ่มที่
การพัฒนาพนักงาน (Individual Development)
การพัฒนาสายอาชีพ (Career Development)
การบริหารผลงาน (Performance Management) และ
การพัฒนาองค์การ (Organization Development)

และก่อนจะเริ่มต้นพัฒนาในแต่ละเรื่องย่อมต้องมีการวินิจฉัย ให้รู้ว่ามีปัญหาคาใจหรือมีจุดอ่อนจุดแข็ง มีรอยรั่วตรงจุดใด อย่างไรเสียก่อน เช่น การพัฒนาพนักงานนั้นต้องเช็คว่าองค์การมีพนักงานประเภท ไม้ตายซาก เด็กเจ้าปัญหา ดาวเด่น และพนักงานที่ปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ ในส่วนผสมที่ลงตัวหรือไม่ เพื่อนำไปสู่การวางแผน และปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมไม่เช่นนั้นก็อาจเกาแต่ไม่ถูกที่คันก็เป็นได้

เธอบอกว่าจากประสบการณ์ มี 7 ปัจจัยความสำเร็จในการเชื่อมโยงงานพัฒนาบุคลากรสู่การพัฒนาองค์การ ได้แก่

1.การสนับสนุนของผู้บริหาร
2. การสร้างจิตสำนึก และแรงจูงใจในการพัฒนาอย่างจริงจัง
3. การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนา
4. การยกระดับทักษะทั้งด้านปฏิบัติการและด้านการบริหาร
5.การบริหารการเปลี่ยนแปลงสู่การปฏิบัติ
6.ประเมินผลและติดตามผลอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะด้านความพึงพอใจ การเรียนรู้ พฤติกรรม และผลลัพธ์ทางธุรกิจ และ
7. การสร้างบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้เกิดการมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์

และทิ้งท้ายว่าทุกเรื่องราวจำเป็นต้องปรับปรุงให้ทันกับการหมุนของโลก ที่นับวันก็จะมีแต่เร็วขึ้น

Tags : เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร
บรรยาย : วันที่ 26 ตุลาคม 2552
สถานที่ : โรงแรม The Emerald ถนนรัชดา กรุงเทพฯ


Create Date : 26 ตุลาคม 2552
Last Update : 15 ธันวาคม 2552 17:03:33 น. 0 comments
Counter : 1866 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Benjawan_B
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 93 คน [?]




วิทยากร, ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRM & HRD), การบริหารความเสี่ยงองค์กร, การจัดการมาตรฐานแรงงาน, กฎหมายแรงงาน,เขียนหนังสือและบทความ
New Comments
Friends' blogs
[Add Benjawan_B's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.