Group Blog
 
 
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
24 กันยายน 2551
 
All Blogs
 
HR SOLUTION : เตรียมรับมือแนวโน้มการปรับค่าแรงขั้นต่ำ

แนวทางการปรับค่าจ้างให้สอดคล้องกับค่าแรงขั้นต่ำจะต้องมองทั้งสองปัจจัยข้างบนประกอบกัน โดยทั่วไปก็มีแนวทางดังนี้

แบบที่ 1 การปรับแบบหน้ากระดาน คือ เป็นการปรับให้กับทุกคนที่เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการ

ข้อดี คือ ลดปัญหาแรงงานสัมพันธ์ทุกคนได้เท่ากันหมด ลดความเสี่ยงด้านแรงงานสัมพันธ์ และรักษาระยะความรู้สึกห่างกันของค่าจ้าง
ข้อเสียคือ ปัญหาต้นทุนที่จะขึ้นมาโดยขาดการเพิ่มประสิทธิผลเป็นการเพิ่มเงินโดยไม่ได้ผลงานเพิ่ม และจะสร้างความคาดหวังทั้งองค์กรในปีต่อๆไป องค์กรที่เหมาะสม คือ เป็นองค์กรที่ยังไม่มีปัญหาเรื่องต้นทุนมากนัก หรือ ยังเป็นองค์กรใหม่ๆที่ยังมีช่องว่างให้เล่นเรื่องเงินได้ หรือ ยังเป็นองค์กรที่ไม่ได้มีระบบการปรับค่าจ้างประจำปีที่ชัดเจน หรือ อาจจะเป็นองค์กรที่กำลังมีความอ่อนไหวด้านแรงงานสัมพันธ์

แบบที่ 2 การปรับเฉพาะคนที่ได้ต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ คือ ปรับให้เฉพาะคนที่มีแนวโน้มจะได้ค่าแรงขั้นต่ำน้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่จะประกาศใหม่
ข้อดีคือ เป็นการรักษาระดับค่าจ้างของแรงงานฝึกหัดขั้นเริ่มต้นให้อยู่ในระดับการจ้างของแรงงานเริ่มต้น ควบคุมต้นทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ และสามารถอธิบายได้ง่าย
ข้อเสียคือ คนเก่าจะรู้สึกว่าช่องว่างของค่าจ้างน้อยลงส่งผลต่อกำลังใจในการทำงาน โดยเฉพาะพนักงานที่ได้รับค่าจ้างในระดับที่ใกล้เคียงกับค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับใหม่ องค์กรที่เหมาะสม คือ องค์กรที่มีระบบการปรับค่าจ้างที่ชัดเจนเป็นระบบ ซึ่งมีโอกาสจะเกิดการทิ้งช่วงค่าจ้างได้เมื่อมีการปรับประจำปี

แบบที่ 3 การปรับให้ทุกคนแบบอัตราถดถอย คือ ปรับให้กับพนักงานในระดับปฏิบัติการโดยได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับช่องว่างของความห่างจากค่าแรงขั้นต่ำ ห่างมากปรับน้อย ห่างน้อยปรับมาก โดยการปรับแบบนี้สามารถทำได้ 2 แบบคือกำหนดตามเม็ดเงินของแต่ละคนเลยว่า ตอนนี้ได้กี่บาท จะได้ปรับกี่บาท กับอีกแบบก็คือ กำหนดเป็นช่วงหรือเป็นกลุ่มว่าถ้าเงินเดือนอยู่ในช่วงนี้จะได้ปรับกี่บาท แต่ต้องระวังอย่าให้ปรับแล้วเกิดการเกยกันจากคนได้เคยได้ต่ำกว่า แล้วกลับมากกว่า
ข้อดีคือ มีความสมเหตุสมผลและระวังเรื่องต้นทุนได้พอสมควร ข้อเสียคือ อาจจะยุ่งยากและต้องศึกษาข้อมูลแบบละเอียดลงลึก ต้องหาคำตอบดีๆว่าแต่ละช่วงกำหนดตัวเลขการปรับจากอะไร องค์กรที่เหมาะสม คือ องค์กรที่มีสามารถแยกกลุ่มค่าจ้างพนักงานได้อย่างชัดเจนเป็นช่วง มีระบบการปรับค่าจ้างที่เป็นระบบ มีผลตอบแทนตัวเงินอื่นๆที่ดีพอสมควร


ผู้จัดการรายสัปดาห์27 สิงหาคม 2550

ท่านสามารถส่งคำถามหรือร่วมแสดงความคิดเห็นที่ dilok_tue@yahoo.com ด้วยความร่วมมือจากสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย









Create Date : 24 กันยายน 2551
Last Update : 4 ตุลาคม 2551 11:38:26 น. 0 comments
Counter : 1396 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Benjawan_B
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 93 คน [?]




วิทยากร, ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRM & HRD), การบริหารความเสี่ยงองค์กร, การจัดการมาตรฐานแรงงาน, กฎหมายแรงงาน,เขียนหนังสือและบทความ
New Comments
Friends' blogs
[Add Benjawan_B's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.