Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2557
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
1 กรกฏาคม 2557
 
All Blogs
 
บทที่ 4 การสรรหา และคัดเลือก

บทที่ 4 การสรรหาและคัดเลือก



ความหมายของการสรรหา
การสรรหา (recruiting) หมายถึง กระบวนการในการแสวงหาบุคคล โดยวิธีชักจูงผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ ให้เกิดความสนใจมาสมัครงานกับองค์การ เพื่อคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมที่สุดเข้ามาร่วมงาน

ความหมายของการคัดเลือก
Selection หมายถึง กระบวนการในการหาวิธีการกลั่นกรองที่เป็นมาตรฐาน เพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกบุคคลที่เชื่อว่าเหมาะสมกับตำแหน่งงานมากที่สุด รวมทั้งก่อให้เกิดความเชื่อถือ และความยุติธรรมในการคัดเลือกบุคลากร

ความสำคัญของการสรรหาและคัดเลือก
ทบทวนแผนกำลังคน ด้วยการตอบคำถาม ดังนี้
Why ทำไมต้องสรรหา
What สรรหามาเพื่อทำงานอะไร
When เมื่อใดจึงสรรหา
How สรรหาอย่างไร
1.ผลการปฏิบัติงาน (performance) : การคัดเลือกบุคคลที่มีทักษะ คุณสมบัติที่ดี ทำให้การปฏิบัติเกิดประสิทธิภาพและได้ผลงานตามเป้าหมาย
2.ต้นทุน (cost) : ประหยัดต้นทุนด้านแรงงาน ป้องกันการย้ายงาน และปัญหาสมองไหล
3.กฎหมายที่เกี่ยวกับการจ้างงาน (legal implications) : ตัดปัญหาการถูกฟ้องร้อง เสียชื่อเสียง เสียค่าใช้จ่าย ถ้าคำนึงถึงการปฏิบัติตามเงื่อนไขการจ้างงาน





ปัจจัยที่มีผลต่อการสรรหาและการคัดเลือกระหว่าง องค์การ & พนักงาน
1.ผลประโยชน์ตอบแทน : สร้างแรงจูงใจ ยุติธรรม น่าสนใจ
2.แหล่งที่มาของบุคลากร : จากแหล่งภายใน หรือภายนอก
3.ความยุติธรรม : สร้างภาพลักษณ์ให้องค์การ
4.การเมืองภายในองค์การ : การแบ่งพรรคแบ่งพวก เอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายตนเอง
5.มาตรฐานในการคัดเลือก : การกำหนดกฎเกณฑ์ บรรทัดฐานสอดคล้องที่องค์การต้องการ



สรรหาจากแหล่งภายนอก
1.การลงโฆษณา
- การใช้สื่อ วิทยุ TV หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ท
- การสร้างโฆษณา โดยยึดหลัก ทำให้เกิดความตั้งใจ ทำให้เกิดความสนใจ สร้างความต้องการ
2.การใช้สำนักจัดหางาน
- รัฐบาล เช่น กรมจัดหางาน
- องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร เช่นสภาทนายความ สมาคมวิศวกร ชมรมทหารผ่านศึก
- สำนักงานเอกชน
3.การใช้ผู้สรรหาที่เป็นผู้บริหาร Head Hunter นักล่าผู้บริหารฝีมือดี
4.การสรรหาจากสถานศึกษา
5.ผู้สมัครเดินเข้าสมัครเอง
6.สรรหาจากข้อมูลคอมพิวเตอร์



กระบวนการคัดเลือก
***ด่านสุดท้ายของกระบวนการสรรหาบุคลากร
***แต่เป็นด่านแรกที่จะตัดสินว่าคนที่จะเข้ามาร่วมงานกับองค์กรนั้นเป็นคนเก่งคนดีหรือไม่



ประเภทของการทดสอบเพื่อคัดเลือกผู้สมัคร
1.การทดสอบความสามารถด้านความเข้าใจ ความจำ การใช้เหตุผล สติปัญญา วัดความเข้าใจเฉพาะด้าน ความถนัด
2.การทดสอบความสามารถการเคลื่อนไหว และด้านร่างกาย
3.การวัดบุคลิกภาพ และความสนใจ
4.การวัดผลสัมฤทธิ์

ประเภทของการสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกผู้สมัคร
1.แบบไม่มีโครงสร้าง ไม่มีการกำหนดเนื้อหา หรือรูปแบบของคำถาม
2.แบบกึ่งมีโครงสร้าง สร้างตัวอย่างคำถาม เปิดโอกาสให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้โต้ตอบ
3.แบบมีโครงสร้าง มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีมาตรฐานเดียวกัน

ปัจจัยที่มีผลต่อการสัมภาษณ์
- การตัดสินใจด้วยความรวดเร็วจนเกินไป
- การมุ่งที่จะปฏิเสธ
- ความประทับใจ
- ผู้สัมภาษณ์ขาดความรู้เกี่ยวกับงาน
- อิทธิพลจากพฤติกรรมการแสดงออก
- ข้อจำกัดเกี่ยวกับการว่าจ้าง
- ผลกระทบจากกรณีมีมาตรฐานเปรียบเทียบ





Create Date : 01 กรกฎาคม 2557
Last Update : 1 กรกฎาคม 2557 15:46:49 น. 1 comments
Counter : 21242 Pageviews.

 
canada drugs cialis tadalafilise.cyou/#


โดย: Kevinjoync IP: 37.139.53.22 วันที่: 21 สิงหาคม 2566 เวลา:11:52:57 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Benjawan_B
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 93 คน [?]




วิทยากร, ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRM & HRD), การบริหารความเสี่ยงองค์กร, การจัดการมาตรฐานแรงงาน, กฎหมายแรงงาน,เขียนหนังสือและบทความ
New Comments
Friends' blogs
[Add Benjawan_B's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.