มรกตนาคสวาท : แมวๆ พิคเจอร์

ขอได้รับความขอบคุณจากแมวๆ พิคเจอร์เช่นเคยค่ะ
<<
เมษายน 2549
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
15 เมษายน 2549
 
 
..ว่าด้วยเรื่อง "สงกรานต์" ..






เข้าใจกันว่า "สงกรานต์" คือปีใหม่ไทย ทั้งที่อันที่จริงดูเหมือนว่าช่วงที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษนั้น น่าจะนับเป็นช่วงเปลี่ยนศักราชใหม่ของคนหลายชนชาติในแถบประเทศซีกโลกตะวันออก (โดยเฉพาะอุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เราจึงได้เห็นการเฉลิมฉลองเทศกาลการก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่ของหลายๆ ชนชาติ ในหลายๆ รูปแบบด้วยกัน


ในประเทศไทย การเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ส่วนที่ทำให้คนจำนวนหนึ่งรู้สึกสนุกมากกว่าปรกติ ก็คือการฉลองด้วยการเล่นน้ำแบบต่างๆ ทั้งสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ หรือแม้แต่เล่นสาดน้ำในกลุ่มวัยรุ่นหรือวันผู้ใหญ่หรือวัยเด็กอย่างสนุกสนาน (บางครั้งก็รู้สึกว่า อาจจะสนุกสนานเกินไปหรือเปล่านะ)







คำอธิบายถึงที่มาที่ไปของ "สงกรานต์" มักอ้างอิงถึงตำนานที่มีกลิ่นแขกๆ มาปะปนอยู่มากสักหน่อย โดยเฉพาะเรื่องของ "ธรรมบาลกุมาร" บุตรแห่งเศรษฐีซึ่งเป็นผู้มีปัญญามาก ได้ท้าเดิมพันด้วยชีวิตในการตอบปัญหาสามข้อกับพระพรหมข้อที่ว่า ยามเช้า ยามเที่ยง และยามค่ำ ราศีอยู่ที่ไหน ซึ่งด้วยบุญญาบารมีของธรรมบาล ทำให้ในที่สุดธรรมบาลก็สามารถหาคำตอบมาให้แก่พรหมได้ว่า เช้า ราศีอยู่ที่หน้า เที่ยง ราศีอยู่ที่อก และค่ำ ราศีอยู่ที่เท้า (อ่านรายละเอียดได้ที่ ... ตำนานสงกรานต์ (ฉบับสรุปความ) ... ซึ่งเป็นบล็อกที่มาหยาเขียนไว้เมื่อสงกรานต์ปีที่ผ่านมา)

การตอบปัญหาดังกล่าวทำให้พระพรหม หรือ ท้าวกบิลพรหมนั้นพ่ายแพ้ จึงต้องตัดศีรษะของตัวเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ศีรษะของกบิลพรหมนั้น ไม่อาจวางไว้บนพื้นโลก ไม่อาจวางไว้ในอากาศ และไม่อาจทิ้งลงในมหาสมุทรได้ เพราะจะทำให้เกิดวิบัติภัยต่างๆ นานา กบิลพรหมจึงต้องสั่งเสียให้ธิดาทั้งเจ็ด เป็นผู้นำพานมารองรับศีรษะของพระองค์ และนำไปตั้งบูชาไว้ที่มณฑป ณ เขาไกรลาส ซึ่งต่อมา ธิดาของพระองค์ทั้งเจ็ด ก็คือนางสงกรานต์ทั้งเจ็ด ซึ่งจะผลัดกันนำเอาพระเศียรของกบิลพรหมออกมาแห่บูชาในช่วงที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษของทุกปีนั่นเอง


จากความเชื่อเรื่องนางสงกรานต์ดังกล่าว จึงทำให้ในประกาศสงกรานต์ของทุกปี ต้องมีคำทำนายทายทักเกี่ยวกับคุณลักษณะของนางสงกรานต์ เพื่อที่จะอธิบายถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในโลก ไม่ว่าจะเป็นพัสตราภรณ์ของนางสงกรานต์ อาหารที่นางชอบกิน อาวุธที่นางถือไว้ในมือ หรือแม้แต่สัตว์พาหนะที่นางสงกรานต์ประทับมา ก็ล้วนแล้วแต่นำมาตีความในเชิงการทำนายทายทักได้ทั้งสิ้น







ในความเป็นจริง เทศกาลสงกรานต์นั้น มิใช่วันเพียงวันเดียว หากแต่จะหมายรวมถึงวันสำคัญ ๓ วัน ได้แก่ วันมหาสงกรานต์ หรือวันสังขารขึ้น คือ วันที่ ๑๓ เมษายน ซึ่งเป็นวันแรกที่พระอาทิตย์เริ่มเคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ วันเนา หรือวันเน่า คือ วันที่ ๑๔ เมษายน ซึ่งพระอาทิตย์ยังคงอยู่ในราศีเมษ และวันพญาวัน หรือวันเถลิงศก คือ วันที่ ๑๕ เมษายน ซึ่งเป็นวันที่พระอาทิตย์เคลื่อนผ่านราศีเมษออกไป ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่อย่างแท้จริง

ดังนั้นในการเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ในหลายๆ กลุ่มชน (ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มชนดั้งเดิม หรือกลุ่มชนในชนบทท้องถิ่นของประเทศไทย รวมถึงกลุ่มคน "ไท" ซึ่งเป็นชนชาติที่อยู่นอกประเทศไทย) ต่างก็เฉลิมฉลองเทศกาลทั้งสามวันนี้อย่างนับว่าสำคัญเท่าเทียมกัน หากจะให้น้ำหนักความสำคัญมากที่สุด ผู้ที่เคยอยู่ในชนบท หรือเคยศึกษาเรื่องเกี่ยวกับชนบทคงทราบดีว่า เขาจะให้ความสำคัญกับวันพญาวันหรือวันเถลิงศกมากที่สุด เนื่องด้วยอาหารที่ทำสำหรับตักบาตรพระ หรือกิจกรรมการทำบุญในวันนี้ จะมีนัยสำคัญและแตกต่างจากกิจกรรมวันอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการระลึกถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว ก็จะนำมาถือปฏิบัติในวันนี้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการนำกระดูกผู้ตายไปให้พระสวดมาติกาบังสุกุล หรือการนำกระดูกดังกล่าว มาประพรมน้ำอบน้ำปรุง เพื่อเป็นการระลึกถึงผู้ตาย หรือการรดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ที่ยังอยู่ ก็จะถือเอาฤกษ์วันที่ ๑๕ เมษายนเป็นสำคัญ ยิ่งกว่า อีกสองวันคือ วันมหาสงกรานต์ และวันเนาเสียด้วยซ้ำ
(อ่านรายละเอียดตัวอย่างการทำบุญสงกรานต์ที่บ้านหนองบัวใต้ อำเภอเมือง จังหวัดตาก ได้ที่ ...สงกรานต์ที่บ้านเกิด -- เมื่อปีกลาย...


นอกจากนี้สำหรับบางท้องถิ่น สงกรานต์ก็คือสงกรานต์ ที่อาจไม่ได้หมายถึงวันปีใหม่ แต่หมายถึงเทศกาลสำคัญในช่วงแรกของปีก็เป็นได้ เพราะปรากฏว่า ยังมีการทำบุญเนื่องในโอกาสวัน"ตรุษ" ซึ่งหมายถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ซึ่งคำว่า "ตรุษ" ก็หมายถึง วันปีใหม่เช่นเดียวกันอีกด้วย ซึ่งในท้องถิ่นที่มีการทำบุญวันพระใหญ่ก่อนวันสงกรานต์นี้ จะให้คำอธิบายว่า สงกรานต์คือการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษอย่างเป็นทางการตามวันเวลาในทาง สุริยคติ หากแต่วัน "ตรุษ" นั้น ก็เป็นการขึ้นปีใหม่เช่นกัน แต่เป็นการขึ้นปีใหม่ในทาง "จันทรคติ" นั่นเอง


และนอกจากนี้หากสังเกตกันอย่างละเอียดจะพบลักษณะของการฉลองวันขึ้นปีใหม่ ๓ วันเช่นนี้ ว่าพบทั้งในการฉลองเทศกาลสงกรานต์ และในเทศกาลปีใหม่ของชาวจีน หรือวันตรุษจีน ซึ่งก็พบว่ามีรายละเอียดของ ๓ วันในช่วงการฉลองนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งมาหยาไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลหรือมีความรู้เพิ่มเติมว่า ในชนชาติอื่นๆ ละแวกเดียวกัน มีรายละเอียดการปฏิบัติในช่วงเทศกาลขึ้นปีใหม่อย่างไรบ้าง หากผู้ใดมีข้อมูลจะนำมาแลกเปลี่ยนความรู้กัน ก็จักขอบพระคุณยิ่ง







นัยสำคัญของประเพณีสงกรานต์ ยังไม่ได้หมายถึงเพียงแค่การเฉลิมฉลองการเปลี่ยนศักราชใหม่ (แบบเดิม) การเคลื่อนที่มาครบรอบปีของดวงอาทิตย์ หรือการเฉลิมฉลองอื่นใดแต่เพียงอย่างเดียว หากการเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ด้วยการเล่นน้ำ ยังมีนัยของความเป็น fertility rite หรือพิธีกรรมเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของกลุ่มชนนั้นๆ อีกด้วย


เหตุที่ในทุกๆ ปีใน "ประกาศสงกรานต์" จะมีคำทำนายเกี่ยวกับจำนวน "นาค" ที่จะให้น้ำแก่โลกมนุษย์ ว่ามีกี่ตัว และปริมาณน้ำฝนที่จะตกลงมายังดินแดนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นป่าหิมพานต์ โลกมนุษย์ หรือในที่ต่างๆ จะมีจำนวนทั้งสิ้นกี่ห่า (ปริมาณ ๑ ห่า หมายถึงปริมาณน้ำฝนที่ตกลงในบาตรพระจนเต็ม เมื่อวางบาตรพระนั้นไว้กลางแจ้งเพื่อรองรับน้ำฝนที่ตกจากท้องฟ้าโดยตรง) และมีคำทำนายเกี่ยวเนื่องกันว่า หากปีใด นาคให้น้ำแก่มนุษย์มีจำนวนน้อยตัว ปีนั้นน้ำจะอุดมสมบูรณ์มากกว่าปกติ แต่ในทางตรงกันข้ามกัน หากปีใดมีคำทำนายนาคที่ให้น้ำว่ามีจำนวนมาก ปีนั้นน้ำท่าจะแห้งแล้ง ด้วยเหตุที่ว่า เมื่อนาคมีจำนวนมาก ก็จะเกิดการเกี่ยงงานกันในการให้น้ำ เมื่อเกี่ยงกันไปเกี่ยงกันมา น้ำที่นาคจะพ่นลงมายังโลกมนุษย์ก็จะยิ่งน้อยเต็มที และโลกมนุษย์ก็จะยิ่งแห้งแล้งมากยิ่งขึ้น


และความเชื่อเรื่อง นาคให้น้ำนี้ ดูเหมือนว่าจะเป็นความเชื่อที่ค่อนข้างจะมีความเป็นท้องถิ่นอุษาคเนย์มากกว่าความเชื่อในเรื่องกบิลพรหมกับธรรมบาลกุมารซึ่งมีกลิ่นแขกจากชมพูทวีปมากกว่านัก เพราะหากอ่านจากงานการศึกษาเรื่องท้องถิ่นอุษาคเนย์ (หรือแม้แต่ในเอเชียตะวันออกโดยทั่วไป) จำนวนมากจะพบความเชื่อเรื่อง งูใหญ่ (นาค และ/หรือ มังกร) อยู่เป็นจำนวนมาก และในตำนานหลายเรื่อง มักกล่าวถึงอานุภาพ อิทธิฤทธิ์ และความสำคัญของ "นาค" ในฐานะเป็นผู้คุ้มครองดูแลดินแดนแถบนี้ ซึ่งอาจบันดาลให้คุณให้โทษแก่ผู้คนที่ให้ความเคารพหรือลบหลู่นาคด้วยเช่นกัน (หากใครว่างๆ ลองหาตำนานเมืองล่มอย่างเรื่อง "ผาแดงนางไอ่" หรือเรื่องคล้ายๆ กันมาอ่านดูก็จะยิ่งทำความเข้าใจเรื่องนี้ได้มากยิ่งขึ้น หรือจะอ่านงานที่ค่อนข้างวิชาการอย่างเรื่อง "นาคในอุษาคเนย์" ของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ก็จะยิ่งเข้าใจเรื่องความเชื่อเรื่องนาคได้มากกว่าและมากที่สุดเป็นลำดับเช่นนี้แล)


แล้วความเชื่อเรื่องนาคให้น้ำมาเกี่ยวข้องอะไรกับพิธีกรรมเพื่อความอุดมสมบูรณ์ ที่อ้างอิงถึงการเล่นน้ำในเทศกาลสงกรานต์เล่า คำตอบง่ายๆ ก็คือ แม้ในท้องถิ่นหลายๆ ถิ่นที่ออกจะแห้งแล้งและขาดน้ำสักหน่อย เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ ก็ยังมีความพยายามที่จะหาน้ำท่ามาสาดกันเล่น หรือมารดกันเล่นเหนือแผ่นดินที่แห้งผาก เพื่อแสดงออกในฐานะเป็น "พิธีกรรม" เพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ว่าในปีนั้นๆ จะมีน้ำให้ใช้ ให้ดื่มกิน ให้นำมาเล่นอย่างเหลือเฟือนั่นเอง

อาจจะเป็นไปในทำนองเดียวกับการละเล่นหรือร้องรำทำเพลง (ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์ เพื่อมีนัยถึงความอุดมสมบูรณ์ การก่อกำเนิดของชีวิตใหม่) เพื่อขอให้เทวดาเห็นใจและส่งฝนลงมายังโลกมนุษย์ คือ เป็นการทำพิธีกรรมอย่างหนึ่ง เพื่อหมายความหรือส่งผลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ตามมานั่นเอง


ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่แต่ก่อนร่อนชะไร มีการนำน้ำที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ในแม่น้ำลำคลอง ห้วยหนองคลองบึง หรือตาน้ำต่างๆ มารดน้ำกันในหมู่คนวัยเดียวกัน หรือมารดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ หรือมาสรงน้ำพระ เพื่อให้เป็นเคล็ดถึงความอุดมสมบูรณ์ดังกล่าวนั่นเอง







สิ่งที่น่าคิดต่อไปก็คือ แล้วการละเล่นสงกรานต์ในปัจจุบัน ที่ไปเน้นในเรื่องของการทำสงครามน้ำนั้นเล่า ผู้เล่นและผู้อยู่ร่วมสังคมกับการเล่นเช่นนี้ รับรู้ถึงที่มาที่ไปและความสำคัญของการเล่นน้ำของตนเองและกลุ่มชนของตนมากน้อยเพียงไร


หรือทราบเลาๆ แต่เพียงว่า เทศกาลนี้เป็นเทศกาลที่อาจสามารถถือโอกาสแตะเนื้อต้องตัว และจ้องมองสรีระที่ไม่อาจหลีกเร้นจากการเปิดเผยของน้ำที่สาดซัดไปยังร่างกายของเพศตรงข้าม (หรือเพศเดียวกันที่ต้องตาต้องใจ) เท่านั้น


ความงดงาม ความเหมาะสม ความสำนึกรู้ในการละเล่นในช่วงนี้ของปี จึงน่าจะก่อให้เกิดคำถามต่างๆ ในใจของผู้คนจำนวนมากโดยปราศจากคำตอบอย่างแท้จริงอยู่ตลอดมาในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านไป และในอีกหลายๆ ปีที่จะผ่านมา ไม่มีที่จะสิ้นสุด.... เช่นนี้แล
























ขอได้รับความขอบคุณจากแมวๆ พิคเจอร์เช่นเคยค่ะ














Create Date : 15 เมษายน 2549
Last Update : 13 เมษายน 2553 8:41:12 น. 15 comments
Counter : 2010 Pageviews.

 


ขออภัยท่านผู้ชม ที่บล็อกวันนี้คงคอนเซปต์ "บล็อกโหด โหลดยาก" อีกแล้วครับท่าน


หงิหงิ พอดีมีเรื่องที่อยากเขียน และรูปที่อยากโพสต์เยอะไปหน่อยอ้ะค่ะ



สวัสดีปีใหม่สงกรานต์ทุกๆ ท่านที่ผ่านมาเยือนค่ะ



โดย: มรกตนาคสวาท วันที่: 15 เมษายน 2549 เวลา:1:42:32 น.  

 
รูปสวยมากเลย


โดย: mungkood วันที่: 15 เมษายน 2549 เวลา:2:48:49 น.  

 
แจ่มๆเลยค่ะ


อิอิ


และได้ไปเที่ยวที่ไหนมั่งยังคะ


โดย: หัวมันทอด วันที่: 15 เมษายน 2549 เวลา:4:36:14 น.  

 


โดย: Zantha วันที่: 15 เมษายน 2549 เวลา:6:18:50 น.  

 
สวัสดีค่ะ

ขอให้มีความสุขมากๆในช่วงวันหยุดสงกรานต์นะคะ



โดย: รักดี วันที่: 15 เมษายน 2549 เวลา:8:32:07 น.  

 
รูปสวยๆๆนะคะ โหลดยากก็...รอค่ะ...ชอบดูค่ะ

สุขสันต์วันสงกรานต์นะคะ


โดย: ว่าน วันที่: 15 เมษายน 2549 เวลา:9:13:48 น.  

 
แจ่มงับ


โดย: ปลาทูน่าในบ่อปลาพยูน IP: 210.1.44.254 วันที่: 15 เมษายน 2549 เวลา:10:21:21 น.  

 


สีสันงานวัดที่สนามหลวงคืนวันที่ 14 เมษษยน แห่งความหนุกหนานเจ้าค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 15 เมษายน 2549 เวลา:14:27:02 น.  

 
สวัสดีค่ะ มีความสุขมาก ๆ นะคะ



โดย: Jannyfer วันที่: 15 เมษายน 2549 เวลา:15:21:02 น.  

 
มาสวัสดีวันปีใหม่ไทย
ขอให้คุณแอนมีความสุขสดชื่นมากๆ นะครับ

อยากดูภาพอย่างนี้แหละครับ
เพราะผมไม่ได้ออกไปข้างนอกเลยล่ะครับ
ดูแล้วสนุก เย็นไปด้วยเลย อิอิ


โดย: <๙ยันต์เกราะเพชร๙> วันที่: 15 เมษายน 2549 เวลา:15:24:23 น.  

 
สวัสดีวันเถลิงศกครับ


โดย: keano (jonykeano ) วันที่: 15 เมษายน 2549 เวลา:16:09:58 น.  

 
ขอบคุณที่เอารูปมาฝากกันจ้า...

สวยๆ สนุกสนานทั้งนั้นเลย


โดย: zaesun วันที่: 15 เมษายน 2549 เวลา:17:28:42 น.  

 
สวัสดีปีใหม่ไทย ครับ... ป้าแอน..


โดย: K-Birch วันที่: 15 เมษายน 2549 เวลา:18:30:52 น.  

 
ครบ 1 ปี ป้ามดดีใจที่ได้รู้จักกับน้องแอนยายกล้องคนสวย


โดย: ป้ามด วันที่: 15 เมษายน 2549 เวลา:19:52:45 น.  

 
เอากล้องไปถ่ายรูปสงกรานต์...ป้าแอนใจถึงจริงๆครับ อิอิ


โดย: ตะเกียงลาน วันที่: 15 เมษายน 2549 เวลา:23:40:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

มรกตนาคสวาท
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




มายาแห่งมาหยา

ยินดีต้อนรับ...

สู่

บล็อกคนชอบถ่ายรูปฝีมือธรรมดาๆ
หน้าตาไม่ดี นิสัยไม่ดี
งานเยอะ ไม่มีเวลาพูดเล่นกับใคร
ไม่ประสงค์จะสนิทสนมกับคนแปลกหน้า




ผีเสื้อ
ชรัส เฟื่องอารมณ์



.....ผีเสื้อตัวน้อยน้อย
บินล่องลอยกลางพนาไพร
โผผินร่อนบินระเริงใจ
คลุกเคล้าดอกไม้ใจชื่นบาน



แสงแดดยามสายสาย
งามพร่างพรายต้องสายธาร
ฉาบทองเมื่อมองแสนตระการ
ผีเสื้อสุขสราญนะเจ้าเอย



***...ท้องฟ้าสีอำพัน
ผีเสื้อสุขสันต์มากเหลือ
เจ้าไม่คิดไม่ต้องหวัง
ดอกไม้ยังกูลเกื้อ
แสงแดดจุนเจือชีวี...



...อยากจะเป็นผีเสื้อตัวน้อย
บินล่องลอยเสรี
สีสันดุจอัญมณี
สุขใดหรือจะมีเช่นผีเสื้อ



***...ท้องฟ้าสีอำพัน
ผีเสื้อสุขสันต์มากเหลือ
เจ้าไม่คิดไม่ต้องหวัง
ดอกไม้ยังกูลเกื้อ
แสงแดดจุนเจือชีวี...



...อยากจะเป็นผีเสื้อตัวน้อย
บินล่องลอยเสรี
สีสันดุจอัญมณี
สุขใดหรือจะมีเช่นผีเสื้อ

... สุขใดหรือจะมีเช่นผีเสื้อ...




เพลงผีเสื้อ




งานที่มีการเขียนลงบน WEB SITE แล้วส่งผ่านอินเตอร์เนตนั้นถือว่าเป็น สิ่งเขียนซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของงานวรรณกรรม ดังนั้นย่อมได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 (มาตรา 15) หากผู้ใดต้องการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน มิฉะนั้นจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ (มาตรา 27) การดัดแปลงงานจากอินเตอร์เนตเป็นภาษาไทย จึงต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ตาม การคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็นการคุ้มครองอัตโนมัติ เจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้สร้างสรรค์ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิตามกฎหมายลิขสิทธิ์

ที่มาของข้อความ:เว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา







New Comments
[Add มรกตนาคสวาท's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com