ตีความหนัง...ตีความชีวิต
สารบัญภาพยนตร์
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
<<
เมษายน 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
28 เมษายน 2555

ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์: ลัทธิ Avant-Gardism

ยุคหนังเงียบ 1895-1927

Avant-Gardism


ในภาพยนตร์ avant-garde นั้นหมายถึงกลุ่มผู้มีอิทธิพล และผู้สร้างภาพยนตร์หัวรุนแรง ซึ่งอาศัยอยู่ในยุโรปช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

ผู้กำกับคนสำคัญ

Walter Ruttmann (1887-1941)
Hans Richer (1888-1976)
Louis Delluc (1890-1924)
Marcel L’Herbier (1890-1979)
Jean Epstein (1897-1953)

รูปแบบการนำเสนอ

1. เป็นลักษณะนามธรรม
2. เกี่ยวกับความคิดที่ซับซ้อน
3. เป็นลักษณะรูปแบบนิยม
4. แสดงมโนภาพที่ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน
5. เล่าเรื่องไม่ตามลำดับเวลา

รายละเอียด


ในยุโรปช่วงทศวรรษ 1920 ภาพยนตร์เริ่มดึงดูดศิลปินมาจากศิลปะประเภททัศนศิลป์ (visual art) ศิลปิน avant-garde เช่น Man Ray , Hans Richter, Fernand Leger,Oskar Fischinger และ Walter ruttmann สร้างภาพยนตร์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิ German Expressionism และลัทธิ Russian constructivism แม้ว่าพวกเขาจะละทิ้งโครงสร้างการเล่าเรื่องทั้งหมดที่มี และปล่อยจินตนาการเพียงต้องการสร้างภาพวาดให้เคลื่อนไหวเพียงเท่านั้น

ภาพยนตร์ของ Richter เรื่อง Rhythmus 21 (1921-4) ภาพยนตร์ของ Ruttmann เรื่อง Opus 1-4 (1921-5) และ ภาพยนตร์ของ Leger เรื่อง Ballet mécanique (1924) มีความทะเยอทะยานสร้างศิลปะนามธรรมจากเสียงเพลง (Visual Music) เช่นเดียวกับที่ Fischinger ทำใน circles (1932) และ Motion Painting (1947) ซึ่งทำออกมาในรูปแบบนามธรรมให้ผสานสอดคล้องกับเพลงของ Richard Wagner (ผู้ประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน) และ J.S. Bach (คีตกวีเอกของโลก)







Man Ray เป็นผู้กำกับที่มีอิทธิพลในภาพยนตร์สั้นลัทธิ avant-garde โดยใช้หลักการแบบ Cinema Pur ( Pure Cinema) เช่นเรื่อง Les mystères du château de Dé(1929)



Richter ทำงานร่วมกันเป็นทีมกับ Ray, Leger, Marcel Duchamp , Max Ernst และนักแต่งเพลง Jogn Cage ในการทำภาพยนตร์ยาว เรื่อง Dreams That Money Can Buy (1947) เป็นดังผลงานกวีนิพนธ์ซึ่งในแต่ละคนจะร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้นมาในส่วนย่อยของตนเองเสมือนเป็นนักกวีที่ค้นพบพลังในความฝัน



Ruttmann ได้ผลิตภาพยนตร์เรื่อง symphony of a great city (1927) เป็นมุมมองแบบ impressionistic ของชีวิตในเมืองหลวง Berlin ในเยอรมัน ฤดูใบไม้ผลิ จากเช้าจรดกลางคืน โดยได้ Edmund Meisel มาประพันธ์เพลง Jazz ซึ่งทำงานร่วมกันกับผู้กำกับด้วยการใช้การตัดต่อให้เกิดจังหวะจะโคนขึ้น



ภาพยนตร์ ที่ได้รับอิทธิพลมาจากการพัฒนาของ Soviet Montage นำไปสู่ ภาพยนตร์สารคดี Avant-garde ซึ่งเป็นแนวทางที่คล้ายคลึงกัน ประกอบไปด้วยภาพยนตร์ของ Dziga Vertov ลัทธิ constructivist เรื่อง Man With a Movie Camera (1929)



ในทางตรงกันข้ามภาพยนตร์ช่วงแรกๆของ Marcel L’Herbier มีเรื่องราว ถึงแม้ว่าพวกเขาจะเป็นศิลปิน Avant-garde เต็มตัวก็ตาม ดังเช่นในเรื่อง Eldorado(1921) มีการใช้เทคนิคเบลอภาพและการซ้อนภาพแบบ 2 มิติเข้าไป และฉากในเรื่อง L'inhumaine(1924) ถูกสร้างโดยนักออกแบบหลายคนคน หนึ่งในนั้นประกอบไปด้วย Leger และแดนเซอร์หลักมาจาก Ballet Suedois และประพันธ์เพลงโดย Darius Milhaud





L'argent(1928) ถูกสร้างมาจากนิยายที่มีชื่อเดียวกันของ Emile Zola ในปี 1891 ซึ่งกลายเป็นภาพยนตร์ของ L’Herbier ที่มีความทะเยอทะยานมากที่สุด ในระยะเวลา 3 ชั่วโมงแห่งการวิพากษ์ธุรกิจขนาดใหญ่ด้วยการค้าระหว่าประเทศผ่านฉากอลังการสไตล์โมเดิร์น



Jean Epstein สร้างบทกวีอันน่ากลัวของ Edgar Allan Poe ในเรื่อง The Fall of the House of Usher(1928) ขึ้นมาใหม่โดยใช้เทคนิค Slow Motion ซึ่งน่าจะเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของภาพยนตร์บันเทิงในยุคนั้นที่ใช้เทคนิคนี้ในช่วงเวลานั้น



จิตวิญญาณของภาพยนตร์ลัทธิ Avant-garde ยังคงดำรงสืบต่อมาในภาพยนตร์ของ Chris Marker ,คู่สามีภรรยาของ Jean-Marie Straub และ Danielle Huillet และ Peter Greenaway ในประเทศอังกฤษ และภาพยนตร์ใต้ดินของประเทศอเมริกัน (American Underground) ช่วงทศวรรษที่ 1960 ประกอบไปด้วยผู้กำกับ Andy Warhol ผู้สร้างโรงงานและมีดาราเป็นของตตนเอง ในภาพยนตร์เรื่อง Sleep(1963) ซึ่งการถ่ายทำเทคเดียวของผู้ชายที่กำลังหลับยาวถึง 6 ชั่วโมง



งานอื่นๆที่น่าสนใจ

Eldorado (1921) Marcel L’Herbier
Rhythmus 21 (1921-4) Hans Richer
Opus 1-4 (1921-5) Walter Ruttmann
The Woman From Nowhere (1922) Louis Delluc
Ballet mécanique (1924) Fernand Léger
L'argent(1928) Marcel L’Herbier
The Fall of the House of Usher(1928) Jean Epstein
Les mystères du château de Dé(1929) Man Ray
circles (1932) Oskar Fischinger
Dreams That Money Can Buy (1947) Hans Richer
Motion Painting (1947) Oskar Fischinger
Sleep(1963) Andy Warhol
From the Clouds to the Resistance (1979) Jean-Marie Straub, Danièle Huillet
The Falls (1981) Peter Greenaway
Sunless (1983) Chris Marker


รูปแบบที่มีความสัมพันธ์

Expressionism ;Constructivism; Surrealism; Experimentalism; New Wavism

รูปแบบที่ต่างกันสุดขั้ว

Hollywood Studioism; Socialist Realism; Realism; Classicism; Emotionalism



อ่านลัทธิอื่นๆได้ที่:สารบัญประวัติศาสตร์ภาพยนตร์

อ่านวิจารณ์หนังได้ที่:สารบัญภาพยนตร์




 

Create Date : 28 เมษายน 2555
0 comments
Last Update : 7 พฤษภาคม 2556 1:26:54 น.
Counter : 3943 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


A-Bellamy
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ย้ายบล็อกแล้วนะครับ ติดตามกันต่อได้ที่ http://www.A-Bellamy.com ครับ

พูดคุยเรื่องหนังกันได้ที่Facebook

สนุกกับการอ่านบล็อกนะครับ


บทความล่าสุด
Jack the Giant Slayer (2013)
The Tree of Life(2011)
Iron Man (2013)
ลัทธิ Constructivism
คู่กรรม(2013)
Stoker(2013)
Amour(2012)
Silver Linings Playbook(2012)
Zero Dark Thirty(2012)
Les Misérables(2012)


บทความแนะนำ
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
สารบัญภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

[Add A-Bellamy's blog to your web]