ตีความหนัง...ตีความชีวิต
สารบัญภาพยนตร์
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
<<
พฤษภาคม 2555
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
18 พฤษภาคม 2555

ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์-ก่อนทศวรรษที่ 1920(ตอนที่ 5)

กลับไปอ่าน :ตอนที่ 1 ,ตอนที่ 2 ,ตอนที่ 3 ,ตอนที่ 4

D. W. Griffith นักบุกเบิกภาพยนตร์ที่ บริษัท Biograph




David Wark (D. W.) Griffith เป็นนักบุกเบิกและประพันธกรทางด้านภาพยนตร์ชาวอเมริกันที่ยอดเยี่ยมที่สุดในช่วงต้นของการกำเนิดภาพยนตร์ โดยเขาถูกขนานนามว่า เป็น “ศิลปินทางด้านการเล่าเรื่องในภาพยนตร์” หรือ “บิดาของภาพยนตร์” ซึ่งเป็นผู้วางรากฐานทางด้านการเล่าเรื่องจนเกิดเป็นไวยากรณ์ทางด้านภพยนตร์ให้นักทำภาพยนตร์รุ่นต่อมาได้ปฎิบัติตาม ในอดีตเขาเคยเป็นนักแสดงและนักเขียนแต่ไม่ประสบความสำเร็จ โดยเขาเคยเล่นในภาพยนตร์ของ Edwin S. Porter และ Thomas Edison เรื่อง Rescued From the Eagle's Nest (1907) (ซึ่งถือเป็นการแสดงชิ้นแรกที่สามารถตรวจสอบได้) เรื่องอื่นๆ เช่น Her First Adventure (1908), Caught by Wireless (1908), และ At the French Ball (1908)

ด้วยแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ ทำให้ Griffith ได้เข้าร่วมกับบริษัท The American Mutoscope and Biograph Company เมืองนิวยอร์ค ในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ในปี 1908 จนถึง ปี 1913 โดยเขาตั้งเป้าไว้ว่าในแต่ละสัปดาห์เขาต้องทำภาพยนตร์ขนาดสั้น 1 ม้วน ให้ได้ 2 เรื่อง ซึ่งเป็นอัตราที่เยอะและมหัศจรรย์มาก ภาพยนตร์เรื่องแรกของเขากับ Biograph คือเรื่อง The Adventures of Dollie (1908) ภาพยนตร์ 12 นาที ที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายของ Frank Norris เรื่อง The Octopus และเรื่องของเขาเองที่ชื่อ A Deal in Wheat



ตามมาด้วยการผลิตภาพยนตร์ 1 ม้วนเรื่อง The Red Man and the Child (1908) ซึ่งเป็นภาพยนตร์ชิ้นแรกของเขาที่ถูกเขียนบทวิจารณ์โดยหนังสือ Variety เขายังคงเดินหน้าทำภาพยนตร์ของเขาต่อไปจนมากกว่า 60 เรื่องต่อปี เช่น ภาพยนตร์ 14 นาที เรื่อง A Corner in Wheat (1909) สร้างมาจาก นิยายของ Frank Norris ปี 1903 เรื่อง The Pit





D.W. Griffith กำกับภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถ่ายทำในหมู่บ้านเล็กทางตอนเหนือของฮอลลีวู้ด ในเมือง LA เรื่อง In Old California (1910)



เขาได้ผลิตภาพยนตร์ฟิล์ม 1-2 ม้วน (ยาว 15-30 นาที) ประมาณ 450 เรื่องด้วยกัน ตลอดระยะเวลากว่า 4 ปี ที่อยู่ใน บริษัท Biograph ประกอบไปด้วยเรื่อง Fighting Blood (1911) และ Under Burning Skies (1912) แม้ว่าชื่อของเขาจะไม่ได้รับเครดิตก็ตาม(ตอนหลังได้รับเครดิตแล้ว) ภาพยนตร์ในช่วงต้นของเขามักจะเป็นภาพยนตร์ตะวันตก,ชีวิตคนเมือง,เรื่องโรแมนติก,ตลก,เรื่องราวการช่วยเหลือชีวิตคน,เรื่องประโลมโลกในสงครามกลางเมือง,มหากาพย์ประวัติศาสตร์,วิพากษ์สังคม และ นิยายผจญภัย

ภาพยนตร์ 2 เรื่องจากจำนวนทั้งหมด มีเรื่องเกี่ยวกับแก๊งสเตอร์ในเมือง ความยาว 18 นาที เรื่อง The Musketeers of Pig Alley (1912) (โดดเด่นในการใช้ระยะภาพโคลสอัพในการคุกคาม) และภาพยนตร์ตะวันตกยาว 29 นาทีเรื่อง The Battle at Elderbush Gulch (1913)





ในจำนวนของภาพยนตร์สั้นทั้งหมด เขาเริ่มเห็นความเป็นไปได้ว่าภาพยนตร์สามารถที่จะเป็นสื่อแขนงใหม่ เขาและ Billy Bitzerช่างภาพของเขา จึงได้เริ่มทดลองการใช้ไฟและใช้เทคนิคด้านกล้อง(โคลสอัพ,เฟดออก, establishing shots แสดงระยะชัด, ระยะภาพไกลมากและปานกลาง,จัดแสงพื้นหลัง,ทำให้ดูเป็นธรรมชาติ,จัดแสงแบบ Low-Key หรือการถ่ายทำข้างนอกเป็นต้น ฯลฯ) และจัดการอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการใช้ความงามที่เกี่ยวกับรสนิยมทางศิลปะมาปรับใช้ให้เข้ากับการเล่าเรื่องในภาพยนตร์

ในภาพยนตร์เรื่อง The Lonely Villa (1909) Griffith ใช้เทคนิคทางภาพยนตร์ที่เรียกว่า cross-cutting เพื่อสร้างการลุ้นระทึกให้เกิดขึ้นบนจอภาพยนตร์ เขายังได้ใช้เทคนิคเดิมบวกกับตัดต่อให้เร็วขึ้นในภาพยนตร์เรื่อง The Girl and Her Trust (1912) ส่วนภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ นั้นมักจะมีฉากการช่วยเหลืออย่างตื่นเต้นจนวินาทีสุดท้าย(เป็นเครื่องการค้าของ Griffith) ภาพยนตร์ของเขามักถ่ายด้านนอกและใช้ tracking shot รถไฟอีกด้วย



เขายังได้เป็นผู้ฝึกฝนและก่อตั้งบริษัทของตนเองเพื่อสะสมทีมงาน ประกอบไปด้วยสมาชิกใหม่(บุคคลที่มีอนาคต) เช่น Lillian และ Dorothy Gish, Mary Pickford, Blanche Sweet, Mae Marsh, Harry Carey, Henry B. Walthall, Mack Sennett, Florence Turner, Constance Talmadge, Donald Crisp, และ Lionel Barrymore โดยภาพยนตร์เขย่าขวัญ 15 นาที เรื่อง An Unseen Enemy (1912) เป็นการแจ้งเกิดของนักแสดงหญิง ทั้ง Dorothy และ Lillian Gish บนจอภาพยนตร์ พวกเธอได้รับภัยอันตรายจากการ โคลสอัพไปที่อาวุธปืนที่กำลังจ่อไปที่พวกเธอ กล้องยังทำให้ผู้ชมหวาดกลัวอีกด้วย

เขาได้สร้างภาษาทางภาพยนตร์ในแบบใหม่ขึ้นมา เขาใช้กล้องภาพยนตร์และฟิล์มในรูปแบบใหม่ มีการทำหน้าที่มากขึ้น เคลื่อนที่ได้ง่ายและถ่ายทำได้อย่างสงบ ,ถ่ายทำขณะกล้องเคลื่อนไหว,การแยกจอ split-screens , เล่าเรื่องย้อนอดีต(flashbacks) , cross-cutting (แสดง 2 เหตุการณ์ที่ดำเนินไปพร้อมๆกันก่อนจะเข้าไปสู่ช่วงไคลแมกซ์) มักใช้การโคลสอัพเพื่อให้รายละเอียดที่ชัดเจน ,การทำเฟด, InterCutting , การตัดต่อแบบคู่ขนาน(parallel editing) ,Dissolve, การเปลี่ยนมุมภาพ , soft-focus , lens filters , การทดลองหรือประดิษฐ์แสงและเงา ก่อนจะนำไปสู่ช่วงเวลาสุดท้ายกับบริษัท Biograph ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่มีความเป็นศิลปะมาก ด้วยความยาว 2 ม้วน(23 นาที) เรื่อง The Mothering Heart (1913) นำแสดงโดย Lillian Gish




-----จบตอน 5-----


อ่านประวัติศาสตร์ภาพยนตร์:สารบัญทุกตอน

อ่านวิจารณ์หนังได้ที่:สารบัญภาพยนตร์


Create Date : 18 พฤษภาคม 2555
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2556 18:05:42 น. 0 comments
Counter : 3628 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

A-Bellamy
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ย้ายบล็อกแล้วนะครับ ติดตามกันต่อได้ที่ http://www.A-Bellamy.com ครับ

พูดคุยเรื่องหนังกันได้ที่Facebook

สนุกกับการอ่านบล็อกนะครับ


บทความล่าสุด
Jack the Giant Slayer (2013)
The Tree of Life(2011)
Iron Man (2013)
ลัทธิ Constructivism
คู่กรรม(2013)
Stoker(2013)
Amour(2012)
Silver Linings Playbook(2012)
Zero Dark Thirty(2012)
Les Misérables(2012)


บทความแนะนำ
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
สารบัญภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

[Add A-Bellamy's blog to your web]