ตีความหนัง...ตีความชีวิต
สารบัญภาพยนตร์
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
<<
เมษายน 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
27 เมษายน 2555

ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์-ก่อนทศวรรษที่ 1920(ตอนที่ 3)

*หากต้องการคัดลอกส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความช่วยกรุณาอ้างอิงด้วยครับ*

กลับไปอ่าน :ตอนที่ 1 ,ตอนที่ 2


Alice Guy (Blaché) : ผู้กำกับหญิงคนแรก


Alice Guy (Blaché) เกิดในฝรั่งเศส เริ่มต้นทำธุรกิจภาพยนตร์ในตำแหน่งเลขานุการให้กับ Léon Gaumont ในปี 1894 และในปี 1896 เธอได้เข้าร่วมกับบริษัทใหม่ของ Gaumont ที่ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1895 ในชื่อ Gaumont Film Company และเริ่มต้นทำภาพยนตร์เสียงแบบดั้งเดิมขึ้น โดยเธอได้เลื่อนขั้นเป็นหัวหน้าผู้ควบคุมการผลิตในสตูดิโอ เธอถูกยอมรับว่าเป็นผู้กำกับหญิงคนแรกของโลกในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และเริ่มทำภาพยนตร์เรื่องแรกของเธอขึ้นในเดือนเมษายน ปี 1896 มีชื่อว่า La Fée aux Choux (The Cabbage Fairy) มีความยาว 1 นาที บางตำราประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ได้พิจารณาให้ภาพยนตร์ของเธอนั้นจัดเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีการเล่าเรื่อง (narrative fiction film) เธอยังได้ถูกยกย่องว่ามีความสำคัญในการพัฒนาวงการภาพยนตร์ในฐานะที่เป็นการเล่าเรื่อง (narrative film) อีกด้วย



Georges Melies: จอมขมังเวทแห่งวงการภาพยนตร์


จากความสำเร็จในวงการเทคโนโลยีภาพยนตร์ ทำให้ชาวฝรั่งเศสอีกหนึ่งคนซึ่งเป็นผู้ชมภาพยนตร์ที่เหนียวแน่นของ Lumiere นั่นคือ Georges Melies เขาได้ใช้ประโยชน์จากกล้องภาพยนตร์ Lumiere เพื่อนำมาต่อยอดแห่งความเพ้อฝันจินตนาการของเขาให้เติมเต็มในรูปแบบภาพยนตร์แฟนตาซี แม้พี่น้อง Lumiere ไม่ยอมขายเครื่อง Cinematographe ให้เขา เขาจึงได้พัฒนากล้องถ่ายภาพของเขาขึ้นมา และได้ก่อตั้งสตูดิโอของเขาขึ้นในปี 1897 ซึ่งถือเป็นสตูดิโอแรกในยุโรป มันเป็นสตูดิโอแรกที่สร้างลวดลายสีสันแห่งความสว่างไสวขึ้นมา อีกทั้งยังออกแบบโครงสร้างสตูดิโอไม่ต่างจากเรือนกระจกที่โดดเด่นทั้งหลังคาและผนังกระจก และยังมีผ้าม่านที่เลื่อนเปิด-ปิดได้ ที่ส่งผลอิทธิพลมาสู่สตูดิโอในยุคปัจจุบัน



Georges Melies ชาวเมืองปารีส ได้สร้างภาพยนตร์เรื่องแรกของเขาด้วยเทคนิคของการแทนที่ (เป็นหนึ่งในตัวอย่างแรกสุดของเทคนิคการถ่ายภาพด้วยการหยุดเล่นกลางครัน (Stop-Action) ก่อนที่จะใช้เทคนิคพิเศษ)ในเรื่อง Escamotage d'une dame au théâtre Robert Houdin (1896) (The Conjuring of a Woman at the House of Robert Houdin)



ส่วนเรื่อง Le Manoir du Diable (1896) (Manor/House of the Devil, or The Devil's Castle, or The Haunted Castle) ถือเป็นรากฐานของภาพยนตร์สยองขวัญ(Horror Films) โดยเฉพาะแวมไพร์ แม้ว่าจะเน้นไปทางตลกขบขันและสร้างความบันเทิงก็ตาม



Georges Melies กลายเป็นอุตสาหกรรมผู้สร้างภาพยนตร์แรกที่หันมาใช้การจัดเตรียมการจัดฉากและผูกสร้างโยงเรื่องให้เป็นเรื่องราว ด้วยภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงและมีอิทธิพลจนปัจจุบันเรื่อง Cendrillon (1899) (Cinderella)



เขาได้สร้างภาพยนตร์ประมาณ 500 เรื่อง ในระยะเวลามากกว่า 15 ปี และฉายภาพยนตร์ที่เขาสร้างด้วยโรงฉายของเขาเอง Melies ทั้งเขียนบท,ออกแบบ,กำกับ และเล่นเอง ด้วยภาพยนตร์เทพนิยาย (fairy tales ) และไซไฟ (science fiction) และยังพัฒนาเทคนิควิธีกาถ่ายภาพ Stop-Motion, การซ้อนภาพ ,การถ่ายภาพ time-lapse (ย่นย่อเวลากว่าที่เกิดขึ้นจริง), การใช้เทคนิคพิเศษ เช่น การทำวัตถุให้หายไป(ใช้วิธีการหยุดเล่นกลางครันและสับเปลี่ยนที่) และการทำ Dissolve และ Fade โดยปลายปี 1911 เขาได้ทำสัญญากับบริษัท Pathe เพื่อให้เป็นนายทุนและจัดจำหน่ายภาพยนตร์ของเขา และได้เลิกธุรกิจเมื่อปี 1913

การแสดงมายากลด้วยฉากแสนวิเศษเสมือนดังพ่อมดที่มีเวทมนต์ Melies ยังได้หาญกล้าบุกเบิกภาพยนตร์ไซไฟ 14 นาที เรื่อง Le Voyage Dans la Lune - A Trip to the Moon (1902)
ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่จดจำของเขา ด้วยจำนวนฉากทั้งหมดถึง 30 ฉาก บวกทั้งการใช้เทคนิคพิเศษที่มีความเหนือจริง และภาพสะดุดตาของจรวดที่เข้าไปชนกับดวงตาของดวงจันทร์ที่มีความละม้ายคล้ายหน้าคน



Melies ใส่ไอเดียของเรื่องเล่า,พล็อตเรื่อง,การพัฒนาตัวละคร, ภาพลวงตา , และจินตนาการใส่เข้าไปในภาพยนตร์เรื่องนี้ทั้งหมด รวมทั้งยังใช้เทคนิคพิเศษ การระบายสีเฟรม การ Dissolve การกวาดภาพ การซ้อนภาพแบบ 2 มิติ(Superimposition) การซ้อนภาพหลายๆภาพในภาพเดียว(Multiple exposure) การใช้กระจกเงา Stop-Motion , Slow-Motion และ Fade-in Fade-out แม้ว่าเขาจะใช้การถ่ายภาพไปในรูปแบบใหม่ก็ตามแต่กระนั้นก็ดีกล้องถ่ายภาพก็ยังคงตั้งแน่นิ่งและบันทึกภาพแสดงบนเวทีในตำแหน่งเดียวเท่านั้น



การพัฒนาการอื่นๆในสหรัฐฯ


ช่วงปลายทศวรรษที่ 18 และต้น 19 นั้นถือเป็นช่วงระยะเวลาที่สำคัญของการพัฒนาวงการภาพยนตร์ของสหรัฐอเมริกา บริษัทของเอดิสันต้องแข่งขันทางธุรกิจกับบริษัทอื่นๆที่เริ่มเจริญเติบโตขึ้นมาอย่างมากมาย

บริษัท Edison Manufacturing Company เริ่มต้นในการผลิตภาพยนตร์ด้วย Kinetoscope ในปี 1891ด้วยการตั้งสำนักงาน ที่ West Orange, NJ ก่อนจะก่อตั้งบริษัทเป็นทางการ ในปี 1894 หลังจากนั้น เอดิสัน ต่อสู้เพื่อควบคุมธุรกิจภาพยนตร์ของเขาอย่างแรง ทั้งการฟ้องร้องบริษัทคู่แข่ง หรือการซื้อสิทธิบัตรมาทำต่อหากเริ่มรู้สึกว่าบริษัทนั้นๆ จะเป็นภัยคุกคามทางธุรกิจกับบริษัทของเขา

บริษัท American Vitagraph Company ก่อตั้งโดย J. Stuart Blackton และ Albert E. Smith ในปี 1896 โดยผลิตภาพยนตร์บันเทิงเรื่องแรกคือ The Burglar on the Roof ถ่ายทำและออกฉายในปี 1897 ในไม่ช้าก็ได้กลายเป็นบริษัทที่ใหญ่โต โดยผลิตภาพยนตร์ออกมาถึงปีละ 200 เรื่อง

บริษัท American Mutoscope Company ก่อตั้งปี 1895 ในเมืองนิวยอร์ค โดยกลุ่มคนที่ได้แยกออกมา เอดิสัน ทั้ง William K. L. Dickson, Herman Casler, Henry Marvin โดยใช้เครื่องฉายแบบถ้ำมอง Mutoscope (ดัดแปลงมาจาก Kinetoscope)

ในไม่ช้า บริษัท American Mutoscope Company ได้กลายเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงที่สุดในสหรัฐฯ และพวกเขาก็ได้เปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการคือ American Mutoscope and Biograph Company ในปี 1899 และได้เปลี่ยนเป็น Biograph ในปี 1909 พวกเขาได้ขายทั้งภาพยนตร์ของเขาและเครื่องฉาย Biograph ด้วยเหตุนี้เองทำให้บริษัทแห่งนี้กลายเป็นบริษัทภาพยนตร์ที่สำคัญที่สุดในสหรัฐฯ ภาพยนตร์เรื่อง The Haverstraw Tunnel (1897) ได้กลายเป็นภาพยนตร์ที่มีชิ่อเสียงที่สุด ด้วยการเป็นเรื่องแรกที่มีผีห่าซาตานควบม้า อีกทั้งยังได้นำกล้องไปติดไว้ที่ส่วนหัวด้านหน้าสุดของรถไฟ และบันทึกเส้นทางเข้าไปในอุโมงค์อีกด้วย


Edison Vs. Mutoscope


ในเดือนพฤษภาคม ปี 1898 เอดิสันได้ฟ้องร้องดำเนิคดีกับ บริษัท American Mutoscope Company ในข้อหา Mutoscope ได้ทำการละเมิดสิทธิบัตรกล้องถ่ายภาพยนตร์ Kinetograph (ซึ่งคู่แข่งของเอดิสันได้พัฒนาจนกลายเป็น เครื่อง Biograph และ Mutoscope) หลังจากการต่อสู้กันทางกฎหมาย ในกรกฎาคม ปี 1901 ทางศาลก็ได้พิพากษาว่าเครื่อง Biograph ได้ละเมิดอย่างที่เอดิสันกล่าวอ้าง Biograph จึงได้ยื่นเรื่องอุทธรณ์โดยกล่าวอ้างว่ากล้องถ่ายภาพของเขามีความแตกต่างกันในการสร้างสรรค์ จนทำให้ศาลอุทธรณ์มีผลยกฟ้อง ในเดือนมีนาคม 1902 เป็นผลให้เอดิสันไม่สามารถครอบครองผูกขาดเครื่องมืออุปกรณ์ในกล้องภาพยนตร์แต่เพียงลำพังผู้เดียวอีกต่อไป

ภาพยนตร์ยนตร์ถูกสร้างให้มีความยาวมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเกิดการใส่รูปแบบการเล่าเรื่องเข้าไป หรือเริ่มการตัดต่อขึ้น ภาพยนตร์ 2 เรื่องแรกที่ถูกจัดให้เป็นภาพยนตร์ตระกูลตะวันตก เกิดขึ้นในนามบริษัท Edison Manufacturing Company โดยถ่ายทำในสตูดิโอ Black Maria

- ฉากสั้น(น้อยกว่า 1 นาที) ของเรื่อง Thomas Edison's Cripple Creek Bar Room Scene (1899) ซึ่งเป็นฉากแรกที่มีการจัดเป็นร้านเหล้าแบบภาพยนตร์ตะวันตก
- Poker at Dawson City (1899)



-----จบตอน 3-----


อ่านประวัติศาสตร์ภาพยนตร์:ตอนที่ 1 ,ตอนที่ 2,ตอนที่ 4


อ่านวิจารณ์หนังได้ที่:สารบัญภาพยนตร์




 

Create Date : 27 เมษายน 2555
0 comments
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2556 18:02:41 น.
Counter : 2969 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


A-Bellamy
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ย้ายบล็อกแล้วนะครับ ติดตามกันต่อได้ที่ http://www.A-Bellamy.com ครับ

พูดคุยเรื่องหนังกันได้ที่Facebook

สนุกกับการอ่านบล็อกนะครับ


บทความล่าสุด
Jack the Giant Slayer (2013)
The Tree of Life(2011)
Iron Man (2013)
ลัทธิ Constructivism
คู่กรรม(2013)
Stoker(2013)
Amour(2012)
Silver Linings Playbook(2012)
Zero Dark Thirty(2012)
Les Misérables(2012)


บทความแนะนำ
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
สารบัญภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

[Add A-Bellamy's blog to your web]