ตีความหนัง...ตีความชีวิต
สารบัญภาพยนตร์
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
 
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
10 กุมภาพันธ์ 2555

ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์: ลัทธิ Illusionism

ยุคหนังเงียบ 1895-1927

Illusionism


Illusionism เป็นแนวทางภาพยนตร์ที่มุ่งเสนอและเรียกร้องป่าวประกาศว่าภาพยนตร์คือสิ่งที่ไม่มีความเป็นจริง มันอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับภาพยนตร์แนวสัจจนิยม(Realism) ซึ่งแนวทาง Illusionism นี้มักใช้ Special effect เช้ามาช่วยในการผลิตภาพยนตร์ เหมือนเป็นดังมายากล โดยผู้กำกับที่ใช้แนวทางนี้มักจะมีความสุขที่ได้ใช้กลอุบายต่างๆ ในการหลอกล่อผู้ชม และทำให้ผู้ชมยอมรับโดยดีกับสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

ผู้กำกับคนสำคัญ

Georges Méliès (1861–1938)
Jean Cocteau (1889–1963)
Busby Berkeley (1895–1976)
Jan Svankmajer(1934-ปัจจุบัน)
Terry Gilliam(1940-ปัจจุบัน)
Tim Burton(1958-ปัจจุบัน)

รูปแบบการนำเสนอ

การ์ตูน Annimation
โลกแห่งจินตนาการ( Fantasy)
ใช้ Special effect ช่วย
การใช้ลูกเล่นต่างๆในการถ่ายภาพ



รายละเอียด


เป็นข้อถกเถียงและได้ข้อสรุปว่าภาพยนตร์นั้นเป็นเรื่องของจินตนาการล้วนๆเพราะว่าพวกเขาต้องผลิตภาพมายาขึ้นมาจากความคิดล่องลอยเหมือนความฝันโดยต้องยักย้ายเคลื่อนฟิล์มเหตุการณ์ต่างๆที่ได้ถ่ายทำมามากมายโดยใช้รูปแบบอันหลากหลายของการถ่ายทำและวิธีการตัดต่อให้เป็นภาพยนตร์โดยสมบูรณ์

อีกทั้งภาพยนตร์ที่เหมือนภาพมายากลเหล่านี้ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของภาพยนตร์แนวนี้ว่ามันมีความสามารถเพียงใดที่สามารถใช้ข้อได้เปรียบทางด้านพื้นที่และเวลา(Space-Time)ที่ทำให้ภาพยนตร์เกิดเหตุการณที่ไม่มีวันเกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันได้ ภาพมายาต่างๆเหล่านี้จึงทำให้แก่นสาระของความสมเหตุสมผลได้ถูกละเลยไป

ภาพยนตร์ในช่วงต้นนั้นมีเสน่ห์น่าดึงดูดใจที่สามารถล้มล้างกฎทางกายภาพที่เรียกว่าพื้นที่และเวลา(Space-Time)และยังทำให้เกิดความสมเหตุสมผลแก่ผู้ชมจนทำให้เชื่อหมดใจได้อย่างน่ามหัศจรรย์ และทันทีที่ผู้ชมเริ่มรู้จักคุ้นชินต่อรูปแบบ Illusionism อย่างเป็นปกติวิสัย สิ่งแรกที่ภาพยนตร์แนวนี้มักทำกันก็คือพล็อตเรื่องภาพยนตร์เบาบางแต่เน้นที่จะแสดงความเป็นมายากลในแผ่นฟิล์ม โดยใช้โครงสร้างการเล่าเรื่องที่มักเกี่ยวข้องกับตัวแสดงที่หลุดเข้าไปในโลกแห่งจินตนาการ(Fantasy)

ไม่นานหลังจากได้กำเนิดภาพยนตร์ขึ้นมา มี 2 แนวทางสายหลักๆทางภาพยนตร์ที่น่าสนใจนั่นคือ ทางที่หนึ่งภาพยนตร์ของพี่น้องลูมิแยร์ ซึ่งพวกเขาเน้นการถ่ายทอดความเป็นจริงลงบนแผ่นฟิล์ม(realism)ทุกกระเบียดนิ้ว และอีกเส้นทางตามทางของ Georges Méliès ซึ่งเขาทำทุกๆอย่างเพื่อทำสิ่งตรงข้ามกับวิธีของพี่น้องลูมิแยร์ อย่างสิ้นเชิง


Georges Méliès


Méliès นั้นเป็นทั้งนักมายากล นักเขียนการ์ตูน นักประดิษฐ์ และช่างซ่อมเครื่องจักรเครื่องยนต์ เขาได้ทดลองถ่ายภาพด้วยเทคนิคต่างๆเพื่อให้บังเกิดผลที่คล้ายๆกับการเล่นมายากล เขาได้พัฒนาอุปกรณ์หลายต่อหลายอย่างเช่น การซ้อนภาพแบบ 2 มิติ(Superimposition) การซ้อนภาพหลายๆภาพในภาพเดียว(Multiple exposure) การทำ Matting การทำ The Dissolve และการทำ Stop Motion ยกตัวอย่างเช่นในเรื่อง The melomaniac (1903) ที่ Méliès เป็นหัวหน้าวงดนตรีนำเล่นเพลง ซึ่งเขาถอดหัวตัวเองออกมาได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างน่าประหลาดใจ โดยเขาโยนแต่ละหัวขึ้นไปขึงกับลวดที่เหมือนสายโทรเลข ที่ถูกดัดแปลงให้ไม่ต่างกับบรรทัด 5 เส้นของโน้ตดนตรี


ชม The melomaniac (1903)


ส่วนภาพยนตร์ A Trip to the Moon (Le voyage dans la lune ,1902) ของ Méliès อีกเรื่องนั้น ก็ไม่ต่างจากสัญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงของวงการภาพยนตร์โลกที่สามารถคิดทำสิ่งที่ไม่มีทางเป็นจริงให้เกิดขึ้นได้นั่นคือการไปในดาวดวงอื่นนอกโลกนั่นเอง มิหนำซ้ำยังทำให้ยานอวกาศเข้าไปพุ่งชนตาของดวงจันทร์เสียอีก กลายเป็นภาพตลกที่จดจำฝังใจของใครหลายคนที่หลงใหลประวัติศาสตร์ภาพยนตร์แน่นอน


ชม A Trip to the Moon


หลังจากตัวอย่างการคิดค้นวิธีต่างๆของ Mélièsแล้วเขาได้กลายเป็นแรงบันดาลใจที่ยิ่งให้กับนักสร้างภาพยนตร์รูปแบบเดียวกับเขาในรุ่นต่อๆมา ตั้งแต่ Arabian Night จนถึง Harry Potter

โดยเรื่อง The Thief of Bagdad (1924) ของผู้กำกับ Raoul Walsh เขาได้จัดฉากใหม่ของวงการฮอลลีวู้ดด้วย Special effect การให้นักแสดงอย่าง Douglas Fairbanks ป่ายปีนด้วยเชือกวิเศษ ขี่ม้าที่มีปีก และแล่นเรือผ่านหลังคาด้วยพรหมวิเศษ



เรื่องต่อมาอย่าง The Wizard of Oz (1939) สร้างความแตกต่างระหว่างโลกแห่งความจริงกับโลกแห่งความฝันโดยการให้โลกความฝันของ Dorothy เป็นสีที่รุ่งโรจน์ แต่บ้านของเธอในรัฐแคนซัสกลับเป็นสีที่หมองคล้ำขาว-ดำ โดยสารที่หนังจะบอกก็คือ “ไม่มีที่ไหนเหมือนบ้าน” เพราะว่า เมือง OZ เป็นเหมือนดังภาพมายาและเวทมนต์เหล่านั้นจะทำให้เธอถูกล่อลวง



ผู้กำกับบางคนก็เริ่มต้นด้วยการเป็นนักแอนนิเมชั่นมาก่อน อย่างเช่น Tim Burton , Terry Gilliam และ Jan Svankmajer พวกเขาเหล่านั้นชอบผสมผสานระหว่าแอนนิเมชั่นกับการใช้ตัวแสดงเล่นจริงๆ หรือไม่ก็ใช้ตัวแสดงเล่นจริงๆแต่แปลงให้กลายเป็นแอนนิเมชั่น

Busby Berkeley ซึ่งเป็นนักออกแบบท่าเต้นบนเวที เขาคิดค้นภาพเคลื่อนไหวรวดเร็ว (kaleidoscopic), Art Deco และภาพวาดที่แสดงรายละเอียดหลอกลวงผู้ชม (trompe l'oeil effect) ด้วยการออกภาพบนเวทีด้วยมุมสูงเหนือหัวมาจากรถเครน หรือการดอลลี่ตามนักร้องคอรัสหญิง



และผู้กำกับคนสุดท้าย Jean Cocteau แม้จะเกี่ยวพันกับลัทธิเหนือจริง(Surrealist) อย่างเช่น Beauty and the Beast (1945)ก็ตาม แต่เขาใช้เพื่อความลุ่มหลงมากกว่าทำให้ตกใจ และยังจัดอยู่ในลัทธิ Illusionism



งานอื่นๆที่น่าสนใจ

Münchhausen (1943) Josef von Báky
The Saragossa Manuscript(1964) Wojciech Has
Time Bandits (1981) Terry Gilliam
Alice (1988) Jan Svankmajer
Charlie and the Chocolate Factory (2005)Tim Burton

รูปแบบที่มีความสัมพันธ์

Expressionism ; Surrealism; Cartoonism; Escapism; FX-ism

รูปแบบที่ต่างกันสุดขั้ว

Socialist Realism; Naturalism; Realism; Film Noirism; Minimalism



อ่านลัทธิอื่นๆได้ที่:สารบัญประวัติศาสตร์ภาพยนตร์

อ่านบทวิจารณ์หนังได้ที่:สารบัญภาพยนตร์


Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 12 กรกฎาคม 2556 21:06:46 น. 4 comments
Counter : 4411 Pageviews.  

 
รออ่านตอนต่อไปอย่างใจจดใจจ่อ


ขอบคุณครับ


โดย: Groovfie IP: 110.168.72.149 วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:9:05:55 น.  

 
ขอบคุณมากๆๆ ชอบมาก!
จะรออ่านและติดตามต่อไปคะ


โดย: postmodern IP: 172.16.3.131, 110.168.208.173 วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:3:12:27 น.  

 
นอกจากในกรุ๊ปแล้ว ตามมาอ่านในบล็อกด้วยครับ มีประโยชน์มากๆ ครับ ผมชอบศึกษาประวิติศาสตร์ศิลป์ แล้วยิ่งศิลปะภาพยนตร์ยิ่งชอบใหญ่เลยครับ ^^ (Niroth Ruencharoen)


โดย: english_rabbit IP: 171.99.140.66 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:11:58:10 น.  

 
ดูHugoมาแล้วสนใจเรื่องของGeorges Méliès จนมาได้อ่านบล็อคของคุณ ได้ความรู้มาก สุดยอดมากคับ


โดย: holden IP: 124.120.220.48 วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:1:17:56 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

A-Bellamy
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ย้ายบล็อกแล้วนะครับ ติดตามกันต่อได้ที่ http://www.A-Bellamy.com ครับ

พูดคุยเรื่องหนังกันได้ที่Facebook

สนุกกับการอ่านบล็อกนะครับ


บทความล่าสุด
Jack the Giant Slayer (2013)
The Tree of Life(2011)
Iron Man (2013)
ลัทธิ Constructivism
คู่กรรม(2013)
Stoker(2013)
Amour(2012)
Silver Linings Playbook(2012)
Zero Dark Thirty(2012)
Les Misérables(2012)


บทความแนะนำ
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
สารบัญภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

[Add A-Bellamy's blog to your web]