Group Blog
 
All Blogs
 

ม.ร.ว.เสนีย์-ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช update


หนังสือของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

ก๊อปตูเอง
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช




หนังสือของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

ปัญหาประจำวัน(รวมใหม่) เล่มที่ 1




ปัญหาประจำวัน(รวมใหม่) เล่มที่ 2




ปัญหาประจำวัน(รวมใหม่) เล่มที่ 3




ปัญหาประจำวัน ชุด รู้ไว้ใช่ว่า




เมืองมายา 1




เมืองมายา 2




เรื่องของคนรักหมา




ถกเขมร




ยิว




ซูสีไทเฮา




ฝรั่งศักดินา




สี่แผ่นดิน




หลายชีวิต




เรื่องสั้นคึกฤทธิ์




เพื่อนนอน




โครงกระดูกในตู้

Image hosted by Photobucket.com


พยาธิกถา




ปีนี้ไม่มีอะไรใหม่




บันทึกภาพชีวิต ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช-อัจฉริยะและปูชนียบุคคล
เนื่องในวาระโอกาสฉลองอายุครบ 6 รอบ(72 ปี)

Image hosted by Photobucket.com


ชมสวนด้วยกัน

Image hosted by Photobucket.com


เกร็ดชีวิต 81 ปี คึกฤทธิ์ ปราโมช

Image hosted by Photobucket.com



หนังสือที่เกี่ยวข้องกับหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

คึกฤทธิ์กับความเป็นไทย
(ครบรอบ 83 ปี)




คึกฤทธิ์แสบ
อิสระภาพ พูนเสริม




คนคิดลึก ชื่อ คึกฤทธิ์




พิเคราะห์คึกฤทธิ์ พินิจสี่แผ่นดิน
สุวิทย์ ว่องวีระ : บรรณาธิการ




สิบเศียรยี่สิบกร : คึกฤทธิ์ ปราโมช
คริส สารคาม




ศึกษาบทบาทและความคิด ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
วิทยากร เชียงกูล




อยู่กับคึกฤทธิ์
จัตวา กลิ่นสุนทร



ชีวิตต่อสู้ทางการเมือง
นายก, สัญญา, ประธานสภา, คึกฤทธิ์
โพธิ แซมลำเจียก

Image hosted by Photobucket.com




 

Create Date : 21 พฤษภาคม 2548    
Last Update : 20 มิถุนายน 2548 20:42:55 น.
Counter : 877 Pageviews.  

ส.ศิวรักษ์ - 2

แนวคิดทางปรัชญาไทย

Image hosted by Photobucket.com


แด่ นายตุล และนางจันทร์แจ่ม บุนนาค
ผู้ซึ่งได้เอื้อเอ็นดูผู้เขียนมากว่าเสี้ยวศตวรรษ


: บทปาฐกถาในฐานะเป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงาน เนื่องในโอกาสที่ท่านเจ้าคุณพระเทพเวที(ประยุทธ์ ปยุตฺโต) มีอายุบรรลุครบ 5 รอบทศวรรษ


ครูและแพทย์ที่พึงปรารถนาในสังคมสยาม

Image hosted by Photobucket.com


: รวมปาฐกถา 3 บท
1."บทบาทอาจารย์มหาวิทยาลัย จากปัจจุบันสู่ทศวรรษหน้า" ได้รับเชิญจากสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2531
2."ข้อพึงสังวรของแพทย์ในทศวรรษหน้า" ได้รับเชิญจากชมรมแพทย์ชนบท เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2531
3."จริยธรรมสำหรับแพทย์" ได้รับเชิญจากแพทยสภา เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2531

อุทิศแด่ นายประเวศ วะสี
ครูและแพทย์ ที่พึงปรารถนา
ผู้ซึ่งเป็นมิตร ผู้มีอุปการคุณของผู้เขียน
ดังได้เอ่ยถึงกิตติคุณของท่านไว้บ้างแล้วในหนังสือเล่มนี้


ทุกย่าน ฟูมฟาย

Image hosted by Photobucket.com

: รวมบทความที่ตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน คอลัมน์ "ยั่วให้แย้ง"
เป็นชุดที่ 3 ต่อจาก ดังทางด่า และซากผ่าขวาน

แด่ นายสละ ศิวรักษ์
ลูกผู้พี่ ซึ่งเอื้ออาทรต่อน้อง


ศิลปะแห่งการแปล

Image hosted by Photobucket.com

: รวมบทความ "จดหมายจากอังกฤษ", "จดหมายรักจากอเมริกา" ที่ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร ก้าวหน้า (progress) รายปักษ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2505-2507 รวมกับสำนวนแปลร้อยแก้วบางชิ้นและจากงานสัมมนาระดับชาติ เรื่อง "การแปลและการนำไปใช้" ที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


สยามยามหายนะ

Image hosted by Photobucket.com


: รวมบทความที่ตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน คอลัมน์ "ยั่วให้แย้ง"
เป็นชุดที่ 5 ต่อจาก ดังทางด่า, ซากผ่าขวาน, ทุกย่านฟูมฟาย และควายไม่ฟังเสียงซอ

อุทิศด้วยความอาลัยถึง นายพินัย วิเศษจัง (24 พค.05-14 มีค.33)
กัลยาณมิตรผู้เยาว์
ซึ่งสนใจสมุนไพรและยาตำราจีน
ตลอดจนวัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างจริงจัง


อิทธิพลพุทธทาสต่อสังคม

Image hosted by Photobucket.com


: รวมปาฐกถาเกี่ยวกับท่านอาจารย์(พุทธทาส)

อุทิศบูชาคุณท่านอาจารย์ พุทธทาส อินฺทปญฺโญ มหาเถระ
ในโอกาสชาตกาลครบรอบ 7 นักษัตร 27 พฤษภาคม พุทธศักราช 2533


ที่สุดแห่งยั่วให้แย้ง

Image hosted by Photobucket.com


: เล่มสุดท้ายในชุดที่เขียนลง มติชน รายวัน

อุทิศแด่ พ.ต.ต.อนันต์ เสนาขันธ์
ผู้อุทิศตนเพื่อสังคมอย่างยากที่คนรุ่นปัจจุบันจะเข้าใจได้ โดยที่การต่อสู้อย่างนี้ มีอนุสนธิสืบมาในวัฒนธรรมไทย ถอยขึ้นไปทางพระนรินทร์สารพนม (กลึง ภาษิต) จนถึงพระยอดเมืองขวาง ต้นตระกูล เสนาขันธ์


วิพากษ์ รสช. ลอกคราบนายอานันท์ ปันยารชุน

Image hosted by Photobucket.com


: บทปาฐกถา 6 เดือน รสช. ความถดถอยของประชาธิปไตยไทย


เรื่องนายปรีดี พนมยงค์ ตามทัศนะ ส.ศิวรักษ์

Image hosted by Photobucket.com

: เพื่อระลึกถึงรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์
ในโอกาส 60 ปี ประชาธิปไตยไทย
24 มิถุนายน 2535


หกทศวรรษประชาธิปไตย ในทัศนะ ส.ศิวรักษ์

Image hosted by Photobucket.com

: ถ้อยคำสนทนา เรื่อง “ประชาธิปไตยปีที่ 60” จากรายการ มองต่างมุม รวมภาคผนวก-คำอภิปรายเรื่อง ชำแหละกฎหมายเผด็จการ


หัวไม่เป็นตีน

Image hosted by Photobucket.com


: รวมบทความชุดแรกแห่งศักราชใหม่

ความตอนหนึ่งในคำนำ “เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นใน พ.ศ.2475 นั้น พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4 ที่ 5 ถูกจองจำไว้ในพระที่นั่งอนันตสมาคมถึง 3 พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต, สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ครั้นเหตุการณ์คลี่คลายไปแล้ว สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศฯ รับสั่งว่า เจ้านายควรอโหสิให้คณะราษฏร และตรัสเรียกกรณีที่เกิดขึ้นว่า เป็นเรื่อง “หัวไม่เป็นตีน” ซึ่งนับว่าน่าสำเหนียก
พ.ศ.2535 นี้จะคำรบครบ 5 รอบนักษัตรแห่งเหตุการณ์คราวนั้น โดยที่ก่อนหน้านั้นหนึ่งปี มีพวกที่เรียกตัวเองว่า รสช.มายึดอำนาจการปกครองไป จะเรียกว่านี่เป็นเรื่อง “หัวไม่เป็นตีน” อีกจะได้ไหม .....”


ขออุทิศบูชาคุณ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์
(ทจว.ฝ่ายในที่ได้รับพระราชทานแต่รัชกาลที่ 8)


หลุดจากลำต้น

Image hosted by Photobucket.com


: ข้อเขียนและคำพูดของผู้ต้องหา กรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

หนังสือเล่มนี้กำหนดตีพิมพ์ พ.ศ.2536 (ร.ศ.212) จึงขออุทิศแด่ผู้ที่ต่อสู้เพื่ออิสระอธิปไตยของสยาม อย่างน้อยก็แต่ ร.ศ.112 เป็นต้นมา มีพระยอดเมืองขวาง เป็นต้น
ตลอดมาจนคนที่เรียกร้องประชาธิปไตยใน ร.ศ.130 จน ร.ศ.150 รวมทั้งบุคคลที่ท้าทายระบบเช่นพระนรินทร์สารพนม (กลึง ภาษิต) จนถูกถอดเรื่อยมาจนทุกๆ คนที่สูญเสียชีวิต เลือดเนื้อ สาโลหิต มิตรสหาย ทรัพย์สินและเสรีภาพ ไม่ว่าจะในปี พ.ศ.2516 หรือ พ.ศ.2519 ตลอดจน พ.ศ.2534-2535 รวมทั้งทุกๆ คนที่ยังต่อสู้อยู่อย่างสันติ มีพระประจักษ์ คุตฺตจิตฺโต เป็นต้น


เสียงจากแดนไกล

Image hosted by Photobucket.com

: บทสัมภาษณ์ว่าด้วยชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ภายใต้เงื้อมเงา รสช.


ขอดเกล็ดมังกร

Image hosted by Photobucket.com


: บันทึกการเดินทางสู่แผ่นดินใหญ่จีน ครั้งที่ 6

บางตอนของคำนำ “.....อย่างไรก็ตาม คงไม่เกินเลยไปกระมังที่ข้าพเจ้าจะยังคงเห็นจีนเป็นมังกร แม้จะไม่น่าเกรงขามหรือผงาดเด่นเหมือนแต่ก่อน ซึ่งมังกรตัวนี้ควรได้รับการขอดเกล็ดลอกคราบเสียบ้าง เพื่อให้โลกได้แลเห็นข้อเท็จจริงอย่างมีมนสิการ และแม้ว่าข้อเขียนนี้จะทำให้จีนโกรธยิ่งกว่าชมชอบ (ซึ่งข้าพเจ้าทราบมาภายหลังจากที่ มติชน รวมพิมพ์เป็นเล่มครั้งแรก ทางการจีนโจมตีหนังสือเล่มนี้มาก พอๆ กับที่ข้าพเจ้าถูกตราหน้าว่า เป็นศัตรูคนสำคัญของจีนจากกรณีที่เรียกร้องความเป็นธรรมให้กับธิเบต) แต่ส่วนตัวข้าพเจ้าแล้วถือว่า การพูดจาอย่างเปิดเผยเช่นนี้ เป็นการแสดงออกด้วยไมตรีจิตมิตรภาพยิ่งกว่าอะไรอื่น ดังขอยืมคำของ ขงจื๊อ ปราชญ์จีนโบราณ ที่กล่าวไว้ว่า
“เมื่อพบคนพอที่จะพูดกับเขาได้ แต่ไม่พูดกับเขา เป็นการพลาดคนดีไปคนหนึ่ง
เมื่อพบคนที่ไม่ควรพูดกับเขา แต่ไปพูดกับเขา เป็นการพลาดคำพูดไป
ผู้มีสติปัญญา ไม่พลาดคนดีไป และไม่พลาดคำพูดไป” .....”



เขียนให้คิด คุยให้เคือง

Image hosted by Photobucket.com

: รวมบทความจาก “ข่าวพิเศษ” และบทสัมภาษณ์ต่างๆ

แด่ นางสมถวิล หริพิทักษ์
(18 ตุลาคม 2462 – 20 กรกฎาคม 2537)
ผู้จงรักภักดีต่อสามีอย่างควรแก่การสรรเสริญ เป็นเหตุให้อาจารย์เฟื้อทุ่มเทกายใจให้งานศิลปะได้อย่างเต็มที่


ผจญมาร รสช. : คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ๒๕๓๕-๓๘

Image hosted by Photobucket.com

: ประมวลคำฟ้อง คำให้การ แถลงการณ์ปิดคดีเป็นลายลักษณ์อักษร คำแถลงปิดคดีด้วยวาจา และคำพิพากษา พร้อมคำอธิบายในกรณีที่นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ถูก พล.อ.สุจินดา คราประยูรฟ้องในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและหมิ่นประมาทเขา


อัปรีย์ไป จัญไรมา
ถ้าก้าวไปไม่ถึงสาระแห่งประชาธิปไตย
(เขียนร่วมกับคนอื่น)

Image hosted by Photobucket.com


: รวมบทสนทนาที่ออกรายการ มองต่างมุม, ขอคิดด้วยคน, รายการวิพากษ์การเลือกตั้ง ’38 ทางสถานีโทรทัศน์ไทยสกาย, บทสัมภาษณ์ในสยามโพสต์/สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ และเนื่องในโอกาสครบครึ่งศตวรรษแห่งการประกาศสันติภาพขอไทย (16 สิงหาคม)

ตอนหนึ่งของคำนำ “.....หวังว่าประชาธิปไตยจะวิวัฒนาการไปสู่การรับใช้ประชาราษฎร ยิ่งกว่ารับใช้นายทุนขุนศึกและเจ้าศักดินา ดังที่แล้วๆ มา หาไม่การเลือกตั้งแต่ละครั้งก็เท่ากับว่า อัปรีย์ไป จัญไรมา เท่านั้นเอง วลีดังกล่าว ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นคนแรกที่นำมาใช้กับการเปลี่ยนรัฐบาล ทราบว่า พระยาพจนปรีชา ใช้ปรารมภ์ถึงรัฐบาลพหลพลพยุหเสนา ซึ่งมาแทนที่รัฐบาลมโนปกรณ์นิติธาดา แต่ พ.ศ.2476 นั้นแล้วต่างหาก.....”

อุทิศแด่ เสรีไทย
ผู้สละแม้ชีวิต ชื่อเสียงเกียรติคุณ และครอบครัว โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ เพื่อรักษาเอกราช อธิปไตย ประชาธิปไตย และสันติภาพไว้ให้แก่ประชาชนชาวสยาม


มีเพียงภาษาเป็นอาวุธ

Image hosted by Photobucket.com


: รวมข้อเขียน คำพูด และคำสัมภาษณ์ก่อนปี 2538 ของ ส.ศิวรักษ์

ตอนหนึ่งของคำนำ “.....พวกนั้นเห็นกันว่า ข้าพเจ้าเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของทหาร แท้ที่จริงข้าพเจ้าเพียงต้องการวิพากษ์วิจารณ์ทหาร ให้สถาบันนั้นลดบทบาทลง ไม่ให้เป็นรัฐภายในรัฐ เพื่อให้ประเทศเป็นบ้าน ทหารเป็นรั้ว ไม่ต้องการให้ทหารเป็นปลวกในการกัดกินบ้านเรือน.....”

แด่ นายสัมผัส พึ่งประดิษฐ์ นายวสันต์ พานิช นายสมชาย หอมลออ
ที่ได้กรุณาเป็นทนายแก้ต่างให้ข้าพเจ้า ด้วยการใช้ภาษาเป็นอาวุธ ต่อสู้จนข้าพเจ้าได้รับความยุติธรรมจากคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและหมิ่นประมาทคดี พล.อ.สุจินดา คราประยูร


กะเทาะหน้ากากการเมืองไทย

Image hosted by Photobucket.com


: รวมปาฐกถา ตีพิมพ์เนื่องในโอกาสครบ 30 ปี ศึกษิตสยาม

ขออุทิศคุณความดีถวาย พระสุดใจ (ฐานธมฺโม) เจิมสิริวัฒน์
ผู้ร่วมกันก่อตั้งศึกษิตสยาม แต่ พ.ศ.2510-2519


นัยของการเข้าพรรษากับคนรุ่นใหม่

Image hosted by Photobucket.com

: บันทึกการสนทนาในเทศกาลเข้าพรรษา พ.ศ.2537

ขออุทิศกุศลเจตนาแห่งการจัดพิมพ์นี้ถวายทะไลลามะ องค์ที่ 14
ผู้ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญาและกรุณา
ในวโรกาสที่มีพระชนมายุครบ 5 รอบพระนักษัตร
ณ วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2538
โดยมีงานใหญ่ถวายในระดับนานาชาติ ที่กรุงเดลี
ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม
ส่วนพิธีฉลองพระชันษาในประเทศไทยนั้น
สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นองค์ประธานในพิธี
ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
ระหว่างเทศกาลพรรษากาล กรกฎาคม พ.ศ.2538




 

Create Date : 19 พฤษภาคม 2548    
Last Update : 24 พฤษภาคม 2548 17:21:36 น.
Counter : 1007 Pageviews.  

ส.ศิวรักษ์ - 1 update

ดิฉันชอบอ่านงานของ ส.ศิวรักษ์ค่ะ เมื่อมีโอกาสก็ได้ซื้อหาเก็บสะสมไว้หลายเล่มพอสมควร แต่เพราะด้วยเหตุอันมิอยากจะเอ่ยถึง ทำให้หลายเล่มได้สูญหายไปอย่างน่าเสียดาย ... เสียดายมากๆ เหลือไว้เพียงเท่านี้เองค่ะ

จดหมายรักจากอเมริกา

Image hosted by Photobucket.com


: บันทึกการเดินทางไปสหรัฐอเมริกา และประเทศต่างๆ ในฐานะแขกของรัฐบาล โดยองค์การส่งเสริมการทดลองอยู่ร่วมกันระหว่างชาติ

เขียนคำนำโดย ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
“ถ้าผู้เขียนต้องการจะให้ จดหมายรักจากอเมริกา นี้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาในหมู่ผู้อ่าน ก็เชื่อว่าผู้เขียนคงไม่ผิดหวัง ข้าพเจ้าเห็นพ้องกับผู้เขียนในข้อที่ว่า สังคมแบบประชาธิปไตย จะตั้งอยู่บนรากฐานอันมั่นคงได้ก็ต่อเมื่อประชากรมีความคิดความเห็น ผิดแผกแตกต่างกันออกไป หากว่าอะไรว่าตามกันไปหมดแล้วก็ดูจะเป็นการกลับไปใช้ลัทธิเชื่อผู้นำชาติพ้นภัย ซึ่งไม่ค่อยดีนัก”

ส่วนหนึ่งของคำปรารภของผู้เขียน
“.....อนึ่ง เมื่อข้าพเจ้าเขียนจดหมายเหล่านี้ ข้าพเจ้ายังไม่มีนางอันเป็นที่รัก ขณะที่เขียนคำนำนี้ ข้าพเจ้ามีแล้ว จึงขออุทิศน้ำพักน้ำแรงแลคุณความดีทั้งปวงอันอาจจะมี แด่เธอผู้นั้น”

แด่ นิลฉวี

ปก อังคาร กัลยาณพงค์


คุยคนเดียว

Image hosted by Photobucket.com


: รวมบทความออกอากาศกระจายเสียงทางวิทยุ ท.ท.ท. ทุกเช้าวันอาทิตย์ เมื่อครั้งทำรายการแทน ม.จ.หญิงพูนพิศมัย ดิศกุล

คำนำโดย ม.จ.สิทธิพร กฤดากร
“.....ข้าพเจ้าจำได้ว่า สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยรับสั่งกับข้าพเจ้าว่า การติ (criticism) จะถูกต้องหรือไม่นั้น เหตุการณ์จะบอกให้ ถ้าเป็นการติที่เหลวไหล มันก็สลายตัวไปเอง แต่ถ้าเป็นการติที่ถูกต้อง ผลมันก็จะปรากฏขึ้นเอง.....”

หากหนังสือเล่มนี้จะมีความดีอยู่บ้าง ผู้เขียนก็ขอน้อมคุณความดีนั้นถวาย
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากร
เสด็จอาจารย์ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ

ปก นายประวัติ เล้าเจริญ (“.....เขาเห็นชื่อ คุยคนเดียว ก็เลยเขียนรูปล้อข้าพเจ้าเสียแทบทั้งเล่ม จะไม่เอาของเขา ก็เกรงใจ “ศิลปิน” แต่ขอได้โปรดเข้าใจว่าเป็นการเขียนล้อกันเล่นเท่านั้นเอง ข้าพเจ้ามิได้มีความประสงค์จะอวดวิเศษในทางอัตนิยมหรือกูอิสม แต่อย่างหนึ่งอย่างใดมิได้.....”)


มาพูดภาษาไทยกันดีกว่า

Image hosted by Photobucket.com


: หนังสือเล่มนี้ ประมวลข้อเขียนต่างๆ ทั้งหมดของ ส. ศิวรักษ์ แต่แรกออกโรงจนไปเขียนหนังสือไทยอยู่ในเมืองอังกฤษ

เขียนคำนำโดย อจ.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ค่ะ
.....นักเลงหนังสือในปัจจุบันที่ไม่คุ้นเคยกับคุณสุลักษณ์ (๒๔๙๕) จะได้มีโอกาสเทียบเคียงสังเกตความคิดและสำนวนโวหารของผู้แต่งในระยะ ๑๔ ปี นี้ตลอดมา..... และว่าผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ .....คิดเพื่อเขียน เขียนเพื่อยุให้คิด เพื่อยั่วให้คิดแย้ง.....

อุทิศแด่มารดา ซึ่งกล้าเสียสละลงทุน
ให้ผู้เขียนได้ไปเรียนถึงเมืองอังกฤษ


สมุดข้างหมอน

Image hosted by Photobucket.com


: รวมบทความที่เคยตีพิมพ์ลง คอลัมน์ สมุดข้างหมอน ใน วิทยาสาร รายสัปดาห์ เนื่องด้วยการเดินทางไปญี่ปุ่น และนานาประเทศ

ชื่อหนังสือได้เอาอย่างหนังสือ ของ ไซโชนากอน ซึ่งแต่งเรื่อง สมุดข้างหมอน The Pillow Book แต่เป็นคนละแนวกับ "สมุดใต้หมอน" ค่ะ

แด่มิตรภาพ
ทั้งชาวไทยและชาวเทศ
ที่ช่วยให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้และความสุขสบายในการเดินทางเสมอมา


ไม้ซีกงัดไม้ซุง

Image hosted by Photobucket.com


: คำพูดและข้อเขียน, คำแปล, คำสัมภาษณ์, คำนอกประเด็น, ภาคผนวกและเสียงสะท้อน เรื่องต่างกรรมต่างวาระ

ขออุทิศน้ำพักน้ำแรงเพื่อเป็นที่ระลึกถึงคุณความดีของ นายพยุง ตัญญะแสนสุข
อดีตรองประธานสภา เทศบาลนครธนบุรี
อดีตเลขานุการกิติมศักดิ์ สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อดีตไวยาวัจกรวัดทองนพคุณ และเหรัญญิกมูลนิธิปริยัติธรรมทองนพคุณ ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ


เจ้า-ข้า ฟ้าเดียวกัน

Image hosted by Photobucket.com


: รวมถ้อยคำส่งท้าย ร.ศ.201

ขอพระราชทานอุทิศน้ำพักน้ำแรงทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ในโอกาสที่กรุงธนบุรีสิ้นสภาพความเป็นราชธานีครบ 200 ปี แม้จังหวัดธนบุรีก็ถูกทรราชยุบเสีย แต่เมื่อเขาปฏิวัติตัวเองมาเมื่อหนึ่งทศวรรษที่ล่วงมานี้ โดยที่ทรราชเหล่านี้ก็ยังได้ดิบได้ดี มีหน้ามีตาอยู่ในสังคมจนบัดนี้

ออกแบบปกโดย ชูชาติ หมื่นอินกุล


ทฤษฎีแห่งความรัก

Image hosted by Photobucket.com


: รวมบทความ, วาทะ และอื่นๆ เกี่ยวกับความรัก เนื่องจากผู้เขียนได้กล่าวไว้ในคำนำตอนหนึ่งว่า “ข้าพเจ้าเหมือนคนทั้งหลายทั่วโลก ที่พอแตกเนื้อหนุ่มก็สนใจในเรื่องความรัก ข้าพเจ้าผิดกับชายหนุ่มส่วนมากก็ตรงที่ เขาเหล่านั้นมักเข้าทางปฏิบัติก่อน ส่วนข้าพเจ้ากลับปักใจไปในทางทฤษฎี คือแทนที่จะเริ่มแสดงความเป็นหนุ่มด้วยการเกี้ยวผู้หญิง ข้าพเจ้าใช้วิธีอ่านหนังสือเก็บวาทะของนักปราชญ์แลนักเขียนคนสำคัญๆ ไว้ เพื่อเปรียบดูข้อคล้ายกันและข้อต่างกันแห่งมติของท่านนั้นๆ .....”

พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ.2528 เนื่องในโอกาสวันครบ 20 ปีวันสมรสระหว่าง คุณสุลักษณ์และคุณนิลฉวี ศิวรักษ์

เล่มนี้อุทิศแด่ใครคงไม่ต้องบอก แต่ดิฉันประทับใจประโยคท้ายของคำนำค่ะ ที่ว่า “.....อย่างไรก็ตาม ไหนๆ หนังสือนี้ก็มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับตัวข้าพเจ้าเอง ขอยอมรับว่าคำอังกฤษที่จับใจข้าพเจ้ามากที่สุด ในเรื่องนี้ คือ I have lost my way but found my heart.”


คนพ้นคุก

Image hosted by Photobucket.com


: รวบรวม...ข่าว...เหตุการณ์ สาส์นร้องเรียนและความเห็นในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 2527

แด่ ผู้ต้องหาคดีการเมืองทุกคน ที่ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม


ความคิดที่ขัดขวางและส่งเสริมประชาธิปไตยของไทย

Image hosted by Photobucket.com


: รวมบทความที่ตีพิมพ์ลง มติชนสุดสัปดาห์, บทความที่ว่าด้วย “จิตสำนึกทางสังคมที่เหนี่ยวรั้งประชาธิปไตย” และ “อนาคตไทย”, ปาฐกถาเรื่อง “ลอกคราบรัฐสภาไทย” เมื่อ 19 กย.29 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บทความจาก นสพ.ซึ่งรายงานข่าวเกี่ยวกับการสัมมนาว่าด้วย “องค์ความรู้กับสังคมไทย” จัดโดยสถาบันปรีดี พนมยงค์ จัดร่วมกับมติชนที่ จ.ระยอง และบทความบางตอนจากแถลงการณ์ในศาลของนายฟัก ณ สงขลา ผู้เป็นทนายจำเลยคดีสวรรคต ร.8


ทางเลือกของสังคมไทย

Image hosted by Photobucket.com


: รวมปาฐกถา ทางเลือกของสังคมไทย, สังคมไทยในทศวรรษหน้า และ ภาวะวิกฤตของระบบการศึกษา
และบทสัมภาษณ์ “ชาวพุทธที่กรุงเทพฯ”

ขอบูชาคุณ นายกรุณาและนางเรืองอุไร กุศลาสัย
ผู้เป็นทั้งญาติและมิตรผู้ใหญ่ ที่ได้ให้กำลังใจผู้เขียนตลอดมา และทั้งคู่กล้าเลือกที่จะเป็นตัวของตัวเองอย่างน่าเคารพ


ภาษาไทยกับคนรุ่นใหม่
และรวมกลอนบ่อนศึกษิต

Image hosted by Photobucket.com


: รวมบทความที่ลงใน มติชนสุดสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 14 ธค.29-1 กพ.30


ทิศทางใหม่สำหรับมหาวิทยาลัย

Image hosted by Photobucket.com


: ปาฐกถาที่เคยพิมพ์ใน มติชน สุดสัปดาห์ ตั้งแต่ 22 กพ.-26 เม.ย.30

แด่ นายเสน่ห์ จามริก
กัลยาณมิตรของผู้เขียน
หนึ่งในจำนวนน้อยที่เข้าใจแสวงหาทิศทางใหม่ของมหาวิทยาลัย


คำประกาศความเป็นไท
หรือลายสือไทยกับปัญญาชนสยาม


Image hosted by Photobucket.com

: ปาฐกถาเมื่อคราวได้รับเชิญจากสถาบันทักษิณคดี ระหว่างวันที่ 14-17 กรกฎาคม 2526 ในเรื่อง “บทเรียนจากจารึกรามคำแหง”

ขออุทิศแด่ผู้นำคณะราษฎร ที่เรียกร้องสิทธิแห่งความเป็นไทให้ชาวสยามได้สำเร็จเมื่อ พ.ศ.2475 และแด่ขบวนการเสรีไทย ที่กอบกู้เอกราชของชาติไว้ได้อย่างสมภาคภูมิ แต่แล้วทั้งสองหน่วยงานนี้กลับได้รับการเนรคุณจากชนชั้นปกครองในปัจจุบันอย่างน่าอดสูยิ่ง


คันฉ่องส่องบุคคลร่วมสมัย

Image hosted by Photobucket.com


: บทความที่เขียนเรื่องบุคคลร่วมสมัย แบ่งเป็นหมวดดังนี้ (พระ-เจ้า, เจ้านายที่ล่วงลับไปแล้ว, สุภาพสตรีผู้จากไปแล้ว, สุภาพบุรุษผู้จากไปแล้ว, แด่ผู้ที่ยังอยู่กับเรา, ภาคผนวก)

อุทิศแด่ นายธวัชชัย ศิวรักษ์
(ชาตะ 8 สิงหาคม 2485 มตะ 25 มีนาคม 2530)
พนักงานบริษัทศึกษิตสยาม จำกัด แต่แรกตั้งจนเขาถึงแก่กรรม


เสฐียรโกเศศ ตามทัศนะ ส.ศิวรักษ์

Image hosted by Photobucket.com


: รวบรวมเรื่องต่างๆ ที่เคยเขียนถึงพระยาอนุมานราชธน เนื่องในวาระครบศตวรรษแห่งชาติกาล

ขออุทิศน้ำพักน้ำแรงบูชาคุณ
ท่านเจ้าคุณอาจารย์และคุณหญิง
รวมทั้ง น.ส.ภัทรศรี อนุมานราชธน
ผู้ซึ่งเข้าใจข้าพเจ้ายิ่งกว่าใครอื่น
ในบรรดาบุตรบุตรีของท่านทั้งสอง

ภาพปก โดย คุณอวบ สาณะเสน


ดังทางด่า

Image hosted by Photobucket.com

: รวมบทความเกี่ยวกับบุคคลและความคิด

“เมื่อเมษายน 2529 นายขรรค์ชัย บุนปาน ได้มอบให้สำนักพิมพ์มติชน จัดพิมพ์หนังสือขึ้นจำหน่ายจ่ายแจก ในโอกาสที่เขาครบรอบ 40 ปีบริบูรณ์ โดยขอให้ข้าพเจ้าตั้งชื่อให้ว่า นานาสังวาส พร้อมนั้น เขาก็เสนอว่า ข้าพเจ้าควรตั้งชื่อหนังสือเล่มใหม่ของตนเองว่า ดังทางด่า แต่ข้าพเจ้าเห็นว่าชื่อนี้ออกจะเป็นทักขปฏิสันฐานมากเกินไป จึงไม่ได้นำมาใช้ตามความปรารถนาของเขา.....
ต่อมา หนังสือพิมพ์มติชน ต้องการขยายหน้าขึ้น เพื่อปรับราคาจากฉบับละ 3 บาทเป็น 5 บาท นายขรรค์ชัยได้มาขอให้ข้าพเจ้าเขียนลงฉบับรายวันประจำทุกสัปดาห์.....
ข้าพเจ้าเห็นว่า ที่เขาเคยตั้งชื่อหนังสือให้ว่า ดังทางด่า นั้น เขาคงหมายเตือนสติ ให้ลดการเขียนแบบว่ากล่าวถากถางลง คงจะให้มีการเสนอแนะทางสร้างสรรค์ยิ่งกว่าวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบตะพึดตะพือไป เมื่อเขาขอให้เขียนคอลัมน์ประจำขึ้นใหม่ จึงตั้งใจจะลดผรุสวาจาและปิสุณาวาจาลง มุ่งเนื้อความอันผู้มีอำนาจวาสนาอาจจะนำไปประยุกต์ใช้ได้ เพื่อพยุงสังคมให้ดีขึ้น แต่ก็ไม่ต้องการให้ผู้อ่านเห็นพ้องต้องด้วยโดยตลอด จึงใช้ชื่อชุดบทความดังกล่าวว่า “ยั่วให้แย้ง”
จะเป็นเพราะวาสนาเดิมของข้าพเจ้าที่มักมองเห็นอะไรๆ ในทางลบ ที่มักขัดข้องกีดขวางไปเสียแทบทั้งนั้น ถ้อยคำที่เขียนจึงมีแนวโน้มไปในทางรุกรานและรุนแรง ยิ่งกว่าที่จะรอมชอมหรือเกื้อหนุน จนพอลงบทความชุดนี้ไปได้ไม่กี่สัปดาห์ นายพงษ์ศักดิ์ พยัคฆวิเชียร ก็มาเปรยขึ้นว่า คอลัมน์ดังกล่าวควรเปลี่ยนชื่อเป็น “ยั่วให้เหยียบ” จะถูกต้องกว่า...”


ขออุทิศแด่น้าคำและเตี้ย
ซึ่งเคยร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกันมา จนตายจากกันไปเสียก่อน อย่างน่าเสียดาย


ซากผ่าขวาน

Image hosted by Photobucket.com


: รวมบทความชุด “ยั่วให้แย้ง” เล่ม 2 ในช่วงสมัยก่อนพ้นยุคป๋า

แด่ นายดำเนิน การเด่น
เนื่องในมงคลสมัยอายุครบรอบ 5 นักษัตร


คันฉ่องส่องวรรณกรรม

Image hosted by Photobucket.com


: ทัศนะว่าด้วยนักเขียนและหนังสือในรอบสองทศวรรษ (2506-2525)


สี่สัปดาห์ในออสเตรเลีย
หรือไปออสเตรเลียกับพระยาอนุมานราชธน

Image hosted by Photobucket.com


: เนื่องในโอกาสไปเยือนออสเตรเลีย ตั้งแต่ 5 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน 2531




 

Create Date : 19 พฤษภาคม 2548    
Last Update : 19 พฤษภาคม 2548 23:22:18 น.
Counter : 1518 Pageviews.  

อาจารย์สมศรี สุกุมลนันทน์ update

อาจารย์สมศรี สุกุมลนันทน์ เป็นบุตรีคนที่ 3 ของพระยาอนุมานราชธนค่ะ
จำได้ว่า ดิฉันประทับใจข้อเขียนของอาจารย์สมศรีฯ จากนิตยสารสตรีสารค่ะ
แล้วต่อมาก็ตามอ่านจากนิตยสารขวัญเรือน
ท่านเขียนหนังสือสนุกค่ะ และยังได้ความรู้อีกมาก โดยเฉพาะข้อคิดในการใช้ชีวิตในด้านต่างๆ

เล่มนี้ คุณสุลักษณ์ ศิวรักษ์ เขียนคำนำว่า ...ข้าพเจ้าได้ขอร้องและอ้อนวอนให้ท่านเรียบเรียงชีวประวัติของท่านเจ้าคุณบิดา โดยผนวกถึงคุณหญิงผู้มารดาเข้าไว้ด้วย
...อาจารย์สมศรีบ่ายเบี่ยงอยู่นานเพราะเห็นว่าจะเป็นการยกย่องบิดามารดามากเกินไป จะไม่เป็นการสมควรตามรูปแบบของวัฒนธรรมอย่างไทยๆ ต่อเมื่อข้าพเจ้ารบเร้าหนักขึ้น โดยชี้แจงแสดงอรรถาธิบายว่า คนนอกไม่อาจเขียนให้ใครๆ รับทราบได้ถึงความเป็นไปภายในครอบครัว ซึ่งไม่มีอะไรจะให้ต้องโอ้อวดหรือปิดบัง เพราะชีวิตของท่านเจ้าคุณและคุณหญิง เป็นคู่สามีภรรยาที่เรียบง่ายและเป็นแบบอย่างให้อนุชนได้ หากคนรุ่นหลังขาดการรับรู้ในเรื่องนี้ไป จะนับว่าเสียดายยิ่ง
...นับได้ว่า วรรณกรรมชิ้นนี้เป็นแบบอย่างทางชีวประวัติที่เขียนอย่างอัตนัยที่ปราศจากอคติ


พ่อ : พระยาอนุมานราชธน

Image hosted by Photobucket.com


สำนักพิมพ์สารคดี โปรยข้อความบนปกไว้ว่า "ย้อนอดีต บุตรีนักปราชญ์-พระยาอนุมานราชธน, ครู, ผู้นำแฟชั่นยุคอดีต และนักตอบปัญหา ผู้แนะทางชีวิต"
สารคดีชีวประวัติ สมศรี สุกุมลนันทน์ พิมพ์ครั้งที่ 1

Image hosted by Photobucket.com


เล่มนี้คิดว่า ยังไม่ได้ซื้อค่ะ เพราะเปลี่ยนหน้าปก เลยซื้อมาซ้ำ
สารคดีชีวประวัติ สมศรี สุกุมลนันทน์ พิมพ์ครั้งที่ 2

Image hosted by Photobucket.com



เล่มนี้เก่ามากค่ะ พิมพ์เมื่อปี พ.ศ.2518 เพื่อเฉลิมฉลองปีแห่งสตรี ขององค์การสหประชาชาติ
ศาสตร์แห่งบ้าน

Image hosted by Photobucket.com


เป็นหนังสือรวมงานเขียนที่เคยเขียนลงนิตยสาร "อาวุโส" ค่ะ
เป็นงานเขียนชุดที่ 1 ของอาจารย์สมศรีฯ โดยสำนักพิมพ์แม่คำผางค่ะ
บุคลิกภาพ

Image hosted by Photobucket.com



update:update:update:update:update
เล่มนี้เป็นรวมงานเขียนชุดที่ 2 ค่ะ เพิ่งหาเจอเมื่อกี๊นี้เอง เพราะว่า ไปรื้อนิตยสารขวัญเรือนมาเพื่อดูคอลัมน์อาจารย์ฯ น่ะค่ะ ดีใจมากเลย เพราะจำได้ว่าซื้อไว้แล้ว แต่หาไม่เจอค่ะ

กิน กินดี กินเป็น

Image hosted by Photobucket.com


เป็นงานเขียนชุดที่ 3 ของอาจารย์สมศรีฯ โดยสำนักพิมพ์แม่คำผางเช่นเดียวกันค่ะ แต่คราวนี้ขนาดหนังสือเล็กลง

คิดอย่างผู้หญิง

Image hosted by Photobucket.com


เล่มนี้รวบรวมจากคอลัมน์ที่ลงในนิตยสาร "สตรีสาร" ค่ะ
เป็นงานเขียนชุดที่ 5 ฯ ของสำนักพิมพ์แม่คำผาง
สตรีพัฒนา

Image hosted by Photobucket.com



เล่มนี้รวมงานเขียนที่เคยเขียนลงนิตยสาร "รักลูก" ชื่อคอลัมน์ชื่อเดียวกับหนังสือค่ะ
นานาสาระกับอาจารย์สมศรี

Image hosted by Photobucket.com


จากนิตยสาร "รักลูก" เช่นเดียวกันค่ะ
ครอบครัว ตัวดี

Image hosted by Photobucket.com


รวบรวมจากคอลัมน์ สุ.จิ.ปุ.ลิ. ในนิตยสารขวัญเรือน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540-2543
แง่คิด ชีวิตงาม

Image hosted by Photobucket.com




 

Create Date : 18 พฤษภาคม 2548    
Last Update : 25 พฤษภาคม 2548 1:13:31 น.
Counter : 3802 Pageviews.  

"เสฐียรโกเศศ" update

คงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วนะคะว่า "เสฐียรโกเศศ" คือนามปากกา และเคยเป็นนามสกุล ของ พระยาอนุมานราชธน ค่ะ
(ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นใช้นามสกุลตามบรรดาศักดิ์ให้สอดคล้องต้องตามรัฐนิยมในสมัยหนึ่ง)
สารานุกรมฯ เล่มนี้ เป็นหนังสือที่รวบรวมข้อเขียนของท่านที่เขียนให้กับ สารานุกรมไทย ค่ะ
น่าเสียดายที่มีอยู่แค่ อักษร จ จาน เท่านั้นนะคะ
และตรงคำว่า "จีน" ท่านแยกจัดพิมพ์เป็นเล่มต่างหาก ชื่อว่า "ไทย-จีน" ค่ะ
เนื่องจากมีเนื้อความยาวมาก

สารานุกรมของเสฐียรโกเศศ

Image hosted by Photobucket.com


วรรณกรรมเสฐียรโกเศศ เป็นเรื่องรวมงานเขียนต่างๆ ของพระยาอนุมานราชธน
ซึ่งเคยได้ตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ โดยเฉพาะวารสารศิลปากรค่ะ

วรรณกรรมเสฐียรโกเศศ

Image hosted by Photobucket.com


"เรื่องนี้มีมาแต่เหตุ คุณสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ปรารภว่า "ถ้าอาจารย์จะกรุณาหาเวลาว่างเขียนเมโมขึ้นแบบนี้บ้าง คงเป็นคุณอันอเนก" (จากหนังสือ "Recollection of Three Reigns by Sir Frederick Ponsonby ซึ่งนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ส่งมาให้จากประเทศอังกฤษ เพื่อเป็นของขวัญวันเกิดของข้าพเจ้า เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๒)...........เหตุที่เกิดเป็นเรื่อง ฟื้นความหลัง มีอยู่เพียงเท่านี้ ไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะข้าพเจ้าต้องการจะเขียนประวัติตนเองด้วยลืมตน"

ฟื้นความหลัง เล่ม ๒

Image hosted by Photobucket.com



เสฐียรโกเศศ ตามทัศนะ ส.ศิวรักษ์
ส.ศิวรักษ์

Image hosted by Photobucket.com


คือนักปราชญ์
รศ.ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์, รศ.ดร.นววรรณ พันธุเมธา, รศ.ดร.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา, นายจำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต, อาจารย์สมศรี สุกุมลนันทน์ และ นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์

Image hosted by Photobucket.com


พระยาอนุมานราชธน "เสฐียรโกเศศ" พ่อของลูก
สมจัย อนุมานราชธน, สมศรี สุกุมลนันทน์, ศ.มัลลี เวชชาชีวะ





 

Create Date : 17 พฤษภาคม 2548    
Last Update : 21 พฤษภาคม 2548 16:22:57 น.
Counter : 1442 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  

อุบลวัลย์
Location :
Thailand เกษียณ

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลวัลย์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.