Group Blog
 
All Blogs
 
ส.ศิวรักษ์ - 2

แนวคิดทางปรัชญาไทย

Image hosted by Photobucket.com


แด่ นายตุล และนางจันทร์แจ่ม บุนนาค
ผู้ซึ่งได้เอื้อเอ็นดูผู้เขียนมากว่าเสี้ยวศตวรรษ


: บทปาฐกถาในฐานะเป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงาน เนื่องในโอกาสที่ท่านเจ้าคุณพระเทพเวที(ประยุทธ์ ปยุตฺโต) มีอายุบรรลุครบ 5 รอบทศวรรษ


ครูและแพทย์ที่พึงปรารถนาในสังคมสยาม

Image hosted by Photobucket.com


: รวมปาฐกถา 3 บท
1."บทบาทอาจารย์มหาวิทยาลัย จากปัจจุบันสู่ทศวรรษหน้า" ได้รับเชิญจากสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2531
2."ข้อพึงสังวรของแพทย์ในทศวรรษหน้า" ได้รับเชิญจากชมรมแพทย์ชนบท เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2531
3."จริยธรรมสำหรับแพทย์" ได้รับเชิญจากแพทยสภา เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2531

อุทิศแด่ นายประเวศ วะสี
ครูและแพทย์ ที่พึงปรารถนา
ผู้ซึ่งเป็นมิตร ผู้มีอุปการคุณของผู้เขียน
ดังได้เอ่ยถึงกิตติคุณของท่านไว้บ้างแล้วในหนังสือเล่มนี้


ทุกย่าน ฟูมฟาย

Image hosted by Photobucket.com

: รวมบทความที่ตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน คอลัมน์ "ยั่วให้แย้ง"
เป็นชุดที่ 3 ต่อจาก ดังทางด่า และซากผ่าขวาน

แด่ นายสละ ศิวรักษ์
ลูกผู้พี่ ซึ่งเอื้ออาทรต่อน้อง


ศิลปะแห่งการแปล

Image hosted by Photobucket.com

: รวมบทความ "จดหมายจากอังกฤษ", "จดหมายรักจากอเมริกา" ที่ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร ก้าวหน้า (progress) รายปักษ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2505-2507 รวมกับสำนวนแปลร้อยแก้วบางชิ้นและจากงานสัมมนาระดับชาติ เรื่อง "การแปลและการนำไปใช้" ที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


สยามยามหายนะ

Image hosted by Photobucket.com


: รวมบทความที่ตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน คอลัมน์ "ยั่วให้แย้ง"
เป็นชุดที่ 5 ต่อจาก ดังทางด่า, ซากผ่าขวาน, ทุกย่านฟูมฟาย และควายไม่ฟังเสียงซอ

อุทิศด้วยความอาลัยถึง นายพินัย วิเศษจัง (24 พค.05-14 มีค.33)
กัลยาณมิตรผู้เยาว์
ซึ่งสนใจสมุนไพรและยาตำราจีน
ตลอดจนวัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างจริงจัง


อิทธิพลพุทธทาสต่อสังคม

Image hosted by Photobucket.com


: รวมปาฐกถาเกี่ยวกับท่านอาจารย์(พุทธทาส)

อุทิศบูชาคุณท่านอาจารย์ พุทธทาส อินฺทปญฺโญ มหาเถระ
ในโอกาสชาตกาลครบรอบ 7 นักษัตร 27 พฤษภาคม พุทธศักราช 2533


ที่สุดแห่งยั่วให้แย้ง

Image hosted by Photobucket.com


: เล่มสุดท้ายในชุดที่เขียนลง มติชน รายวัน

อุทิศแด่ พ.ต.ต.อนันต์ เสนาขันธ์
ผู้อุทิศตนเพื่อสังคมอย่างยากที่คนรุ่นปัจจุบันจะเข้าใจได้ โดยที่การต่อสู้อย่างนี้ มีอนุสนธิสืบมาในวัฒนธรรมไทย ถอยขึ้นไปทางพระนรินทร์สารพนม (กลึง ภาษิต) จนถึงพระยอดเมืองขวาง ต้นตระกูล เสนาขันธ์


วิพากษ์ รสช. ลอกคราบนายอานันท์ ปันยารชุน

Image hosted by Photobucket.com


: บทปาฐกถา 6 เดือน รสช. ความถดถอยของประชาธิปไตยไทย


เรื่องนายปรีดี พนมยงค์ ตามทัศนะ ส.ศิวรักษ์

Image hosted by Photobucket.com

: เพื่อระลึกถึงรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์
ในโอกาส 60 ปี ประชาธิปไตยไทย
24 มิถุนายน 2535


หกทศวรรษประชาธิปไตย ในทัศนะ ส.ศิวรักษ์

Image hosted by Photobucket.com

: ถ้อยคำสนทนา เรื่อง “ประชาธิปไตยปีที่ 60” จากรายการ มองต่างมุม รวมภาคผนวก-คำอภิปรายเรื่อง ชำแหละกฎหมายเผด็จการ


หัวไม่เป็นตีน

Image hosted by Photobucket.com


: รวมบทความชุดแรกแห่งศักราชใหม่

ความตอนหนึ่งในคำนำ “เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นใน พ.ศ.2475 นั้น พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4 ที่ 5 ถูกจองจำไว้ในพระที่นั่งอนันตสมาคมถึง 3 พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต, สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ครั้นเหตุการณ์คลี่คลายไปแล้ว สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศฯ รับสั่งว่า เจ้านายควรอโหสิให้คณะราษฏร และตรัสเรียกกรณีที่เกิดขึ้นว่า เป็นเรื่อง “หัวไม่เป็นตีน” ซึ่งนับว่าน่าสำเหนียก
พ.ศ.2535 นี้จะคำรบครบ 5 รอบนักษัตรแห่งเหตุการณ์คราวนั้น โดยที่ก่อนหน้านั้นหนึ่งปี มีพวกที่เรียกตัวเองว่า รสช.มายึดอำนาจการปกครองไป จะเรียกว่านี่เป็นเรื่อง “หัวไม่เป็นตีน” อีกจะได้ไหม .....”


ขออุทิศบูชาคุณ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์
(ทจว.ฝ่ายในที่ได้รับพระราชทานแต่รัชกาลที่ 8)


หลุดจากลำต้น

Image hosted by Photobucket.com


: ข้อเขียนและคำพูดของผู้ต้องหา กรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

หนังสือเล่มนี้กำหนดตีพิมพ์ พ.ศ.2536 (ร.ศ.212) จึงขออุทิศแด่ผู้ที่ต่อสู้เพื่ออิสระอธิปไตยของสยาม อย่างน้อยก็แต่ ร.ศ.112 เป็นต้นมา มีพระยอดเมืองขวาง เป็นต้น
ตลอดมาจนคนที่เรียกร้องประชาธิปไตยใน ร.ศ.130 จน ร.ศ.150 รวมทั้งบุคคลที่ท้าทายระบบเช่นพระนรินทร์สารพนม (กลึง ภาษิต) จนถูกถอดเรื่อยมาจนทุกๆ คนที่สูญเสียชีวิต เลือดเนื้อ สาโลหิต มิตรสหาย ทรัพย์สินและเสรีภาพ ไม่ว่าจะในปี พ.ศ.2516 หรือ พ.ศ.2519 ตลอดจน พ.ศ.2534-2535 รวมทั้งทุกๆ คนที่ยังต่อสู้อยู่อย่างสันติ มีพระประจักษ์ คุตฺตจิตฺโต เป็นต้น


เสียงจากแดนไกล

Image hosted by Photobucket.com

: บทสัมภาษณ์ว่าด้วยชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ภายใต้เงื้อมเงา รสช.


ขอดเกล็ดมังกร

Image hosted by Photobucket.com


: บันทึกการเดินทางสู่แผ่นดินใหญ่จีน ครั้งที่ 6

บางตอนของคำนำ “.....อย่างไรก็ตาม คงไม่เกินเลยไปกระมังที่ข้าพเจ้าจะยังคงเห็นจีนเป็นมังกร แม้จะไม่น่าเกรงขามหรือผงาดเด่นเหมือนแต่ก่อน ซึ่งมังกรตัวนี้ควรได้รับการขอดเกล็ดลอกคราบเสียบ้าง เพื่อให้โลกได้แลเห็นข้อเท็จจริงอย่างมีมนสิการ และแม้ว่าข้อเขียนนี้จะทำให้จีนโกรธยิ่งกว่าชมชอบ (ซึ่งข้าพเจ้าทราบมาภายหลังจากที่ มติชน รวมพิมพ์เป็นเล่มครั้งแรก ทางการจีนโจมตีหนังสือเล่มนี้มาก พอๆ กับที่ข้าพเจ้าถูกตราหน้าว่า เป็นศัตรูคนสำคัญของจีนจากกรณีที่เรียกร้องความเป็นธรรมให้กับธิเบต) แต่ส่วนตัวข้าพเจ้าแล้วถือว่า การพูดจาอย่างเปิดเผยเช่นนี้ เป็นการแสดงออกด้วยไมตรีจิตมิตรภาพยิ่งกว่าอะไรอื่น ดังขอยืมคำของ ขงจื๊อ ปราชญ์จีนโบราณ ที่กล่าวไว้ว่า
“เมื่อพบคนพอที่จะพูดกับเขาได้ แต่ไม่พูดกับเขา เป็นการพลาดคนดีไปคนหนึ่ง
เมื่อพบคนที่ไม่ควรพูดกับเขา แต่ไปพูดกับเขา เป็นการพลาดคำพูดไป
ผู้มีสติปัญญา ไม่พลาดคนดีไป และไม่พลาดคำพูดไป” .....”



เขียนให้คิด คุยให้เคือง

Image hosted by Photobucket.com

: รวมบทความจาก “ข่าวพิเศษ” และบทสัมภาษณ์ต่างๆ

แด่ นางสมถวิล หริพิทักษ์
(18 ตุลาคม 2462 – 20 กรกฎาคม 2537)
ผู้จงรักภักดีต่อสามีอย่างควรแก่การสรรเสริญ เป็นเหตุให้อาจารย์เฟื้อทุ่มเทกายใจให้งานศิลปะได้อย่างเต็มที่


ผจญมาร รสช. : คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ๒๕๓๕-๓๘

Image hosted by Photobucket.com

: ประมวลคำฟ้อง คำให้การ แถลงการณ์ปิดคดีเป็นลายลักษณ์อักษร คำแถลงปิดคดีด้วยวาจา และคำพิพากษา พร้อมคำอธิบายในกรณีที่นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ถูก พล.อ.สุจินดา คราประยูรฟ้องในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและหมิ่นประมาทเขา


อัปรีย์ไป จัญไรมา
ถ้าก้าวไปไม่ถึงสาระแห่งประชาธิปไตย
(เขียนร่วมกับคนอื่น)

Image hosted by Photobucket.com


: รวมบทสนทนาที่ออกรายการ มองต่างมุม, ขอคิดด้วยคน, รายการวิพากษ์การเลือกตั้ง ’38 ทางสถานีโทรทัศน์ไทยสกาย, บทสัมภาษณ์ในสยามโพสต์/สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ และเนื่องในโอกาสครบครึ่งศตวรรษแห่งการประกาศสันติภาพขอไทย (16 สิงหาคม)

ตอนหนึ่งของคำนำ “.....หวังว่าประชาธิปไตยจะวิวัฒนาการไปสู่การรับใช้ประชาราษฎร ยิ่งกว่ารับใช้นายทุนขุนศึกและเจ้าศักดินา ดังที่แล้วๆ มา หาไม่การเลือกตั้งแต่ละครั้งก็เท่ากับว่า อัปรีย์ไป จัญไรมา เท่านั้นเอง วลีดังกล่าว ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นคนแรกที่นำมาใช้กับการเปลี่ยนรัฐบาล ทราบว่า พระยาพจนปรีชา ใช้ปรารมภ์ถึงรัฐบาลพหลพลพยุหเสนา ซึ่งมาแทนที่รัฐบาลมโนปกรณ์นิติธาดา แต่ พ.ศ.2476 นั้นแล้วต่างหาก.....”

อุทิศแด่ เสรีไทย
ผู้สละแม้ชีวิต ชื่อเสียงเกียรติคุณ และครอบครัว โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ เพื่อรักษาเอกราช อธิปไตย ประชาธิปไตย และสันติภาพไว้ให้แก่ประชาชนชาวสยาม


มีเพียงภาษาเป็นอาวุธ

Image hosted by Photobucket.com


: รวมข้อเขียน คำพูด และคำสัมภาษณ์ก่อนปี 2538 ของ ส.ศิวรักษ์

ตอนหนึ่งของคำนำ “.....พวกนั้นเห็นกันว่า ข้าพเจ้าเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของทหาร แท้ที่จริงข้าพเจ้าเพียงต้องการวิพากษ์วิจารณ์ทหาร ให้สถาบันนั้นลดบทบาทลง ไม่ให้เป็นรัฐภายในรัฐ เพื่อให้ประเทศเป็นบ้าน ทหารเป็นรั้ว ไม่ต้องการให้ทหารเป็นปลวกในการกัดกินบ้านเรือน.....”

แด่ นายสัมผัส พึ่งประดิษฐ์ นายวสันต์ พานิช นายสมชาย หอมลออ
ที่ได้กรุณาเป็นทนายแก้ต่างให้ข้าพเจ้า ด้วยการใช้ภาษาเป็นอาวุธ ต่อสู้จนข้าพเจ้าได้รับความยุติธรรมจากคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและหมิ่นประมาทคดี พล.อ.สุจินดา คราประยูร


กะเทาะหน้ากากการเมืองไทย

Image hosted by Photobucket.com


: รวมปาฐกถา ตีพิมพ์เนื่องในโอกาสครบ 30 ปี ศึกษิตสยาม

ขออุทิศคุณความดีถวาย พระสุดใจ (ฐานธมฺโม) เจิมสิริวัฒน์
ผู้ร่วมกันก่อตั้งศึกษิตสยาม แต่ พ.ศ.2510-2519


นัยของการเข้าพรรษากับคนรุ่นใหม่

Image hosted by Photobucket.com

: บันทึกการสนทนาในเทศกาลเข้าพรรษา พ.ศ.2537

ขออุทิศกุศลเจตนาแห่งการจัดพิมพ์นี้ถวายทะไลลามะ องค์ที่ 14
ผู้ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญาและกรุณา
ในวโรกาสที่มีพระชนมายุครบ 5 รอบพระนักษัตร
ณ วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2538
โดยมีงานใหญ่ถวายในระดับนานาชาติ ที่กรุงเดลี
ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม
ส่วนพิธีฉลองพระชันษาในประเทศไทยนั้น
สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นองค์ประธานในพิธี
ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
ระหว่างเทศกาลพรรษากาล กรกฎาคม พ.ศ.2538


Create Date : 19 พฤษภาคม 2548
Last Update : 24 พฤษภาคม 2548 17:21:36 น. 4 comments
Counter : 1007 Pageviews.

 
เห็นแล้วตาโตทุกเล่มเลยค่ะ
อยากอ่านไปหมด


โดย: มณี IP: 130.101.2.186 วันที่: 19 พฤษภาคม 2548 เวลา:7:40:35 น.  

 
ใช่ค่ะ ใช่ค่ะ สนับสนุนคุณมณี


โดย: TTB* วันที่: 19 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:34:38 น.  

 
ชุดที่เขียนเกี่ยวกับบุคคล นี่ เล่มอาจารย์ป๋วย ไม่รู้เป็นหนึงในเล่มที่หายไปอะป่าว ครับ เล่มนั้นดีมาก


โดย: jojo02 IP: 203.144.196.34 วันที่: 19 พฤษภาคม 2548 เวลา:14:22:12 น.  

 
ชุดที่เขียนเกี่ยวกับบุคคล นี่ เล่มอาจารย์ป๋วย ไม่รู้เป็นหนึงในเล่มที่หายไปอะป่าว ครับ เล่มนั้นดีมาก


โดย: jojo02 IP: 203.144.196.34 วันที่: 19 พฤษภาคม 2548 เวลา:14:22:12 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อุบลวัลย์
Location :
Thailand เกษียณ

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลวัลย์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.