THANON VEE (ถนนวี)

thanonvee
Location :
Paris France

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add thanonvee's blog to your web]
Links
 

 

ปารีสในมุมที่วัลยายังไม่เห็น : รำลึก ความรักของวัลยา และ การจากไปของเสนีย์ เสาวพงศ์



เผยแพร่ครั้งแรกที่ https://blogazine.pub/blogs/thanon/post/5147 9 December 2014


“การศึกษาเรื่องของชีวิตนั้น เราต้องศึกษาจากประชาชนผู้เป็นเจ้าของชีวิต ไม่ใช่ศึกษาจากหนังสือของนักคิดของพวกมีปัญญาที่นั่งคิดนั่งฝันเอาเอง” --เสนีย์ เสาวพงศ์. ความรักของวัลยา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน. 2548. หน้า 48.


เมื่อสักสามปีที่แล้ว ผมได้อ่านข้อเขียนสะท้อนความคิดของมิตรสหายท่านหนึ่งที่มีต่อ ความรักของวัลยา เธอเล่าว่าหากเธอได้อ่านหนังสือเล่มนี้เร็วกว่านั้นสักแปดปี เธอ “อาจจะเป็นวัลยา” แต่เพราะเธอได้อ่านมันในช่วงท้าย ๆ ที่เธอจะอยู่ปารีสและเป็นวันที่ชีวิต “ผ่านริ้วรอย” มาพอสมควรแล้ว นักเรียนไทยผู้ใช้ชีวิตในฝรั่งเศสมาเกือบหนึ่งทศวรรษผู้นี้จึงรู้สึกว่าตัวเอง “ไม่ใช่วัลยา”

หนึ่งปีถัดมา ผมย้ายมาเรียนที่ปารีส ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่มิตรสหายท่านนี้ใกล้จะสำเร็จการศึกษา หลังจากคุยกันตามโอกาสต่าง ๆ เธอรู้ว่าผมสนใจ ความรักของวัลยา ก่อนเดินทางกลับเมืองไทยเธอจึงให้หนังสือเล่มนี้ไว้แก่ผม และว่า “อ่านแล้วคิดเห็นอย่างไรอย่าลืมเล่าให้ฟังบ้าง” ข้อเขียนเล็ก ๆ ชิ้นนี้ นอกจากเป็นการเล่าสู่กันฟังแล้ว ผมตั้งใจเขียนเพื่อรำลึกถึงเรื่องราว ความรักของวัลยา ที่เกิดขึ้นที่ปารีสเมื่อ 65 ปีก่อน
[1] และการจากไปของผู้ถ่ายทอดเรื่องราวนั้น คือ เสนีย์ เสาวพงศ์ ด้วย

กัลยาณมิตรผู้มอบ ความรักของวัลยา ไว้ให้ผม ไม่คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นวัลยา เพราะจากประสบการณ์ชีวิตจริงของเธอ ปารีสไม่ได้มีเพียงฉากสวยงามที่ “เปี่ยมหวังและศรัทธา” ดังที่วัลยาและผองเพื่อนได้ฉายภาพ ส่วนผม แน่นอนว่าไม่มีทางเป็นวัลยาไปได้เช่นกัน (แหงล่ะ ก็ผมเป็นผู้ชายนี่ ฮา) แต่หลังจากได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว สารภาพตามตรง “ผมนี่อยากรู้จักวัลยาเลย”

แต่เดี๋ยวก่อน! ผมไม่ได้อยากรู้จักวัลยาเพราะเธอเป็น “หญิงสาวอายุยี่สิบสี่ สวยและเรียนเก่ง” แถมพ่วงด้วยพรสวรรค์ด้านดนตรีดังที่ เสนีย์ เสาวพงศ์ ได้พรรณนาไว้หรอกนะ ผมอยากรู้จักและอยากเจอวัลยาเพราะอยากให้เธอได้มาเห็นปารีสในมุมที่เธออาจยังไม่เคยเห็น ปารีสในมุมที่ผมพึ่งได้เห็นและสัมผัสมา
[2] :

“วันหนึ่งตอนอายุ 13 เปิดเทอมพอดี พี่กำลังแต่งตัวไปโรงเรียน พ่อบอก 'ไม่ต้องไป โตแล้ว ออกมาช่วยกันหาเงิน' พี่นี่ร้อง.... (ลากเสียง) ทั้งวัน อยากเรียนแต่ไม่ได้เรียน (…) ที่มาฝรั่งเศสก็ไม่มีเหตุผลอื่น มาเพราะความจน มาหาเงินไปใช้หนี้เขา หาเลี้ยงพ่อแม่ หาเลี้ยงลูก ไม่อยากให้เขาเป็นเหมือนเรา อยากให้เรียนสูง ๆ  แต่มาไม่ใช่ง่ายนะ เสียเงินเสียทอง ค่าหัวเป็นแสน ๆ (…) มาอยู่นี่พูดตรง ๆ คือรายได้ดีกว่าบ้านเรา ตรงนี้ใคร ๆ ก็รู้ มาแล้วได้น้อยกว่าอยู่บ้านจะมาให้เหนื่อยกันทำไมว่ามั้ย (หัวเราะ) แต่ที่คนไม่ค่อยรู้คือไอ้ที่ต้องเจอะต้องเจอในแต่ละวัน บอกใคร ๆ เขาก็ไม่เชื่อ นี่ไม่ต้องใครเลย น้องสาวตัวเองนี่แล่ะ อยู่เมืองไทยนะ โทรไปทีไรขอจะมาอยู่ด้วยตลอด พี่บอกไม่ต้องมา อยู่นู่นพอมีรายได้ก็อยู่ไป อยู่กับพ่อกับแม่ มานี่มันลำบาก พูดให้ฟัง อธิบายให้ฟัง แต่ไม่เชื่อ หาว่าเราโกหกอีกต่างหาก ไม่รู้เราจะโกหกไปทำไม ยังไง ๆ ก็ไม่เชื่อ ไม่เข้าใจ ปารีสสำหรับเขามันคือเจริญ มันคือหรูหรา คนที่ไม่เคยมาสัมผัสเขานึกไม่ออกหรอกว่ามันเป็นยังไง อยู่แบบไม่มีหนังสือ (อยู่แบบผิดกฏหมาย) นี่ลำบากจริง ๆ หนาวก็หนาว ทำงานบางทีโชฟาส (เครื่องทำความร้อน) ก็ไม่มี” --บุญมา อายุ 53 ปี อยู่ปารีสแบบผิดกฏหมายมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 มาจากชัยภูมิ

“ก็อยู่แถว ๆ นี้แล่ะ ร้านที่ทำงาน (…) มันเป็นห้องอับ ๆ ข้างใน มีจักรประมาณ 20-30 ตัว แล้วแต่ว่าจะมีคนงานกี่คน ก็ทำกันอยู่ในนั้น หน้าตงหน้าต่างก็ไม่มี เศษฝุ่นเศษผ้าก็อยู่กันในนั้น คนไทยที่นี่จะป่วยเป็นโรคนิ่ว (ผู้ให้สัมภาษณ์หมายถึงโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะอักเสบ) กันบ่อย เป็นเยอะมาก เพราะว่ามัวแต่เย็บแล้วก็ ผู้หญิงนะ มัวแต่เย็บแล้วก็อั้นฉี่ไว้ นี่ยังไม่เส็จนั่นยังไม่เส็จก็อั้นไว้ (…) คนไทยคนขี้เกรงใจไง เกรงใจเจ้านาย เดี๋ยวเจ้านายมองดูว่าเราไปปิปี๊ (ไปฉี่) อีกแล้ว (ตอนทำงานมีคนคอยเฝ้าดูตลอด?) มันไม่เชิงเฝ้าดู แต่โดยสันดานคนไทยและคนที่ไม่มีหนังสือน่ะเค้าจะกลัวตรงนี้กันมากกว่า กลัวไม่ถูกใจเจ้านาย กลัวจะนั่นจะนี่ คืออยากทำให้งานเส็จ เจ้านายก็เร่ง พวกนี้มันเร่งได้มันก็เร่ง (…) บางโรงงานต้องนอนกันอยู่ในนั้น กินนอนกันอยู่ในนั้น ตื่นเช้ามาก็นั่งจักร แล้วก็เอาน้ำลูบตัวล้างตัวแค่นั้น บางทีก็เอาถุงปูแบล (ถุงขยะ) ดำ ๆ น่ะ เอามา เอามาอาบ ไม่ให้น้ำกระเด็น ตัวเองอยู่ในถุง แล้วก็อาบน้ำ แล้วเอาไปเทในโถส้วม อาบน้ำกันแบบนั้น” --นิดา อายุ 48 ปี อยู่ปารีสแบบผิดกฏหมายมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544  มาจากเพชรบูรณ์

“ส่วนมาก มา ๆ นี้จะโดนหลอก (…) บางทีทำไม่ได้เงิน เชื่อมั้ยพี่มาเป็นปีไม่ได้ส่งเงินกลับบ้านเลย จริงนะ จนพ่อแม่จะขายนา (…) เขาไม่จ่ายเรา เคยทำ 8 เดือน ไม่จ่ายเงินซักบาทเลย เค้าหลอกใช้แรงงานเรา (เขาบอกว่าอะไร?) ไม่มี ผลัดไปเรื่อย ๆ กับข้าวพาไปซื้ออยู่ แต่เงินเดือนไม่จ่าย ลำบากจะตายคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ ไม่ได้เรียนภาษาฝรั่ง คือพวกเราไม่มีโอกาสแม้จะส่ง ฝากเขาส่งเขาก็โกง เราออมไว้ให้ลูกให้เต้าให้แม่กิน (…) พี่สะสมเงินไว้ เขายังเอาเงินเราไปใช้ เราฝากเขาส่งเงินให้ แต่เขาไม่ส่งให้ เขาเอาเงินเราไปใช้ จนไม่รู้จะทำยังไง ได้แต่พูดกับเขาดี ๆ ขอให้เขาคืน เอาของเราไปดื้อ ๆ แต่โกหกเราดื้อ ๆ ใบส่งเก็บใส่กระเป๋า แต่เงินยังไม่ถึงบ้าน เขาทำทุกอย่างเพื่อจะโกงเรา เราพูดไม่เป็น ไม่มีบัตร ไม่มีหนังสือ (…) เราถูกเอารัดเอาเปรียบ เราเป็นที่ด้อยโอกาส ไม่มีโอกาส ขาดโอกาส หรือจะเรียกว่าเป็นอย่างไรดีล่ะ เรียกไม่ถูก พอมาถึงจุดทุกวันนี้ก็เลยตั้งให้ตัวเองว่า  'มหาลัยแห่งการเรียนรู้การแบ่งปัน' คนรู้ไม่รู้ก็มาเล่าสู่กันฟัง เราไม่มีทฤษฎี แต่เรามีการกระทำ คือต้องอดทน อดออม อดสู้” --ทองดี อายุ 51 ปี อยู่ปารีสแบบผิดกฏหมายมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 มาจากหนองบัวลำภู

คำบอกเล่าของบุญมา นิดา และทองดี [3] ด้านหนึ่ง มันสะท้อนความจำเป็นของผู้คนที่ต้องไกลบ้านเพราะโครงสร้างสังคมรัฐไทยไม่เอื้อให้พวกเขาอยู่ดีกินดีได้ อีกด้านหนึ่ง มันสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในปารีสที่ลักลอบเข้าเมืองแบบผิดกฏหมาย ซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลายพันคน [4] และอีกด้านหนึ่ง มันสะท้อนภาพปารีสในมุมที่เราไม่ค่อยจะได้เห็นกันสักเท่าไหร่ และเป็นปารีสในมุมแบบนี้เองที่ผมอยากให้วัลยาได้มาเห็น ที่ผมอยากให้เธอมาเห็นไม่ใช่จะสบประมาทว่าเธอยังเห็นปารีสไม่รอบด้านหรอกนะ (เพราะสภาพสังคมช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ที่วัลยาอยู่ กับสภาพสังคมต้นศตวรรษที่ 21 ที่พวกเราอยู่ย่อมต่างกันในรายละเอียด) แต่ผมอยากให้เธอมาเห็น เพราะผมยากรู้ว่าเธอจะคิดอย่างไรต่อปรากฏการณ์ที่คนไทยจำนวนมากต้องมาอยู่ปารีสใน “สภาวะลับลอบ” เช่นนี้

คนแบบวัลยาที่ไม่ต้องการใช้ชีวิตคู่กับทายาทเศรษฐี สกุลผู้ดี ดีกรีหนุ่มนักเรียนอังกฤษอย่าง เรวัตร
คนแบบวัลยาที่ใส่ใจและให้เกียรติลูกหลานชาวไร่ผู้ไร้ใบปริญญาอย่าง ยง อยู่บางยาง ด้วยความจริงใจ คนแบบวัลยาที่ไม่เห็นประโยชน์อะไรของสมาคมนักเรียนไทยในฝรั่งเศสที่เป็นเพียงเวทีแสดงความเด่นหรือจัดงานเลี้ยง คนแบบวัลยาที่เห็นคุณค่าการสนทนากับคนขายของจน ๆ ตามร้านหนังสือแผงลอยริมแม่น้ำแซนพอ ๆ กับปาฐกถาของศาสตราจารย์มหาวิทยาลัย คนแบบวัลยาที่ทั้งชีวิตเธอปรารถนาเป็นเพียงศิลปินของประชาชนผู้ทุกข์ยาก คนแบบวัลยาที่ให้ความสำคัญกับคนชนบทเพราะเธอตระหนักว่า “ชีวิตที่แท้จริงอยู่ที่นั่น”

ด้วยความสัตย์ ผมอยากรู้จักและพูดคุยกับคนแบบนี้จริง ๆ ถ้ามีโอกาส ผมจะชวนเธอออกภาคสนามไปสัมผัสและเรียนรู้ชีวิตคนชนบทไทยที่อาศัยอยู่อย่างลับ ๆ ลอบ ๆ ในมหานครปารีสแห่งนี้

----

[1] เรื่องราว ความรักของวัลยา ไม่ได้ถูกระบุชัด ๆ ว่าเกิดขึ้นเมื่อใด ในเบื้องต้นเรารู้ว่าอยู่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และเมื่อดูจากที่งานชิ้นนี้ได้เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยาสาร สยามสมัยรายสัปดาห์ เมื่อปี ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495) เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในเรื่องนี้จึงน่าจะอยู่ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1946-1951 อย่างไรก็ตาม ในหนังสือได้พรรณนาถึงตัวละครที่เป็นศิลปิน ชื่อ เรอเน ความว่า "เรอเนมองเห็นภาพโปสเตอร์แผ่นใหญ่ ซึ่งเป็นภาพเดียวกับที่เขาได้เห็นมาตามกำแพงและที่ปิดป้ายทุกแห่งทั่วมุมเมืองปารีส ซึ่งโผล่ขึ้นมาอย่างฉับพลันเมื่อสองสามวันก่อน และกระจายไปอย่างรวดเร็ว ภาพนี้เป็นภาพพิมพ์ของนกพิราบสีขาว เขียนเป็นรูปยืนด้านข้าง หันหน้าไปทางขวา บนพื้นสีดำพร้อมด้วยลายเซ็นที่ใคร ๆรู้จักทั่วไป ปิคัสโสศิลปินที่โลกรู้จัก เหนือภาพนกเป็นตัวหนังสือประกาศการประชุมของสมัชชาสันติภาพแห่งโลก ซึ่งจะเปิดประชุมใหญ่ที่  Salle Pleyel ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า” (หน้า 133) ทำให้เราอนุมานได้ว่า ความรักของวัลยา เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1949 ทั้งนี้เพราะการประชุมสมัชชาสันติภาพฯดังกล่าว คือ Congrès mondial des partisans de la paix ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-23 เมษายน ค.ศ. 1949 ณ กรุงปารีส โดยการประชุมครั้งนี้ได้ใช้ภาพ La Colombe de la paix ของ Pablo Picasso เป็นโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ ดังนั้น หากนับจากปีที่ ความรักของวัลยา ตีพิมพ์ครั้งแรกจนถึงวันนี้ก็ได้ 62ปี แต่หากเราเริ่มนับจากช่วงเวลาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องจนถึงวันนี้ ความรักของวัลยา ก็ผ่านมา 65 ปี พอดี ภาพด้านล่างนี้คือโปสเตอร์รูปแบบหนึ่งของการประชุมสมัชชาสันติภาพฯดังกล่าว

ดูภาพที่ //www.piasa.fr/node/54619/lot/past#.VIbwmNblfq9

[2] จากการลงพื้นเก็บข้อมูลวิจัยช่วงระหว่าง ค.ศ. 2012-2014 เพื่อเขียนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกด้านสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Paris V - René Descartesในหัวข้อ “Clandestine condition : undocumented Thai in Paris metropolitan”

[3] ทั้ง 3 ชื่อ เป็นนามสมมติ ไม่ใช่ชื่อเรียกจริง  

[4] “สถิติจำนวนประมาณการคนไทยในต่างประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 5 มีนาคม 2555)”. ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร. กรมการกงสุล. กระทรวงการต่างประเทศ. และดู  “'ยิ่งลักษณ์' พบคนไทยในฝรั่งเศส”. หนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์, 21 กรกฎาคม 2555 (เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 19 มีนาคม 2557) :  //www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342873482&grpid=03&catid=03 




 

Create Date : 19 พฤศจิกายน 2559    
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2559 23:36:31 น.
Counter : 839 Pageviews.  

ระบบการศึกษา โอกาสอันเท่าเทียม และ "ความรุนแรงเชิงสัญลักษณ์" :



บทวิเคราะห์บางประการเกี่ยวกับ โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ใน 2 ยุค


เผยแพร่ครั้งแรกที่ //www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1359613803
วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักศึกษาไทยเป็นสิ่งที่รับรู้ตรงกันทั้งจากประสบการณ์ที่เราพบเจอและในทางสถิติ ในปีการศึกษา 2535 ประเทศไทยมีจำนวนนักศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไป (ปวส. ปริญญาตรี-โท- เอก) เพียง 8.2 แสนคน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.4 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในขณะนั้น ก่อนที่ในปี 2540 จำนวนนักศึกษาได้เพิ่มขึ้นเป็น 1.5 ล้านคน หรือร้อย 2.5 ของจำนวนประชากร  แม้ในปี 2553 จำนวนนักศึกษาจะลดลงมาที่ 2.2 ล้านคน (ร้อยละ 3.5) เมื่อเทียบกับปี 2552 ที่มีถึง 2.4 ล้านคน (ร้อยละ 3.8) อย่างไรก็ตาม หากมองในช่วงเวลาประมาณยี่สิบปีที่ผ่านมา นับว่าประเทศไทยมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในแง่จำนวนประชากรที่เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา


การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักศึกษาดังกล่าวอาจถือเป็นวิวัฒนาการที่ดีของการกระจายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ประชาชนในวงกว้าง  และโดยนัยย์นี้ ลูกชาวบ้านหลานชาวนาในต่างจังหวัดย่อมมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามากขึ้นตามไปด้วย  อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ระบบการศึกษาขั้นก่อนอุดมศึกษาในแต่ละพื้นที่ไม่ได้มีมาตรฐานเดียวกันและโรงเรียนในต่างจังหวัดไม่ได้มีมาตรฐานทัดเทียมกับโรงเรียนในกรุงเทพฯหรือเขตเมืองใหญ่ แต่ระบบการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษากลับใช้ "ข้อสอบเดียวกัน" เป็นหลัก ทำให้เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างนักเรียนในเขตเมืองและต่างจังหวัด  ผู้ที่ได้เข้าศึกษาในคณะ/สาขาวิชาหรือในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศส่วนใหญ่จึงเป็นนักเรียนจากเขตเมือง


นอกจาการสอบเข้าศึกษาต่อแล้ว ข้อได้เปรียบเสียเปรียบในลักษณะข้างต้นยังสามารถพบเจอได้เสมอๆใน “สนามแข่งขัน” อันเกี่ยวข้องกับการศึกษาในบริบทอื่นๆ เช่น การทดสอบความเป็นเลิศทางวิชาการและการสอบชิงทุนการศึกษาทั้งของภาครัฐและองค์กรภาคเอกชน


จากชุดคำอธิบายข้างต้น โรงเรียนและสถานศึกษาจึงเป็นกลไกหนึ่งที่ทำงานอยู่บนระบบความสัมพันธ์ที่สนับสนุน ส่งต่อ และผลิตซ้ำความเหลื่อมล้ำในสังคมให้คงอยู่ต่อไป กล่าวคือ ภายใต้ภาพพจน์และอุดมการณ์ร่วมว่าโรงเรียนและสถานศึกษาคือที่แห่งการให้โอกาสอันเสมอภาคในการเลื่อนสถานะทางสังคม แต่ในทางปฏิบัติ มันกลับทำหน้าที่เพียงให้ลูกหลานชนชั้นนำกลายเป็นชนชั้นนำและครอบงำสังคมต่อ  และทำให้ลูกหลานชนชั้นล่างกลายเป็นชนชั้นล่างที่ถูกครอบงำต่อไปเท่านั้น

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น คือสิ่งที่ ปิแอร์ บูร์ดิเยอ (Pierre Bourdieu - นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส) เรียกว่า “ความรุนแรงเชิงสัญลักษณ์” (symbolic violence) กล่าวคือ เป็นการครอบงำทางอุดมการณ์ที่รุนแรงแต่ “นุ่มนวล” เป็นการรักษาโครงสร้างความไม่เท่าเทียมในสังคมไว้อย่างแยบคายและ “ชอบธรรม” เพราะได้รับความยินยอมพร้อมใจหรืออย่างน้อยก็ไม่ถูกตั้งคำถามจากคนในสังคมและชนชั้นที่ถูกครอบงำ การไม่ประสบผลสำเร็จในการสอบเข้า-เข้าเรียน หรือหน้าที่การงานและสถานะทางสังคมของพวกเขาในเวลาต่อมาไม่ได้เกี่ยวกับโครงสร้างสังคมหรือระบบการศึกษา พวกเขาเข้าใจและน้อมรับแต่เพียงว่าเป็นเพราะศักยภาพส่วนตนที่ไม่ดีพอ


แม้ไม่ใช่การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างอย่างเต็มระบบ แต่การเกิดขึ้นของโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนรุ่นแรก เมื่อปี 2547 เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนที่เรียนดีแต่มีฐานะยากจนจากทุกอำเภอได้ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ก็นับเป็นการท้าทายต่อโครงสร้างสังคมและระบบการศึกษาที่ไม่เป็นธรรมดังกล่าวอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเฉพาะกระบวนการคัดเลือกที่มีหลักสำคัญคือ 1) มีการกำหนดรายได้ขั้นต่ำของครอบครัวผู้สมัคร 2) ให้ยึดภูมิลำเนาของผู้สมัครตามโรงเรียนที่สังกัด-ไม่ใช่ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน และ3) ให้ผู้สมัครที่มีคะแนนรวมเป็นอันดับหนึ่งของแต่ละอำเภอเป็นผู้ได้รับทุนโดยไม่มีเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำ


หลักสำคัญทั้ง 3 ประการสัมพันธ์กับฐานคิดที่ว่าโรงเรียนในแต่ละพื้นที่มีมาตรฐานไม่เท่ากันและคนมีฐานะส่วนใหญ่มักส่งลูกหลานไปเรียนโรงเรียนในเมืองใหญ่ ดังนั้นเพื่อให้ได้ผู้รับทุนที่มาจากครอบครัวยากจนและให้เกิดความเป็นธรรมในการสอบแข่งขันมากที่สุด จึงกำหนดให้ผู้สมัครจากโรงเรียนที่สังกัดในแต่ละอำเภอหรือแต่ละเขตแข่งขันกันเอง  ฐานคิดที่สำคัญอีกประการคือ ไม่ว่าผู้สมัครที่มีคะแนนรวมเป็นอันดับหนึ่งของแต่ละอำเภอจะได้คะแนนเท่าไหร่ก็ให้เป็นผู้มีมีสิทธิ์ได้รับทุน เพราะเป้าหมายของโครงการไม่ใช่การค้นหานักเรียนที่สอบผ่าน “เกณฑ์มาตรฐาน” แต่เป็นการมอบโอกาสให้กับนักเรียนที่มี “ฐานะยากจน” ที่ “เรียนดีระดับหนึ่ง” และเป็น “ที่หนึ่ง” จากระบบการศึกษาในอำเภอนั้น


เงื่อนไขการคัดเลือกผู้รับทุนรุ่นแรกเมื่อปี 2547 และรุ่นที่ 2 ในปี 2549 อาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกันบ้าง  แต่หลักการสำคัญทั้ง 3 ประการข้างต้นยังคงอยู่  แต่การดำเนินการของโครงการในรุ่นที่ 3 เมื่อปี 2555 และรุ่นที่ 4 ที่กำลังเปิดรับสมัครอยู่ในขณะนี้ได้ทำลายหลักการสำคัญดังกล่าวอย่างย่อยยับ เพราะมีการกำหนดเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำในการสอบผ่านข้อเขียน (60% ในรุ่นที่ 3 และ 70% ในรุ่นที่ 4) ทำให้ในหลายอำเภอไม่อาจมีผู้ได้รับทุนเพราะไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำ ดังจะเห็นได้จากการสอบคัดเลือกในรุ่นที่ 3 ที่กว่า 600 อำเภอไม่มีผู้ผ่านเกณฑ์ ยิ่งไปกว่านั้นในการรับสมัครเพิ่มเติมของรุ่นที่ 3/2 นอกจากจะมีการเพิ่มเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำขึ้นไปเป็น 80% แล้ว ยังได้ยกเลิกการกำหนดรายได้ขั้นต่ำของครอบครัวผู้สมัครอีกด้วย


การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทุนในยุคหลัง (รุ่นที่ 3, 3/2 และ 4) ที่ได้ทำลายหลักการสำคัญของทุนนี้ ในแง่หนึ่งเท่ากับเป็นการสยบยอมต่อโครงสร้างและระบบที่ไม่เป็นธรรม และในอีกแง่หนึ่งมันได้สะท้อนทัศนคติของคนบางกลุ่มที่ไม่ยอมรับว่าศักยภาพของมนุษย์นั้นเท่ากัน-แต่โครงสร้างและระบบต่างหากที่ทำให้เสมือนว่านักเรียนกลุ่มหนึ่ง “เก่ง” จึงสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และอีกกลุ่ม “แย่” จึงสอบไม่ผ่าน ซึ่งการตั้ง “เกณฑ์” ตัดสินศักยภาพคนในลักษณะดังกล่าวมันนำไปสู่สถานภาพทางสังคมที่ต่างกันของพวกเขาในอนาคต


การพิเคราะห์ว่าโรงเรียนหรือสถานศึกษาคือที่แห่งการผลิตซ้ำความเหลื่อมล้ำทางสังคมมิได้เป็นการกล่าวหาว่าสถาบันการศึกษาคือสิ่งเล้วร้าย หากแต่เป็นการวิพากษ์ถึงระบบการศึกษาบนชุดความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังว่ามันรักษาโครงสร้างความไม่เท่าเทียมไว้อย่างไร 


การเกิดขึ้นของโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนในยุคแรก ถือเป็นการท้าทายต่อระบบและโครงสร้างความสัมพันธ์ดังกล่าวอย่างห้าวหาญและมีนัยยะสำคัญต่อผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น  ทว่า  จะด้วยความจงใจหรือไม่ก็ตาม  การดำเนินการของโครงการนี้ในยุคหลัง กลับลงเอยด้วยการวกไปที่ “ความรุนแรงเชิงสัญลักษณ์” ซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งถือเป็นการยอมแพ้ต่อโครงสร้างความไม่เท่าเทียมอย่างราบคาบ ! 


------------------

หมายเหตุ  ข้อมูลสถิติจำนวนนักศึกษาต่อจำนวนประชากรสังเคราะห์จาก :

(1) ข้อมูลสถิติด้านการศึกษา งานสารสนเทศด้านการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ [ //www.moe.go.th ]

 (2) ข้อมูลจากเว็บไซต์กรมการปกครอง  [ //stat.bora.dopa.go.th/stat/sumyear.html ]

 (3) วิไล วงศ์สืบชาติ และคณะ. ประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2511- 2535. สถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาฯ.  ธันวาคม 2536.




 

Create Date : 19 พฤศจิกายน 2559    
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2559 23:26:14 น.
Counter : 1024 Pageviews.  

โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน : ฤาจะสยบยอมต่อ "ความไม่เท่าเทียม" ไปตลอดกาล



เผยแพร่ครั้งแรกที่ //www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1335245093&grpid=03&catid=&subcatid= วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555


ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเตรียมจะเปิดรับสมัครเพิ่มเติมโครงการ1อำเภอ1ทุน รุ่นที่ 3 รอบที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2555 โดยมีนโยบายจะเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ขอรับทุน คือ ผู้สมัครไม่ต้องยื่นหลักฐานรับรองรายได้ของครอบครัวจากเดิมที่จำกัดรายได้ไม่เกิน 1.5แสนบาทต่อปี และเพิ่มเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำในการสอบผ่านข้อเขียนจากเดิมร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 80   ส่งผลให้กลุ่มอดีตนักเรียนทุนของโครงการนี้ทั้งรุ่นที่ 1 และ 2 ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช) เพื่อเรียกร้องให้มีการทบทวนการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ดังกล่าว 

ในจดหมายฯ ระบุว่าไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ เพราะ “การกีดกันนักเรียนยากจนที่สอบข้อเขียนได้คะแนนน้อย ด้วยการยืดหยุ่นและเปิดช่องโหว่ให้นักเรียนฐานะดีที่มีแนวโน้มจะสอบข้อเขียนได้คะแนนสูงสามารถสมัครทุนนี้ได้ขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของโครงการ” และ “ถือเป็นการตอกย้ำและผลิตซ้ำความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในสังคมไทยให้ดำรงอยู่ต่อไป”

อย่างไรก็ตามนอกจากข้อเรียกร้องจะไม่ส่งผลให้มีการทบทวนใด ๆ   คำตอบและปฏิกิริยาของ “ผู้ใหญ่” ต่อสถาณการณ์ที่เกิดขึ้น ยังสะท้อนถึงแนวคิดที่แฝงไปด้วย “อคติ” และ “วาระซ่อนเร้น” ที่มีนัยยะสำคัญในหลายมิติ

เช่น ทั้ง ๆ ที่การร่างจดหมายฯและการรวบรวมรายชื่อผู้สนับสนุน ได้กระทำอย่างเปิดเผยโดยกลุ่มนักเรียนทุนฯ ผ่านเครือข่าย internet social network แต่ รมว. ศธ. กลับคิดว่าการเรียกร้องครั้งนี้ “ไม่น่าจะใช้ตัวเด็กที่ร้องเรียนเอง” และ “น่าจะมีสปายอยู่เบื้องหลัง... เพราะบางคนก็อยู่ต่างประเทศ ไม่น่าจะรู้เรื่องนี้เร็ว” 

การกล่าวในลักษณะนี้จึงเป็นการลดดทอนความชอบธรรมของการร้องเรียนและเบี่ยงเบนความสนใจจากเนื้อหาสาระของจดหมายฯและที่สำคัญเป็นการสะท้อนว่าระบบการศึกษาไทยอาจมีปัญหาเพราะ “ผู้ใหญ่ ใน ศธ.” ไม่เชื่อในศักยภาพของ “นักเรียนทุน” และ “เยาวชน” ซึ่งก็คือ “ประชาชน” ผู้เป็นผลผลิตทั้งทางตรงและทางอ้อมของกระทรวงศึกษาฯ เอง 

และทัศนคติของปลัดกระทรวงศึกษาฯ (ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์) ที่มองการเรียกร้องครั้งนี้เป็นเพียงการแสดงออกของ “วัยรุ่นเลือดร้อน” ที่ “ติดวัฒนธรรมฝรั่ง” และ “ยังไม่เข้าใจสภาพความเป็นจริงของสังคมไทย”   ซึ่งสะท้อนถึงสิทธิและเสรีภาพของการแสดงความเห็นในสังคมประชาธิปไตยที่ประเทศไทยมีพัฒนาการอย่างน่าคลางแคลงใจเพราะการเสนอแนวคิดแย้งหรือการแสดงความเห็นต่างในสังคมถูกสงวนไว้สำหรับคนเพียงบางกลุ่มหรือบางชนชั้นเท่านั้น เช่นกรณีการเรียกร้องและเสนอความเห็นเรื่องการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ของโครงการนี้ ที่ “ผู้ใหญ่” เท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิ์คิดและตัดสินใจ ไม่ใช่เรื่องของ “เด็ก”


ส่วนที่เกรงว่าการปรับหลักเกณฑ์ใหม่จะเป็นการเปิดช่องและเอื้อให้คนรวยมาสอบนั้นรมว.ศธ. ได้ให้เหตุผลที่แทบจะไม่มีความเป็นเหตุเป็นผล ว่า“ปกติแล้วคนมีฐานะร่ำรวย ไม่ใช่ว่าจะมีสติปัญญาที่เก่ง แต่อาจจะพร้อมมากกว่าและไม่ได้หมายความว่าคนกลุ่มนี้จะสอบได้” และที่สำคัญ “คนมีฐานะส่วนใหญ่ใช้ทุนส่วนตัวส่งลูกหลานไปเรียนต่างประเทศเอง ดังนั้น คงไม่ทบทวนอะไรตามที่เรียกร้อง”  

เป็นที่รับรู้และยอมรับกันมานานแล้ว ว่าสติปัญญาของคนไม่ได้เกี่ยวกับฐานะหรือชาติกำเนิด แต่ประเด็นคือการให้ “คนรวย” ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ที่ดีกว่าหรือมีโอกาสเรียนพิเศษมาสอบแข่งกับ “คนจน” ที่แทบจะไม่มีโอกาสเหล่านั้น คำถามคือ ใครจะสอบได้คะแนนมากกว่า?  ส่วนตรรกะประเภท “รวยแล้วไม่อยากได้ทุน” หรือ “รวยแล้วไม่ต้องการอะไรอีก” สังคมไทยยังเรียนรู้ไม่พออีกหรือว่าเป็นจริงหรือไม่ ?

คนรวยที่ขยันและเรียนเก่งเป็นเรื่องน่าชื่นชม ซึ่งรัฐบาลจะส่งเสริมโดยให้ทุนไปเรียนต่อเพื่อจะได้กลับมาช่วยกันพัฒนาประเทศก็เป็นเรื่องที่สมควร แต่ต้องไม่ใช่ทุน “หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน” เพราะมันขัดกับวัตถุประสงค์ของโครงการที่ต้องการเปิดโอกาสให้คนจนที่เรียนดีในระดับหนึ่งได้ทุนไปเรียนต่อ ที่สำคัญ นั่น “เป็นการตอกย้ำและผลิตซ้ำอย่างหนักหน่วงถึงความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในสังคมไทย ที่นักเรียนยากจนต้องเสียเปรียบนักเรียนที่มีฐานะดีในหลาย ๆ ด้าน”

การยกเลิกเกณฑ์รายได้ครอบครัวที่เอื้อให้คนรวยสมัครทุนนี้ได้และเพิ่มเกณฑ์คะแนนการสอบผ่านข้อเขียนโดยอ้างว่าเพื่อเปิดกว้างแก่คนทุกฐานะและให้ได้เด็กที่เก่งสมกับการลงทุนตลอดจนการกล่าวหาว่ามีผู้อยู่เบื้องหลังเพื่อลดความชอบธรรมและจงใจไม่รับฟัง “ข้อเรียกร้อง” ของ “วัยรุ่นเลือดร้อน” ต่อการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ดังกล่าว จึงเท่ากับเป็นการสยบยอมต่อความไม่เท่าเทียมกันของมาตรฐานการศึกษาไทยอย่างเป็นรูปธรรม

กล่าวคือ เป็นการยอมรับว่าความเหลื่อมล้ำมีอยู่จริง และแทนที่จะหาทางแก้ไขหรือหาวิธีลดช่องว่างลง (เช่นโครงการ "หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน" ตามแนวทางเดิม) กลับน้อมรับเอาผลผลิตของระบบที่ไม่เท่าเทียมนั้นมาต่อยอดและผลิตซ้ำ.




 

Create Date : 19 พฤศจิกายน 2559    
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2559 23:44:06 น.
Counter : 202 Pageviews.  

สี่มุมมองท้องสนามหลวง ตอนที่ 2



เผยแพร่ครั้งแรกที่เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรกฎาคม 2554 [1]


โรงแรมล้านดาว

ณ ท้องสนามหลวงและบริเวณใกล้เคียงนอกจากจะเป็นแหล่งทำมาหากินของคนเร่ร่อนไร้บ้านและสถานที่ทำงานสำหรับกลุ่มผู้ขายบริการทางเพศแล้ว ในทุกค่ำคืนบนเนื้อที่กว่า ๗๐ ไร่ ของสถานที่สาธารณะแห่งนี้ก็คือที่ซุกกายในราคาแสนถูกของ “คนสนามหลวง” และกลุ่มคนจรที่เดินทางเข้าเมืองหลวงด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป  ทั้ง “โรงแรมกลางแจ้ง”  “โรงแรม ๒๐ บาท” หรือแม้แต่ “โรงแรมล้านดาว” ล้วนมีความหมายในสิ่งเดียวกันนั่นคือบริการให้เช่าเครื่องนอนครบชุด เช่น เสื่อ หมอน และผ้าห่ม เพื่อทอดกายลงนอนบนพื้นสนามหลวง

แม้ “โรงแรม” ราคาถูกแห่งนี้จะมีฉากหลังสุดอลังการเป็นสัญลักษณ์ของสยามประเทศในสายตาชาวโลกอย่างวัดพระแก้ว ตั้งอยู่บนผืนดินที่เต็มไปด้วยร่องรอยแห่งประวัติศาสตร์และมีท้องฟ้าที่ประดับไปด้วยหมู่ดาวนับล้านดวงเป็นหลังคา แต่เหนือสิ่งอื่นใด เหตุผลสำคัญที่สุดที่บรรดาลูกค้าของ “โรงแรมล้านดาว” เลือกที่จะมาใช้บริการหาใช่ทำเลที่ตั้งและฉากหลังอันสวยงามนั้นไม่ เพราะความน่าสนใจหรืออาจจะเรียกว่าจุดเด่นที่สุดของธุรกิจชนิดนี้คือการคิดค่าบริการในราคาเพียง ๒๐ บาทต่อคืน

ในราคา ๒๐ บาทนี้ ลูกค้าจะได้รับเสื่อหนึ่งผืน (ขนาดประมาณ ๑.๕ x๒.๐ เมตร) พร้อมกับหมอนและผ้าห่มในจำนวนที่เท่ากับจำนวนผู้นอน หรือตามที่ลูกค้าต้องการ กล่าวคือในราคา ๒๐ บาทต่อเสื่อ ๑ ผืน และต่อ ๑คืน นั้น ผู้ใช้บริการจะนอนกี่คนก็ได้  ในพื้นที่สนามหลวงมีผู้ให้บริการในลักษณะนี้ประมาณ ๔ เจ้า แต่ละเจ้าคิดอัตราค่าบริการในราคาเดียวกัน (ยกเว้นอัตราค่าบริการสำหรับเปลนอน ในกรณีที่บางเจ้าจัดไว้ให้บริการเป็นพิเศษ) จำนวนผู้ใช้บริการในแต่ละวันไม่แน่นอน แต่โดยเฉลี่ยแล้วมีประมาณหนึ่งร้อยคนต่อ ๑ คืน ต่อ ๑เจ้า ลูกค้าสามารถใช้บริการโรงแรมกลางแจ้งแห่งนี้ได้ตั้งแต่เวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกาเป็นต้นไป และต้องคืนอุปกรณ์เครื่องนอนก่อนเวลา ๖.๐๐ นาฬิกาของวันถัดไป ตลอดระยะเวลาของการเปิดให้บริการแต่ละเจ้าจะมีการดูแลเวรยามให้ ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของลูกค้า ข้อสังเกตหนึ่งประการคือ แม้ทำเลที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้บริการส่วนใหญ่คือบริเวณที่มีแสงสว่างในปริมาณที่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ใช้บริการจะมีมากหรือน้อยของแต่ละเจ้านั้น ตัวแปรที่สำคัญที่สุดคือคำบอกเล่าต่อๆ กันของกลุ่มผู้ใช้บริการด้วยกันเองถึงความปลอดภัยจากการดูแลเวรยามของแต่ละเจ้า นอกจากบริการด้านอุปกรณ์เครื่องนอนต่างๆ และการดูแลเวรยามแล้ว เจ้าของธุรกิจบางรายยังมีเครื่องดื่มและอาหารสำเร็จรูปไว้ให้บริการ (จำหน่าย) ให้กับลูกค้าของตนอีกด้วย

โรงแรมติดดาว ในราคาติดดิน ที่ซุกกายกลางเมืองหลวงในราคาแสนถูกของแรงงาพลัดถิ่นและกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ตลอดจน “คนสนามหลวง” บางกลุ่ม

ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการของโรงแรมในราคา ๒๐ บาทนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนที่อาศัยพื้นที่สนามหลวงและบริเวณใกล้เคียงเป็นแหล่งทำมาหากิน เช่น กลุ่มพ่อค้า-แม่ค้าที่ขายของในบริเวณดังกล่าว กลุ่มผู้ใช้แรงงานหรือรับจ้างทั่วไปที่มีรายได้น้อยและไม่แน่นอน หรือกลุ่มคนที่อยู่ระหว่างหางานซึ่งส่วนใหญ่เดินทางมาจากต่างจังหวัดเพื่อมาทำงานในเมืองหลวง ฯลฯ กลุ่มคนเร่ร่อนไร้บ้านและผู้ขายบริการทางเพศบางส่วน และกลุ่มคนทั่วไปที่ต้องเดินทางมาทำธุระในกรุงเทพฯเป็นระยะเวลาชั่วคราว เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนที่มาเช่าเสื่อและอาศัยพื้นที่สนามหลวงเพื่อการพักผ่อนเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ของคนกลุ่มนี้ไม่ได้นอนค้างคืนที่สนามหลวง แต่จะเดินทางกลับบ้านในตอนดึก 

จากข้อมูลดังกล่าวเราอาจจำแนกกลุ่มผู้ใช้บริการได้ ๓ กลุ่มดังนี้ (๑) กลุ่มคนทำงาน (๒) กลุ่มคนเร่ร่อนไร้บ้านและผู้ขายบริการ และ (๓) ผู้ที่เข้ามาทำธุระในกรุงเทพฯในระยะเวลาสั้นและผู้ที่มาเพื่อการพักผ่อน

กลุ่มแรกคือ “คนทำงาน” ซึ่งหมายถึงผู้ที่ประกอบอาชีพค้าขายในพื้นที่สนามหลวงและบริเวณใกล้เคียง เช่นพ่อค้า-แม่ค้าที่ขายของมือสอง หาบเร่ แผงลอยตามตลาดนัดริมทางเท้า หรือผู้ใช้แรงงานและรับจ้างตามปกติทั่วไปซึ่งไม่มีความแน่นอนทั้งลักษณะ ระยะเวลา รายได้ตลอดจนสถานที่ทำงาน ทั้งนี้บางรายทำงานและรับจ้างเป็นรายวันซึ่งในแต่ละวันนั้นลักษณะงานและรายได้ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ในขณะที่บางรายอาจมีการระบุสถานที่ทำงานที่ชัดเจนภายใต้ระยะเวลาการทำงานที่จำกัด เช่น ๑ สัปดาห์ ๑๐ วัน หรือครึ่งเดือน ฯลฯ นอกจากนี้ “คนทำงาน” ยังหมายถึงกลุ่มคนที่เดินทางมาจากต่างถิ่นเพื่อมาหางานทำในกรุงเทพฯ บางคนอยู่ระหว่างหางานหรือรอการติดต่อจากนายจ้าง แต่บางคนอาจอยู่ในช่วงรอยต่อของการตกงาน ฯลฯ เหตุผลที่ “คนทำงาน” กลุ่มนี้เลือกที่จะมานอนที่สนามหลวงคือ ประการแรก เนื่องจากรายได้ที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบอัตราค่าใช้จ่ายกับการที่จะไปเช่าห้องพักในรูปแบบปกติ ยิ่งการไปใช้บริการกับโรงแรมทั่วๆ ไปยิ่งเป็นไปได้ยากเพราะมีราคาค่าเช่าต่อคืนในระดับที่สูงมากเมื่อเทียบกับรายได้ของพวกเขา โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มผู้ใช้แรงงานและคนรับจ้างรายวันทั่วไป ประการถัดมาเนื่องจากบางรายที่อยู่ระหว่างหางานหรือตกงานนั้น มีงบประมาณที่ค่อนข้างจำกัด ในช่วงระยะเวลาที่ยังไม่มีรายได้เข้ามานี้ การใช้บริการของโรงแรม ๒๐ บาทจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับพวกเขา ประการสุดท้าย คือความสะดวกและประหยัดเวลาในการทำงาน เช่นกลุ่มพ่อค้า-แม่ค้าที่ขายของในบริเวณสนามหลวง แม้ว่าส่วนใหญ่ของกลุ่มผู้ค้าขายเหล่านี้จะนอนที่แผงขายสินค้าของตนเอง แต่ก็มีจำนวนหนึ่งเลือกที่จะมาใช้บริการของโรงแรม ๒๐ บาท ในยามค่ำคืนเพื่อพักผ่อนหลับนอนหลักจากเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานมาทั้งวันหรือหรือหลายวัน

กลุ่มที่สองคือ คนเร่ร่อนไร้บ้าน และ/หรือผู้ขายบริการทางเพศ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนเร่ร่อนฯ ที่ทำงานและมีรายได้ เช่น คนเร่ร่อนไร้บ้านที่ยึดอาชีพขายบริการไปด้วย กลุ่มคนที่เก็บขยะและขายของเก่า รวมถึงบางรายที่รับจ้างรายวันทั่วไปด้วย เหตุผลของการใช้บริการโรงแรม ๒๐ บาท ของกลุ่มที่สองนี้ก็คล้ายคลึงกับกลุ่มแรก กล่าวคือ มีความสอดคล้องกับข้อจำกัดเรื่องรายได้รวมถึงทำเลที่ตั้งของสนามหลวงอยู่ใกล้กับสถานที่ทำงานและแหล่งทำมาหากินนั่นเอง ข้องสังเกตที่น่าสนใจอีกหนึ่งประการคือ มีคนเร่ร่อนไร้บ้านจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้เช่าเสื่อและอุปกรณ์เครื่องนอน เลือกที่จะมานอนใกล้ๆ กับบริเวณที่ลูกค้าของโรงแรม ทั้งนี้เพราะบริเวณดังกล่าวให้ความรู้สึกปลอดภัยสำหรับพวกเขานั่นเอง

กลุ่มที่สามคือ คนต่างถิ่นที่เดินทางมาทำธุระในกรุงเทพฯเป็นการชั่วคราวในระยะเวลาสั้นๆ และกลุ่มคนธรรมดาทั่วไปที่เดินทางมาพักผ่อนยังบริเวณท้องสนามหลวง กลุ่มนี้เราอาจเรียกได้ว่าเป็น “ลูกค้าจร” ของธุรกิจโรงแรม ๒๐ บาท ทั้งนี้เพราะไม่ได้มีลักษณะของกลุ่มคนที่มาใช้บริการต่อเนื่องเป็นประจำ ส่วนแรกเป็นกลุ่มคนที่เดินทางมาติดต่อธุระส่วนตัว เดินทางมาหาเพื่อนหรือเพื่อนัดพบกับคนรู้จัก ตลอดจนเกิดความผิดพลาดประการใดประการหนึ่งในระหว่างการเดินทาง ฯลฯ ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้หรือเหตุผลจำเป็นอื่นๆ ผนวกกับงบประมาณที่แต่ละคนมีค่อนข้างจำกัดเพราะส่วนใหญ่เดินทางมาจากต่างจังหวัดและมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี หนทางหนึ่งในการประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับพวกเขาจึงออกมาในรูปแบบของการใช้บริการโรงแรมราคาถูกกลางสนามหลวงแห่งนี้นั่นเอง ในส่วนของผู้ที่มาพักผ่อนยังพื้นท้องสนามหลวงนั้น ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางและมีรายได้ที่แน่นอน และการใช้บริการโรงแรม ๒๐ บาทนี้ก็เป็นไปเพื่อการนั่งพักผ่อนเท่านั้น เพราะพวกเขาไม่ได้ค้างคืนที่นั่น

หากไม่นับรวมเอาผู้ที่มาใช้บริการโรงแรมราคาถูกเพื่อการพักผ่อนแล้ว เราอาจกล่าวได้ว่าเหตุผลสำคัญที่สุดที่บรรดา “ลูกค้า” ของธุรกิจโรงแรม ๒๐ บาท เลือกที่จะนอนค้างคืน ณ บริเวณท้องสนามหลวงล้วนมีความสัมพันธ์กับ “รายได้” ของพวกเขาทั้งสิ้น แม้ว่าในการให้บริการของแต่ละเจ้าจะรวมเอาการดูแลเวรยามและการรักษาความปลอดภัยเข้าไปด้วย แต่ในทางปฏิบัติจะมีใครสามารถรับประกันถึงความความปลอดทั้งในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้บริการได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม? การปูเสื่อหนึ่งผืนแล้วทอดกายลงนอนบนพื้นดิน และยินดีที่จะ “หลับใหล” กลางสนามในสถานที่ที่เป็นของ “สาธารณะ” นั้น หมายความว่าเราได้เลือกที่จะ “หยุดการรับรู้ในชั่วขณะหนึ่ง” ในสถานที่ที่ทุกคน ทุกกลุ่มทั้งคนทั่วไปและมิจฉาชีพสามารถที่จะเข้ามาหาผลประโยชน์หรือเข้าถึงตัวเราได้ตลอดเวลา ประเด็นไม่ได้อยู่ที่การรักษาความปลอดภัยของเจ้าของธุรกิจโรงแรม ๒๐ บาท แต่ละเจ้านั้นมีความปลอดภัยและเชื่อถือได้หรือไม่ สิ่งสำคัญที่สุดที่เราต้องตั้งคำถามคือ ถ้าเลือกได้หรือถ้าเป็นไปได้ “เรา”, “พวกเขา” หรือใครก็ตาม ยินดีหรือเต็มใจที่จะ “นอนหลับ” ในสถานการณ์แวดล้อมเช่นนั้นหรือไม่?

ปรากฏการณ์ที่ผู้คนนับร้อยต้องนอนบน “พื้นดิน” ในแต่ละคืน คือภาพสะท้อนที่ชัดเจนที่สุดในหลักการแห่งความเสมอภาคอันเป็นหัวใจหลักของประเทศประชาธิปไตย ซึ่งประเทศไทยมีพัฒนาการอย่างงดงามและน่าคลางแคลงใจ

บนความภาคภูมิใจที่เราสามารถบอกกับชาวโลกว่าสังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตยในความหมายที่เป็นสากลนั้น แท้จริงแล้วกลับแฝงไว้ด้วยข้อจำกัดและสภาพความเป็นจริงที่สวนทางกันเกือบ ๓๖๐ องศา เหตุที่กล่าวเช่นนี้เพราะกลุ่มลูกค้าหรือกลุ่มผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ของโรมแรมราคาถูก ณ ท้องสนามหลวงนั้น ไม่ใช่กลุ่มคนเร่ร่อนไร้บ้านในความหมายทั่วไป (homeless) แต่กลับเป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงานและลุ่มผู้มีอาชีพรับจ้างทั่วไปที่ไม่มีความแน่นอนทั้งในเรื่องสถานที่และระยะเวลาในการทำงานดังที่ได้กล่าวไป

ในมุมหนึ่ง บุคคลเหล่านี้ก็คือผู้ประสบปัญหาด้านการเงินจึงจำเป็นต้องมานอนกลางสนามหลวง ทว่าในอีกมุมหนึ่งพวกเขาถือว่าเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยและต่ำกว่ามาตรฐานที่สมาชิกหนึ่งคนใน “สังคม” ประชาธิปไตยพึงมีและพึงจะได้  ทั้งนี้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอ้างถึงจำนวนรายได้ที่เป็นตัวเลขของกลุ่มคนเหล่านี้ว่ามีความสอดคล้องกับอัตราค่าแรงขั้นต่ำตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ในแต่ละพื้นที่หรือไม่ เพราะเพียงพิจารณาจากเงื่อนไขการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานของมนุษย์ (ปัจจัย๔) ในเรื่องที่อยู่อาศัย การที่กลุ่มคนเหล่านี้อาศัยพื้นที่สนามหลวงเป็นที่หลับนอนโดยผ่านบริการของโรงแรมราคาถูกในรา ๒๐ บาทต่อคืนนั้น ย่อมแสดงอย่างชัดเจนว่ามาตรฐานในการดำรงชีพของพวกเขาอยู่ในระดับที่ต่ำมาก

แน่นอนว่าเงื่อนไขการดำรงชีพของบุคคลใดๆ ย่อมเป็นหน้าที่ความความรับผิดชอบส่วนตน กล่าวคือการที่บุคคลจะมีมาตรฐานในการดำรงชีพอยู่ในระดับที่สูง ต่ำ ถูกสุขลักษณะหรือไม่นั้น ย่อมมีสาเหตุมากจากลักษณะกิจกรรมหรือรูปแบการดำรงชีวิตที่บุคคลผู้นั้นได้เลือกที่จะกระทำ เช่น ในกรณีของคนเร่ร่อนไร้บ้าน (homeless) ที่ “ตัดสินใจเลือก” จะมาใช้ชีวิตนอกเคหสถานด้วยตนเอง หรือกลุ่มคนที่ไม่ประกอบอาชีพและไม่ทำมาหากินใดๆ เลย[2] ทำให้เงื่อนไขการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน (ปัจจัย๔) ของพวกเขาอยู่ในระดับที่ไม่ดี โดยเฉพาะในเรื่องที่อยู่อาศัย เป็นต้น แต่ในกรณีของกกลุ่มผู้ใช้บริการของโรมแรมราคาถูกซึ่งส่วนใหญ่คือ “คนทำงาน” นั้น หมายความว่าพวกเขาคือผู้กระทำการอันก่อให้เกิดประโยชน์และเกิดการหมุนเวียนของกิจกรรมที่มีมูลค่าในระบบของสังคม ดังนั้น หากพวกเขามีมาตรฐานในการดำรงชีพที่ที่ต่ำหรือขัดกับเงื่อนไขการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานของมนุษย์ (ปัจจัย๔) แล้ว แสดงว่าระบบของสังคมนั้นอยู่ในสภาวะที่ไม่ปกติ (ขาดสมดุล) และนั่นคือหน้าที่ “ความรับผิดแลชอบ” ของผู้บริหารจัดการ “สังคม” หรือกล่าวอีกอย่างก็คือรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยนั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ ปรากฏการณ์ที่ผู้คนนับร้อยๆ คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ทำงานและมีส่วนช่วยให้เกิดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่าและเป็นประโยชน์ต่อสังคมต้องมานอนกับพื้น ต้องใช้บริการโรงแรมราคาถูก ณ บริเวณท้องสนามหลวงสำหรับเป็นที่พักอาศัยในแต่ละคืนนั้น จึงเป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนถึงความไม่สมดุลของระบบทางสังคมที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมประชาธิปไตยอย่างประเทศไทย ทั้งนี้เพราะหลักการแห่งสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคในเงื่อนไขการดำรงชีวิตของมนุษย์นั้นเป็นหัวใจหลักของประเทศประชาธิปไตย

จากปรากฏการณ์ของ “โรงแรมล้านดาว” ที่บรรดา “คนสนามหลวง” และแรงงานราคาถูกทั้งหลายมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก ทำให้เราต้องกลับมาทบทวนถึงสภาพความเป็นจริงของสังคมกันอีกครั้งหนึ่งว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากลไกหรือระบบที่ใช้ในการจัดการสังคม “รัฐไทย” นั้น มีความผิดพลาดหรือบกพร่องในส่วนใดส่วนหนึ่งหรือไม่?  มีฟันเฟืองทางสังคมตัวใดบ้างที่เรายังขาดแคลนอยู่ ชิ้นส่วนไหนหรือเครื่องจักรตัวใดในสังคมที่ควรได้รับการแก้ไขหรือปรับปรุงอย่างเร่งด่วน

อาชญากรรมเชิงบวก ?

ในประเด็นสุดท้ายของบทความนี้ (อาชญากรรมเชิงบวก) ผู้เขียนไมได้มีเจตนาจะอภิปรายถึงความชอบธรรมหรือคุณประโยชน์ของ “อาชญากร” หรือ “มาเฟีย” ทั้งในอดีตและในยุคปัจจุบัน แต่ทั้งหมดนั้นใคร่จะเป็นไปเพื่อการตั้งคำถามว่า (๑) ในพื้นที่สนามหลวงนั้นมี “มาเฟีย” (ในความหมายทั่วไป) อยู่จริงหรือไม่? และ (๒) ถ้ามีอยู่จริง ลักษณะการทำงานหรือกิจกรรมของพวกเขาเข้าข่าย “มาเฟีย” ในความหมายแบบสุดโต่งที่เกี่ยวข้องกับ กิจกรรมอันเป็น “มิจฉาชีพ” หรือ “อาชญากรรม”หรือไม่? อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะลงรายละเอียดในประเด็นดังกล่าว น่าจะเป็นประโยชน์ไม่น้อยหากเราจะมาร่วมศึกษาความเป็นมาและความหมายที่แท้จริงของคำว่า “มาเฟีย” ในบางส่วน

โดยทั่วไปคำว่ามาเฟีย (Mafia) มักถูกใช้เรียกกลุ่มคนหรือสมาชิกของกลุ่มคนที่รวมตัวกันเพื่อประกอบกิจกรรมอันเป็นมิจฉาชีพเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากกลุ่มคนหรือบุคคลอื่น อย่างไรก็ตาม โดยดั้งเดิมแล้ว “มาเฟีย” (อีกชื่อคือ Cosa Nostra: โคซา นอสตรา) นั้นหมายรวมถึงกลุ่มพันธมิตรในยุคกลางของประเทศอิตาลีที่รวมตัวกันเพื่อต่อต้านชาวนอร์มัน (ชื่อของกลุ่มชนเผ่าหนึ่ง ซึ่งต่อมาได้ถูกนำไปใช้เรียกขานดินแดนนอร์มังดี บริเวณทางตอนเหนือของฝรั่งเศสในปัจจุบัน) และชาวเติร์ก (หรือชาวตุรกีในปัจจุบัน)  ซึ่งในเวลาต่อมาได้กลายเป็นคำเรียกองค์กรลับต่างๆ ในอิตาลี กล่าวคือ “มาเฟีย” เป็นคำที่ใช้เพื่อเรียกกลุ่มบุคคล องค์กรหรือสมาคมที่การดำเนินการต่างๆ นั้นเป็นไปอย่างลับๆ และไม่มีกฎหมายรองรับ องค์กรหรือสมาคมในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงศตวรรษที่ 19 ในแค้วนซิซิลี ประเทศอิตาลี (อิตาลี: Sicilia, อังกฤษ: Sicily) จากนั้นจึงเริ่มแผ่กระจายไปยังอเมริกาและออสเตรเลีย[3] ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือลักษณะการทำงานของกลุ่มมาเฟียนั้น ไม่ได้ทำแต่เรื่องผิดกฎหมายในความหมายแบบสุดโต่งเท่านั้น แต่ยังเป็นองค์กรที่คอยรับใช้พวกราชวงศ์และชนชั้นสูง ตลอดจนให้ความร่วมมือในการกระทำการบางอย่างขององค์กรที่มีอำนาจของรัฐ เช่น ในการแผ่ขยายอาณาเขตของประเทศตนเองในยุคนั้น เป็นต้น

หากองค์กร สมาคม หรือกลุ่มคนที่รวมตัวกันเพื่อประกอบกิจกรรมใดๆซึ่งไม่มีกฎหมายรองรับ คือ “มาเฟีย” หรืออีกความหมายหนึ่งก็คือ “องค์กรอาชญากรรม” และเกี่ยวข้องกับกิจกรรมอันเป็นมิจฉาชีพ คำถามคืออะไรคือความหมายของกิจกรรมอันเป็น “มิจฉาชีพ” หรือ “อาชญากรรม” ดังกล่าว? ในอดีตหากลักษณะการทำงานของกลุ่มมาเฟียคือการให้ความช่วยเหลือและรับใช้ราชวงศ์และองค์กรภาครัฐ แสดงว่ากิจกรรมบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์หรือบางนโยบายของรัฐบาลในยุคนั้นคือการกระทำที่เป็น “มิจฉาชีพ” และ “อาชญากรรม” ใช่หรือไม่?  ความสำคัญของการตั้งคำถามข้างต้นไม่ใช่การหาคำตอบว่ารัฐหรือราชวงศ์ทั้งในอดีตหรือในยุคปัจจุบันมีการดำเนินกิจกรรมประเภท “มิจฉาชีพ” หรือไม่ และมีความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมประเภท “อาชญากรรม” อย่างไร เพราะประเด็นสำคัญที่น่าสนใจในที่นี้คือ มีเหตุผลอะไรที่รัฐบาล ราชวงศ์ หรือสังคมหนึ่งสังคมจำเป็นที่จะต้องใช้ “องค์กรลับ” เหล่านั้นเพื่อการดำเนินการบางอย่าง มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่ในฐานะของผู้ปกครองซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลบริหารและจัดการสังคมให้เกิดความสมดุลนั้น มีบาง “สภาพการณ์” ที่ทั้งรัฐบาลหรือราชวงศ์ (อำนาจส่วนกลาง) ไม่สามารถใช้เครื่องมือทางสังคมที่ได้รับการรับรองจากกฎหมายเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาได้ แน่นอนว่าหากมองในบางสภาพการณ์หรือ “ภาวะ” พิเศษต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงในสังคมแล้ว คำตอบคือ “ใช่”  เพราะสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่ามนุษย์นั้นมีความหลากหลายทั้งความเชื่อ แนวคิด รูปแบบตลอดจนวิถีการดำเนินชีวิต ทำให้ในบางสังคม บางช่วงเวลา บางช่วงเหตุการณ์และในบางหน่วยสังคมขนาดย่อย กฎหมายหรือเครื่องมือทางสังคมส่วนกลางที่เป็นสากลทั่วไปไม่สามารถเข้าไปจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนั่นจึงเป็นที่มาว่า ทำไมองค์กรหรือสมาคมลับในฐานะผู้ช่วยของกลุ่มผู้ปกครองในอดีตจึงถือกำเนิดขึ้นเป็นจำนวนมาก

มนุษย์เป็นสัตว์สังคมและเพื่อให้การดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมหนึ่งๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยนั้น จำเป็นต้องมี “ข้อตกลงทางสังคม” ร่วมกัน กลุ่มบุคคลหรือบุคคลใด ที่กระทำการอันขัดต่อ “ข้อตกลงทางสังคม” จึงเปรียบได้ว่าเป็น “อาชญากรทางสังคม”

“สังคม” เป็นนามธรรม เพราะเป็นคำที่ใช้เรียกขานกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่ดำรงชีวิตร่วมกัน มนุษย์หรือ “สัตว์สังคม” กลุ่มนี้มีทั้งความแตกต่างและความคล้ายคลึงกันในด้านพฤติกรรม ความเชื่อ ค่านิยม ตลอดจนเหตุผลและแรงจูงใจในการกระทำกิจกรรมต่างๆ ฯลฯ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและสังคมสามารถประคองตัวเองให้อยู่ในภาวะสมดุลจากความแตกต่างดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมี “ข้อตกลงทางสังคม”[4] (social contract)  ร่วมกัน ทั้งนี้ข้อตกลงดังกล่าวมีไว้เพื่อควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมที่อาจจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในด้านต่างๆ ของสมาชิกคนอื่นๆ ในสังคม โดยมาตรการการควบคุมทางสังคมดังกล่าว นั้น มักถูกใช้ในรูปแบบของ กฎหมาย (ในความหมายของกฎระเบียบหรือข้อบังคับ) จารีต ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม ฯลฯ

ในหนังสือ Léviathan[5] ของ ฮอบส์ (Thomas Hobbes) เขาได้ให้ความหมายของ “ข้อตกลงทางสังคม” โดยเชื่อมโยงเข้ากับบริบทแห่งความปลอดภัยของสมาชิกในสังคม กล่าวคือฮอบส์เชื่อว่า “รัฐชาติ” หรือ “สังคมมนุษย์” ใดๆ ล้วนตั้งอยู่บน พื้นฐานของ ”สังเวียนแห่งการสู้รบ” กล่าวคือมนุษย์ล้วนมีธรรมชาติของการต่อสู้แข่งขันซึ่งกันและกันเพื่อความอยู่รอดของตน  ดังนั้นสัญชาติญาณการเอาชีวิตรอดของมนุษย์อันเป็นสาเหตุให้สังคมกลายเป็นเสมือนหนึ่ง ”สนามรบ” นี้เอง ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อความขัดแย้งทางสังคมที่จะเกิดขึ้นในระดับต่างๆ กัน “ข้อตกลงทางสังคม” จึงเป็นเครื่องมือทางสังคมชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นเพื่อขจัดหรือช่วยลดความขัดแย้งนั้น หรือกล่าวให้ชัดเจนอีกอย่างก็คือ “ข้อตกลงทางสังคม” นั้นมีไว้เพื่อปรับให้สังคมเกิดความสมดุล โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสมดุลระหว่างสัญชาติญาณความเห็นแก่ตัวเพื่อการเอาชีวิตรอดของมนุษย์แต่ละคนนั่นเอง ในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน (ช่วงประมาณปลายศตวรรษที่๑๗) ล็อค (John Locke) ได้สร้างทฤษฎีของ “ข้อตกลงทางสังคม” ภายใต้หลักการแห่ง “สิทธิส่วนบุคคลตามธรรมชาติ”[6] (Natural law) ที่สมาชิกทุกคนในสังคมล้วนมีโดยกำเนิดอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้น ในหนังสือ Two Treatises of Government [7] ล็อคจึงให้ความหมายของ “ข้อตกลงทางสังคม” ว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยเป็นหลักประกันในสิทธิและเสรีภาพที่บุคคลพึงมีพึงได้ตามธรรมชาติในการดำรงชีวิต ดังนั้น รัฐหรือผู้ปกครองจึงมีหน้าที่ดำเนินการตาม “ข้อตกลงทางสังคม” เพื่อรักษาไว้ซึ่งสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นบานในการดำรงชีวิตของประชาชน ในขณะที่ฮอบส์พูดถึง “ข้อตกลงทางสังคม” อันเกี่ยวกับความปลอดภัยขั้นพื้นฐานในชีวิต และ ล็อคได้อธิบายในมิติของสิทธิและเสรีภาพตามธรรมชาติของมนุษย์นั้น  ในอีกด้าหนึ่ง รุซโซ (Jean Jacques Rousseau) ได้ให้นิยามของ “ข้อตกลงทางสังคม” ในมุมมองของสังคมสมัยใหม่ภายใต้หลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยรุซโซ่ ได้เสนอว่า “ข้อตกลงทางสังคม” ต้องเป็นไปเพื่อการรักษาไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยของบุคคล[8] ในบริบทเดียวกันนี้รุซโซ ได้ให้ความหมายของ “อาชญากรทางสังคม” ว่าคือองค์กร กลุ่มบุคคล หรือบุคคลใดๆ ที่กระทำการอันเป็นการลิดรอนหรือบ่อนทำลายซึ่งอำนาจอธิปไตยของสมาชิกในสังคม หากพิจารณาถึงตรงนี้ เราอาจกล่าได้ว่า “อาชญากร” ในสังคมหนึ่ง ก็คือกลุ่มบุคคล หรือบุคคลใดๆ ที่กระทำการหรือประกอบกิจกรรมที่ขัดต่อ “ข้อตกลงทางสังคม” ของสังคมนั้นๆ อย่างไรก็ตาม หากเรายอมรับว่าสังคมแต่ละสังคมล้วนมีความแตกต่างกัน และ “ข้อตกลงทางสังคม” ไม่ได้มีระเบียบแบบแผนอันเป็นสากล (universal) หมายความว่า “ข้อตกลงทางสังคม” ของสังคมใดย่อมมีคุณค่าและขีดความสามารถในการรักษาสมดุลทางสังคมได้ในแบบเฉพาะตนเท่านั้น  ในทำนองเดียวกัน    “อาชญกร” หรือ  อีก นัยย์หนึ่งก็คือผู้ที่กระทำการที่ขัดต่อ “ข้อตกลงทางสังคม” ในสังคมหนึ่ง ย่อมไม่ได้หมายความว่าบุคคลผู้นั้นจะเป็น “อาชญากร” ในสังคมอื่นๆ เสมอไป

หากวิถีชีวิตของคนในสังคมปกติทั่วไปมีความสลับซับซ้อนและยากต่อการจัดการดูแลโดย “ผู้ปกครอง” กล่าวคือเครื่องมือการจัดการทางสังคมไม่สามารถทำหน้าที่ของมันได้อย่างมีประสิทธิภาพในบางสภาพการณ์แล้ว ชุมชนเสมือนจริงที่มีลักษณะพิเศษอย่าง “สนามหลวง” จำเป็นต้องมี “ผู้ปกครอง” หรือ “ข้อตกลงทางสังคม” ในรูปแบบเฉพาะของตนเองหรือไม่?

ดังที่ได้กล่าวไปว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม และเพื่อให้การดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยนั้น จำเป็นต้องมี “ข้อตกลงทางสังคม”  ร่วมกัน นอกจากนี้ เนื่องด้วยในทุกสังคมล้วนมีความเป็นไปได้ที่จะต้องประสบกับ “สภาพการณ์พิเศษ” ที่ “ข้อตกลงทางสังคม” ไม่สามารถจัดการได้ และนั่นคือที่มาว่าทำไม “องค์กรลับ” หรือ “มาเฟีย” ที่ไม่มีกฎหมายรองรับจึงถือกำเนิดขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งอยู่ในฐานะของผู้ช่วยรัฐบาลในการจัดการกับ “สภาพการณ์พิเศษ” ดังกล่าว 

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีระบบความคิดและพฤติกรรมที่ซับซ้อน ทำให้การทำความเข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงหรือแรงจูงใจในการกระทำการต่างๆของ “มนุษย์” นั้นจึงเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่มนุษย์มีความเป็น “ปัจเจก” (individual) มากขึ้น ดังนั้น “สังคม” ที่ประกอบไปด้วย “ปัจเจก” จำนวนมากจึงมีความซับซ้อนมากขึ้นไปอีก ปรากฏการณ์ทางสังคมที่สำคัญที่ตามมาก็คือ “ข้อตกลงทางสังคม”  ไม่สามารถทำให้เกิดสมดุลในสังคมได้อย่างเต็มที่

หากวิถีชีวิตของคนในสังคมปกติทั่วไปมีความสลับซับซ้อนและยากต่อการจัดการดูแลโดย “ผู้ปกครอง” ในฐานะผู้ใช้ “ข้อตกลงทางสังคม” แล้ว ชุมชนเสมือนจริงในลักษณะพิเศษอย่าง “สนามหลวง” อันเป็นผลพวงมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในยุคโลกาภิวัตน์นั้น จำเป็นต้องมี “ข้อตกลงทางสังคม” ในรูปแบบเฉพาะของตนเองหรือไม่  สิ่งหนึ่งที่เราต้องยอมรับคือปัญหาในพื้นที่สนามหลวงนั้นเกิดขึ้นมาเป็นเวลานานมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาคนเร่ร่อนไร้บ้าน ผู้ขายบริการทางเพศทั้งชายและหญิง ตลาดนัดริมทางเท้า หรือแม้กระทั่งกลุ่มมิจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ฯลฯ เหล่านี้ถือว่าเป็นสภาพการณ์พิเศษของกรุงเทพฯ หรือสังคมไทย ด้วยข้อมูลอันจำกัดผู้เขียนไม่สารถบอกได้ว่าเครื่องมือทางสังคมต่างๆของไทย ทั้งกฎหมาย หน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐและเอกชนที่ถูกสร้างขึ้นตาม “ข้อตกลงทางสังคม” ของเรานั้น เดินทางมาถึงทางตันจนถึงที่สุดแล้วหรือยัง ผู้เขียนไม่สามารถตอบได้ว่าสภาพการณ์พิเศษของปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่สนามหลวงและบริเวณใกล้เคียงนั้น ซับซ้อนเกินกว่าที่กลไกต่างๆ ของสังคมไทยจะเยียวยาได้อย่างสิ้นเชิงแล้วหรือยัง แต่สิ่งหนึ่งที่เราพอจะอนุมานได้ก็คือ มีความเป็นไปได้สูงที่กลไกต่างๆ ของสังคมไทยนั้นน่าจะมีจุดบกพร่องในบางส่วน เพราะหากเรามองย้อนไปในอดีตวกกลับมาในปัจจุบัน วงจรชีวิตของ “คนสนามหลวง” ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเลยแม้แต่น้อย ถ้าจะมีที่เปลี่ยนแปลงไปก็เป็นไปในส่วนของจำนวน “ปัญหา” ที่เพิ่มมากขึ้นพร้อมๆ กับปริมาณ “คนสนามหลวง” ที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น หากพิจารณาจากปรากฏการที่เกิดขึ้นในพื้นที่สนามหลวง เราจะเห็นถึงความล้มเหลวในบางส่วนของ “ข้อตกลงทางสังคม” ของไทยได้อย่างไม่ต้องสงสัย หากไม่ไม่ใช่ที่ “ตัวคนใช้” (รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) ก็เป็นปัญหาที่ “ตัวกฎ” (กฎหมาย ระเบียบ หรือกลไกต่างๆ ที่เป็นเครื่องมือในการจัดการปัญหา)

“คนสนามหลวง” ไม่ใช่กลุ่มประชากรในความหมายของการแบ่งเขตการปกครอง ในทำนองเดียวกัน “ชุมชนสนามหลวง” ก็เป็นเพียงการอุปมาเชิงเปรียบเทียบ เพราะอย่างไรแล้ว “สนามหลวง” ก็เป็นเพียงสถานที่สาธารณะซึ่งไม่มีสถานภาพเทียบเท่าเขตการปกครองทั่วๆไปแม้แต่น้อย ไม่ว่าในด้านใดๆ แต่การมองสนามหลวงและกลุ่มผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่ดังกล่าวเป็นเสมือน “ชุมชน” และ “ชาว” สนามหลวงนั้นจะช่วยให้เราเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น และก็ด้วยมุมมองในแบบเดียวกันนี่เองที่ทำให้เรามองเห็นว่า “สนามหลวง” นั้นมี “ผู้ปกครอง” และ “ข้อตกลงทางสังคม” ในรูปแบบเฉพาะของตนเอง ซึ่งแน่นอนว่าในสายตาของคนทั่วไป กลุ่ม “ผู้ปกครอง” ในพื้นที่สนามหลวงแห่งนี้ก็คือ “มาเฟีย” เพราะนอกจากจะเป็นกลุ่มบุคคลที่ไม่มีกฎหมายใดๆ รองรับแล้ว พฤติกรรมหรือลักษณะการทำงานของพวกเขา ก็คือการกระทำที่เป็นไปเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากผู้อื่นภายใต้กระบวนการที่ขัดต่อ “ข้อตกลงทางสังคม” ของสังคมส่วนกลาง

หากการเกิดขึ้นและมีอยู่จริงของ “มาเฟีย” ตามหลักคิดแบบ “สภาพจริงนิยม” (realism) มองว่าในทุกภาคส่วนและในทุกระดับของสังคมมนุษย์ล้วนประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่กดขี่ เอาเปรียบ และหาประโยชน์จากกลุ่มคนที่อ่อนแอกว่าเสมอแล้ว “มาเฟีย” ในพิ้นที่สนามหลวงถือว่าเป็น ”อาชญากรรมเชิงบวก” ได้หรือไม่?

จากการลงพื้นเพื่อทำการสังเกตการณ์ภาคสนาม ณ ท้องสนามหลวงนั้น ทำให้ผู้เขียนมีโอกาสได้สังเกตการณ์สภาพความเป็นอยู่ของ “คนสนามหลวง” เกือบทุกกลุ่ม โอกาสเดียวกันนี้ผู้เขียนก็ได้ทำการสัมภาษณ์กลุ่มคนที่ถูกเรียกว่า “มาเฟีย” ในพื้นที่ดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตาม การสัมภาษณ์ดังกล่าวนั้นเป็นไปเพียงในรูปแบบของการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการเท่านั้น (informal discussion ) ทั้งนี้เพราะจุดประสงค์หลักของการทำงานภาคสนามในครั้งนี้คือการสังเกตการณ์ (observation) ไม่ใช่การสัมภาษณ์ (interview )  นอกจากการสนทนาดังกล่าวแล้ว กลุ่มมาเฟียยังอาสานำผู้เขียนลงสำรวจพื้นที่ต่างๆ โดยรอบสนามหลวงโดยเฉพาะในเขตที่พวกเขาทำงานอีกด้วย

ในพื้นที่สนามหลวงก็เหมือนกับ “สังคม” อื่นๆ กล่าวคือ ชุมชนเสมือนจริงแห่งนี้ก็เหมือนกับชุมชนปกติทั่วไปตรงที่ชีวิตประจำวันของสมาชิกในชุมชนล้วนต้องเกิดการกระทบกระทั่งกันหรือมีความขัดแย้งเกิดขึ้นเป็นเรื่องปรกติวิสัยมนุษย์ เช่น ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ขายบริการฯ ที่มีสาเหตุมาจากการแย่งลูกค้าหรือปัญหาการล้ำเขตการทำงาน ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกลุ่มคนเร่ร่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่มีอาการมึนเมาสุรา ปัญหาการลักขโมยหรือแม้กระทั้งความขัดแย้งหรือปัญหาเล็กๆ น้อยที่เกิดขึ้นกับบรรดาพ่อค้า แม่ค้าตลาดนัดริมทางเท้าในพื้นที่สนามหลวงและบริเวณใกล้เคียง ฯลฯ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ ของคนเมาหรือความขัดแย้งที่รุนแรงและมีผลต่อการทำงานของผู้ขายบริการหรือพ่อค้าแม่ค้าตลาดนัดริมทางเท้า แต่ความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มคนเหล่านี้ล้วนจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข หากไม่เช่นนั้น “วิกฤตการณ์” และความสับสนอลหม่านต้องเกิดขึ้นกับ “คนสนามหลวง” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

ดังที่เราทราบแล้วว่าวิถีชีวิตของ “คนสนามหลวง” ส่วนใหญ่นั้นเป็นรูปแบบการใช้ชีวิตหรือรูปแบบการทำงานที่ “ไร้สภาพ” และไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ กับสังคมส่วนกลาง ทั้งนี้เพราะลักษณะงานหรือสถานภาพส่วนใหญ่ของ “คนสนามหลวง” นั้น ไมได้รับการรองรับหรือไม่ได้รับอนุญาตจากกฎหมาย เช่น กลุ่มผู้ขายบริการฯ และคนเร่ร่อนไร้บ้าน ที่ไม่มีหลักฐานประจำตัว หรือการขายของในพื้นที่ต้องห้ามของพ่อค้า แม่ค้าบางส่วน ฯลฯ ด้วยเหตุนี้เมื่อมีเหตุการณ์หรือ “วิกฤตการณ์” แห่งความขัดแย้งเกิดขึ้นในพื้นที่ และการแก้ไขปัญหาด้วยการแจ้งตำรวจหรือประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐให้เข้ามาดูแลนั้น ย่อมจะทำให้ขนาดของ “วิกฤตการณ์” ที่จะเกิดตามมาทวีความรุนแรงขึ้นเป็นหลายเท่า เพราะ “คนสนามหลวง” ทุกกลุ่มจะกลายเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง จากการยื่นมือเข้าช่วยของตำรวจหรือภาครัฐ

“มาเฟีย” แม้จะไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับการแก้ปัญหานี้ แต่ก็เป็นหนทางที่ “เกิดผลข้างเคียง” กับคนในพื้นที่น้อยที่สุด ชายรูปร่างปานกลาง วัยประมาณ ๕๕ ปี แต่ดูมีลักษณะสุขภาพร่างกายค่อนข้างแข็งแรง เขาคือผู้ซึ่งคนในสนามหลวงรู้จักในนามของ “พ่อ” หรือ “ป๋า” แต่ในสายตาของคนทั่วไปชายผู้นี้ก็คือ “มาเฟีย” ที่มีอิทธิพลในพื้นสนามหลวง จากคำบอกเล่าของเขาทำให้ผู้เขียนได้ทราบถึงโครงสร้างและลักษณะการทำงานของ “มาเฟีย” ในพื้นที่สนามหลวงในระดับหนึ่ง นอกจากเขาในฐานะหัวหน้ากลุ่มแล้ว ยังมีสมาชิกคนอื่นๆ อีกประมาณยี่สิบคน  โดยประกอบไปด้วย ๑ คนที่อยู่ในฐานะรองหัวหน้ากลุ่ม ผู้ซึ่งสามารถดำเนินการต่างๆ แทนหัวหน้ากลุ่มได้ในกรณีที่หัวหน้ากลุ่มไม่อยู่ในพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีผู้ที่อยู่ในระดับหัวหน้าสายอีก ๔ คนตามการแบ่งพื้นที่การทำงานออกเป็นสี่โซนตามมุมทั้งสี่มุมของท้องสนามหลวง ซึ่งหัวหน้าสายแต่ละคนนั้นจะมีผู้ช่วยในการทำงานอีกประมาณ ๔ คนต่อหนึ่งโซน ตลอดการสนทนาและการลงสำรวจพื้นที่ในแต่ละโซนนั้น สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนสามารถสังเกตเห็นได้เป็นปรกติคือการทักทายกันระหว่าง “คนสนามหลวง” โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าตลาดนัดริมทางเท้ากับกลุ่มมาเฟีย ไม่ใช่เรื่องที่พิเศษอะไรที่คนในพื้นที่จะต้องทักทายกลุ่มคนที่ได้ชื่อว่า “มาเฟีย” และมีอิทธิพลในพื้นที่นั้นๆ แต่นอกจากคำว่า “พ่อ” หรือ “ป๋า” ที่เป็นการแสดงถึงการให้ความเคารพชายผู้นี้แล้ว “น้ำเสียง” และ “แววตา” ของคนที่ทักทายหัวหน้ากลุ่มมาเฟีย นั้น ล้วนเป็นไปในทำนองของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทั้งสองฝ่าย ข้อความต่อไปนี้คือบางส่วนจากบทสนทนาระหว่างผู้เขียนและหัวหน้ากลุ่มมาเฟีย

“ลักษณะท่าทางของผมเหมือนมาเฟียหรือเปล่า?(…) ลองถามคนแถวนี้ก็ได้ว่าผมเคยทำอะไรอย่างที่คนทั่วไปว่ามั้ย (…) เป็นเรื่องจริงที่ในบางครั้งเราต้องมีความเด็ดขาดและใช้วิธีการที่หนักหน่วงบ้าง แต่จริงๆ แล้วคนที่นี่เขาไม่ได้เคารพผมด้วยพระเดชผมนะ  เขานับถือเราด้วยพระคุณมากกว่า”

ทั้งจากสิ่งที่เราสังเกตเห็นในการลงสำรวจพื้นที่โดยรอบๆ บริเวณแถบนั้น และจากบทสนทนากับกลุ่มมาเฟียที่พยายามชี้ชวนว่าแท้จริงแล้วพวกเขาไม่ใช่มาเฟียในความหมายสุดโต่งเหมือนที่คนภายนอกมองเข้ามา ไม่ใช่ข้อสรุปแต่ทั้งหมดนั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้เขียนเริ่มตั้งคำถามว่า “อาชญากรรมเชิงบวก” นั้นมีจริงหรือไม่ “อาชญากรรม” ซึ่งความหมายของคำก็ชัดเจนยู่ในตัวมันเองแล้วว่าไม่ใช่สิ่งที่ดี จะมีมิติไหนที่เชื่อมโยงกับการกระทำที่เป็นบวกหรือเกิดประโยชน์กับส่วนรวมได้หรือไม่? จากประสบการณ์ของผู้เขียนในการทำงานด้านสังคมศาสตร์ ทำให้ผู้เขียนตระหนักเสมอว่าบุคคลล้วนไม่มีความจำเป็นจะต้องบอกหรือแสดงออกซึ่ง “ความจริง” หรือสิ่งที่เราอยากรู้เสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสัมภาษณ์หรือสังเกตการณ์ทางสังคมวิทยาแล้ว ไม่มีวิธีการไหนสามารถพิสูจน์ความเป็น “จริง” หรือ “เท็จ” ของเรื่องราวเหล่านี้ได้ สิ่งเดียวที่เราอาจจะทำได้คือการพยายามอธิบาย “ชุดข้อมูลเชิงประจักษ์” ที่เราได้มาอย่างมีแบบแผนว่ามีความสัมพันธ์อย่างไรกับคนหรือกลุ่มคนที่ให้ข้อมูลเหล่านั้นมา ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกซึ่งความเคารพของคนในพื้นที่ที่มีต่อกลุ่มมาเฟีย หรือแม้แต่เรื่องราวต่างๆ ที่พวกเขาพยายามสะท้อนออกมาผ่านคำพูดในเชิงบวกของการทำงานในพื้นที่ของ “มาเฟีย” กลุ่มนี้ เหนือสิ่งอื่นใด แน่นอนว่าปรากฏการณ์เหล่านี้ล้วนเป็นข้อมูลหรือวัตถุดิบที่ไม่เพียงพอต่อการสรุปว่าทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องจริงหรือในกรณีตรงข้าม แต่สิ่งที่เราอาจจะเรียนรู้จากข้อมูลเหล่านี้ก็คือ ทำไมพวกเขาถึงอยากให้เราทราบถึง “ชุดข้อมูลเชิงประจักษ์” ชุดนี้?

หากตามหลักคิดแบบ “สภาพจริงนิยม” (realism)  ซึ่งมองว่าในทุกภาคส่วนและในทุกระดับของสังคมมนุษย์ล้วนประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่กดขี่ เอาเปรียบ และหาประโยชน์จากกลุ่มคนที่อ่อนแอกว่าเสมอ ทั้งในรูปแบบที่สุดโต่ง เช่น กลุ่มนายทุนที่เอารัดเอาเปรียบเกษตรกร กลุ่มขุนนางและชนชั้นปกครองในทุกยุคทุกสมัยที่มักจะเอาเปรียบและรีดไถราษฎรอย่างเป็นรูปธรรมอยู่เป็นประจำ หรือในรูปแบบที่แฝงไว้ด้วยข้ออ้างตามภาระหน้าที่ เช่น การที่กลุ่มขุนนางได้รับค่าตอบแทนในอัตราที่สูงกว่าคนกลุ่มอื่นๆ ในสังคมกลายเป็นเรื่องที่ชอบธรรมและคนในสังคมให้การยอมรับ ทั้งที่ในความเป็นจริงตาม “สภาพจริงนิยม” นั้น การ กระทำในลักษณะดังกล่าวก็คือ การเอาเปรียบคนอื่นภายใต้วาทกรรมที่แฝงไว้ด้วยข้ออ้างเรื่อง “บทบาททางสังคม” ทั้งนี้เพราะคนที่กำหนด (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) ว่าใครหรือกลุ่มคนประเภทไหนควรจะได้รับค่าตอบแทนเท่าใดนั้นก็คือกลุ่มพวกขุนนางด้วยกันเอง ซึ่งหากพิจารณาจากจุดนี้เราย่อมเห็นว่านี่คือการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบคนอื่นๆ ในสังคมอย่างไม่เป็นธรรม และแทบจะไม่ต่างจากกลุ่มคนที่กดขี่และเอาเปรียบผู้อื่นในรูปแบบที่สุดโต่งเลย

ในส่วนแรกเราจะเห็นว่ากลุ่มนายทุนและขุนนางที่เอาเปรียบผู้อื่นในรูปแบบที่สุดโต่งและโจ่งแจ้งนั้นถือเป็นการกระทำที่ผิดและกลายเป็น “อาชญากรทางสังคม” ในขณะที่ในส่วนที่สอง คือ กลุ่มขุนนางที่เอาเปรียบผู้อื่นในรูปแบบแฝง นั้น กลับมีความชอบธรรมในการกระทำกิจกรรมอันเป็น “อาชญากรรม” ได้ ความสำคัญของการมองโครงสร้างสังคมในลักษณะนี้ช่วยให้เราเข้าใจการเกิดขึ้นและมีอยู่จริงของระบบที่เรียกว่า “มาเฟีย” ในสังคมมนุษย์ กล่าวคือ “มาเฟีย” นั้น เป็นเรื่องที่มีอยู่จริงอย่างที่เราไม่สามารถปฏิเสธได้ บางรูปแบบเป็นไปเพื่อแสวงหาประโยชน์จากกลุ่มคน หรือบุคคลอื่นโดยตรงและอย่างโจ่งแจ้ง แน่นอนว่าคนเหล่านี้ก็ถูกพิพากษาจากสังคมว่าคือ “อาชญากร” อย่างไรก็ตาม “มาเฟีย” ในบางรูปแบบนั้น (เช่น แบบแฝง ดังตัวอย่างที่กล่าวไป) ก็ถูกวาทกรรมของความชอบธรรมแห่ง “ภาระหน้าที่” และ “บทบาททางสังคม” บดบังความเป็น “อาชญากรรม” ของคนกลุ่มนี้ไว้ 

ในส่วนของกลุ่ม “มาเฟีย” ในพื้นที่สนามหลวงนั้น ดังที่กล่าวไปว่าเราไม่สามารถทราบถึงข้อเท็จจริงได้เลยว่าพวกเขามีเจตนาที่ดีต่อคนในพื้นที่จริง หรือแฝงไว้ด้วยกระบวนการที่เป็นไปเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญที่เราได้เรียนรู้จาก “มาเฟีย” ในพื้นที่สนามหลวงก็คือ พวกเขาล้วนต้องการ “ภาพ” ของความชอบธรรมในการดำเนินการต่างๆ ในพื้นที่แห่งนี้  ซึ่งคำอธิบายนี้ก็เชื่อมโยงถึงตัวอย่างของกลุ่มขุนนางที่เอาเปรียบผู้อื่นในรูปแบบแฝงที่เราได้กล่าวถึงไปก่อนหน้า ทั้ง “บทบาท” และ “ภาระหน้าที่” ของมาเฟียกลุ่มนี้ ซึ่งพวกเขาพยายามบอกเราว่าคือการดูแลและสร้างสมดุลต่อคนในพื้นที่นั้น เป็นสิ่งที่มีความชอบธรรมเพียงพอต่อการที่เขาจะได้รับค่าตอบแทนในจำนวนหนึ่ง จาก “คนสนามหลวง” 

ข้ออ้างของชนชั้นปกครอง ขุนนาง หรืออภิสิทธิชนต่อค่าตอบแทนที่สูงหรือสิทธิพิเศษต่างๆ ที่ตนและพวกพ้องมีนั้น เป็นผลมาจาก “บทบาททางสังคม” ที่มีความสำคัญและทรงคุณค่ามากกว่ากลุ่มคนอื่นๆ ในสังคม และ “ภาระหน้าที่” (เช่น หน้าที่บริหาร นิติบัญญัติ ฯลฯ ) ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและมั่งคั่งของประเทศ ข้ออ้างนี้กล่าวโดยง่ายก็คือ “ฉันอยู่ในสถานะที่มีความสำคัญต่อสังคมมาก ฉันจึงต้องได้รับผลตอบแทนที่มากตามไปด้วย” ในทำนองเดียวกัน ระหว่างที่เรายังไม่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงของ “ชุดข้อมูลเชิงประจักษ์” ที่กลุ่มมาเฟียในพื้นที่สนามหลวงพยายามบอกเราว่าการทำงานของพวกเขาไม่ได้เป็น “มาเฟีย” ตามที่คนทั่วไปเข้าใจนั้น สิ่งที่เราได้เรียนรู้และอาจจะอธิบายถึงของความสัมพันธ์ระหว่างชุดข้อมูลเชิงบวกนี้กับกลุ่มมาเฟียในพื้นที่สนามหลวงคือ พวกเขาเพียงพยายามสื่อสารถึงความสำคัญแห่ง “บทบาท” และ “ภาระหน้าที่” ของพวกเขาในพื้นที่สนามหลวง คล้ายกับที่ชนชั้นปกครอง และขุนนางในสังคมส่วนกลางพยายามจะสื่อสาร แต่ด้วยข้อจำกัดทางสังคมบางประการ พวกเขาไม่สามารถจะสื่อสารได้ด้วยประโยค “ฉันอยู่ในสถานะที่มีความสำคัญต่อสังคมมาก ฉันจึงต้องได้รับผลตอบแทนที่มากตามไปด้วย”  อย่างไรก็ตาม คงเป็นการไม่ยุติธรรมเป็นอย่างยิ่ง หากเราจะสรุปว่าทั้งมาเฟียในพื้นที่สนามหลวงและชนชั้นปกครองฯในสังคมทั่วไปนั้นล้วนคือ “อาชญากร” ในรูปแบบแฝง เพราะหากมีการพิสูจน์ได้ว่า “บทบาท” และ “ภาระหน้าที่”  ของพวกเขามีความสำคัญจริง ค่าตอบแทนหรือสิทธิพิเศษต่างๆ ของพวกเขาก็ย่อมเป็นสิ่งที่ชอบธรรมจริงตามไปด้วย ปัญหาคือมีการพิสูจน์หรือยัง? และจะมีการพิสูจน์อย่างไร?

บทส่งท้าย

ในบทส่งท้ายของบทความนี้ ผู้เขียนจะได้ทำการสังเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมจากการทำงานภาคสนามกับสมาคมฯ ในครั้งนี้เพื่ออธิบายถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน การสังเกตการณ์ พร้อมทั้งจะพยายามสรุปถึงประเด็นที่น่าสนใจอื่นๆ ที่อาจจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า หรือในงานวิจัยภาคสนามเชิงสังคมวิทยาในโอกาสต่อไป

ตลอดระยะเวลาประมาณ ๖ สัปดาห์ของการฝึกงานกับสมาคมฯ นับเป็นโอกาสอันดีที่ผู้เขียนได้เรียนรู้กระบวนการทำงานของสมาคมฯ ทั้งในส่วนของงานวิชาการ เช่นการจัดงานสัมมนา เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสังกัป “ความเป็นชายขอบ” ฯลฯ และงานภาคสนามในพื้นที่เป้าหมาย ณ ท้องสนามหลวงและบริเวณใกล้เคียง ซึ่งการเรียนรู้ดังกล่าวนั้นส่งผลให้ผู้เขียนเข้าใจถึงสภาพความเป็นจริงของกลุ่มคนที่อยู่ในภาวะ “ความเป็นชายขอบ” ในสังคมไทยมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนเร่ร่อนไร้บ้าน และผู้ขายบริการทางเพศในพื้นที่สาธารณะ  นอกจากนี้การมีโอกาสได้ปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ทำงานจริงนั้น ยังช่วยให้ผู้เขียนได้เรียนรู้ถึงการปรับตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์เฉพาะหน้าในภาวะต่างๆ กันของการลงพื้นที่ภาคสนามด้วย กล่าวคือ ในการลงพื้นที่เพื่อพบประกับ “กลุ่มประชากรเป้าหมาย” ในลักษณะบริบทต่างๆ นั้น ย่อมมีรายละเอียดของเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่เราไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ซึ่งทักษะในการปรับตัวเพื่อตั้งรับกับสถานการณ์เหล่านั้นไม่สารถเรียนรู้ได้จากตำรา แต่ช่องทางเดียวที่เราจะมีโอกาสได้ฝึกทักษะดังกล่าวก็คือการลงไปสัมผัสและอยู่ในสานการณ์นั้นจริงๆ การมีโอกาสได้ปฏิบัติงานจริงกับสมาคมฯในครั้งนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้เขียนเป็นอย่างยิ่งในเรื่องการปรับตัวดังกล่าว

ดังที่ได้เรียนไปตั้งแต่ต้นของบทความนี้ ว่าผู้เขียนได้ถือเอาโอกาสการไปฝึกงานในครั้งนี้เพื่อทำการสังเกตการณ์ภาคสนามเชิงสังคมวิทยาภายใต้สังกับ “คนชายขอบ”  ซึ่งบางส่วนของข้อมูลและผลจากการ สังเกตการณ์ดังกล่าวก็ได้มีการอธิบายไปแล้วใน ๔ ประเด็นหลัก หรือกล่าวอีกอย่างก็คือ ๔ มุมมองที่ผู้เขียนได้สะท้อนภาพของสนามหลวงและบริเวณใกล้เคียงผ่านบทความนี้ อันได้แก่ ชีวิตไร้สภาพ จริยธรรมและความอยู่รอด โรงแรงล้านดาว และอาชญากรรมเชิงบวก ไม่ว่าจะเป็นการพรรณนาถึงรูปแบบวิถีชีวิตและ/หรือการทำงานของ “คนสนามหลวง” กลุ่มต่างๆ เช่น คนเร่ร่อนไร้บ้าน กลุ่มผู้ขายบริการทางเพศในพื้นที่สาธารณะ แรงงานหรือคนพลัดถิ่นที่ใช้บริการเช่าเสื่อนอนในราคา ๒๐ บาท ตลอดจนกลุ่มผู้มีอิทธิพลในพื้นที่สนามหลวงหรือ “มาเฟีย” นั้น สิ่งที่ผู้เขียนพยายามจะอธิบายตลอดเวลาก็คือการเชิญชวนให้ผู้อ่านเปิดมุมมองที่ปราศจากอคติภายใต้แนวคิดประเภท “อุดมการณ์นิยม” (idealism) และร่วมกันวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบแนวคิดแบบ “สภาพจริงนิยม” (realism)  ทั้งนี้เพราะกลุ่มคนสนามหลวงที่อยู่ในภาวะ “ความเป็นชายขอบ” หรือกลุ่มบุคคลคนอื่นๆ เช่น กลุ่ม “มาเฟีย” ที่มีความเกี่ยวข้องกันนั้น เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นและมีอยู่จริงในสังคมไทย และที่สำคัญที่สุด “สาเหตุ”  หรือ “ปัจจัย” ที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เหล่านี้ก็คือ ความผิดพลาดหรือข้อจำกัดบางอย่างของกลไกทางสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่ “ทุน” ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญในทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมฯลฯ  ดั่งนี้ ด้วยกลไกเดิมบางส่วนที่ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางสังคมไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอยู่แล้ว ผนวกกับกระแสของ “โลกาภิวัตน์” ที่ “ทุน” คือผู้กำหนดทิศของสังคมในทุกระดับ ทำให้ช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยเพิ่มมากขึ้น ความเหลื่อมล้ำทางสังคมมีมากขึ้น ปริมานของคนจนเมืองมีมากขึ้น ฯลฯ ปัญหาหรือปรากฏการณ์ทางสังคมของกลุ่มคนชายขอบในพื้นที่สนามหลวง จึงเป็นภาพสะท้อนส่วนหนึ่งของวิกฤติการความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

อย่างไรก็ดี อีกหนึ่งภาพสะท้อนที่สำคัญที่สุดจากทั้ง “๔ มุม”  ที่ผู้เขียนพยายาม “มอง” รูปแบบและเงื่อนไขการดำรงชีวิตของ “คนชายขอบ” ณ บริเวณท้องสนามหลวง (และบริเวณใกล้เคียง) นั้น คือการตั้งคำถามถึงบทบาทและการดำรงอยู่ของสถาบันหลักทางสังคมไทย หากในบริบทแห่งสภาพความจริง “สนามหลวง” รายล้อมไปด้วยสถานที่ที่มีความสำคัญมากมาย เช่น “วัด”, “มหาวิทยาลัย”, “ศาล”,“พิพิธภัณฑ์และโรงละคร”,“อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย” ฯลฯ  ซึ่งในเชิงสัญลักษณ์สถานที่เหล่านี้ล้วนถือเป็นตัวแทนของสถาบันหลักทางสังคมในหลายๆ ด้าน ไม่จะเป็น “สถาบันการศึกษา” “สถาบันการเมือง”  “สถาบันตุลาการ” หรือแม้แต่สถาบันศาสนา”และ “วัฒนธรรม” เป็นต้น ประเด็นปัญหาคือ เป็นเรื่องปกติหรือไม่ที่ยังมี “คนสนามหลวง” หรือ “คนชายขอบ” เป็นจำนวนมากอาศัยอยู่ท่ามกลางสถาปัตยกรรมทางสังคมเหล่านี้ ? หากในสังคมใดๆ การเกิดขึ้นและการดำรงอยู่ของสถาบันต่างๆ ทางสังคมเป็นไปเพื่อการรักษาสมดุลในระบบซึ่งเชื่อมโยงกับความผาสุกในวิถีการดำรงชีวิตของสมาชิกในสังคม คำถามคือ “ปรากฏการณ์ของกลุ่มผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ” ณ บริเวณท้องสนามหลวงนั้น ถือเป็นความสมดุลในระบบสังคมไทยหรือไม่? สถาบันหลักทางสังคมไทยได้ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่แล้วหรือไม่?

สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนใคร่จะอธิบายถึงความสำคัญจากการทำงานภาคสนามในครั้งนี้คือ ปรากฏการณ์ทางสังคมอันเกี่ยวข้องกับภาวะ “ความเป็นชายขอบ” ของ “คนสนามหลวง” นั้น ทำให้ผู้เขียนเข้าใจถึงความหมายที่ว่า “มนุษย์” คือ “สัตว์สังคม” มากยิ่งขึ้น กล่าวคือมนุษย์นั้นมีแนวโน้มโดยสัญชาติญาณที่ใคร่จะดำรงชีวิตภายใต้กฎระเบียบและมาตรการการควบคุมทางสังคมในรูปแบบต่างๆ ทั้งในความหมายของกฎข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม และในความหมายของจารีต ธรรมเนียมปฏิบัติหรือประเพณี  สังคมใดๆ ก็ตามจะไม่สามารถดำรงไว้ซึ่งความเป็นสังคมได้ หากไม่มีเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ (เช่น กฎหมาย) ดังนั้นเมื่อเราเอ่ยถึง “สังคม” หรือ “ชุมชน” นอกจากตัวมนุษย์หรือสมาชิกของสังคมและชุมชนจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกส่วนก็คือ “ข้อตกลงทางสังคม” เพราะหากไม่มีข้อตกลงหรือเครื่องมือในการจัดการสังคมดังกล่าว “สังคม” หรือ “ชุมชน”  นั้น ย่อมไม่ใช่สังคมในความหมายของสังคมมนุษย์ ซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างอะไรจากการอยู่รวมกันของสัตว์ประเภทอื่นบนโลก

หากพิจารณาจากข้างต้น อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจในการศึกษาต่อไป หรืออย่างน้อยน่าจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ก็คือ ในชุมชนเสมือจริงอย่างสนามหลวง หรือสังคมย่อยที่มีลักษณะพิเศษอื่นๆ นั้น มีกระบวนการในการสร้าง “ข้อตกลงทางสังคม” เฉพาะของพวกเขาได้อย่างไรท่ามกลางพลังอำนาจแห่ง “ข้อตกลงทางสังคม” ของสังคมส่วนกลางที่คลอบพวกเขาอยู่อีกชั้นหนึ่ง? การศึกษาทางสังคมวิทยาอย่างเป็นระบบจากตัวอย่างของชุมชนเสมือนจริง ณ บริเวณท้องสนามหลวงนี้ จะสามารถช่วยอธิบายความซับซ้อนของปัญหาความขัดแย้งของชนกลุ่มน้อยในสังคมใดๆ ได้หรือไม่?      



[1] //www.midnightuniv.org/%e0%b9%94-%e0%b8%a1%e0%b8%b8%e0%b8%a1%e0%b8%a1%e0%b8%ad%e0%b8%87-%e0%b8%97%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%a7%e0%b8%87-%e0%b8%95%e0%b8%ad

[2] กลุ่มคนที่ไม่ประกอบอาชีพและไม่ทำงานในที่นี้ไม่ได้รวมถึงกลุ่มคนที่ตกงาน เพราะการตกงานเป็นประเด็นปัญหาเรื่อง “อัตราการว่างงาน” ในสังคมที่ต้องอธิบายถึงที่มาของปัญหาดังกล่าวในอีกมิติหนึ่ง ซึ่งในบทความนี้ไม่ได้กล่าวถึง

[3] Falcone G et M. Padovani, Cose di Cosa Nostra, 1991, Milan, Rizzoli, p. 96; cité par Matard-Bonucci, in Histoire de la mafia, Complexe, 1993, p.118

[4] คำว่าsocial contract นั้นมักแปลว่า “สัญญาประชาคม” ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความหมายที่นำมาใช้ในการเมืองไทยปัจจุบัน นั่นคือความตกลงร่วมกันของประชาชน  กลุ่มผลประโยชน์ร่วมกัน  หรือกลุ่มคนที่มีแนวความคิดเดียวกันกับฝ่ายตรงข้าม  เพื่อเป็นการแสวงความตกลงและทางออกของปัญหา ซึ่งเป็นปัญหาที่มีผลกระทบในวงกว้าง  และหากปล่อยไว้อาจจะก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม  อย่างไรก็ตาม ในบทความนี้ผู้เขียนใคร่จะใช้คำว่า “ข้อตกลงทางสังคม” มากกว่า ทั้งนี้เพราะต้องการจะสื่อความหมายถึงข้อตกลงขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตร่วมกันที่ได้รับการยอมรับจากสมาชิกในสังคมส่วนกลาง.

[5] Thomas Hobbes, Leviathan ( or The Matter, Forme and Power of a Common Wealth Ecclesiasticall and Civil ),  1651.

[6] “สิทธิส่วนบุคคลตามธรรมชาติ” หรือNatural law นั้นไม่ได้หมายถึง “สิทธิมนุษยชน” หรือ Human right “สิทธิส่วนบุคคลตามธรรมชาติ” นั้นสัมพันธ์กับสิทธิขั้นพื้นฐานในการมีชีวิตอยู่และการใช้ชีวิตของมนุษย์ในฐานะ “สิ่งมีชีวิตที่ถือกำเนิดในสังคม” ในขณะที่ “สิทธิมนุษยชน” นั้นมีความหมายคลอบคลุมทั้งมิติของสิทธิขั้นพื้นฐานเบื้องต้นดังกล่าว แต่รวมไปถึงสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสังคม และวัฒนธรรมด้วย กล่าวอีกอย่างก็คือ “สิทธิส่วนบุคคลตามธรรมชาติ” หรือNatural law นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ  “สิทธิมนุษยชน” หรือHuman right นั่นเอง.

[7] John Locke , Two Treatises of Government, 1690.

[8] Jean-Jacques Rousseau, Du contrat social ou Principes du droit politique,  1762.




 

Create Date : 19 พฤศจิกายน 2559    
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2559 23:37:57 น.
Counter : 553 Pageviews.  

สี่มุมมองท้องสนามหลวง ตอนที่ 1



เผยแพร่ครั้งแรกที่เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรกฎาคม 2554 [1]


เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม – ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้ารับการฝึกงานกับสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน (องค์กรสาธารณประโยชน์) ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ทางมหาวิทยาลัยได้กำหนดไว้ กล่าวคือในรายวิชาระเบียบวิธีวิจัยด้านสังคมวิทยาในระดับปริญญาโทของสถาบันการศึกษาที่ผู้เขียนกำลังศึกษาอยู่นั้น ได้กำหนดให้นักศึกษาทุกคนทำการฝึกประสบการณ์การทำงานภาคสนามโดยผ่านกระบวนการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม โดยตลอดระยะเวลาการฝึกงานนี้ ผู้เขียนได้ทำการสังเกตการณ์ ณ พื้นที่ท้องสนามหลวงและบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นที่อาศัยของประชากรกลุ่มเป้าหมายสำหรับงานภาคสนามของสมาคมฯ  นั่นคือ “กลุ่มผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ”

ในเบื้องต้นก่อนการสังเกตการณ์ภาคสนามในครั้งนี้ ผู้เขียนได้เลือกที่จะทำการศึกษาวิถีชีวิตของกลุ่มคนที่อยู่ในภาวะ “ความเป็นชายขอบ” ภายใต้บริบทของ “สังคมสมัยใหม่” ดังนั้นผู้เขียนจึงเลือกที่จะฝึกงานกับทางสมาคมฯ ทั้งนี้เนื่องด้วยลักษณะการทำงาน เขตพื้นที่งานภาคสนามและประชากรกลุ่มเป้าหมายในการทำงานของสมาคมฯ มีความสอดคล้องกับประเด็นศึกษาดังกล่าวเป็นสำคัญ นั่นคือภายใต้สังกัป “คนชายขอบ”

ตลอดระยะเวลาของการสังเกตการณ์ในพื้นที่เป้าหมาย ก็ได้มีการค้นพบปรากฏการณ์ที่มีความน่าสนใจในมิติสังคมวิทยาหลากหลายรูปแบบ ทั้งกลุ่ม “คนชายขอบ” และกลุ่มบุคคลอื่นที่ไม่ได้อยู่ในข่าย “ความเป็นชายขอบ” โดยตรง แต่มีความสัมพันธ์กับหัวข้อในการทำงานภาคสนามครั้งนี้ทั้งสิ้น  บทความ “๔ มุมมอง ท้องสนามหลวง” นี้ เป็นส่วนหนึ่งจากรายงานผลการสังเกตการณ์ภาคสนามเชิงสังคมวิทยา ภายใต้สังกัป “คนชายขอบ” ของผู้เขียนเอง[2]  ซึ่งเนื้อหาโดยรวมของรายงานฉบับดังกล่าวได้พรรณนาถึงสภาพทั่วไปของพื้นที่สนามหลวงและบริเวณใกล้เคียง เช่น บริเวณตลาดนัดริมทางเท้า รวมถึงสภาพความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของกลุ่มผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะแห่งนี้ เช่น กลุ่มคนเร่ร่อน ครอบครัวไร้บ้าน กลุ่มผู้ขายบริการทางเพศนอกเคหะสถานทั้งหญิงและชาย ฯลฯ

ในส่วนของบทความ “๔ มุมมอง ท้องสนามหลวง” นี้ ผู้เขียนได้ทำการปรับปรุงและแก้ไขข้อมูลบางส่วนเพื่อให้กระชับและง่ายต่อการเข้าใจ ในบทนำที่จะได้กล่าวถึง ความเป็นชายขอบและสังคมสมัยใหม่ จะเป็นการอธิบายถึงความสำคัญของ “ความเป็นชายขอบ” และสังกัปอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการอภิปรายถึงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับ “สังคมสมัยใหม่” ในยุค “โลกาภิวัตน์” นอกจากในบทนำแล้ว ผู้เขียนเลือกที่จะอธิบายและพรรณนาภายใต้ประเด็นอื่นๆที่สำคัญอีก ๔ หัวข้อคือ

(๑)ชีวิตไร้สภาพ ในหัวข้อนี้ผู้เขียนมีความประสงค์ที่จะชี้ให้เห็นถึงสภาพทั่วไปของกลุมคนที่ใช้ชีวิตในพื้นที่สนามหลวงและบริเวณใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนเร่ร่อนไร้บ้าน พร้อมทั้งนำเสนอถึงมุมมองและเหตุผลที่เราได้มีการอุปมาทางความคิดเกี่ยวกับวิถีชีวิตของ “คนสนามหลวง” กลุ่มนี้ ว่าเป็นประชาชนของชุมชนเสมือนจริงที่ไร้สภาพ ไม่มีความสามารถและขาดอำนาจในการต่อรองกับสังคมส่วนกลาง 

(๒)จริยธรรมและความอยู่รอด  การใช้ต้นทุนจาก “เพศสภาพ” ของกลุ่มผู้ขายบริการในพื้นที่สาธาณณะ ทำให้เราต้องตังคำถามและหันกลับมาให้ความสำคัญกับเรื่อง “จริยธรรม” และ “ความอยู่รอด” ในมุมมองที่ยากต่อการหาข้อสรุป ในบทนี้ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาในการชี้ผิดหรือถูก ชื่นชม เห็นใจหรือกล่าวโทษต่อผู้ที่ประกอบอาชีพดังกล่าว หากมีจุดประสงค์เพียงแค่การพยายามทำความเข้าใจถึงตัวแสดงที่แตกต่างภายใต้บริบทของ “สังคมสมัยใหม่” ที่หลายฝ่ายได้ตั้งข้อสังเกตถึงความล่มสลายในเรื่องจริยธรรมของมนุษย์

ในบทต่อมา (๓) คือ โรงแรมล้านดาว  หากเหตุผลหลักที่ผู้เขียนเลือกที่จะศึกษาวิถีชีวิตของกลุ่มคนในภาวะ “ความเป็นชายขอบ” เกิดจากการสังเกตเห็นผลลัพธ์ในด้านลบบางส่วนของ “โลกาภิวัตน์” ที่ผลักให้ “คนจน” หรือกลุ่มผู้มีต้นทุนทางสังคมต่ำตกขอบจากสังคมส่วนกลางแล้ว ภาพของคนจนเมือง ผู้ใช้แรงงานที่มีรายได้น้อย หรือกลุ่มผู้เดินทางที่มาใช้บริการเช่าเสื่อนอนที่สนามหลวงในแต่ละคืน น่าจะเป็นการสะท้อนอานุภาพของ  “โลกาภิวัตน์” ที่ทำร้าย “ผู้ด้อยโอกาส” ในสังคมได้เป็นเป็นอย่างดี 

สำหรับประเด็นสุดท้ายของบทความนี้ (๔) คือ อาชญากรรมเชิงบวกมนุษย์เป็นสัตว์สังคมและจำเป็นต้องมี “ข้อตกลงทางสังคม” ร่วมกัน เพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของสมาชิก โดยอาจถูกใช้ในรูปแบบของกฎหมาย จารีต ประเพณี และวัฒนธรรมฯลฯ ดังนั้น หากในสังคมปกติใดๆ มีรัฐบาลหรือกลุ่มผู้ปกครองเป็นผู้ใช้อำนาจและดูแลจัดการสังคมให้เป็นไปตาม “ข้อตกลงทางสังคม” ดังกล่าวแล้ว ชุมชนเสมือนจริงในลักษณะพิเศษอย่าง “สนามหลวง” จำเป็นต้องมี “ผู้ปกครอง” ในรูปแบบเฉพาะของตนเองหรือไม่? “ข้อตกลงทางสังคม” ของ “คนสนามหลวง” มีอยู่จริงหรือไม่? “มาเฟีย” ถ้อยคำซึ่งหนักหน่วงรุนแรงและให้มโนภาพที่เป็นลบมีอยู่ในพื้นที่สาธารณะแห่งนี้หรือไม่? จากชุดคำถามเหล่านี้เองที่ทำให้ผู้เขียนมีความสนใจและได้ตั้งสมมติฐานถึง “อาชญากรรมเชิงบวก” อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้เขียนต้องการอธิบายในหัวข้อสุดท้ายนี้ไม่ใช่การสรุปว่า “มาเฟีย” (ในความหมายทั่วไป) มีอยู่ในพื้นที่สนามหลวงจริงหรือไม่? ลักษณะการทำงานของ “มาเฟีย” ในพื้นที่สาธารณะแห่งนี้ เป็นการเอาเปรียบ “คนสนามหลวง” หรือไม่? แต่ประเด็นสำคัญที่สุดอยู่ที่การตั้งคำถามเหล่านี้เพื่อเปิดมุมมองโดยปราศจากอคติและโดยการพยายามหลีกเลี่ยงกรอบแนวคิดประเภท “อุดมการณ์นิยม” เพื่อเชื่อมโยงกับบริบทของการเกิดขึ้นและมีอยู่จริงของ “มาเฟีย” ตามหลักคิดแบบ “สภาพจริงนิยม” ที่มองว่าในทุกภาคส่วนและในทุกระดับของสังคมมนุษย์ล้วนประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่กดขี่ เอาเปรียบ และหาประโยชน์จากกลุ่มคนที่อ่อนแอกว่าอยู่เสมอ  นอกจากบทนำและสี่หัวข้อหลักข้างต้นแล้ว

ในตอนท้ายของบทความนี้ผู้เขียนจะได้ทำการสังเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมอีกครั้งหนึ่งเพื่ออธิบายถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานภาคสนามตลอดระยะเวลาระหว่างการฝึกงานในครั้งนี้ พร้อมทั้งสรุปถึงประเด็นที่น่าสนใจอื่นๆ ที่อาจจะนำไปใช้ต่อยอดเพื่อการศึกษาค้นคว้าในทางสังคมวิทยาในโอกาสต่อไป

ด้วยเวลาที่จำกัดอันเนื่องมาจากจำนวนงานที่ผู้เขียน (ในสถานภาพการเป็นนักศึกษา) ต้องนำส่งตามที่หลักสูตรได้กำหนดเอาไว้นั้นมีเป็นจำนวนมาก จึงอาจส่งผลให้บทความนี้ไม่สมบูรณ์ และหละหลวมในเนื้อหาบางประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเอกสารอ้างอิงทางวิชาการที่ผู้เขียนได้ค้นคว้าเพิ่มเติมในจำนวนที่ค่อนข้างน้อย เพราะฉะนั้น หากบทความนี้มีข้อผิดพลาด บกพร่อง หรือไม่เหมาะสมในประการใดๆ ผู้เขียนยินดีน้อมรับในความผิดพลาด ตลอดจนคำวิจารณ์ และคำแนะนำพร้อมทั้งกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

ความเป็นชายขอบและสังคมสมัยใหม่

“คนชายขอบ” (marginal people) “ความเป็นชายขอบ” (marginality) หรือ “กระบวนการกลายเป็นคนชายขอบ” (marginalization) เป็นแนวความคิดที่ได้รับความสนใจจากนักสังคมวิทยาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่านักสังคมวิทยาจากสำนักคิดชิคาโก้ (Chicago school) แนวความคิดส่วนใหญ่ของนักคิดกลุ่มนี้ล้วนอธิบาย “ความเป็นชายขอบ” ถึงความแตกต่างของกลุ่มคนที่อยู่ในสังคมที่มีความเป็นสมัยใหม่ กล่าวคือพวกเขาเชื่อว่าแรงกดดันหรือปัจจัยทางสังคมในด้านต่างๆ กัน ทำให้ “บุคคล” ต้องถูกผลักออกจากสังคมส่วนกลางโดยผ่าน “กระบวนการกลายเป็นคนชายขอบ” และลงเอยด้วยการใช้ชีวิตในภาวะ “ความเป็นชายขอบ” ในที่สุด  ในงานเขียนของพาร์ค (Robert Park) เมื่อต้นศตวรรษที่ ๒๐ ซึ่งถือเป็นยุคแรกของการก่อตั้งสำนักคิดชิคาโก้นั้น เขาได้อธิบายถึงภาวะความเป็นชายขอบของกลุ่มคนอพยพเข้าเมืองและต้องอาศัยอยู่ร่วมกับสองวัฒนธรรมและสองสังคมที่มีความแตกต่างกัน วัฒนธรรมที่แตกต่างกันคือ (๑) วัฒนธรรมของคนในพื้นถิ่นและ (๒)วัฒนธรรมของกลุ่มผู้อพยพ ดังนั้น จากเงื่อนไขที่พวกเขาเป็นคนอพยพมาจากต่างถิ่นซึ่งถือว่าอยู่ในภาวะความเป็นชายขอบ เมื่อเทียบกับภาวะของคนในพื้นที่เดิม จึงเป็นผลให้เกิดการแยกตัวของกลุ่มผู้อพยพออกจากสังคมส่วนกลาง อันเป็นผลมาจากภาวะชายขอบของพวกเขานั่นเอง[3]

นอกจากพาร์ค ซึ่งเป็นนักสังคมวิทยาในยุคแรกของสำนักชิคาโก้ที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว ในยุคถัดมา เบคเกอร์ ( Howard Becker) ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ศึกษาในประเด็นความเป็นชายขอบ ในหนังสือOutsiders [4] เบคเกอร์ได้ทำการศึกษากลุ่มนักดนตรีแจ๊ซในยุคนั้น โดยได้อธิบายว่าพวกเขาเป็นกลุ่มนักดนตรีที่มองตนเองในฐานะของศิลปินที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีความเป็นศิลปินมากว่านักดนตรีกลุ่มอื่น ทั้งนี้เพราะแนวดนตรีแจ๊ซที่พวกเขาเล่นในขณะนั้นไม่ได้เป็นดนตรีแนวตลาดเหมือนแนวดนตรีอื่นๆ ดังนั้น พวกเขาจึงมีพฤติกรรมที่แยกตัวเองออกจากสังคมส่วนกลางและพอใจที่จะใช้ชีวิตในแบบเฉพาะของพวกตน เช่นนิยมการใช้ชีวิตกลางคืน ปรารถนาที่จะมีบ้านพักอาศัยใกล้ๆกับนักดนตรีด้วยกัน อยู่รวมกันเป็น “แก๊งค์” หรือแม้กระทั่งมีค่านิยมในการใช้สารเสพติดเป็นต้น

หากพิจารณาจากงานเขียนของนักสังคมวิทยาทั้งสองคนในเบื้องต้น เราจะเห็นว่าทั้งพาร์คและเบคเกอร์ได้ให้นิยามความเป็นชายขอบที่แตกต่างกัน กล่าวคือ พาร์คได้อธิบายความเป็นชายขอบโดยพฤติกรรมที่ไม่สามารถเข้ากับวัฒนธรรมแปลกใหม่ได้ของกลุ่มผู้อพยพ ในขณะที่เบคเกอร์ได้นำเสนอความเป็นชายขอบโดยด้านพิเศษของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งๆ นั่นคือนักดนตรีแจ๊ซ แต่จากแนวคิดของทั้งสองคนเราอาจกล่าวได้ว่าความเป็นชายขอบก็คือวิถีชีวิตของกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตต่างไปจากคนส่วนใหญ่หรือแตกต่างไปจากวิถีชีวิตของคนอื่นๆ ในสังคมส่วนกลาง แน่นอนว่าการที่วิถีชีวิตของบุคคลใดๆ ก็ตามที่อยู่ในภาวะ “ความเป็นชายขอบ” ไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากแรงกดดันทางสังคมเชิงบังคับที่มีต่อตัวบุคคลนั้นๆ เสมอไป เพราะคนชายขอบในบางประเภท ตัวอย่างเช่นนักดนตรีแจ๊ซ เลือกและตัดสินใจที่จะเดินเข้าสู่วงจรชีวิตในลักษณะพิเศษที่เรียกว่า “ชายขอบ” ด้วยตัวเอง

อย่างไรก็ตาม แม้ในกรณีหลัง (นักดนตรีแจ๊ซ) กระบวนการกลายเป็นคนชายขอบของพวกเขาจะฉาบหน้าด้วยความยินดีหรือความต้องการส่วนบุคคล แต่นั่นก็เป็นผลจากแรงบีบบังคับทางสังคมโดยอ้อม (indirect-social constraint) อย่าลืมว่าดนตรีแจ๊ซในยุคนั้นไม่ได้เป็นแนวดนตรีตลาดหรือพูดอีกอย่างก็คือไม่ได้รับความนิยมจากสังคมในวงกว้าง ดังนั้น ด้วยแรงกดดันทางสังคมที่ “ความนิยม” หรือ การได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่ของกลุ่มอยู่ในระดับต่ำ จึงทำให้กลุ่มนักดนตรีแจ๊ซรู้สึกถึงการไม่มีตัวตน ไม่มีที่ยืน และไม่มีบทบาทสำคัญในสังคมที่เขาอาศัยอยู่ จึงต้องแสดงออกถึงการมีตัวตนในสังคม ด้วยการกระทำที่มีจุดเด่นผ่านพฤติกรรมที่แตกต่างจากคนอื่นๆ ทั่วไปในสังคม ซึ่งจากตรงนี้จะสังเกตเห็นว่าความเป็นชายขอบนั้นย่อมมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตต่างไปจากคนส่วนใหญ่อันเป็นผลมาจากแรงกดดันทางสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม

ในบริบททางสังคมที่แตกต่างกันรายละเอียดของ “ความเป็นชายขอบ” ก็ย่อมมีความแตกต่างกันออกไป ในทำนองเดียวกัน กลุ่มคนชายขอบของโลกตะวันตก (เช่นอเมริกา และยุโรป) และโลกตะวันออก (เช่น ประเทศไทย) ก็ย่อมมีความแตกต่างกัน ในหนังสือ ชีวิตชายขอบ: ตัวตนกับความหมาย[5] ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรที่ได้ทำการศึกษาวิถีชีวิตของคนชายขอบในสังคมไทย ได้นำเสนอกรณีศึกษากลุ่มคนชายขอบในสังคมไทยทั้งหมด ๖ กรณีคือ เกย์ หญิงรักหญิง คนเก็บขยะและซื้อของเก่า วัยรุ่น คนชรา และเด็กข้างถนน งานศึกษาดังกล่าวได้อธิบายความเป็นชายขอบในสังคมไทยผ่านประเด็นหลักๆ คือ สภาวะของบุคคลประเภท วัยทอง วัยรุ่น คนผิดเพศ เด็กเร่ร่อน และ คนจน  และหากพิจารณาจากทั้งหกกรณีศึกษานี้ เราอาจแยกความเป็นชายขอบของสังคมไทยได้เป็นสามกลุ่มด้วยกันคือ 

(๑) กลุ่มคนเก็บขยะและซื้อของเก่า และเด็กข้างถนน ซึ่งเกิดมาจากความเป็นสังคมเมืองหรือสังคมสมัยใหม่ และการอพยพของคนชนบทเข้ามาทำงานในเมืองซึ่งเป็นมูลเหตุที่สำคัญของความเหลื่อมล้ำในสังคม อันส่งผลให้เกิดคนจนเมือง คนเก็บขยะและเกลุ่มคนเร่ร่อน

(๒) กลุ่มเกย์และหญิงรักหญิง ความเป็นชายขอบของคนกลุ่มนี้ไม่ได้เกิดมาจากเรื่องความด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ หรือปัญหาด้านการเงิน หากแต่อยู่ที่การที่เพศสภาพของเขาและเธอ (หมายถึงรสนิยมทางเพศ) ไม่สามารถจะจัดเข้าประเภทใดได้ นั่นหมายความว่าพวกเขามีความแปลกแยกไปจากระบบการจัดประเภทเพศของสังคมส่วนกลาง

(๓) กลุ่มวัยรุ่นและคนชรา แม้กลุ่มสุดท้ายนี้จะไม่มีความเป็นชายขอบที่ชัดเจนเท่าสองกลุ่มแรก แต่อาจกล่าวได้ว่าความเป็นชายขอบของพวกเขาเกิดจากภาวะที่คนส่วนใหญ่มองว่าพวกเขาเป็นคนที่ไร้ความสามารถ (คนชรา) ในโลกการทำงาน หรือเป็นคนคนที่มีรูปแบบการใช้ชีวิตที่ไม่ปกติ (วัยรุ่น) ในมุมมองของผู้ใหญ่วัยกลางคน เช่นวัยรุ่นที่มีความคะนองและชื่นชอบกิจกรรมที่มีความท้าทายแบบสุดโต่ง เป็นต้น

ลักษณะของความเป็นชายขอบในสังคมใดๆ ล้วนมีความแตกกัน ดังนั้น หากเราต้องการสังเกตพฤติกรรมหรือศึกษาวิถีชีวิตของคนเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจำกัดขอบเขตของกลุ่มประชากร และพื้นที่เป้าหมายรวมถึงหัวข้อในการทำงาน ในที่นี้ หากประเด็นที่เราสนใจและมีความประสงค์ที่จะทำการสังเกตการณ์คือกลุ่มคนชายขอบ ซึ่งเป็นผลผลิตจากความเป็นเมืองหรือความเป็นสังคมสมัยใหม่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ “กลุ่มคน” ที่ได้รับผลกระทบจาก “สังคมสมัยใหม่” ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ที่ผลักพวกเขาเหล่านั้นออกสังคมส่วนกลาง โดยผ่านกระบวนการการกลายเป็นคนชายขอบ และกลายเป็นบุคคลที่ใช้ชีวิตในวงจรของความเป็นชายขอบในที่สุด สิ่งสำคัญประการแรกสุดในมุมมองของผู้เขียนคือ เราจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่า “โลกาภิวัตน์” คืออะไร และส่งผลกระทบต่อ “บุคคล” จนกลายเป็นคนชายขอบได้อย่างไร?

ท่ามกลางกระแสสังคมสมัยใหม่แห่งยุคโลกาภิวัตน์[6] หรือโลกานุวัตร (globalization) นั้น มนุษย์มีรูปแบบการใช้ชีวิตที่คล้ายคลึงหรือแทบจะเหมือนกันในทุกมิติ อาจกล่าวได้ว่ามนุษย์ในฐานะ “พลโลก” ในยุคนี้พูดภาษาเดียวกัน (อังกฤษ) ดูหนังเรื่องเดียวกัน ฟังเพลงหรือเสพย์สื่อบันเทิงเชิงวัฒนธรรมที่มาจากแหล่งเดียวกัน ใช้คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสารและอุปกรณ์อิเลกทรอนิค ฯลฯ จากบริษัทเดียวกัน แม้ในยุคที่ระบบขนส่งทุกรูปแบบทุกช่องทางเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วนั้น แต่ยานพาหนะที่เราใช้ก็ล้วนมากจากผู้ผลิตคนเดียวกัน (หรือหากจะมีมากกว่าหนึ่งบริษัทก็เป็นเพียงจำนวนที่น้อยอยู่ดี หากเทียบกับจำนวนประชากรโลก) ยกตัวอย่างเช่น เครื่องบิน และรถยนต์ เป็นต้น

ปรากฏการณ์ของสังคมแบบโลกาภิวัตน์นั้น เป็นผลต่อเนื่องมาจากเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองที่สำคัญหลายเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการรวมประเทศของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (เยอรมนีตะวันออก) และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมนีตะวันตก) ใน พ.ศ. ๒๕๓๓ การล่มสลายของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ การกลับขึ้นมามีบทบาทสำคัญบนเวทีโลกของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในช่วงประมาณ ๒๐ ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้รวมไปถึงการสูญสลายของ “ประเทศคอมมิวนิสต์” ในเชิงรูปธรรมในรอบหลายปีที่ผ่านมาอีกด้วย นอกจากนี้ การพัฒนาการติดต่อสื่อสารและการคมนาคมขนส่งในหลากหลายช่องทาง บทบาทสำคัญและอิทธิพลของสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเตอร์เน็ต การพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่อันเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางการค้าและการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม ก็ล้วนมีความสำคัญกับการก่อกำเนิดสังคมสมัยใหม่แห่งยุคโลกาภิวัตน์เช่นเดียวกัน

“สังคมโลกาภิวัตน์” ภายใต้เงื่อนไขแห่ง “สังคมบริโภคนิยม” และ “สังคมระบบทุนนิยม” ในยุคนี้ได้เชื่อมโยงเชิงบังคับมนุษย์จากทุกมุมโลก ทุกประเทศและทุกชนชั้นให้เข้ามาอยู่ในระบบเดียวกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้กลุ่มคนที่มีต้นทุนทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ในระดับต่ำได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “กลุ่มผู้ด้อยโอกาส” ในระเทศที่กำลังพัฒนาหรืออีกนัยหนึ่งคือกลุ่มประเทศยากจนนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในส่วนของประเทศยากจนเอง ระดับความรุนแรงจากผลกระทบที่ได้รับย่อมมี่ความแตกต่างกันออกไป ซึ่งจะกระทบมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับสถานภาพทางเศรษฐกิจและอัตราภาวะความเสี่ยงเฉพาะตนของบุคคลนั้นๆ

ประเด็นสำคัญของบทความนี้ไม่ใช่การอภิปรายถึงผลดีหรือผลเสียของ “สังคมโลกาภิวัตน์” ในทำนองเดียวกันบทความนี้ก็ไม่ใช่การถกถึงปัญหาหรือการตั้งคำถามว่าประเทศไหนหรือบุคคลกลุ่มใดเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ทว่าสิ่งสำคัญประการแรกสุดของบทความนี้คือการที่เราต้องยอมรับว่า “สังคมสมัยใหม่” ในยุคโลกาภิวัตน์ปัจจุบัน อันเป็นผลที่เกี่ยวเนื่องกับ “ทุนนิยม” และส่งผลโดยตรงต่อการเกิดขึ้นของ “สังคมบริโภคนิยม” นั้น เป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดช่องว่างระหว่างชนชั้นและความเหลื่อมล้ำของสมาชิกในสังคม  ซึ่งหากปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ดังกล่าวก่อให้เกิดชนชั้นที่ได้รับประโยชน์และถือเป็น กลุ่มคนที่ไม่หลุดไปจากกระแสหลักของสังคมทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม หรือกล่าวอีกอย่างก็คือกลุ่มคนที่สามารถประคับประคองวิถีการดำเนินชีวิตของตนให้อยู่ใน “ส่วนกลาง” ของสังคมได้แล้ว  แน่นอนว่าในจำนวนที่เหลือก็คือกลุ่มคนที่ถูกผลักให้ออกไปอยู่นอกกระแสหลักของสังคมดังกล่าว ซึ่งในเวลาต่อมาก็ได้กลายเป็น “กลุ่มบุคคล”  ผู้ใช้ชีวิตในภาวะ “ความเป็นชายขอบ” ดังที่ได้กล่าวไป

ชีวิตไร้สภาพ 

“ท้องสนามหลวง” หรือเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในชื่อ “สนามหลวง” นั้น เดิมถูกเรียกว่า “ทุ่งพระเมรุ”  เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ถูกใช้สำหรับพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง จนกระทั่งใน พ.ศ. ๒๓๙๘  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเรียกจาก “ทุ่งพระเมรุ” เป็น “ท้องสนามหลวง” ทั้งนี้เนื่องด้วยเห็นผลของความเป็นอวมงคลของชื่อดังกล่าว ดังคำประกาศที่ว่า “ที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น คนอ้างการซึ่งนานๆ มีครั้งหนึ่งแลเป็นการอวมงคล มาเรียกเป็นชื่อตำบลว่าทุ่งพระเมรุนั้นหาชอบไม่ ตั้งแต่นี้สืบไปที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น ให้เรียกว่าท้องสนามหลวง”

ทั้งประวัติความเป็นมาอันยาวนานของสนามหลวงที่มีความเชื่อมโยงกับเหตุการณ์สำคัญๆ ทางประวัติศาสตร์ของประเทศเป็นจำนวนมาก ทั้งด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ[7] สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม ผนวกกับที่สนามหลวงนั้นรายล้อมไปด้วยสิ่งปลูกสร้างและถานที่ราชการสำคัญๆ จำนวนมาก เช่นวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระบรมมหาราชวัง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และโรงละครแห่งชาติฯลฯ ทำให้ในปัจจุบันสนามหลวงได้กลายเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ โดยกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๔ ตอนที่ ๑๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น ๗๔ ไร่ ๖๓ ตารางวา[8]

แม้ว่าสนามหลวงจะเป็นพื้นที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน รวมทั้งตั้งอยู่ท่ามกลางสถานที่สำคัญๆ ดังที่ได้กล่าวไป ทว่าภายใต้ภาพความงดงามของสนามหลวงและบริเวณใกล้เคียงในสายตาของคนทั่วไป สนามหลวงกลับแฝงไปด้วยวงจรชีวิตของกลุ่มคนชายขอบเป็นจำนวนมาก ท่ามกลางประติมากรรมอันวิจิตรของสิ่งปลูกสร้างที่รายล้อมสนามหลวง ท่ามกลางความความภูมิใจของคนไทยกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนมาเยี่ยมชนสถานที่เหล่านี้ในแต่ละวัน ในอีกมุมหนึ่ง สนามหลวงกลับเป็นพื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่ “กลางใจเมือง” ที่ได้รวบรวมเอา “คนชายขอบ” จากผลกระทบของ “สังคมสมัยใหม่” เอาไว้เป็นจำนวนมาก  ไม่ว่าจะเป็นขอทาน คนเก็บยะและขายของเก่า คนเร่ร่อน ครอบครัวไร้บ้าน กลุ่มผู้ขายบริการทางเพศ พ่อค้า-แม่ค้าตลาดนัดริมทางเท้าที่ขายของมือสอง ฯลฯ พวกเขาได้อาศัยพื้นที่สาธารณะแห่งนี้เป็นทั้งที่พักพิงและยังชีพ กล่าวคือเป็นทั้งบ้าน แหล่งทำมาหากินและสถานที่ทำงานในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนเร่ร่อนและครอบครัวไร้บ้านที่ในปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

แม้จุดเริ่มต้นจะแตกต่างกัน แต่สุดท้ายเส้นทางชีวิตของพวกเขาก็มาบรรจบกันที่ข้างถนน ทั้ง “เร่ร่อน” “ไร้บ้าน” หรือ “จรจัด” คือ ๓ คำนิยามในหนึ่งภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลในทุกระดับของสังคม

เป็นที่ทราบกันดีว่ากลุ่มคนเร่ร่อนหรือครอบครัวไร้บ้านที่สนามหลวงนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่ไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีบ้าน บางรายมีอาการทางสมองทำให้ไม่สามารถติดต่อกับครอบครัวได้ และ/หรือบางรายเป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากการสำรวจสำมโนประชากรฯลฯ แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ถือว่าไม่ได้อยู่ในกลุ่มดังกล่าว นั่นคือเป็นคนที่มีบ้าน มีครอบครัว และเคยมีชีวิตที่เป็นปกติแต่ไม่ต้องการอยู่บ้าน เพราะรู้สึกโดดเดี่ยว ถูกทอดทิ้ง หรือไม่ได้รับการยอมรับจากคนรอบข้างและไม่มีความสุข ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงเลือกที่จะมาใช้ชีวิตนอกบ้าน และสนามหลวงก็คือหนึ่งในหลายๆ สถานที่ที่พวกเขาเลือกที่จะมาใช้ชีวิตในช่วงเวลาของพวกเขาที่เหลืออยู่ พวกเขาเลือกมาที่สนามหลวงหรือบริเวณใกล้เคียงเพราะมันคือสถานที่ที่ทำให้พวกเขารู้สึกถึงการมีอิสระ เป็นตัวของตัวเอง มีที่ยืนทางสังคมตลอดจนได้รับการยอมรับและสัมผัสได้ถึงความสุขทั้งจากสภาพแวดล้อมและเพื่อนผู้ร่วมชะตากรรมในพื้นที่แห่งนี้ แน่นอนว่าความรู้สึกใดๆ หรือความสุขในลักษณะต่างๆ เหล่านั้นย่อมเป็นเรื่องส่วนบุคคล ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากในสายตาของคนทั่วไปจะมองว่า “ความสุข” ของ “พวกเขา” ก็คือ “ความทุกข์” ในสายตาของ “เรา” ดีๆ นี่เอง

นอกจากจากลักษณะข้างต้นแล้ว ยังมีกลุ่มคนที่เดินทางมาจากชนบทเพื่อมาหางานทำในเมืองหลวง (กรุงเทพฯ) จะเป็นกลุ่มคนที่ถูกหลอกลวงจากมิจฉาชีพ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจนต้องออกจากงาน กลุ่มผู้ที่ไม่มีงานทำ หรือกลุ่มผู้ประสบปัญหาด้านอื่นๆ และไม่มีที่ไปก็ตามแต่ ในที่สุดเส้นทางชีวิตของพวกเขาก็มาบรรจบกันที่สนามหลวง ในจำนวนของคนที่เดินทางจากชนบทเพื่อมาหางานทำในเมืองหลวงนี้ จำนวนมากเป็นผลมาจากแรงกดดันจากครอบครัวและคนในท้องถิ่นที่พวกเขาจากมา ด้วยกรอบความเชื่อภายใต้วาทกรรมที่ว่าหากไม่ประสพความสำเร็จในหน้าที่การงานและการเงินแล้วจะไม่กลับไปยังภูมิลำเนา ถ้อยคำแนวปรัชญาอันสวยหรูหรือวาทกรรมในลักษณะนี้ มักจะได้ยินเสมอๆ จากบทเพลงที่เป็นที่นิยมในยุคต่างๆ เช่นประโยค “จะไม่กลับหลัง ถ้ายังไม่ได้ดี” (เพลงสัญญากับใจ) หรือ “ไม่เด่นไม่ดัง จะไม่หันหลังกลับไป” (เพลงนักร้องบ้านนอก) ฯลฯ

ประเด็นไม่ได้อยู่ที่การกล่าวโทษบทเพลงเหล่านี้ว่าทำให้คนชนบทมีความคิดแบบสุดโต่งจนไม่สารถกลับไปยังภูมิลำเนาได้เมื่อประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่บทเพลงเหล่านี้ได้สะท้อนคือกรอบแนวความคิดในเรื่องดังกล่าวนั้นไม่ใช่เรื่องเล่าที่เลื่อนลอย หากแต่มันเกิดขึ้นและมีอยู่จริงในสังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในต่างจังหวัด ด้วยแนวคิดของการวางกรอบชีวิตและการขีดเส้นตายแห่งการประสพผลสำเร็จในลักษณะนี้เอง ที่ทำให้คนชนบทจำนวนไม่น้อยไม่สามารถกลับไปยังบ้านเกิดได้ ผนวกกับลักษณะของสังคมสมัยใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์ที่สร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคมให้มากขึ้นดังที่เราได้อธิบายไปในบทนำ ผลกระทบที่ผู้มีต้นทุนทางสังคมต่ำเหล่านี้ได้รับ ช่องว่างทางสังคมที่กว้างขึ้น คนจนเมือง (ที่มาจากชนบท) ที่ไม่มีทีท่าว่าจะลดลง เหล่านี้ทำให้คนต่างจังหวัดจำนวนมากต้องนำชีวิตเข้าสู่วงจรของ “ความเป็นชายขอบ”  และกลายเป็นคนเร่ร่อนไร้บ้านในที่สุด ซึ่งปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของคนเร่ร่อนไร้บ้านในกรุงเทพฯ หรือในสนามหลวงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็สอดคล้องกับคำอธิบายดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

หากพิจารณาถึงลักษณะเหตุผล แรงจูงใจและแหล่งที่มาของคนเร่ร่อนไร้บ้านที่สนามหลวง เราจะสังเกตเห็นถึงความหลากหลายของ “คนสนามหลวง” กลุ่มนี้ได้ไม่ยากนัก อย่างไรก็ตาม แม้จุดเริ่มต้นของพวกเขาจะมีสาเหตุที่แตกต่างกัน  แต่สุดท้ายเส้นทางชีวิตของพวกเขาทุกคนก็เดินทางมาบรรจบกันที่ “ข้างถนน” และถูกยัดเยียดลักษณะพิเศษจากสังคมส่วนกลางว่าเป็นกลุ่มประชากรประเภท “จรจัด” “เร่ร่อน” และ “ไร้บ้าน” ในที่สุด จากชาวชนบทที่พกพาเอาความหวังที่ว่าชีวิตจะต้องดีขึ้นจากการตัดสินใจเดินทางเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่ หรือแรงงานชนชั้นกรรมาชีพในเมืองหลวงเอง ผู้ป่วยที่มีอาการทางสมองและ/หรือผู้ตกหล่นจากทะเบียนราษฎร์ คนจน ชนชั้นกลาง หรือคนรวยผู้โดดเดี่ยว รักอิสระและต้องการค้นหาคำตอบว่า “บ้าน” และ “ความสุข” ในชีวิตที่แท้จริงคืออะไรกันแน่ ฯลฯ แม้ที่มาและเหตุผลจะแตกต่างกัน สุดท้ายกลุ่มคนที่มีความหลากหลายเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นประชาชน “คนสนามหลวง” เหมือนกัน แน่นอนบางคนเต็มใจและเลือกเส้นทางนี้เอง ทว่าหลายคนจำใจและถูกผลักเข้ามาด้วยแรงกดดันทางสังคม 

ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ/ ขาดการติดต่อกับครอบครัว ตกงาน ปัญหาปรัชญาในการใช้ชีวิตหรืออุดมการณ์ส่วนตัว ฯลฯ สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจและพึงตระหนักไว้ก็คือ “คนเร่ร่อน” หรือถ้อยคำรุนแรงที่เราได้ยินเป็นประจำอย่าง “คนจรจัด” นั้น ไม่ใช่ “กลุ่มประชากร” อย่างเป็นรูปธรรมในสังคม แต่เป็นเพียงหนึ่งภาวะและหนึ่งลักษณะรูปแบบการดำเนินชีวิตในห้วงเวลาหนึ่งของคนกลุ่มหนึ่งที่แตกต่างไปจากคนอีกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ชีวิตข้างถนนหรือชีวิตในพื้นที่สาธารณะเป็นเพียงหนึ่งภาวะในชีวิตมนุษย์ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในสังคม (คนจน ชนชั้นกลาง คนรวย คนปกติ ผู้ป่วยที่มีอาการทางสมอง ฯลฯ) แต่การที่เราสังเกตเห็นว่างคนเร่ร่อนไร้บ้านส่วนใหญ่นั้น มักจะมาจากกลุ่มคนที่ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว หรือเคยเผชิญกับปัญหาทางสังคมด้านอื่นๆ นั้น ก็เป็นเพราะพวกเขาเหล่านั้นอยู่ในสถานภาพที่มีความอ่อนไหวและมีความเสี่ยงสูงกว่าคนกลุ่มอื่นๆ ที่จะกลายมาเป็นคนชายขอบและใช้ชีวิตข้างถนนหรือตามพื้นที่สาธารณะเท่านั้นเอง

ภาวะ “ความไม่ปกติ” ของ “คนสนามหลวง” ซึ่งเกิดจาก “อัตวิสัย” ของ “สังคมส่วนกลาง” ส่งผลให้ให้ในสายตาของคนทั่วไป ภาพของคนเร่ร่อนไร้บ้านคือ “คนบ้า” ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ “สกปรก” และสามารถทอดกายลงนอน “ที่ไหนก็ได้”

“บ้า” “สกปรก” หรือนอน “ที่ไหนก็ได้”[9] ฯลฯ ชุดความคิดเหล่านี้แท้จริงแล้วคือมโนภาพของสังคมส่วนกลางที่ถูกสร้างขึ้นภายใต้วาทกรรม “ความปกติ” และ “ไม่ปกติ” ที่เกิดมาจากระบวนการทางความคิดของมนุษย์โดยอาศัยหลักอัตวิสัยที่เรามีต่อผู้ผู้อื่น ในขณะที่คนจำนวนหนึ่งมองว่าคนเร่ร่อนไร้บ้านหรือกลุ่มผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะว่าไม่ปกตินั้น เรากลับไม่เคยสงสัยหรือตั้งคำถามเลยว่าอะไรคือนิยามและคำจำกัดความของ “ปกติ” และ “ไม่ปกติ” ที่เราใช้ตัดสินคนเร่ร่อนไร้บ้านเหล่านั้น เป็นที่แน่นอนว่าทั้งสองคำนี้มีความหมายตรงกันข้ามและยังสามารถอธิบายความหมายซึ่งกันและกันได้อีกด้วย  กล่าวคือ สิ่งที่ “ปกติ” ก็คือสิ่งที่มีสภาพและลักษณะที่ตรงข้ามกับสิ่งที่ “ไม่ปกติ”  อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นเพียงการให้คำจำกัดความแบบง่ายและใช้กันโดยทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นการให้ความหมายที่สามารถเข้าใจได้ง่ายในด้านภาษาและการสื่อสารเท่านั้น แต่ประเด็นสำคัญและสิ่งที่เราควรจะร่วมกันวิเคราะห์ ณ ที่นี้ก็คือ  เราจะอธิบายหรือให้ความหมายคำว่า “ไม่ปกติ”  ได้อย่างไร หากไม่มีคำว่า “ปกติ” (หรือในกรณีตรงกันข้าม)

ก่อนที่จะอธิบายในรายละเอียดคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่พูดถึงหลักการวัตถุวิสัย (objectivity) และอัตวิสัย (subjectivity)  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักอัตวิสัย ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงและมีความสำคัญมากต่อการให้ความหมายในเรื่องนี้ หลักการวัตถุวิสัยนั้นเป็นหลักการอย่างหนึ่งของวิทยาศาสตร์ที่ถือว่าการวัด ชั่ง ตวง หรือการประเมินค่าที่เชื่อถือได้ จะต้องกระทำด้วยหลักเกณฑ์ ที่อยู่นอกตัวผู้กระทำ นั่นคือจะต้องวัดหรือประเมินค่าด้วยหลักเกณฑ์ ที่ไม่ขึ้นอยู่กับอารมณ์ ค่านิยม ทัศนคติ ความเชื่อหรือความรู้สึกของผู้กระทำการนั้น การใช้เครื่องมือในการวัดหรือชั่งเป็นตัวอย่างของการใช้หลักการดังกล่าวได้เป็นอย่างดี เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ทำงานตามหลักการที่อยู่นอกตัวผู้ใช้ ที่สำคัญไม่ขึ้นอยู่กับอารมณ์และความเชื่อของผู้ใช้  ส่วนหลักอัตวิสัยนั้นเป็นหลักการที่มีอารมณ์ ค่านิยม ทัศนคติ ความเชื่อ และความรู้สึกของผู้ใช้เข้ามาเกี่ยวข้องในการวัดและประเมิน สิ่งของอย่างเดียวกันถ้าใช้หลักอัตวิสัยวัดหรือประเมินค่าจะได้ผลลัพธ์ไม่เท่ากัน ทั้งนี้เพราะแต่ละคนย่อมใช้มาตรหรืออัตวิสัยไม่เหมือนกัน ด้วยเหตุผลดังกล่าว อัตวิสัยจึงเกี่ยวข้องวาทกรรม “ความไม่ปกติ” ที่เรามีต่อกลุ่มผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สนามหลวงอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะการที่สิ่งใดๆ (หรือพฤติกรรมแบบไหน) จะปกติหรือไม่ปกตินั้น ไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่ “ปกติ” นั้นจะต้องเป็นสิ่งที่ดี ถูกต้อง เหมาะสม หรือมีคุณค่าเป็นบวกด้วยตัวของมันเอง และในทำนองเดียวกันสิ่งที่เราเรียกว่า “ไม่ปกติ” ย่อมไม่ได้หมายความว่าสิ่งๆ นั้นจะต้องมีคุณค่าเป็นลบในตัวของมันเอง หากแต่ทั้งหมดนั้นเป็นเพียงการประเมินคุณค่าจากคนหนึ่งคน หรือจากกลุ่มคนเพียงหนึ่งกลุ่มเท่านั้น

หากพิจารณาจากข้างต้น กลุ่มคนเร่ร่อนที่มีรูปแบบวิถีชีวิตที่แตกต่างในแบบเฉพาะของพวกเขาเอง ซึ่งทำให้เรามองกลุ่มคนเหล่านี้ว่า “ไม่ปกติ” นั้น ในความเป็นจริงก็เป็นเพียงผลลัพธ์ที่เกิดจากการวัดและประเมินคุณค่าพวกเขาโดยหลักอัตวิสัยส่วนตัวของเรา มโนภาพ “ไม่ปกติ” ดังกล่าวเกิดจากการเปรียบเทียบวิถีชีวิตของ “เรา” และ “พวกเขา” ที่มีความแตกต่างกันโดยอาศัยหลักอัตวิสัยในการประเมินคุณค่า แล้วสรุปผลว่า “เรา” คือภาวะที่เป็นปกติเพราะเป็นลักษณะของสังคมส่วนกลางซึ่งมีจำนวนคนที่มากกว่า  ในขณะที่ “พวกเขา” ซึ่งมีจำนวนที่น้อยกว่าก็ถูกตัดสินว่าเป็นภาวะที่ไม่ปกติไปโดยปริยาย

อย่างไรก็ตาม การยกเอาหลักอัตวิสัยมาอธิบายถึงความไม่ปกติของคนเร่ร่อนในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถสรุปได้ว่าวิถีชีวิตนอกเคหะสถานของพวกเขาเป็นสิ่งปกติซึ่งไม่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข หากแต่ผู้เขียนพยายามชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างความเป็น “เรา” และ ความเป็น “พวกเขา” ว่าไม่ได้มีใครหรือวิถีชีวิตแบบไหนที่มีคุณค่าเป็นบวก ถูกต้อง เหมาะสม หรือ ไม่เหมาะสม ผิด และมีคุณค่าเป็นลบในตัวมันเอง ดังนั้น หากมีการพิสูจน์หรือยอมรับร่วมกันว่ามีบางลักษณะย่อยในรูปแบบชีวิตใดๆ (คนทั่วไปหรือคนเร่ร่อน) อยู่ในภาวะเสี่ยงหรือก่อให้เกิดผลเสียทั้งต่อตัวบุคคลนั้นเองหรือต่อสังคมส่วนรวม ก็ไม่มีเหตุผลที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะละเลยหรือไม่ดำเนินการแก้ไขใดๆ

ภายใต้เงื่อนไขการใช้ชีวิตที่ “เรา” พยายามยัดเยียดคำว่า “ไม่ปกติ” ให้กับ “ความเป็นชายขอบ” ของขอทาน คนเก็บยะและขายของเก่า คนเร่ร่อน ครอบครัวไร้บ้าน หรือกลุ่มผู้ขายบริการทางเพศ ฯลฯ ก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจในจุดนี้คือ มโนภาพของสังคมส่วนกลางที่ถูกสร้างขึ้นภายใต้วาทกรรม “ความไม่ปกติ” ซึ่งทำให้เรามองกลุ่มคนเหล่านี้ว่า “ไม่ปกติ” ดังที่ได้อธิบายไปนั้น นับวันยิ่งจะกลายเป็นเหตุการณ์ปกติที่เราสามารถพบเจอได้ในชีวิตประจำวันในทุกๆ วัน ปรากฏการณ์ชนิดนี้เป็นเรื่องตลกร้ายและถือเป็นปัญหาของสังคม เพราะเมื่อใดก็ตามที่คนส่วนใหญ่ในสังคมหนึ่งเห็นว่าการมีคนนอนข้างถนนหรือริมทางเท้าเป็นเรื่องธรรมดา แสดงว่าสังคมนั้นได้ประสพความล้มเหลวของกลไกที่ใช้ในกระบวนการขับเคลื่อนสังคมอย่างสิ้นเชิง เพราะเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างความคิดระดับบุคคลกับมโนภาพที่สร้างขึ้นโดยสังคมส่วนกลาง

ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้าว่าวิถีชีวิตของ “คนสนามหลวง” นั้นเราไม่สามารถประเมินหรือให้คุณค่าได้ว่าเป็นรูปแบบชีวิตที่ปกติหรือหรือมีคุณค่าเป็นลบในตัวมันเองหรือไม่ ยิ่งไปกว่านั้น เราไม่สามารถสรุปได้เช่นกันว่าพวกเขาอยู่ในภาวะที่เหมาะสม ไม่เหมาะสม สมควรได้รับการกวาดล้างออกไปจากสังคมหรือไม่ประการใด ทั้งนี้เพราะในปัจจุบันสังคมไทย (เช่นเดียวกับสังคมอื่นๆ) มีความเป็นปัจเจก (individual) มากขึ้น ซึ่งหมายความว่าความแตกต่างกันของมนุษย์แต่ละคนมีความสลับซับซ้อนและมีรายละเอียดในระดับจุลภาคมากขึ้น แม้ว่าคนสนามหลวงส่วนหนึ่งจะมีรูปแบบการใช้ชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายทั้งเรื่องสุขภาพและอาชญากรรม ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลแก้ไขและพัฒนาคุณภาพชีวิตจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง แต่เราจำเป็นต้องยอมรับเช่นกันว่านั่นเป็นเพียง “หนึ่งประเภท” ของคนสนามหลวง และไม่ใช่ทุกคนที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของพวกเขาจากที่เป็นอยู่

มนุษย์ในภาวะ “ปัจเจก” นั้นมีพฤติกรรมที่ซับซ้อนซึ่งเราไม่อาจจะรู้ถึงความต้องการหรือแรงปรารถนาจาก “จิตใต้สำนึก” ที่แท้จริงของเขาได้ทั้งหมด ดังนั้น การพยายามศึกษาและทำความเข้าใจถึงความแตกต่างของมนุษย์ในสังคมในระดับปัจเจกจึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน

“คนสนามหลวง” ซึ่งในที่นี้ใคร่จะหมายถึงกลุ่มคนเร่ร่อน และครอบครัวไร้บ้านนั้น  เปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิตที่ไร้ความสามารถ และไม่มีอำนาจต่อรองกับสังคมส่วนกลาง กล่าวคือไร้ซึ่งสถานภาพการเป็นสมาชิกของสังคมที่เขาอาศัยอยู่ (สังคมไทย) ที่สุดแล้ว ก็เปรียบได้กับชีวิตในภาวะที่ “ไร้สภาพ”

การที่คนจำนวนมากมอง “คนสนามหลวง” หรือคนเร่ร่อนไร้บ้านเป็นคนบ้า สกปรก นอนที่ไหนก็ได้และยัดเยียดความไม่ปกติให้พวกเขาในที่สุดนั้น (ซึ่งได้มีการอธิบายถึงที่ไปที่มาของชุดความคิดนี้ไปแล้วในตอนต้น) ภายใต้วาทกรรม “ไม่ปกติ” ดังกล่าว หลายคนเปรียบคนกลุ่มนี้เป็นเหมือน “ปรสิตของสังคม” ซึ่งหมายถึงคนที่คอยขอความช่วยเหลือจากคนอื่นตลอดเวลา ขี้เกียจและไม่ทำมาหากินด้วยตัวเอง ยิ่งไปกว่านั้น คนอีกจำนวนหนึ่งก็มองถึงความรุนแรง “ขี้เหล้า” เป็นอันธพาล หรือหนักที่สุดก็ถึงขั้น “ยาเสพย์ติด” “ไมเคารพกฎหมาย” และเป็นต้นเหตุของ “อาชญากรรม” ในประเภทต่างๆ

ไม่มีประโยชน์อะไรที่เราจะมาถกหรือเถียงกันเพื่อหาข้อสรุปว่า “คนสนามหลวง” เป็นแบบนั้นจริงหรือไม่ ในทำนองเดียวกัน การให้เหตุผลแบบกลางๆ เช่น “คนสนามหลวงก็มีทั้งดีและเลวปะปนกันไป” หรือบางคำพูดประเภท “ก็มีบ้างแต่พวกเขาก็ไม่ได้เลวร้ายถึงขนาดนั้น” แม้จะเป็นคำพูดที่ถูกต้องและเป็นความจริงที่ว่าในทุกสังคมและชุมชนล้วนมีทั้งคนดีและเลวปะปนกันไป  ซึ่ง “สนามหลวง”ก็อยู่ในข่ายนั้นด้วย  แต่ในมุมมองของผู้เขียน หากเราต้องการศึกษาและทำความเข้าใจวิถีชีวิตของคนเหล่านี้ เหตุผลหรือคำพูดที่ดูดีและเป็นกลางในลักษณะดังกล่าวย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ เช่นกัน ดังนั้น หลักสำคัญที่เราต้องยึดถือเอาไว้และใช้ในการวิเคราะห์ก็คือการยอมรับถึง “การมีอยู่จริง” ของกลุ่มคนสนามหลวงในด้านที่เป็นลบ การยอมรับว่าคนเร่ร่อนไร้บ้านจำนวนมากติดเหล้าและบางคนไม่ทำงาน หรือกระทั่งบางคนมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เป็นเรื่องจริงนั้นไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่ประเด็นที่เราต้องให้ความสำคัญในลำดับถัดมาคือการตั้งคำถามถึงมูลเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์แบบนั้น

ยกตัวอย่างเช่นกลุ่มคนเร่ร่อนที่ไม่ทำงาน เป็นเรื่องจริงที่ว่าคนเร่ร่อนบางส่วนเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างรายวัน หลายคนมีชีวิตอยู่ด้วยการเก็บขยะและขายของเก่า (ขวดน้ำอัดลม ขวดพลาสติก ฯลฯ) แต่ก็มีบางคนที่ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ด้วยการ “ขอ” คนอื่นและไม่ประกอบอาชีพใดๆ เลย หรือแม้แต่บางรายก็มีชีวิตอยู่ด้วยการหลอกหลวงผู้อื่น อย่างไรก็ตาม คงเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมนักหากเราจะเหมารวมว่าคนที่ไม่ทำมาหากินไม่นิยมการทำงาน (ในความหมายของคนทั่วๆ ไป) หรือมีชีวิตอยู่ด้วยการ “ขอ” นั้น เป็นผลมาจากความขี้เกียจ และก็ด้วยความขี้เกียจนี่เองที่เป็นส่วนหนึ่งซึ่งทำให้เขาต้องกลายมาเป็นคนเร่ร่อน  

ประการแรก เราต้องไม่ลืมว่ากลุ่มคนเร่ร่อนจำนวนหนึ่งคือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะทางเศรษฐกิจจนต้องออกจากงาน หรือบางคนเข้ามาหางานทำแต่ไม่ประสพผลสำเร็จ บางคนถูกหลอกและมีประสบการณ์ที่เลวร้ายในโลกของการทำงานจนต้องสูญเสียทรัพย์สินหรือที่อยู่อาศัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้พวกเขากลัวหรือขยาดต่อโลกการทำงาน และในเวลาต่อมาก็ได้กลายมาเป็นคนเร่ร่อน

ในประการถัดมา คนเร่ร่อนหลายคนเป็นผู้ที่เคยติดยาเสพติดหรือติดสุรา และบางคนเป็นผู้ป่วยที่มีอาการทางสมองและ/หรือไม่มีเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงสถานภาพการเป็นพลเมืองตามกฎหมาย (เช่น บัตรประชาชน) แน่นอนว่าลักษณะต่างๆ เหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่เป็นอุปสรรคในการทำงานของพวกเขาทั้งสิ้น ในหนังสือ Le passé des sans-avenir[10] (the past of the No-futures) วาร์คย์-ดัมบูยอง (Gisele Wargny-Dambuyant) ได้แบ่งประเภทของคนเร่ร่อนออกเป็นสามกลุ่มดังนี้ ผู้ที่เคยทำงาน (ex-workers) ผู้ที่ผิดหวังจากงาน (disillusioned Labour) และผู้ถูกแบ่งแยกออกจากโลกการทำงาน (excluded from work) ในกลุ่มแรกนั้น (ex-workers) หมายถึงคนที่ถูกเลิกจ้างหรือมีความจำเป็นอื่นจนต้องออกจากงานประจำที่เคยทำ จากภาวะการสูญเสียงานทำให้บุคคลนั้นสูญเสียความเชื่อมั่นทั้งต่อตัวเองและเพื่อนร่วมงานไปด้วย ในสถานการณ์เช่นนี้ทำให้เขาขาดที่พึ่งและไม่รู้สึกถึงการมีอยู่ของตัวเองในสังคม และเป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เขากลายมาเป็นคนเร่ร่อน กลุ่มที่สอง (disillusioned Labour) คือคนที่ขวน ขวายเพื่อจะทำงานที่ชอบ แต่ไม่ประสพผลสำเร็จ กล่าวคือเป็นบุคคลที่ได้ทำงานที่ไม่มีมั่นคง รายได้น้อย หรือไม่ตรงตามที่ตัวเองต้องการ ทำให้เขาหมดศรัทธาต่อการทำงานและหันหลังให้กับโลกการทำงานอย่างถาวรและกลายมาเป็นคนเร่ร่อนในที่สุด กลุ่มสุดท้าย (excluded from work)คือคนที่ถูกเลือกปฏิบัติและถูกแบ่งแยกออกจากตลาดแรงงานด้วยลักษณะเฉพาะทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม คือทั้งด้านร่างกายและสภานะภาพทางสังคม เช่น คนพิการ หรือผู้ป่วยที่มีอาการทางสมอง หรือผู้ติดยาเสพย์ติดหรือติดเหล้า(ด้านร่างกาย) คนชราหรือที่เกษียนแล้ว และคนที่ไม่มีวุฒิการศึกษา ไม่มีบัตรประชาชน (ด้านสังคม) ฯลฯ  หากพิจารณาจากตรงนี้เราอาจกล่าวได้ว่าคนเร่ร่อนจำนวนหนึ่งได้ประสบปัญหาจากภาวะ “ไม่มีงานทำ” และมีประสบการณ์ที่ค่อนข้างเลวร้ายในโลกของการทำงานจึงกลายมาเป็นคนเร่ร่อน ในขณะที่อีกจำนวนหนึ่งคือกลุ่มคนเร่ร่อนที่ไม่สามารถเข้าสู่โลกของการทำงานได้เพราะเป็นบุคคลที่เสมือนหนึ่งว่า “ไร้ความสามารถ” ในโลกการทำงานเนื่องจากมีปัญหาเรื่องสุขภาพและ “ไร้สภาพ” ในทางกฎหมายอันเกี่ยวโยงกับสิทธิในการจ้างงาน หากการมีอยู่จริงของคนเร่ร่อนไร้บ้านที่ไม่ปรารถนาจะทำงานเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นและมีอยู่จริงที่เราต้องยอมรับ ในขณะเดียวกันการยอมรับถึงมูลเหตุเหล่านี้ที่ทำให้เขาไม่ใคร่จะทำงานน่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

สำหรับคนเร่ร่อนที่ติดเหล้า (alcoholism) นั้น ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าคนเร่ร่อนทุกคนไม่ได้ติดเหล้า ในทางตรงกันข้าม คนเร่ร่อนหลายคนติดเหล้าก่อนที่กลายมาเป็นคนเร่ร่อน บ้างก็ด้วยเหตุผลของความผิดหวังในเรื่องงานดังที่กล่าวไป บ้างก็ด้วยเหตุผลของปัญหาครอบครัวหรือคนรอบข้างฯลฯ ซึ่งจากตรงตรงนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่าส่วนใหญ่ของคนเร่ร่อนที่ติดเหล้าก็คือคนที่ไม่ประสพความสำเร็จในชีวิตมาแต่เดิมก่อนหน้าที่จะนำพาตัวเองมาใช้ชีวิตข้างถนน หลายคนรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่าในสายตาคนอื่นทั้งก่อนหน้าและหลังจากที่มาใช้ชีวิตข้างถนนแล้ว หลายคนอยากจะลบความทรงจำอันโหดร้ายหรือเหตุการณ์ที่เลวร้ายในอดีตของตัวเอง (เช่นเรื่องการสูญเสียงาน สูญเสียคนที่รัก หรือมีปัญหากับคนใกล้ตัว ฯลฯ) ทางออกสำหรับพวกเขาซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดที่ควรจะทำ แต่ด้วยข้อจำกัดนานาประการ ที่พวกเขาเลือกใช้ก็คือ “เหล้า” มีคำกล่าวที่เป็นที่รู้จักในหมู่คนเร่ร่อนไร้บ้านหรือนักเลงสุราบางกลุ่มว่า “นักเลงสุราหรือคนติดเหล้านั้น ดื่มเพื่อให้ลืมว่าตัวเองติดเหล้า” ในความหมายที่ใกล้เคียงกัน Jean Philipe ได้พรรณนาคำพูดของคนเร่ร่อนไร้บ้านใน L’humanité ไว้ดังนี้

“กี่ครั้งกี่หนที่เขาเหล่านั้นทำให้ฉันรู้สึกถึงความไร้ค่าของตัวเอง เพื่อจะลืมความรู้สึกไร้ค่าที่ยิ่งกว่าไร้ค่านั้น ยังมีสุรา สุราช่วยให้ฉันสามารถเผชิญหน้ากับไอเย็นแห่งความอัปยศนั้นได้เป็นอย่างดี เริ่มแรกฉันรู้สึกกระหยิ่มถึงความสุขและอำนาจที่ฉันมีเหนือสุราขวดนั้น ทว่าไม่นานนัก ฉันก็พบว่าขวดสุรานั้นได้ควบคุมทุกอย่างในตัวฉันเรียบร้อยแล้ว” [11]

ความจริงประการหนึ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ คือเราไม่มีทางทราบเรื่องราวในอดีตของบุคคลใดๆ ได้ดีไปกว่าเจ้าตัวเขาเอง ซึ่งทั้งคนเร่ร่อนหรือคนทั่วไปล้วนอยู่ในกรณีเดียวกัน การสอบถามข้อมูล การสัมภาษณ์ หรือการสังเกตพฤติกรรมของบุคคลใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางสังคมวิทยา ไม่ปรากฏว่ามีระเบียบบังคับข้อใดที่กำหนดให้บุคคลต้องตอบคำถามตามจริงหรือแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่เรา (ในฐานะผู้สังเกตการณ์) ต้องการที่จะรู้ทั้งหมด กลุ่มคนเร่ร่อนที่ติดเหล้าหรือไม่ทำมาหากินก็เช่นเดียวกัน พฤติกรรมต่างๆของพวกเขาที่เราเห็น ข้อมูลต่างๆ ที่เราได้มาด้วยวิธีการต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้มีอะไรที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์ได้เลยว่าเป็นความจริงทั้งหมด แต่เราก็ต้องไม่ลืมเช่นกันว่ามนุษย์ทุกคนล้วนมีเรื่องราวในอดีตด้วยกันทั้งสิ้น ความแตกต่างของเรื่องราวทั้งหมดขึ้นอยู่เพียงว่าจะเป็นประสบการณ์ที่ดีหรือร้ายเท่านั้นเอง  เราลองหลับตาและจินตนาการภาพด้วยใจเป็นธรรมถึงคนหนึ่งคนที่เคยใช้ชีวิตประจำวันเป็นปกติวิสัยในเคหสถาน อยู่มาวันหนึ่งกลับต้องมาใช้ชีวิตตามสวนสาธารณะ นอนข้างถนน และเลี้ยงชีพด้วยการเก็บขยะหรือขายของเก่าฯลฯ คำถามคือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านั้นเป็นเรื่องที่น่ายินดีหรือไม่ สิ่งที่กำลังจะบอกไม่ใช่การทุบโต๊ะแล้วสรุปผลว่าคนเร่ร่อนไร้บ้านทุกคนล้วนแต่เจอเรื่องราวอันเลวร้ายในอดีตมาทั้งสิ้นถึงได้กลายมาเป็นคนคนชายขอบตามข้างถนนดังที่เราเห็น แล้วพยายามที่จะลืมเลือนเรื่องราวเหล่านั้นด้วยการดื่มสุรา แต่หากใน “อดีต” ไม่ได้มีเหตุการณ์พิเศษบางอย่างเกิดขึ้นกับเขา การใช้ชีวิตในภาวะที่ประหนึ่งว่าไร้ซึ่งสภาพของการมีชีวิตในสายคนทั่วไปจะเกิดขึ้นกับคนๆ นั้นใน “ปัจจุบัน” หรือไม่?

ต้องเรียนให้ทราบว่าบทความนี้ไม่ได้เขียนขึ้นมาเพื่อแก้ตัวแทนคนเร่ร่อนไร้บ้าน ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาที่จะยกย่องชื่นชมและเห็นดีเห็นงามกับวิถีชีวิตของพวกเขาในทุกเรื่อง หากแต่จุดประสงค์หลักในหัวข้อแรกนี้เป็นไปเพื่อการอภิปรายถึงมุมมองที่แตกต่างว่าทำไมเราจึงเปรียบเทียบวิถีชีวิตของ “คนสนามหลวง” กลุ่มนี้ ว่าเป็นชีวิตที่ไร้สภาพ ไร้ความสามารถ และไม่มีอำนาจใดๆ เพื่อใช้ในการต่อรองกับสังคมส่วนกลาง 

จากที่ผู้เขียนได้พยายามอธิบายมาทั้งหมด สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้ “คนสนามหลวง” ซึ่งในที่นี้ใครจะหมายถึงกลุ่มคนเร่ร่อนและครอบครัวไร้บ้าน หรือที่หลายๆ คนเรียกว่ากลุ่มผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะกลายเป็น “สิ่งมีชีวิตไร้สภาพ” ก็คือมโนภาพของความ “ไม่ปกติ” ที่คนในสังคมมีต่อพวกเขานั่นเอง  นอกเหนือจากโมภาพเชิงอุดมคติที่เกิดมาจากกระบวนการการให้คุณค่าสิ่งต่างๆ ตามหลักอัตวิสัยของสังคมส่วนกลาง ซึ่งทำให้ในสายตาของคนทั่วไปมอง “คนสนามหลวง” กลุ่มนี้เป็นเสมือนสิ่งมีชีวิตที่ไร้สภาพและไร้ตัวตนแล้ว ลักษณะเฉพาะของพวกเขาทั้งที่เป็นรูปธรรม (เช่น มีอาการทางสมอง ติดเหล้า ฯลฯ) และนามธรรม (ไม่มีบัตรประชาชน ไม่สามารถติดต่อญาติ ไม่ทราบภูมิลำเนาฯลฯ) เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงภาวะที่พวกเขาไม่มีอำนาจใดๆ เพื่อใช้ในการต่อรองกับภาครัฐหรือสังคมส่วนกลาง กล่าวคือ ในประการที่หนึ่ง “คนสนามหลวง” ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในฐานะที่เป็นพลเมืองในสังคมที่เขาอาศัยอยู่ เนื่องด้วยลักษณะเฉพาะของพวกเขา (ไร้สภาพในสายตาคนทั่วไป ไม่มีบัตรฯ ไม่ทราบภูมิลำเนา ไม่มีหลักฐานเพื่อขอใช้สิทธิต่างๆ มีอาการทางสมองฯลฯ) และก็ด้วยเหตุผลอย่างเดียวกันนี่เอง ที่ทำให้ในประการที่สอง “คนสนามหลวง” ไม่สามารถที่จะเรียกร้องสิทธิที่ตนพึงมีพึงได้ตามวิถีแห่งระบอบประชาธิปไตย เหมือนเช่นคนกลุ่มอื่นๆ ในสังคมที่สามารถทำได้อย่างเป็นรูปธรรมดังที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ

จริยธรรมและความอยู่รอด

“จริยธรรม” (ethics) เป็นหนึ่งในวิชาหลักของศาสตร์ความรู้ชั้นสูงอย่างปรัชญา (philosophy) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและความดีงามทางสังคมของมนุษย์ ทั้งนี้เพื่อให้เราสามารถจำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรมจึงหมายถึงการแยกสิ่งถูกออกจากสิ่งผิด หรือดีออกจากเลว ในความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย “จริยธรรม” หมายถึงธรรมที่เป็นข้อประพฤติตามกฎศีลธรรมอันดี[12]  และตามธรรมเนียมยุโรปเราอาจเรียกจริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม)

“จริยธรรม” เกิดมาจากคำ 2 คำประกอบกันคือ จริย + ธรรม  ซึ่งถ้าแปลตามศัพท์ จริยะ หมายถึงความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม นั้นแปลว่าคุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เพราะฉะนั้น เมื่อนำเอาคำ จริยะ มารวมกับคำว่า ธรรม เป็น จริยธรรม  เราจึงแปลเอาความหมายได้ว่า “กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ”[13]

จากข้างต้นทำให้โดยทั่วไปเมื่อเราพูดถึงจริยธรรม ความหมายก็มักถูกอิงอยู่กับบริบททางศาสนาเสมอ ทั้งนี้เป็นผลมาจากหลักคำสอนทางศาสนาได้มีส่วนในการสร้างระบบจริยธรรมในสังคมมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ในอีกมิติหนึ่งความหมายของจริยธรรมก็ไม่ได้อิงอยู่กับคำสอนทางศาสนาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะแท้ที่จริงแล้วจริยธรรมของมนุษย์ยังเป็นปรากฏการณ์ที่มีความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและประเพณีในแต่ละสังคมอีกด้วย จากเหตุผลดังกล่าวทำให้ “จริยธรรม” ไม่อาจถูกอธิบายได้ด้วยนิยามที่เป็นสากลเพียงนิยามเดียว หากแต่ความหมายของ “จริยธรรม” ในแต่ละสังคมนั้นเป็นเพียงแนวคิดหนึ่งชุดที่มีลักษณะเฉพาะตัวและมีเกณฑ์เพื่อใช้วัดและจัดประเภทของคุณค่าตามพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ในสังคมใดๆ เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมการทักทายในสังคมตะวันตกที่การกอดหรือหอมแก้มกันถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาและไม่ขัดกับจริยธรรมของเขา ในขณะที่การแสดงออกซึ่งพฤติกรรมในลักษณะที่คล้ายกันนี้ในสังคมตะวันออก (เช่นสังคมไทย) กลับเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมเมื่อนำหลัก “จริยธรรม” มาประเมินคุณค่าพฤติกรรมนั้น เป็นต้น

เมื่อ “จริยธรรม” ซึ่งถือเป็นมาตรการทางสังคมรูปแบบหนึ่งที่ใช้เพื่อการควบคุม “พฤติกรรม” ของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปตาม “ข้อตกลงทางสังคม” (social contract) ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับลักษณะหรือประเภทของการประกอบ “อาชีพ” ของสมาชิกในสังคม อาชีพที่มักจะถูกกระแสสังคมวิพากษ์วิจารณ์ว่าขัดต่อหลักจริยธรรมอยู่เสมอก็คือ “โสเภณี” และผู้ให้บริการทางเพศ (sex worker) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทยที่ระบบ “จริยธรรม” ถูกสร้างขึ้นมาท่ามกลางบริบทของพระพุทธศาสนา ซึ่งการประพฤติปฏิบัติตนตามหลักแห่งเบญจศีลถือว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่งในฐานะพุทธศาสนิกชน

การใช้ต้นทุนจาก “เพศสภาพ” ของกลุ่มผู้ขายบริการทางเพศและความขัดแย้งกันระหว่างหลัก“จริยธรรม” กับปัญหาการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานเพื่อ “ความอยู่รอด” ในสังคมที่ได้ชื่อว่า “เมืองพุทธ” (สังคมไทย)

โดยสังเขป เราอาจจำแนกประเภทของอาชีพที่ใช้ต้นทุนจาก “เพศ” หรือ “ผู้ให้บริการทางเพศ” (sex worker) ออกเป็นสามกลุ่มดังนี้ (๑) บุคคลผู้ขายบริการทางเพศตามท้องถนน (street sex worker) หรือในพื้นที่สาธารณะ (park sex worker) ซึ่งหมายรวมถึงกลุ่มผู้ขายบริการที่แฝงตัวตามร้านอาหาร สถานบันเทิง บาร์ ไนท์คลับฯลฯ (indirect sex worker) ด้วย ในประเภทต่อมา (๒) คืออาชีพการเต้นรำหรือแสดงโชว์เปลือยต่างๆ เช่นบาร์อะโกโก้ฯลฯ ประเภทสุดท้าย (๓) คืออาชีพการขายบริการทางเพศโดยตรง (direct sex worker) ตามสำนักบริการทางเพศหรือในอดีตก็คือ “ซ่องโสเภณี” (brothel) ต่างๆ ซึ่งในบางประเทศเป็นการให้บริการที่มีกฎหมายรองรับ[14]

โดยทั่วไป “ผู้ให้บริการทางเพศ” ประเภทที่ (๒) และ (๓)  มักถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มผู้ให้บริการในระดับสูง เมื่อเทียบกับ “ผู้ให้บริการทางเพศ” ประเภทที่ (๑) ทั้งนี้เพราะประเภทที่ (๒) และ (๓) นั้นมีรายได้ที่ดีและมั่นคงกว่า และที่สำคัญเป็นกลุ่มที่ได้รับความนิยมจากลูกค้ามากกว่า นอกจากรายได้และความนิยมจากลูกค้าที่มีน้อยแล้ว กลุ่มผู้ให้บริการทางเพศประเภทที่ (๑) ยังอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่ออันตรายมากกว่าอีกสองกลุ่มด้วย เช่น เสี่ยงต่อการถูกทำร้ายร่างกายจากกลุ่มลูกค้าที่เมาสุรา การจี้หรือปล้นทรัพย์ตลอดจนมีความเสี่ยงต่อความขัดแย้งกับกลุ่มผู้ขายบริการด้วยกันเองในกรณีของการ “ล้ำเส้น” เขตพื้นที่ที่ให้บริการลูกค้าหรือมีการ “แย่งลูกค้า” กันเกิดขึ้น

จากการทำงานภาคสนามโดยการสังเกตการณ์ ณ พื้นที่ท้องสนามหลวงและบริเวณใกล้เคียงในครั้งนี้ นอกจากลุ่มคนเร่ร่อนไร้บ้านแล้ว เรายังพบว่ามีกลุ่มผู้ให้บริการทางเพศในพื้นที่ดังกล่าวนั้นอีกด้วย “ผู้ให้บริการทางเพศ” ในพื้นที่สนามหลวงและบริเวณใกล้เคียงจัดว่าอยู่ในประเภทที่ (๑) นั่นคือกลุ่มผู้ขายบริการทางเพศตามท้องถนน(street sex worker) หรือในพื้นที่สาธารณะ (park sex worker) กลุ่มคนเหล่านี้ก็ถือว่าเป็น “คนสนามหลวง” ได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพราะมีบางคนที่มีสถานภาพเป็นทั้งคนเร่ร่อนไร้บ้านพร้อมๆ กับการขายบริการทางเพศไปด้วย กล่าวคือเป็นกลุ่มคนที่อาศัยสนามหลวงเป็นทั้ง “บ้าน” และ “สถานที่ทำงาน” ไปพร้อมๆ กันนั่นเอง กลุ่มผู้ขายบริการในพื้นที่สนามหลวงและบริเวณใกล้เคียงมีทั้งหญิงและชาย ผู้ขายบริการที่เป็นผู้ชายส่วนใหญ่จะให้บริการอยู่แถบบริเวณพื้นที่สวนสราญรมย์และสนามหลวงด้านที่อยู่ตรงข้ามเจดีย์ขาว ในขณะที่ผู้ขายบริการฝั่งคลองหลอดและสนามหลวงฝั่งศาลฎีกา รวมถึงสนามหลวงฝั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้นส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้ขายบริการทางเพศที่เป็นผู้หญิงและสาวประเภทสอง 

ปรากฏการณ์ของ “คนสนามหลวง” กลุ่มนี้ที่ใช้ต้นทุนทาง “เพศสภาพ” ของตนเอง ซึ่งถือเป็นทรัพยากรส่วนบุคคลเพื่อการประกอบอาชีพในการให้บริการทางเพศในพื้นที่สาธารณะนั้น ทำให้ผู้เขียนเกิดคำถามและตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับบูรณการทางสังคม (social integration) และความสัมพันธ์ทางสังคม (social relation) ของมนุษย์ในสังคมร่วมสมัย (contemporary society) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นของหลัก “จริยธรรม” และ  “ความอยู่รอด”

ตามที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าสำหรับประเทศไทย นั้น ส่วนหนึ่งของ “ข้อตกลงทางสังคม” (social contract) ได้ถูกสร้างขึ้นภายใต้บริบทของพระพุทธศาสนา ดังนั้น การทำความเข้าใจถึงความสลับซับซ้อนในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก และด้วยข้อจำกัดเรื่องเวลาในการทำงานต่อบทความนี้ ผู้เขียนจึงใคร่อยากจะสื่อสารพร้อมทั้งตั้งข้อสงสัยแต่เพียงกว้างๆ เพื่อให้เราได้ตระหนักร่วมกันว่าการใช้ต้นทุนจาก “เพศสภาพ” ของกลุ่มผู้ให้บริการทางเพศที่ถูกมองว่าขัดกับหลัก “จริยธรรม” นั้น เกี่ยวข้องกับการต่อสู้เพื่อ “ความอยู่รอด” ของมนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ อย่างไร

ทุกวันนี้เราอาศัยอยู่ในสังคมที่ไม่ใคร่จะยุติธรรมกับกลุ่มผู้ให้บริการทางเพศมากนัก เพราะนอกจากสิทธิและการทำงานของพวกเขาแทบจะไม่มีคุณค่าใดๆในสายตาของคนทั่วไปแล้ว พวกเขายังถูกยัดเยียดภาพของความเลวร้ายเสมือหนึ่งว่าเป็น “อาชญากร” ที่คอยกัดกร่อนและทำลายสังคมนั่นคือการทำลายหลักจริยธรรม แม้ว่าในความเป็นจริงผู้ให้บริการทางเพศเป็นเพียงบุคคลที่ใช้ “เพศ” ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรทางเศรษฐกิจส่วนตนเป็นเครื่องมือในการแสวงหา “รายได้” เพื่อเลี้ยงชีพ ทว่าพวกเขากลับถูกพิพากษาจากสังคมพร้อมทั้งหยิบยื่นหัวโขนในบทของ “อาชญากร” ที่คอยแสวงหาผลประโยชน์จากบุคคลอื่นโดยมิชอบ พร้อมๆ กันนั้นพวกเขาก็กลายเป็น “คนร้าย” ที่คอยทำลายโครงสร้างของสังคมที่ตั้งอยู่บนเสาหลักแห่ง “จริยธรรม”  ไม่ว่าจะเป็นถ้อยคำสบถด่าอย่าง “อีตัว” “กระหรี่” “ผู้หญิงหากิน” หรือแม่กระทั่ง “ผีขนุน” หรือ “ผีมะขาม” ที่ใช้เรียกเฉพาะกลุ่มผู้ให้บริการทางเพศแถบพื้นที่สนามหลวง คำและวลีต่างๆ เหล่านี้ล้วนแสดงถึงอคติและบท “ผู้ราย” ที่คนในสังคมอบให้พวกเขาได้เป็นอย่างดี

ถ้ามองในมุมของบรรดานักอุดมคตินิยมทั้งหลาย (idealist) ทั้งกลุ่ม “ผู้ให้บริการทางเพศ” และกลุ่ม “ผู้ขายบริการทางเพศ” ย่อมเป็นอาชีพที่ขัดกับหลักจริยธรรมอย่างไม่ต้องสงสัย อย่างไรก็ตามหากเรามองในสภาพของความเป็นจริงที่เกิดขึ้นตามแนวคิดประเภท “สภาพจริงนิยม” (realism) เราย่อมต้องสามารถอธิบายต่อยอดจากปรากฏการณ์ความขัดแย้งกันระหว่างอาชีพนี้และหลักจริยธรรมของสังคมได้ด้วยเรื่อง “ปากท้อง” และ “ความอยู่รอด” เพราะหากพิจารณาตามหลัก “สภาพจริงนิยม” นี้แล้ว สองประเด็นสำคัญหรืออาจจะเรียกว่าคำถามที่สำคัญที่สุดคือ (๑) ทำไมพวกเขาและเธอจึงเลือกที่จะประกอบอาชีพนี้? (๒) มูลเหตุและปัจจัยอะไรที่ส่งผลให้อาชีพนี้ยังคงสร้างรายได้ให้กับพวกเขาและเธอได้?

ในประเด็นแรก(๑) ที่ว่าทำไมพวกเขาและเธอจึงเลือกที่จะประกอบอาชีพนี้ นั้น เราต้องไม่ลืมว่าการให้บริการ หรือขายบริการทางเพศก็เหมือนกับอาชีพอื่นๆ เพราะจุดประสงค์หลักที่ทุกคนต้องการก็คือรายได้เพื่อนำใช้ในการดำรงชีวิต แม้การขายบริการทางเพศจะถูกมองว่าเป็นอาชีพบาปและขัดกับหลักจริยธรรม แต่เพื่อการมีชีวิตอยู่ของพวกเขาและเธอเหล่านั้นแล้ว ทางเลือกในการประกอบอาชีพอาจจะมีน้อยกว่าคนกลุ่มอื่นๆ ในสังคม ไม่ใช่เรื่องของอคติหรือมุมมองที่สุดโต่งหากมีหลายคนตั้งข้อสงสัยว่า “ทางเลือกมีน้อยหรือพวกเขาและเธอมีความจำเป็นมากขนาดนั้นเชียวหรือ? เพียงแต่คำถามนี้ไม่มีใครสามารถตอบได้ เพราะเหตุผลในการเลือกอาชีพของบุคคลใดๆ นั้นย่อมมีความหลากหลาย แรงจูงใจ สาเหตุหรือข้อจำกัดของแต่ละคนย่อมมีความหลากหลาย ต่อไปนี้เป็นบางส่วนจากคำให้สัมภาษณ์ของโสเภณีคนหนึ่งในวารสารด้านสังคมศาสตร์ที่ชื่อ การมีส่วนร่วมแห่งสังคมและชุมชน[15]  (Revue d’intervention sociale et communautaire):

“ลูกสาวฉันไม่พูดกับฉัน คุณยายของฉันที่พึ่งเสียชีวิตไปเมื่อสี่ปีที่แล้ว เธอเคยชอบและรักฉันมาก แต่หลังจากที่ฉันมาทำอาชีพนี้เธอไม่เคยพูดกับฉันอีกเลยจนกระทั่งเธอเสียชีวิต พี่สาวของฉันก็เช่นเดียวกัน เธอแทบจะไม่พูดกับฉันเลย (…) พวกเขาบอกว่าผิดหวังในตัวฉันมาก มีเพียงคุณตาของฉันเท่านั้นที่คอยให้กำลังใจฉัน แต่คนอื่นๆ ในครอบครัวฉัน แทบไม่มีใครคุยกับฉันเลย”

จากคำให้สัมภาษณ์ของโสเภณีคนนี้ ถือเป็นถ้อยคำที่สะท้อนถึงความรู้สึกที่เจ็บปวดภายในใจของเธอ  เพราะเธอถูกคนในครอบครัวหมางเมินและตีตัวออกห่างอันเนื่องมาจากอาชีพของเธอ หากพิจารณาจากความรู้สึกของโสเภณีผู้นี้ คำถามคือถ้าเป็นไปได้เธอจะเลือกประกอบอาชีพนี้หรือไม่?

สิ่งหนึ่งที่คนในสังคมทุกสังคมต้องยอมรับคือต้นทุนทางสังคมเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพของแต่ละคนนั้นมีไม่เท่ากัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย เพราะสิ่งที่เราต้องถามตัวเองดังๆ ก็คือ ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยมีอยู่จริงหรือไม่? หากการศึกษาถือว่าเป็นใบเบิกทางที่สำคัญและมีค่าในโลกการทำงานตลอดจนเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเลือนสถานะทางสังคมแล้ว ระบบการศึกษาไทยได้ทำหน้าที่นั้นอย่างสมบูรณ์หรือไม่? ในสังคมไทย “ปริญญา” ยังคงถูกจับจองไว้เพื่อคนเพียงบางกลุ่มหรือเปล่า?

ในประเด็นที่ (๒) ที่ว่ามูลเหตุและปัจจัยอะไรที่ส่งผลให้อาชีพนี้ยังคงสร้างรายได้ให้กับพวกเขาและเธอได้  นั้น แม้จะไม่มีหลักฐานที่บันทึกไว้ชัดเจน (ในที่นี้ผู้เขียนขออนุญาตที่จะไม่กล่าวถึงในรายละเอียด) แต่การเกิดขึ้นของอาชีพนี้เชื่อกันว่ามีมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควร สำหรับประเทศไทย การค้าประเวณีและซ่องโสเภณี เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓) ในสมัยพระนารายณ์มหาราชได้มีการนิยาม “การขายบริการทางเพศ” ไว้ว่าเป็นอาชีพ “รับจ้างทำชำเราแก่บุรุษ”[16] จากข้อมูลเบื้องต้นโดยย่อในที่นี้ แสดงให้เราเห็นว่าการขายบริการทางเพศไม่ใช่อาชีพที่พึ่งเกิดขึ้นในสังคมสมัยใหม่ ซึ่งหากตลอดระยะเวลาอันยาวนานที่ผ่านมาอาชีพนี้ยังคงมีอยู่ในสังคมจนถึงปัจจุบัน นั่นย่อมเป็นผลมาจากการที่อาชีพนี้ยังคงได้รับความนิยมจาก “ผู้ซื้อ” และสร้างรายได้ให้กับ “ผู้ขาย” อยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม การกล่าวสรุปว่าคนที่ทำให้อาชีพนี้ยังคงมีอยู่ในสังคมก็คือ “ลูกค้า” หรืออีกนัยหนึ่งก็คือคนทั่วๆ ไปในสังคมนั้นคงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด ในทางตรงกันข้าม การกล่าวโทษว่าสาเหตุที่สำคัญที่สุดต่อการมีอยู่ของอาชีพนี้ก็คือกลุ่ม “ผู้ขายบริการทางเพศ” เอง นั้น ก็ไม่ใช่การสรุปความที่จรรโลงสังคมในด้านใดเลย เพราะสิ่งที่คนในสังคมควรให้ความสำคัญเป็นประการแรก คือต้องยอมรับถึงการมีอยู่และเกิดขึ้นจริงของความต้องการระหว่าง “ผู้ซื้อ” และความยินยอมที่จะยึดอาชีพนี้ของ “ผู้ขาย” ประการที่สองคือการยอมรับว่าสังคมไทยยังเป็นสังคมชนชั้น ความเหลื่อมล้ำและช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยยังคงมีอยู่มาก คนบางคนมีทางเลือกมากมายในโลกการทำงานเพราะมีต้นทุนทางสังคมที่ดีทั้งการศึกษา สังคม และเงิน แต่คนอีกจำนวนมากก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น เราไม่มีทางทราบได้เลยว่า “คน” ที่ยอมถูกตราหน้าจากสังคมว่าเป็น “ผี(มะขาม)” และ “ผี(ขนุน)” นั้น เขามีมีความสุขและยินดีกับบทบาทที่ได้รับหรือไม่ เพราะฉะนั้น หากเราต้องการจะแก้ปัญหาของอาชีพที่ขัดกับหลักจริยธรรมนี้จริงๆ สิ่งที่ไม่ควรมีอย่างยิ่งก็คือ “อคติ” และ “ทัศนคติเชิงกดทับ” ต่อกลุ่มผู้ขายบริการทางเพศ

ดังที่ได้กล่าวไปในหัวข้อก่อนหน้าว่าบทความนี้ไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อยกย่องวิถีชีวิตของคนชายขอบ (ทั้งคนเร่ร่อน และผู้ขายบริการทางเพศ) แต่เป็นไปเพื่ออยากให้คนในสังคมมองพวกเขาในมุมมองของสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งเข้าใจถึงมูลเหตุที่ทำให้พวกเขาต้องกลายมาเป็น “คนชายขอบ” ของสังคม ซึ่งพนักงานขายบริการทางเพศในพื้นที่สาธารณะแห่งนี้ก็เช่นเดียวกัน

มุมมองเรื่องความล่มสลายในหลัก “จริยธรรม” ของ “นายทุน” ใน “สังคมสมัยใหม่” อันเป็นสาเหตุให้ชนชั้นล่างบางกลุ่มต้องกระทำการที่ขัดต่อหลักจริยธรรมขั้นพื้นฐานด้วยการนำเอาทรัพยากรส่วนบุคคลอย่าง “เพศ” มาใช้ในการประกอบอาชีพ

สิ่งหนึ่งที่เราได้เรียนรู้จากกลุ่มผู้ขายบริการทางเพศก็คือ การที่พวกเขาต้องเผชิญกับภาวะแรงกดดันจากหลักจริยธรรมและการต่อสู้กับสถานการณ์ทางสังคมต่างๆ เพื่อตอบโจทย์เรื่องของปากท้องและความอยู่รอดในชีวิตประจำวัน ยิ่งไปกว่านั้น วิถีชีวิตของพวกเขายังทำให้เราได้ตระหนักถึงสถานการณ์ปัจจุบันของสังคมที่เป็นผลให้ระบบจริยธรรมอยู่ในภาวะวิกฤติและบางส่วนก็อาจเรียกได้ว่าล่มสลายไปเรียบร้อยแล้ว

ช่วงปลายศตวรรษที่ ๒๐ ที่ผ่านมาและในยุคต้นของศตวรรษที่ ๒๑ นี้ ถือเป็นยุคทองของระบบโลกาภิวัตน์ สังคมไทยก็เช่นเดียวกันกับสังคมอื่นทั่วโลกที่ไม่สามารถปฏิเสธ “ทุน” ที่หลั่งไหลมาพร้อมกับกระแสของ “สังคมบริโภคนิยม” ในมุมมองเดียวกันกับระบบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ที่ล้วนแต่เกิดขึ้นมาจากจุดประสงค์เพื่อการสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ เพราะทุนนิยมไม่ใช่ระบบที่เลวร้ายในตัวของมันเอง ผลกระทบหรืออาจจะเรียกว่าผลเสียของทุนนิยมที่เกิดขึ้นจึงไม่ได้เกิดมาจาก “รูปแบบ” ของ “ระบบ” แต่เป็นผลมาจาก “ผู้ใช้” ระบบนั้น

ในขณะที่ภาพกลุ่มผู้ขายบริการทางเพศกลายเป็นอาชีพที่ขัดกับหลักจริยธรรมอย่างชัดเจนและเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นรูปธรรมจากคนในสังคม จนคำว่า “อาชญากร” ผู้ทำลายหลักจริยธรรมกลายเป็นคำพิพากษาอย่างเป็นทางการแบบถาวรของพวกเขาและเธอไปเรียบร้อยแล้วนั้น ทว่าความจริงที่เจ็บปวดประการหนึ่งคือ ไม่ใคร่จะมีคนในสังคมให้ความสำคัญกับจริยธรรมของ “นายทุน” เท่าใดนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทยที่วันนี้กลายเป็นสังคมที่ขึ้นอยู่กับ “ทุนนิยมผูกขาด” โดย “นายทุน” เพียงไม่กี่รายไปเรียบร้อยแล้ว

ดังที่ได้กล่าวไปว่า “ทุนนิยม” ไมได้เลวร้ายในตัวระบบของมันเอง ดังนั้นระบบทุนนิยมจึงไม่ใช่สาเหตุของการล่มสลายทางจริยธรรมของมนุษย์ แต่ความล่มสลายที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นผลมาจากกลุ่มนายทุนหรือชนชั้นปกครองผู้ไร้จริยธรรมเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ทำให้ภาวะ “ไร้จริยธรรม” ขยายวงกว้างและแทรกซึมลงไปในกลุ่มประชากรในทุกๆ อณูของสังคม ภาวะของสังคมที่ขาดจริยธรรมนี้เริ่มต้นโดยกลุ่มนายทุนหรือชนชั้นที่อยู่ส่วนบนสุดของสังคม จากนั้นจึงค่อยกระจายลงสู่กลุ่มคนในระดับล่างลงไปเรื่อยๆ คำว่าการแพร่กระจายของของภาวะไร้จริยธรรมนี้ ไม่ใช่ปรากฏการณ์ลอกเลียนแบบทางสังคมตามระบบปกติ (innovation) แต่เป็นการแพร่กระจายผ่านกระบวนการที่คนในระดับ “บน” เอาเปรียบกลุ่มคนที่อยู่ในระดับ “ล่าง”  ทำให้การแพร่กระจายของของภาวะไร้จริยธรรมนั้นออกมาในรูปแบบของการบังคับทางอ้อม (indirect – social constraint) ความหมายคือกลุ่มคนในระดับ “ล่าง” ซึ่งได้รับแรงกดดันมาจากกลุ่มคนในระดับ “บน” ถูกบังคับให้ต้องตกอยู่ในภาวะ “ไร้จริยธรรม” เพื่อตอบโจทย์เรื่องความอยู่รอดของตัวเองและพวกพ้อง   ภาวะความจำเป็นที่ต้องตกอยู่ในภาวะ “ไร้จริยธรรม” ของกลุ่มคนในระดับ “ล่าง” นี้ทำให้พวกเขาจำต้องกระทำการต่างๆ ที่ (ขัดต่อหลักจริยธรรม) และเป็นการเอารัดเอาเปรียบ กลุ่มคนในระดับ “ล่างกว่า” ตนเองลงไปเรื่อยๆ อีกชั้นหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น นายทุนเจ้าของบริษัทส่งออกสินค้าขนาดใหญ่ (ระดับบน) ผู้ซึ่งบริหารงานอย่างไร้จริยธรรมและเอาเปรียบบรรดาโรงงานอุสาหกรรมขนาดเล็ก(ระดับล่าง) อยู่เป็นประจำ ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดของกิจการโรงงานอุสาหกรรมขนาดเล็ก เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมฯ ก็ได้กระทำการในลักษณะเดียวกันกับกลุ่มคนในระดับล่างลงมา เช่นกดค่าแรงพนักงาน(ระดับล่างที่๑) เอารัดเอาเปรียบพ่อค้าคนกลาง (ระดับล่างที่๒) ซึ่งเป็นผลทำให้เกษตรกรหรือชาวนา(ระดับล่างที่๓) ถูกกดราคาสินค้าหรือถูกหลอกลวงจากพ่อค้าคนกลาง สรุปก็คือเป็นการเอาเปรียบของคนในระดับบนกับคนในระดับล่าง ไล่ตามลำดับลงมาเรื่อยๆ 

หากพิจารณาจากตรงนี้ผนวกกับภาวะความจำเป็นของบุคคลที่ประกอบอาชีพขายบริการทางเพศแล้ว เราจึงอาจกล่าวได้ว่า “กลุ่มผู้ขายบริการทางเพศ” ก็คือกลุ่มคนที่อยู่ในระดับล่างสุดของระบบที่การเอาเปรียบจากนายทุนหรือชนชั้นสูงในแต่ละขั้น ส่งผลให้พวกเขาและเธอจำเป็นต้องกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง (ทำงาน) เพื่อความอยู่รอด แม้ว่าการกระทำนั้นจะเป็นสิ่งที่ขัดกับหลักจริยธรรมก็ตาม การที่พวกเขาเลือกใช้ทรัพยากรส่วนบุคคลอย่าง “เพศ” เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากพวกเขาเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในระลับล่างสุดของระบบซึ่งไม่มีกลุ่มคนในระดับถัดไปที่พวกเขาจะสามารถเอาเปรียบได้แล้ว ด้วยแรงกดดันดังกล่าวจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาและเธอเหล่านั้น เลือกที่จะกระทำการที่ขัดต่อหลักจริยธรรมด้วยการเอาเปรียบตัวเองโดยการนำ “เพศสภาพ” ของตนมาใช้ในการประกอบอาชีพการขายบริการทางเพศ



[1] //www.midnightuniv.org/%e0%b9%94-%e0%b8%a1%e0%b8%b8%e0%b8%a1%e0%b8%a1%e0%b8%ad%e0%b8%87-%e0%b8%97%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%a7%e0%b8%87-%e0%b8%a7%e0%b8%b4

[2] รายงานฉบับดังกล่าวได้จัดทำขึ้นเป็นภาษาฝรั่งเศส ในชื่อ « Le peuple de Sanam Luang » (อังกฤษ: The people of Sanam Luang), พฤษภาคม 2010, คณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Grenoble 2- Pierre  Mendès France, ฝรั่งเศส.

[3] Robert Park, Human Migration and the marginal Man, American Journal of Sociology 33, 1928.

[4] Howard Becker, Outsiders: Studies in the Sociology of Deviance, New York, The Free Press, 1963.

[5] ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (บรรณาธิกรโดย), ชีวิตชายขอบ: ตัวตนกับความหมาย, กรุงเทพมหานคร, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), ๒๕๔๔.

[6] โลกาภิวัตน์ (globalization) นั้นไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่ แต่เป็นระบบที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่๑๕ เป็นต้นมา  เราสามารถแบ่งโลกาภิวัตน์ออกเป็นสามยุคใหญ่ๆ ดังนี้  ในยุคแรกเกิดขึ้นในกลุ่มประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในช่วงศตวรรษที่๑๕ อันเกี่ยวกับการเกิดขึ้นขององค์ความรู้ต่างๆของมนุษย์ เช่นแนวคิดที่เชื่อว่าโลกกลมและความรู้เรื่องการเดินเรือฯลฯ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการค้าขายที่มีการขยายตลาดคลอบคลุมทั่วดินแดนแถบนี้จากอิทธิพลของสเปนและโปรตุเกสในขณะนั้นอีกด้วย ในยุคที่สองเกิดขึ้นราวศตวรรษที่๑๙ (ค.ศ. ๑๘๗๐ – ๑๙๑๔) อันเป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปและการขยายตลาดสินค้าไปยังกลุ่มประเทศในทวีปอื่นทั่วโลก โลกาภิวัตน์ในยุคสองนี้สิ้นสุดลงในช่วงของการล่าอาณานิคมและสงครามโลกครั้งที่สอง สำหรับโลกาภิวัตน์ยุคที่สามหรือยุคปัจจุบันนั้นเริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๘๐ ด้วยปัจจัยและรายละเอียดโดยสังเขปดังที่ปรากฏในบทความนี้

[7] ตัวอย่างประวัติศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ เช่นในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลในยุคนั้นได้มีนโยบายให้จัดตั้งตลาดนัดขึ้นในทุกจังหวัด สำหรับกรุงเทพฯได้เลือกสนามหลวงเป็นสถานที่จัดตลาดนัด แต่เพียงไม่ถึงปี ทางราชการก็ย้ายตลาดนัดไปอยู่ในพระราชอุทยานสราญรมย์ จากนั้นจึงย้ายออกไปตั้งอยู่บริเวณสนามชัย และย้ายตลาดนัดกลับมาอยู่ที่สนามหลวงอีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะใช้สนามหลวงเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและจัดงานกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้มอบที่ดินย่านพหลโยธินในตอนต่อจากสวนจตุจักรให้แก่กรุงเทพมหานครเพื่อใช้ในกิจการสาธารณะประโยชน์ และกรุงเทพมหานครได้ปรับพื้นที่เพื่อให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยและขณะเดียวกันก็ พยายามย้ายผู้ค้าจากสนามหลวงมาด้วย จนกระทั่งดำเนินการสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ โดยใช้ชื่อว่าตลาดนัดย่านพหลโยธิน โดยต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ตลาดนัดจตุจักร” ให้สอดคล้องกับสวนสาธารณะจตุจักรตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จนกระทั่งปัจจุบัน

[8] ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

[9] “นอนที่ไหนก็ได้” ในที่นี้ผู้เขียนหมายถึงลักษณะและสภาพที่ที่คนเร่ร่อนฯเลือกจะนอน เช่นริมฟุตบาท ใต้สะพาน ตามป้ายรถเมล์ ม้านั่ง สนามหญ้าหรือตามพื้นของสวนสาธารณะฯลฯ ซึ่งไม่ได้หมายถึงทำเลพื้นที่อาศัยที่คนเร่ร่อนฯเลือกที่จะปักหลัก ทั้งนี้เพราะการเลือกพื้นที่อาศัยของคนเร่ร่อนฯนั้นไม่ได้อยู่ในลักษณะ “ที่ไหนก็ได้” แต่ขึ้นอยู่กับสามเหตุผลดังนี้ ๑.เป็นสถานที่ที่ให้ความรู้สึกปลอดภัย เช่นมีผู้คนสัญจรไปมา มีแสงสว่างเพียงพอฯลฯ ๒.เป็นสถานที่ซึ่งสัมพันธ์กับการทำมาหากิน เช่นใกล้กับที่ทำงานในกรณีของคนเร่ร่อนฯที่ทำงานรับจ้างทั่วไป หรือเป็นที่ทีมีปริมาณของขวดพลาสติกหรือขยะมีค่าชนิดอื่นจำนวนมากในกรณีของคนเร่ร่อนฯที่เก็บขยะและขายของเก่าฯลฯ ๓. เป็นสถานที่ที่อยู่สืบทอดกันต่อๆมาของคนเร่ร่อนฯในรุ่นก่อน หรืออีกนัย์หนึ่งก้คือการเลือกที่อยู่อาศัยตามโมเดลของปรากฏการณ์ทางสังคมที่เรียกว่า “การลอกเลียนแบบ” หรือ imitation หรือ innovation.

[10] Gisèle Dambuyant-Wargny,  Le passé des sans-avenir. Le poids de l’histoire dans les projets de vie des sans-abri, in Vivre la précarité, I.Billiard, (dir.), L’Aube, 2000.

[11] Jean Philipe, cité dans  L’humanité, 11 janvier 2000.

[12] พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช 2542, น. 291.

[13] ไสว มาลาทอง, คู่มือการศึกษาจริยธรรม  กรมการศาสนา, พ.ศ. 2542,  น.6.

[14] Michel Dorais et Simon Louis La jeunesse, Intimité à vendre: comment devient-on travailleur du sexe ?, Sociologie et sociétés, vol. 35, n° 2, 2003, p. 121-138.

[15] Colette Parent et Christine Bruckert, cité dans revue d’intervention sociale et communautaire, vol. 11, n° 1, 2005, p. 135.

[16] ชวลิต มังคละวิรัช, เอดส์กับธุรกิจบริการทางเพศและแนวทางแก้ไขฯ, กองโรคเอดส์ กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข, สิงหาคม ๒๕๓๘.




 

Create Date : 19 พฤศจิกายน 2559    
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2559 23:35:52 น.
Counter : 815 Pageviews.  

1  2  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.