สุภารัตถะ บล็อก
Group Blog
 
All Blogs
 
เข้าพรรษา..งดเบียดเบียนตัวเอง

วันมาฆบูชา ขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 (เดือน 4 ในปีอธิกมาส) นั้นเปรียบดังวันพระสงฆ์ เป็นวันจาตุรงคสันนิบาต เพราะเป็นการประชุมพร้อมด้วยองค์สี่คือ จันทร์เพ็ญเสวยมาฆฤกษหนึ่ง พระสงฆ์ 1,250 รูปมาประชุมพร้อมกันหนึ่ง ล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทาหนึ่ง และเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้นหนึ่ง เพื่อที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงประทานโอวาทปาติโมกข์ ละชั่ว ทำดี ทำจิตให้บริสุทธิ์

วันวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 (เดือน 7 ในปีอธิกมาส) นั้นเปรียบดังวันพระพุทธเจ้า รำลึกถึงวันประสูติ-ตรัสรู้-ปรินิพพาน

วันอาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 เปรียบดังวันพระธรรม รำลึกถึงปฐมเทศนาหลังจากพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้วแก่ปัญจวัคคีย์ เรียกว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นพระสูตรที่ประกาศให้ทราบถึงการที่พระองค์ ได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ยังผลให้พระอัญญาโกณทัญญะเกิดดวงตาเห็นธรรมออกบวชเป็นพระสงฆ์องค์แรก ทำให้พุทธศาสนาครบพระรัตนตรัย กงล้อธรรมได้เคลื่อนหมุนแล้ว และการเผยแพร่ธรรมจะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ไม่มีวันหยุด

.....ถัดมาอีกวัน.. หลังวันอาสาฬหบูชา ก็จะเข้าพรรษาหน้าฝนคือ ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑
เข้าพรรษา พักฝน
ความเป็นมาและความสำคัญ
วันหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์ มีพระภิกษุ ๖ รูป เรียกว่าภิกษุฉัพพัคคีย์ แม้เมื่อถึงฤดูฝน ก็ยังพากันจาริกไปมา เที่ยวเหยียบย่ำข้าวกล้าหญ้า สัตว์เล็กสัตว์น้อยให้เกิดความเสียหายและตายไป
ประชาชนจึงพากันตำหนิว่าไฉนพระสมณศากยบุตรจึงไม่หยุดเที่ยวจาริกบ้าง พากันเหยียบย่ำข้าวกล้าและสัตว์เล็กทั้งหลาย พวกเดียรถีย์และปริพาชก ก็ยังหยุดพักในฤดูฝนหรือแม้แต่เหล่าวิหค นกทั้งหลายยังรู้จักทำรังกำบังฝนพักอยู่บนต้นไม้
เมื่อความดังกล่าวทราบถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงบัญญัติเป็นธรรมเนียมให้พระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาในที่แห่งเดียวตลอด ๓ เดือน คือ ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ ห้ามมิให้พระภิกษุเที่ยวไปค้างคืนที่อื่น หากมีธุระกิจเป็นอันชอบด้วยพระวินัย จึงไปได้ด้วยการทำสัตตาหกรณียะ คือต้องกลับมาที่พักเดิมภายใน ๗ วัน นอกจากนั้นห้ามเด็ดขาด และปรับอาบัติแก่ผู้ฝ่าฝืนล่วงละเมิดพระบัญญัติ

แต่ที่สังคมเดือดร้อนหนักอยู่ตอนนี้ ไม่ใช่การจาริกเผยแพร่ธรรม ในฤดูซึ่งยังให้ข้าวกล้ารวมถึงสัตว์เล็กสัตว์น้อยในช่วงเวลาผสมพันธุ์ได้รับความเดือดร้อน เพราะพระผู้กระทำดี ยังต้องหยุดจำวัด ในช่วงเวลาที่อาจทำให้พืชพันธุ์เสียหายได้

...แต่เป็นเพราะ ชาวพุทธบริษัทเอง กลับเป็นผู้ที่ท่องไปด้วยอบาย อย่างไม่หยุดหย่อน

เข้าพรรษาแล้ว อาจเป็นช่วงเวลาได้หยุดคิด หยุดสร้างความเดือดร้อนให้กับตัวเองและสังคมลงบ้าง อย่างน้อย ก็เพื่อพักผ่อน.. พักฝนสักหน่อย

อัพกระทันหัน อาจไว้จะมาเกลาใหม่..


Create Date : 30 กรกฎาคม 2548
Last Update : 10 กรกฎาคม 2549 10:48:41 น. 8 comments
Counter : 1055 Pageviews.

 


สวัสดีค่ะ คุณสุภาฯ

ขออนุโมทนาบุญกุศลนี้ด้วยนะคะ


โดย: รักดี วันที่: 30 กรกฎาคม 2548 เวลา:19:35:03 น.  

 
จริงๆ ขี้เกียขอัพบล๊อกมากเรย แต่มาสรุปวันสำคัญทางพุทธศาสนาเสียหน่อยจ้า รักดี


โดย: สุภาฯ IP: 210.246.68.4 วันที่: 30 กรกฎาคม 2548 เวลา:19:59:11 น.  

 
แวะมาเยี่ยมครับ have a nice day นะครับ


โดย: Bluejade วันที่: 30 กรกฎาคม 2548 เวลา:20:12:59 น.  

 
"ชาวพุทธบริษัทเอง กลับเป็นผู้ที่ท่องไปด้วยอบาย อย่างไม่หยุดหย่อน..."


ขอบคุณสำหรับการเตือนสติค่ะ


โดย: rebel วันที่: 30 กรกฎาคม 2548 เวลา:20:19:32 น.  

 
มาสาธุด้วยคนค่ะ

เกรงคุณป่ามืดตกงานจัง


โดย: ป้ามด วันที่: 30 กรกฎาคม 2548 เวลา:20:41:03 น.  

 
นั่นสินะคะ ไฉนพุทธบริษัทเอง
ยังท่องอยู่ในอบาย
อย่างไม่มีวันหยุดหย่อน

ขอชื่นชมคุณสุภารัตถะนะคะ
ที่มองเห็นจุดนี้ แล้วเป็นห่วง
และออกมาช่วยเตือนสติกันไว้


โดย: ป้าติ๋ว (nature-delight ) วันที่: 30 กรกฎาคม 2548 เวลา:22:31:37 น.  

 
สาธุ

ได้ไปวัดวันวิสาขบูชา ดีใจมากๆ
แต่ไปนอนแค่4วัน เพราะ มีคนเยอะมากๆ ไม่ไหว
เยอะไปไม่สงบ



โดย: อยู่ไกลบ้าน IP: 210.18.17.122 วันที่: 30 กรกฎาคม 2548 เวลา:23:56:30 น.  

 
กำลังคิดอยู่ว่าเมื่อเข้าพรรษาที่ผ่านมาทำตัวเป็นไงบ้าง
อืม..
อืม...
ก็เป็นคนดี คิดดี ทำดีเหมือนทุกวันนั่นแหละครับ เหอๆ


โดย: Mint@da{-"-} วันที่: 31 กรกฎาคม 2548 เวลา:4:00:36 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

suparatta
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




..วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร..
..ท่านนาคารชุนะ..
วิภาษวิธี..เกริ่นนำ..ตอนจบ..

๐ สมุดเยี่ยมและบ่นได้..
**ทางลัด**
๐ สารบัญทักทาย(ทั้งหมด)
๐ ชวนคุย&ฟังเพลงปี48(ทั้งหมด)
๐ นอนดูจันทร์..(ส่วนตัว)

**log in หน่อยน่า..



Google.co.th
Friends' blogs
[Add suparatta's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.