สุภารัตถะ บล็อก
Group Blog
 
All Blogs
 
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร


เ พ ช ร ตั ด ทำ ล า ย ม า ย า
**วัชรเฉทิกปรัชญาปารมิตาสูตร**


นี่เป็นพระสูตร 1 ใน 600 ผูก ของคัมภีร์ฝ่ายมหายาน ที่มีความสำคัญมาก
แปลโดย ท่านเสถียรโพธินันทะ ซึ่งแปลมาจากท่านกุมารชีพผู้แปลตามคติแห่งนิกายศุนยตวาทิน
(รู้สึกว่าหลวงแม่ธัมมนันทา ก็แปลพระสูตรนี้ด้วย แต่แปลจากฉบับภาษาอังกฤษ)

คัดลอกออกมาเพียงส่วนหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกับพระอริยะทั้งหลาย โดย สุภารัตถะ
……………………………

“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เธอทั้งหลายพึงกำหนดรู้ว่าธรรมะที่เราแสดงมีอุปมาดังผู้อาศัยพ่วงแพ แม้แต่ธรรมก็ยังต้องละเสีย จักกล่าวไปไยกับอธรรมเล่า”

พ. สุภูติเอย! เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน? ตถาคตได้บรรลุพระอนุตตรสัมโพธิญาณฤา? ตถาคตได้แสดงพระธรรมเทศนาอยู่ฤา?
สุ. “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ตามความเข้าใจของข้าพระองค์ ในธรรมอรรถอันพระสุคตได้ตรัสไว้ ก็ไม่มีสภาวะใดแน่นอนที่เรียกว่าพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ และก็ไม่มีสภาวธรรมใดๆ แน่นอนซึ่งพระองค์แสดงเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไฉน? เพราะว่าธรรมซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัส ทั้งหมดไม่ควรยึดถือ ไม่ควรกล่าว ไม่ใช่ธรรมและไม่ใช่อธรรม ทั้งนี้ด้วยเหตุอันใด? ด้วยเหตุว่าพระอริยบุคคลทั้งหลาย อาศัยสังขตธรรมนี้แล้วจึงมีความแตกต่างกัน๑”

พ. “ดูก่อนสุภูติ! เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน? ถ้ามีบุคคลใด บำเพ็ญทานบริจาคด้วยสัปตรัตนะ อันเต็มเปี่ยมทั่วมหาตรีสหัสสโลกธาตุ บุคคลนั้นจักได้เสวยบุญกุศลอันมากมายกระนั้นฤาหนอ?
สุ. “มากมายนักแล้ว พระเจ้าข้า! ข้อนั้นเพราะเหตุใด? เพราะว่าบุญกุศลนั้น โดยความจริงแล้วก็ปราศจากสภาวะอันใดที่เป้นบุญกุศล ฉะนั้น พระตถาคตเจ้าจึงตรัสว่าได้บุญกุศลมากมาย๒”

“ถ้ามีบุคคลใดอาศัยปฏิบัติตามพระสูตรนี้ แม้ที่สุดเพียงคาถา ๔ บาท และประกาศสั่งสอนผู้อื่น บุญกุศลของผู้นั้นจักโอฬารยิ่งกว่าผู้ทำทานด้วยสัปตรัตนะ ข้อนั้นเพราะเหตุใดฤา? สุภูติ! พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตลอดจนพระพุทธอนุตตรสัมมาสัมโพธิทั้งปวงล้วนมีกำเนิดจากพระสูตรนี้ สุภูติเอย! สิ่งที่เรียกว่าพระพุทธธรรมนั้น โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะพระพุทธธรรมนั้นเลย”

พ. “ดูก่อนสุภูติ! เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน? พระโสดาบันสามารถมนสิการว่า เราได้บรรลุโสดาปัตติผลฤา?”
ส. “หามิได้ ข้าแต่ผู้มีพระภาค! ข้อนั้นเพราะเหตุใด? เพราะว่าพระโสดาบันบุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้เข้ากระแส แต่โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะใดเข้าสู่กระแสเลย การไม่เข้าถึงรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าพระโสดาบัน”

พ. “ดูก่อนสุภูติ! เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน? พระสกทาคามีสามารถมนสิการว่า เราได้บรรลุสกทาคามิผลฤา?”
ส. “หามิได้ ข้าแต่ผู้มีพระภาค! ข้อนั้นเพราะเหตุใด? เพราะว่าพระสกทาคามีบุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้จักเวียนกลับมา (ในกามาวจรภพ) อีกครั้งเดียว แต่โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะใดเวียนกลับมา เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่า พระสกทาคามี”

พ. “ดูก่อนสุภูติ! เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน? พระอนาคามีสามารถมนสิการว่า เราได้บรรลุอนาคามิผลฤา?”
ส. “หามิได้ ข้าแต่ผู้มีพระภาค! ข้อนั้นเพราะเหตุใด? เพราะว่าพระอนาคามีบุคคลนั้นชื่อว่า เป็นผู้ไม่กลับมาอีก (ในกามาวจรภพ) แต่โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะใดที่ไม่กลับมาอีก เป็นสักแต่ชื่อว่าพระอนาคามี”

พ. “ดูก่อนสุภูติ! เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน? พระอรหันต์สามารถมนสิการว่า เราได้บรรลุอรหันตมรรคฤาหนอ?”
ส. “หามิได้ ข้าแต่ผู้มีพระภาค! ข้อนั้นเพราะเหตุใด? เพราะโดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะใดที่เรียกว่าอรหันต์ ข้าแต่พระสุคต! หากพระอรหันต์จักพึงมนสิการว่า เราบรรลุอรหันตมรรคอย่างนี้ไซร้ ก็ได้ชื่อว่ายึดถือในอาตมะ,ปุคคละ.สัตวะ,ชีวะ เข้าแล้ว๓”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! พระองค์ตรัสว่าในหมู่ผู้บรรลุอารัณยิกสมาธิอันยอดเยี่ยมนั้นได้แก่ตัวข้าพระองค์ ซึ่งเป็นอรหันต์ผู้ยอดเยี่ยมพ้นแล้วจากกิเลสราคะ ข้าแต่พระองค์ผู้ควรบูชา! ถ้าข้าพระองค์ยังมีมนสิการว่า ตัวเราได้บรรลุอรหันตมรรคอย่างนี้ไซร้ พระสุคตจักไม่ตรัสว่า สุภูติเป็นผู้ยินดีในอารัณยิกปฏิปทาเลย โดยความจริงแล้ว สุภูติมิได้ยึดถือในปฏิปทา ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสยกย่องว่าสุภูตินี้เป็นผู้ยินดีในอารัณยิกปฏิปทา

พ. “สุภูติเอย! เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน? ณ เบื้องอดีตกาลโน้น เมื่อตถาคตเจ้า (ยังเป็นพระโพธิสัตว์) อยู่ในสำนักของพระทีปังกรพุทธเจ้า ตถาคตได้บรรลุธรรมอันใดฤา?
ส. “หามิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! เมื่อตถาคตเจ้า (ยังเป็นพระโพธิสัตว์) อยู่ในสำนักของพระทีปังกรพุทธเจ้า มิได้ทรงบรรลุธรรมใดๆ เลย”

พ. “ดูก่อนสุภูติ! พระโพธิสัตว์บุคคลจักพึงกระทำการตบแต่งอลังการพระพุทธเกษตรฤาหนอ?”
ส. “หามิได้ ข้าแต่พระสุคต! ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะเหตุว่าการกระทำตบอต่งอลังการพระพุทธเกษตรนั้น โดยความจริงมิได้มีสภาวะกระทำตบแต่งอลังการพระพุทธเกษตรเลย เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่ากระทำตบแต่งอลังการพระพุทธเกษตรเท่านั้น”

“เพราะฉะนั้นแล สุภูติ! พระโพธิสัตว์, มหาสัตว์ทั้งปวง พึงยังจิตให้บริสุทธิ์สะอาดโดยประการอย่างนี้ กล่าวคือ พึงยังจิตมิให้ยึดถือผูกพันในรูป …ในเสียง …ในกลิ่น …ในรส …ในสัมผัส …ในธรรมารมณ์ พึงยังจิตมิให้บังเกิดมีความยึดถือผูกพันในสภาวะใดๆ…”

………………………………..

๑.ธรรมทั้งปวงมีความสูญเป็นลักษณะ จึงกล่าวไม่ได้ว่าเป็นธรรมหรืออธรรม และจากความสูญเราจึงแบ่งประเภทอริยบุคคลต่างๆ เช่น พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคานมี และพระอรหันต์ ทั้งนี้.. เพราะธรรมทั้งปวงไม่มีสภาวะแน่นอนอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง ถ้ามีสภาวะแน่นอนในตัวมันเองไซร้ พระอริยะบุคคลประเภทต่างๆ นี้ก็เกิดขึ้นไม่ได้
(อธิบายเพิ่มจากผู้คัดลอก กล่าวคือ ถ้าธรรมใดๆ มีสภาวะแน่นอน ในธรรมบทเดียวกัน ผู้ได้ยินได้ฟังย่อมบรรลุธรรมระดับเดียวกัน แต่เมื่อได้ยินได้ฟังธรรมนั้นๆ บ้างเป็นอรหันต์ บ้างเป็นโสดาบัน บ้างตีความผิดเข้าใจผิดไปตามจริตตน ซึ่งไม่มีสภาวะแน่นอนเช่นกัน)
๒.โดยปรมัตถ์บุญกุศลก็เป็นอนัตตาหรือศุนยตา(สุญญตา) การไม่ยึดถือบุญกุศลนั่นแหละ จึงนับว่าเป็นบุญกุศลโยแท้ เพราะเป็นกุศลชนิดวิวัฏฏะ-ผู้แปล)
***๓.ในท่อนของการอธิบายความเป็นพระอรหันต์ โปรดสังเกตว่า ผู้แปลใช้คำว่ามรรคแทนผล ผู้คัดลอกเข้าใจว่าเพราะผู้ได้อรหันตผลนั้น คงทำลายอวิชชาสิ้นแล้ว-ผู้คัดลอกคาดคะเนเอา.. ไม่แน่ใจ...)



Create Date : 06 ตุลาคม 2548
Last Update : 20 กรกฎาคม 2551 13:19:11 น. 22 comments
Counter : 3125 Pageviews.

 


โดย: rebel วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:7:05:14 น.  

 
สาธุค่ะ


โดย: กิ่งไม้ไทย วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:7:46:58 น.  

 
ชอบท่าเพชรมากค่ะ .... ทำให้หายท้องผูกได้




ละอวิชชาลงไปอีกนิดนึง .... ขอบพระคุณค่ะ


โดย: มีอมยิ้ม วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:8:12:39 น.  

 


สวัสดีค่ะคุณสุภาฯ

รักดีชอบอ่านหนังสือ ที่มีบทสนาธรรม มีคำพูดว่า

“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เธอทั้งหลายพึงกำหนดรู้ว่าธรรมะที่เราแสดงมีอุปมาดังผู้อาศัยพ่วงแพ แม้แต่ธรรมก็ยังต้องละเสีย จักกล่าวไปไยกับอธรรมเล่า”

ทำนองนี้นะคะ รักดีชอบคำสอนของพระพุทธองค์มากค่ะ

เวลาอ่านหนังสือเรียนตอนเด็กๆ ถ้าเจอคำพูดแบบนี้ รักดีจะตั้งใจอ่านมาก และประทับใจมากๆ

จะชอบมากค่ะ ไม่รู้เป็นเพราะอะไร

ทานอาหารกลางวันให้อร่อยนะคะ


โดย: รักดี วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:12:29:26 น.  

 


โดย: me2you วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:13:54:26 น.  

 
ขออ้าง อนัตตา คับ สาธุ


โดย: goken วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:14:51:15 น.  

 


โดย: Bluejade วันที่: 7 ตุลาคม 2548 เวลา:7:53:19 น.  

 
อ่านแล้วเข้าใจยากจังค่ะ


โดย: Hello_Hello วันที่: 7 ตุลาคม 2548 เวลา:13:06:09 น.  

 
พี่สุภาความจริงหนูมาอ่านหน้านี้หลายรอบแล้ว

แหะๆแต่ไม่ได้เม้น เพราะ อ่านไม่เข้าใจ

จะแค่ยกมือไหว้ก็กะไร

เลยผ่านไปๆมาๆ ต้องขอโทษด้วยนะค่ะ

ตอนท้ายๆนะพอเข้าใจค่ะ

ไว้จะมาอ่านใหม่นะค่ะ


โดย: อยู่ไกลบ้าน (อยู่ไกลบ้าน ) วันที่: 7 ตุลาคม 2548 เวลา:19:03:30 น.  

 
ก็ยากเหมือนกันนะ
ความหมายประมาณว่า ถ้าใครคิดว่าตัวเองเป็นอริยะขั้นนั้นขั้นนี้ น่ะไม่ใช่ เพราะยึดติดในความเป็นตัวตนเข้าให้แล้ว ธรรมก็จะไม่ก้าวหน้า
คนที่ก้าวหน้า จนทำกิจให้จบ ก็ประมาณว่าเข้าใจในความไม่มี ยึดไม่ได้ ไม่มีอะไรเลย สักแต่ว่าที่ยังมีชื่อเรียก เพราะยังอยู่ในสมมุติ ที่มี..

พระพุทฑเจ้า ใช่ว่าท่านจะบรรลุธรรมยิ่งใหญ่เพื่อเป็นพระพุทธเจ้า เพียงเข้าถึง ความไม่มีอะไร คือเข้าใจสัจธรรมความจริง
อริยะ ทั้งหลายหากต้องการจะเป็นจั้นนั้นขั้นนี้ ก็เป็นเรื่องของตัวตน ขัดข้อง จนกว่าจะปล่อยวาง

พระโพธิสัตว์ผู้หวังพุทะเกษตร ก็ไม่ใช่เพราะหวังจะให้เป็นเช่นนั้นเช่นนี้ หวังด้วยความไม่ติดยึดอะไร..
อธิบายรู้เรื่องไหมเนี่ย...


โดย: suparatta วันที่: 7 ตุลาคม 2548 เวลา:19:41:55 น.  

 
พึงยังจิตมิให้บังเกิดมีความยึดถือผูกพันในสภาวะใดๆ…” อิอิ..ซึ้งค่ะ..

มาอ่านช้าๆค่ะ

สาธุ


โดย: ป่ามืด วันที่: 9 ตุลาคม 2548 เวลา:2:53:52 น.  

 
เข้ามาอ่านสูตรทางมหายานดูบ้างครับ
ดีครับ


โดย: แสงแรก ประดับดิน วันที่: 29 ตุลาคม 2548 เวลา:22:30:54 น.  

 
จากมติชนรายสัปดาห์ 24 มีค.49
พระถังซำจั๋ง : คุณูปการที่โลกไม่ลืม
โดยฉัตรสุมาลย์ (หลวงแม่ธรรมนันทา)

....พระถังซำจั๋งได้นำพระคัมภีร์กลับ (จากนาลันทา) มาด้วยถึง 520 ผูก งานสำคัญที่ท่านวางรากฐานให้ประเทศจีนคือการแปลพระไตรปิฎกออกเป็นภาษาจีน โดยการสนับสนุนจากสถาบันกษัตริย์ มีการจัดพระอาจารย์ที่มีความสามารถเป็นกลุ่มๆ และแจกจ่ายพระคัมภีร์ต่างๆ ออกไป นับเป็นการวางรากฐานสำคัญกับพระพุทธศาสนาในประเทศจีน บรรดาพระคัมภีร์ที่นำมาจากประเทศอินเดียนั้นได้ขอพระราชานุญาตสร้างพระสถูปเพื่อประดิษฐานพระคัมภีร์ไว้ที่วัดมหามาตาคุณาราม

ก่อนที่ท่านจะมรณภาพเมื่ออายุ 65 ปี ท่านได้แปลพระสูตรมหาปรัญชาปารมิตาสูตรเสร็จใน พ.ศ.1205 มีความยาวถึง 600 ปริเฉท (ผูก) แบ่งเป็น 120 เล่ม นับเป็นพระสูตรหลักของมหายาน

ในงานที่นักวิชาการในอินเดียพยายามสืบสานมรดกของนาลันทาครั้งนี้ ไม่น่าประหลาดใจเลยที่นักวิชาการหลายคนได้เสนอบทความทางวิชาการเกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ที่ได้ผ่านงานของพระถังซำจั๋ง

บุคคลที่มีคุณูปการต่อประวัติศาสตร์อินเดียโดยรวม และประวัติศาสตร์พุทธศาสนาโดยเฉพาะ

....
หรือว่า ท่านกุมารชีพ แปลวัชรปรัชญาปารมิตา มาจากพระถังซำจั๊งนั่นเอง แปลจากจีนเป็น...???
หรือว่าท่านจะแปลจากบาลี-สันสกฤติ
น่าเสียดายท่านเสถียรโพธินันทะ แปลออกมาเป็นไทยได้แค่ผูกเดียว


โดย: จะลองค้นดู IP: 210.246.74.105 วันที่: 26 มีนาคม 2549 เวลา:3:09:42 น.  

 
ถ้าสนใจปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรภาษาธิเบต
เชิญไปที //www.palungjit.com/club/DrolJangJL/
นะครับ


โดย: atomlittle IP: 61.19.148.147 วันที่: 16 พฤศจิกายน 2549 เวลา:14:46:53 น.  

 
แต่วัชรปรัชญาปารมิตาฉบับสมบูรณ์ผมกำลังพิมพ์อยู่ครับ
//www.palungjit.com/club/atomlittle/


โดย: atomlittle IP: 61.19.148.147 วันที่: 16 พฤศจิกายน 2549 เวลา:14:52:30 น.  

 


โดย: ท่านโอรุจิ มง IP: 202.143.165.146 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:12:21:05 น.  

 
ผมแอบชอบกุ้ง2/8มานานแล้วคับ


โดย: ผมวัชระ จันทร์ทิพย์2/10 IP: 202.143.165.146 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:12:23:23 น.  

 
ผมจะไห้พ่อมงกับแม่มุกไปขอน้องกุ้งจ๊ะ


โดย: ผมวัชระ จันทร์ทิพย์2/10 IP: 202.143.165.146 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:12:24:47 น.  

 
เว็บเรา //www.mmk.bloggang.com ช่วยติชมกันทีนะคัฟ แปลพระปิฏกจีนตอนนี้มีหลายงานแล้ว วัชรสูตรนี้ไม่ใช่อยู่ในมหาปรัชญาปารมิตาสูตรผูก ๖๐๐ ครับ วัชรสูตรพระถัมซำจั้งไม่เกี่ยวข้องกับการแปลครับ เท่าที่อ่านจากภาษาจีนมี ๒ ท่าน คือ ท่านกุมารชีพ กับท่านโพธิรุจิ ส่วนพระถึงซำจั้งท่านแปลสูตรใหญุ่ ข้าพเจ้ากำลังจะเริ่มแปลสูตรใหญ่นี้ ในปิฏกหมวดปรัญชามีหลายเล่มครับไม่ใช่ว่าต้องมาจากสูตร ๖๐๐ ผูกอย่างเดียว สนใจพระไตรปฺฏกจีนลองเข้าไปดูในเว็บผมนะครับสาธุ


โดย: bank IP: 202.91.19.192 วันที่: 30 เมษายน 2550 เวลา:15:12:34 น.  

 
เราเฝ้าปฏบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์ ไม่เสือมคลายและเราจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้มากที่สุด


โดย: ชลันธรี วงศ์ภวาลัย IP: 58.10.155.127 วันที่: 21 กรกฎาคม 2550 เวลา:16:38:13 น.  

 


โดย: whitespace วันที่: 2 พฤศจิกายน 2550 เวลา:18:43:24 น.  

 
วันนี้จะนำเสนอแล้วเรื่อง ปารมิตาสูตร ไม่รู้จะจับตรงใหนบ้าง งงจังเลยปวดหัวจัง


โดย: buntan IP: 203.113.45.228 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2550 เวลา:5:32:10 น.  

suparatta
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




..วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร..
..ท่านนาคารชุนะ..
วิภาษวิธี..เกริ่นนำ..ตอนจบ..

๐ สมุดเยี่ยมและบ่นได้..
**ทางลัด**
๐ สารบัญทักทาย(ทั้งหมด)
๐ ชวนคุย&ฟังเพลงปี48(ทั้งหมด)
๐ นอนดูจันทร์..(ส่วนตัว)

**log in หน่อยน่า..



Google.co.th
Friends' blogs
[Add suparatta's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.