พ่อหมี พี่หมอ อิอิ
บทเรียนจากลูกผสมสิงโต ตอนที่ 6

ยังมีลูกผสมที่น่าสนใจอีกบางตัว ที่จะทำให้เห็นอิทธิพลของลักษณะต่างๆ ได้เด่นชัดยิ่งขึ้น ขอยกตัวอย่างต่อไปนี้ครับ ตัวแรก Cirrhophyllum (Bulbophyllum) Tee Siam Honey ซึ่งเป็นลูกผสมของ Cirrhopetalum (Bulbophyllum) annandalei กับ Bulbophyllum siamense มาดูแต่ละต้นกัน นี่เป็นลูกผสม จะเห็นว่ากลีบเลี้ยงคู่ข้างผายออก ไม่บิดพับ และยังกางออกมากจนดูแปลกตา คล้ายกับการจับกลีบเลี้ยงคู่ข้างของ Cirr. annandalei มากางออก



ลองดูหน้า Bulbophyllum siamense กัน หน้าตาคล้าย Bulbophyllum lobbii แต่อย่างที่บอกว่าความแปรปรวนของสีดอกใน Bulbophyllum กลุ่มนี้มีมาก คิดว่าต้นพ่อแม่ของต้นข้างบนคงมีสีออกชมพูค่อนข้างมาก จึงได้ลูกออกมามีสีออกชมพู



ส่วนหน้าตาของ Cirrhopetalum (Bulbophyllum) annandalei เป็นอย่างนี้ครับ



Cirrhophyllum (Bulbophyllum) Meen Mercury Sandal ซึ่งเป็นลูกผสมของ Cirrhopetalum (Bulbophyllum) annandalei กับ Bulbophyllum lasiochilum คงจำหน้าตาพ่อแม่ได้นะครับ



คงไม่แปลกใจนะครับที่ลูกผสมจะมีขอบบนของกลีบเลี้ยงคู่ข้างบิดพับ เพราะทั้งคู่มีกลีบลักษณะเช่นนั้น กลีบเลี้ยงบนมีขนาดใหญ่ และกลีบดอกยาวผาย คล้าย Bulb. lasiochilum ซึ่งก็ไม่ผิดคาดแต่อย่างใด

Bulbophyllum Frank Smith ซึ่งเป็นลูกผสมของ Bulbophyllum carunculatum กับ Bulbophyllum lobbii



Bulbophyllum lobbii คงจำกันได้แล้ว มาดู Bulbophyllum carunculatum กันครับ



น่าสนใจว่า Bulbophyllum carunculatum อยู่ใน section Lepidorhiza ซึ่งใกล้เคียงกับ section Intervallatae ที่ Bulbophyllum echinolabium ถูกจัดอยู่ เพียงแต่ใน section นี้ขอบบนของกลีบเลี้ยงคู่ข้างบิดพับ นี่แหละครับเป็นข้อเฉลยว่าทำไมเมื่อเอา Bulb. echinolabium ผสมกับต้นอื่นที่มีกลีบบิดพับ ลูกจึงออกมามีกลีบเลี้ยงคู่ข้างบิดพับด้วย ก็เนื่องจากสิงโตใน section นี้ส่วนใหญ่มีกลีบบิดพับทั้งนั้น ยกเว้น Bulb. echinolabium ใน section Intervallatae เท่านั้น และลูกผสมก็ไม่น่าแปลกใจที่อิทธิพลของ Bulbophyllum lobbii จะแรงกว่า ทำให้กลีบเลี้ยงคู่ข้างผายออกอย่างชัดเจน เรื่องของ section ต่างๆ ของสกุล Bulbophyllum จะได้กล่าวปิดท้ายในตอนสุดท้าย แต่จะเลือกที่มีคนนำมาทำลูกผสมบ่อยๆ เท่านั้นครับ มิฉะนั้นจะมากเกินไป จำไม่ไหว ผมเองยังจำไม่ได้เลย แหะๆ

ลองมาดูคู่ผสมอีกตัวหนึ่งครับ เป็นลูกผสมของ Trias disciflora (Bulbophyllum disciflorum) กับ Cirrhopetalum (Bulbophyllum) sanguineopunctatum ต้นนี้ยังไม่มีชื่อเฉพาะครับ



ลองมาดูหน้าพ่อแม่ครับ Cirrhopetalum (Bulbophyllum) sanguineopunctatum



Trias disciflora (Bulbophyllum disciflorum) มีกลีบเลี้ยงมีขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับกลีบดอกที่มีขนาดเล็กและสั้นมาก ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสิงโตในสกุล Trias ที่แปลว่าสามเหลี่ยม เนื่องจากทรงดอกจะออกมาเป็นรูปสามเหลี่ยม



จะเห็นว่าลักษณะกลีบดอกสั้นกุดเป็นลักษณะร่วมกันของทั้งพ่อและแม่ จึงบอกไม่ได้ว่าเป็นลักษณะเด่นหรือด้อย แต่ลักษณะขอบบนของกลีบเลี้ยงคู่ข้างไม่บิดพับเป็นสิ่งที่คาดไว้แล้ว จากการที่อิทธิพลของกลีบบิดพับด้อยกว่า ดังที่เห็นในลูกผสมระหว่างพวกกลีบบิดพับ กับสิงโตในกลุ่ม Bulb. lobbii หรือจะให้ถูกควรเรียกว่า section Sestochilos ส่วนกลีบเลี้ยงคู่ข้างที่มีความยาวกึ่งกลางระหว่างพ่อและแม่ ก็เป็นสิ่งที่คาดได้เช่นกันจากตัวอย่างก่อนๆ หน้านี้


Create Date : 24 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 5 มกราคม 2551 20:30:12 น. 4 comments
Counter : 977 Pageviews.

 
สวยแปลกเลยค่ะ


โดย: Batgirl 2001 วันที่: 24 พฤศจิกายน 2550 เวลา:13:16:17 น.  

 
ตามติดครับ


โดย: appendiculata191 วันที่: 24 พฤศจิกายน 2550 เวลา:15:57:23 น.  

 
เหลืออีกสองตอนก็จบแล้วครับ แหะๆ


โดย: พ่อหมี (pohmie ) วันที่: 24 พฤศจิกายน 2550 เวลา:17:02:04 น.  

 
ที่ว่าสวยแปลกอะ อย่าดมนะครับ อิอิ ส่วนใหญ่แล้วสิงโตจะมีกลิ่นเหม็น มีบางชนิดเท่านั้นที่กลิ่นหอมครับ


โดย: พ่อหมี (pohmie ) วันที่: 25 พฤศจิกายน 2550 เวลา:10:31:05 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

pohmie
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แนะนำตัวครับ สำหรับคนที่ไม่เคยเจอ
พ่อหมีมีรูปร่างใหญ่มากครับ อ้าว มะเชื่ออีก จริงๆ นะ
เป็นผู้ใหญ่ใจดี ขี้บ่น ขี้เบื่อ
บางคนว่ารู้มาก คิดลึก ส่วนตัวผมเองว่าน่าจะไม่ค่อยรู้อะไร แต่พูดไปได้เรื่อยซะมากกว่า
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add pohmie's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.