๙.ดราม่าเรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ตอนที่ ๑
ดราม่าเรื่องการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ตอนที่ ๑ มีคนกล่าวว่านักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกไม่ใช่อัลเบิร์ตไอน์สไตน์ ไม่ใช่โทมัส แอลวา เอดิสัน ไม่ใช่ไมเคิล ฟาราเดย์ ไม่ใช่เซอร์ไอแซคนิวตัน ไม่ใช่กาลิเลโอ กาเลอิ แต่เป็น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรมพุทธศาสดาของเรา ชาร์ล ดาร์วินเป็นคนค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการและกลไกคัดเลือกของธรรมชาติเพื่อความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตในขณะที่เกรเกอร์ เมนเดล ก็ค้นพบเรื่องของพันธุกรรม การถ่ายทอดลักษณะเด่นลักษณะด้อยจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลานผ่านสิ่งที่เรียกว่ายีนส์ และโครโมโซม หลักพันธุศาสตร์ที่เกิดจากการค้นพบของเมนเดลบอกว่าคนเรามีหน่วยของพันธุกรรมเล็กๆอยู่ในเซลล์เรียกว่ายีนส์ยีนส์จะประกอบด้วยโครโมโซม ๒๓ คู่เป็นสิ่งที่เรียกง่ายๆว่าโครโมโซมพื้นฐานที่ทุกคนต้องมีหรือภาษาอังกฤษว่า autosomalchromosome จำนวน ๒๒ คู่ คู่ที่ ๒๓ นี่พิเศษหน่อยเป็นโครโมโซมที่ระบุเพศหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า sex chromosome เจ้าโครโมโซมเพศจะเป็นตัวแยกเพศชายเพศหญิงโดยเพศหญิงคู่ที่ ๒๓ จะเป็นโครโมโซมเอกซ์(x) ทั้ง ๒ ตัวแต่เพศชายจะเป็นโครโมโซมเอกซ์(x) ๑ตัวและอีกตัวจะเป็นโครโมโซมวาย(y) เราจึงแทนสัญญลักษณ์ของเพศหญิงว่า xx และเพศชายว่าxy โครโมโซมจะเป็นตัวเก็บสิ่งที่เรียกว่าDNAซึ่งเป็นตัวที่ระบุเอกลักษณ์ทางกรรมพันธุ์ของแต่ละสายพันธุ์และถ่ายทอดไปยังลูกหลานเจ้าเอกลักษณ์ทางพันธุกรรมนี้จะแบ่งเป็นลักษณะเด่น และลักษณะด้อยซึ่งมีทั้งสิ่งที่แสดงออกเป็นรูปร่าง หรือเรื่องของจิตใจ สติปัญญา บางอย่างก็อยู่บนโครโมโซมพื้นฐานแต่บางอย่างก็จะอยู่เฉพาะบนโครโมโซมเพศ เมื่อมีการผสมพันธุ์กันของน้ำเชื้อเพศชายกับไข่ของเพศหญิงก็จะเกิดการถ่ายทอดโครโมโซมของแต่ละฝ่ายไปสู่ลูก ลูกจะมีโครโมโซม ๒๓ คู่โดยแต่ละคู่จะเป็นของพ่อ ๑ ตัว ของแม่ ๑ ตัว เนื่องจากแม่ไม่มีโครโมโซมวายดังนั้นลูกชายทุกคนจะได้รับโครโมโซมวายจากพ่อ เวลาที่โครโมโซมมาจับคู่กัน ลักษณะด้อยจะถูกข่มด้วยลักษณะเด่นเสมอสิ่งที่ปรากฏออกมาจึงมีแต่ลักษณะเด่นลักษณะเด่นลักษณะด้อยบางอย่างจะอยู่บนโครโมโซมเพศจึงส่งผลให้ลักษณะบางอย่างเกิดกับเพศชายเท่านั้นบางอย่างก็เกิดกับเพศหญิงเท่านั้น คนที่มีลักษณะด้อยบนโครโมโซมทั้งคู่ก็จะแสดงออกด้วยเอกลักษณ์ของโครโมโซมลักษณะด้อยนั้น คนที่มีลักษณะเด่นกับด้อยอยู่ด้วยกันก็เป็นพาหะที่มีโอกาสถ่ายทอดลักษณะด้อยไปสู่ลูกหลาน ดังนั้นทฤษฎีของเมนเดลจึงเป็นตัวอธิบายว่าทำไมบรรพบุรุษจึงมีแต่ลักษณะดีแต่ลูกหลานดันโผล่ลักษณะด้อยออกมา ในขณะเดียวกันก็ยังพบว่ามีปัจจัยอื่นๆที่ลักษณะด้อยบางอย่างอาจจะปรับเปลี่ยนในแต่ละบุคคลได้จากสิ่งแวดล้อมจากการเรียนรู้ ทฤษฎีทั้งหมดนี้เกิดหลังพุทธกาลเพราะพระพุทธเจ้าได้สั่งสอนไว้ว่า น ชจฺจา วสโลโหติ น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ กมุนา วสโล โหติ กมุนา โหติ พฺราหฺมโณ คนเราจะดีจะชั่วมิได้เป็นที่ชาติกำเนิด คนเราจะดีจะชั่วอยู่ที่การกระทำ คนเราจะกระทำดีกระทำเลวคงไม่ใช่จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากบรรพบุรุษ แต่เกิดจากการอบรมสั่งสอนเกิดจาการเรียนรู้ เกิดจากจิตสำนึกที่มาจากการเรียนรู้ .....พันธุกรรมจึงไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะอธิบายถึงการกระทำของคนได้.....
30 กรกฎาคม เวลา 21:46 น.
Create Date : 12 พฤศจิกายน 2560 |
Last Update : 12 สิงหาคม 2562 18:47:52 น. |
|
0 comments
|
Counter : 363 Pageviews. |
|
 |
|