คุยไปเรื่อยๆตามประสาเด็กหัวตลาด

๔.ดราม่าเรื่อง PCI



ดราม่าเรื่อง PCI

PCI หรือ Percutaneous CoronaryIntervention แปลเป็นไทยว่าหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารี่ผ่านสายสวนหลอดเลือดโคโรนารี่(coronary artery) คือหลอดเลือดแดงที่ทำหน้าที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเป็นแขนงแรกของหลอดเลือดแดงที่แยกออกจากหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า(aorta) ซึ่งออกจากหัวใจ

ปกติ coronary artery จะมี๒ เส้นหลักคือ right coronary artery(RCA) เลี้ยงหัวใจด้านขวาและ left main coronary artery(LM) ซึ่งจะแยกเป็น left anterior descending coronary arteryเลี้ยงหัวใจด้านหน้าข้างซ้าย และ left circumflex coronaryartery ซึ่งจะเลี้ยงหัวใจด้านหลังข้างซ้าย

ในคนที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงไขมันจะเกาะตัวภายในผนังหลอดเลือดทั้งร่างกาย แต่เจ้า coronary artery นี้มีขนาดเล็กมากจึงมักจะทำให้เกิดเรื่องคือวันร้ายคืนร้ายเจ้าไขมันที่เกาะผนังหลอดเลือดดันหลุดเป็นลิ่มเลือดไปอุดตันเจ้าcoronary artery ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลันถ้าปล่อยไว้ก็เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือในบางคนไม่เกิดการหลุดของลิ่มเลือดแต่ไขมันเกาะหนาตัวมากขึ้นจนผนังหลอดเลือดตีบแคบจนเลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ก็เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันแบบเรื้อรังและกล้ามเนื้อหัวใจตายเช่นกัน

การรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันมี ๓วิธีด้วยกันคือ

๑.การให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือ thrombolyticdrug การให้ยาละลายลิ่มเลือดจะได้ผลดีกับคนไข้ที่เป็นภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลันชนิดที่มีการยกขึ้นของคลื่นไฟฟ้าหัวใจส่วนST และต้องได้รับยาภายใน ๑๒ ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการ

๒.การทำ PCI คือการใส่สายสวนผ่านหลอดเลือดแดงที่ขาหรือข้อมือย้อนกลับเข้าไปหาหัวใจจนถึงรูเปิดของ coronary artery ที่โคนเส้นเลือด aortaก็จะใส่สายสวนเข้าไปใน coronary artery แล้วฉีดสีดูความผิดปกติถ้าเจอตำแหน่งที่อุดตันก็จะใส่สายเข้าไปดูดลิ่มเลือดออกมาหากหลอดเลือดบริเวณนั้นตีบแคบก็ใส่สายสวนที่ปลายเป็นบอลลูนทำการขยายหลอดเลือดที่ตีบหากขยายด้วยบอลลูนแล้วหลอดเลือดนั้นยืดหยุ่นมากตีบแคบลงได้อีกก็จะใส่ขดลวดหรือที่เรียกว่าstent ค้ำยันไม่ให้หลอดเลือดยุบตัวลง

กรณีที่เป็นภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันเรื้อรังผนังหลอดเลือดที่มีไขมันเกาะมักจะมีแคลเซี่ยมมาเกาะแข็งการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนทำไม่ได้จะต้องมีการใช้สายสวนที่มีหัวกรอพิเศษเข้าไปเจาะกรอให้หลอดเลือดเปิดก่อน แล้วตามด้วยการใส่stent ค้ำยัน

๓.การทำผ่าตัดที่เรียกว่า coronaryarterial bypass graft คือหาเส้นเลือดอื่นมาต่อเป็นท่อลัดเลือดจาก aortaไปยัง coronary artery ส่วนที่ถัดไปจากตำแหน่งที่มีการอุดตันจะทำในรายที่มีการอุดตันของหลอดเลือด left main coronary artery หรือมีการอุดตันของหลอดเลือดตั้งแต่ ๓ เส้นขึ้นไปโดยที่ส่วนปลายมีขนาดใหญ่พอที่จะเย็บต่อได้หลอดเลือดที่นำมาต่อก็อาจจะเป็นหลอดเลือดแดงใต้กระดูกหน้าอกที่เรียกว่า internalmammary artery graft หรือหลอดเลือดดำที่เลาะออกมาจากขาที่เรียกว่า saphenousvein graft คำว่า graft หมายถึงอะไรที่เป็นของเทียมไม่ใช่ของจริง

การรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันต้องทำเป็นทีมตั้งแต่แพทย์ทั่วไปที่เจอคนไข้ต้องมีความรู้และตระหนักว่าคนไข้น่าจะเป็นโรคนี้แล้วมีการส่งต่อไปหาแพทย์ผู้ปฏิบัติรักษาหลอดเลือดโคโรนารี่ผ่านสายสวนซึ่งเป็นสาขาย่อยต่อยอดจากการเป็นอายุรแพทย์โรคหัวใจหรือศัลยแพทย์ทรวงอก

ตามหลักวิชาการแล้วในกรณีที่เป็นภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลันชนิดที่มีการยกขึ้นของคลื่นไฟฟ้าหัวใจส่วนST การรักษาที่ดีที่สุดคือรีบทำ PCI หรือที่เรียกว่าprimary PCI ภายใน ๑๒ ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการแต่ด้วยข้อจำกัดของการบริการในประเทศไทยจึงใช้การให้ยาละลายลิ่มเลือดเป็นการรักษาเพื่อช่วยชีวิตคนไข้ก่อน แล้วจึงส่งต่อไปทำPCI

ปัจจุบันการทำ PCI ในคนไข้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองเป็นช่องทางหารายได้ให้กับหน่วยบริการบางแห่งเพราะการทำ PCI คนไข้๑ ราย หน่วยบริการจะได้รับชดเชยค่ารักษาและหัตถการ ค่าอุปกรณ์ต่างๆ ค่าขดลวดมีการใช้เล่ห์กลบางอย่างทำให้เบิกค่าใช้จ่ายได้มากกว่าความเป็นจริงนอกจากนี้ยังมีการทำสิ่งที่เรียกว่าการค้นหาผู้ป่วยหรือ active casefinding เพื่อมาทำการฉีดสีสวนหัวใจโดยการนำผู้ที่คิดว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันมาฉีดสีสวนหัวใจเลยทั้งๆที่จะต้องผ่านการตรวจอีกหลายอย่างก่อนจะตัดสินใจว่าคนไข้รายนี้ต้องฉีดสีหรือไม่เช่นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียง(echocardiography) การตรวจหัวใจขณะออกกำลังด้วยการวิ่งสายพาน(stressexercise test) การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วย CT หรือMRI หรือการตรวจกล้ามเนื้อหัวใจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์(MIBIscan)

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญคณะหนึ่งซึ่งประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการทำPCI ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมทรวงอกกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของหน่วยบริการที่สามารถให้บริการ PCI ได้โดยคำนึงถึงบริการที่มีคุณภาพตั้งแต่สถานที่แพทย์และบุคลากรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เครื่องไม้เครื่องมือต่างตลอดจนการบันทึกข้อมูลของคนไข้เพื่อการตรวจสอบภายหลัง

แต่การดำเนินงานเรื่องคุณภาพบริการมักจะไปขวางทางปืนขัดผลประโยชน์บางกลุ่มที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของตนและพวกพ้องมากกว่าประชาชนที่มารับบริการเราจึงเจอการปล่อยข่าวเพื่อทำลายการทำงานที่เน้นคุณภาพบริการเพื่อประชาชนคนไทยตลอดเวลา

ก็ต้องให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจด้วยวิจารณญาณของตนเองว่าถ้าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันจะยอมไปรักษาในหน่วยบริการที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่หรือจะยอมให้ใครมาจูงจมูกว่าสงสัยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันต้องไปทำการฉีดสีสวนหลอดเลือดโคโรนารี่

การทำ PCI ไม่ใช่ไปกินก๋วยเตี๋ยวราดหน้าที่ไปกินร้านไหนก็ได้ ร้านนี้ทำอร่อยก็ไม่ต้องปรุงร้านนี้ผัดห่วยก็ต้องใช้เครื่องปรุงเยอะหน่อย แต่การทำ PCI เปรียบเสมือนการไปกินอาหารฝรั่งหรูที่ใช้เชฟระดับดาวมิเชลลินวันนี้ไม่มีวัตถุดิบดีๆ วันนี้รู้สึกฝีมือตกยอมปิดร้านหรือลูกค้าคนนี้ดูแล้วไม่สมควรให้ลิ้มรสก็ไม่ขายให้

ปล.เขียนบนความท้อแท้ใจของคนที่ทำงานพัฒนาคุณภาพบริการ




Create Date : 12 พฤศจิกายน 2560
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2560 14:27:30 น. 0 comments
Counter : 939 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เด็กหัวตลาด
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เรียนจบหมอ เคยผ่านการเป็นอาจารย์ แล้วลาออกไปเป็นหมอจนๆ เพราะไม่ชอบใช้วิชาชีพหากิน
ปัจจุบันเลิกรักษาคน หันไปบริหารเงิน คอยดูคนอื่นรักษาคนไข้แทน
รับผิดชอบการจัดชุดสิทธิประโยชน์สำหรับโรคเรื้อรัง
และโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงของผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง ๓๐ บาท)
สนใจเรื่องราวประวัติตระกูล และประวัติศาสตร์บ้านเกิด ณ หัวตลาด หรือตลาดจีนเมืองตานี เป็นพิเศษ
[Add เด็กหัวตลาด's blog to your web]