Group Blog
 
All blogs
 
ไทยพาณิชย์เปิดโผ'ใครได้-ใครเสีย'บาทแข็ง


ไทยพาณิชย์เปิดโผ ธุรกิจไหนได้ประโยชน์-เสียประโยชน์ บาทแข็ง แนะแผนรับมือระยะสั้น-ปานกลาง-ยาว "บาท"มีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและ ธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) ออกบทวิเคราะห์เรื่อง "เงินบาทแข็งค่า ธุรกิจใดเสียหรือได้ประโยชน์" โดยระบุว่า กลุ่มธุรกิจที่เสียประโยชน์ ซึ่งก็คือธุรกิจที่ส่งออกมากนำเข้าน้อย หรือ export content สูง ขณะที่ import content ต่ำ เพราะต้นทุนที่ลดลงจากการนำเข้าที่ถูกลงไม่มากพอที่จะทดแทนรายได้ที่สูญเสีย ไปจากราคาขายที่ลดลงได้ ดังนั้น ทุกบาททุกสตางค์ที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นคือรายได้ที่ลดลง ส่งผลให้กำไรของกลุ่มธุรกิจประเภทนี้ลดลงทันที แม้อาจยังไม่ถึงกับขาดทุน ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตยางแปรรูปขั้นต้น (เช่น ยางแผ่นรมควันและยางแท่ง) และผู้ค้าข้าว เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนการส่งออกสูงมากและการนำเข้าน้อยมาก โดยผู้ผลิตยางแปรรูปขั้นต้น มีสัดส่วนการส่งออกสูงเกือบ 90% แต่แทบจะไม่มีการนำเข้าวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จเลย และหากค่าเงินบาทแข็งค่าเกินราว 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในไตรมาส 4 ปีนี้ ผู้ผลิตยางแปรรูปขั้นต้นและผู้ค้าข้าวจะประสบปัญหาขาดทุน

นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มธุรกิจส่งออกที่แม้เสียประโยชน์แต่ทนต่อการแข็งค่าของเงินบาทได้ มากกว่า โดยระดับค่าเงินบาทที่รับได้จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการลดความเสี่ยงในแบบต่างๆ กันไป เช่น ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจในลักษณะ OEM (original equipment manufacturing) ให้กับเจ้าของผลิตภัณฑ์ hard disk drive ชั้นนำ โดยมีสัดส่วนการส่งออกและนำเข้าสูงมากราว 70% และเพื่อลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน จะพยายามตั้งราคาขายและราคาซื้อวัตถุดิบด้วยราคาเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ แม้บริษัทคู่ค้าจะอยู่ในไทย

อย่างไรก็ตาม ก็ไม่สามารถลดความเสี่ยงได้ทั้งหมด (fully hedge) เนื่องจาก ไม่สามารถซื้อวัตถุดิบทั้งหมดในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ ยิ่งไปกว่านั้น ราคาสินค้าที่ผลิตได้นั้นสูงกว่าราคาวัตถุดิบ ดังนั้น ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จึงยังคงเสียประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาท แต่ไม่มากเท่ากับธุรกิจที่ส่งออกมากนำเข้าน้อย และหากค่าเงินบาทแข็งค่าเกินราว 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในไตรมาส 4 ปีนี้ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ถึงจะประสบปัญหาขาดทุน

ผู้ผลิต hard disk drive ที่ส่งออกสินค้าที่ผลิตได้ทั้งหมดให้กับบริษัทแม่ด้วยราคาขายที่ตั้งไว้เป็น ดอลลาร์สหรัฐฯ และซื้อวัตถุดิบด้วยราคาเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ เช่นกัน แม้ supplier อยู่ในไทย เพื่อลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม ก็ไม่สามารถลดความเสี่ยงได้ทั้งหมด (fully hedge) เนื่องจาก ไม่สามารถซื้อวัตถุดิบทั้งหมดในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ ยิ่งไปกว่านั้น ราคาสินค้าที่ผลิตได้นั้นสูงกว่าราคาวัตถุดิบ ดังนั้น ผู้ผลิต hard disk drive จึงยังคงเสียประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาท แต่ไม่มากเท่ากับธุรกิจที่ส่งออกมากนำเข้าน้อย

ผู้ผลิตรถยนต์ มีลักษณะคล้ายกับผู้ผลิต hard disk drive หากแต่สินค้าที่ผลิตได้นั้นไม่ได้ส่งให้กับบริษัทแม่ทั้งหมด จะแบ่งไว้สำหรับขายในประเทศ และเพื่อส่งออก ในส่วนของวัตถุดิบ ผู้ผลิตรถยนต์จะมีการตกลงราคากับทาง supplier เป็นที่เรียบร้อยเพื่อรักษาอัตรา margin ดังนั้น ผู้ผลิตรถยนต์ จึงยังคงได้รับผลกระทบจากบาทที่แข็งค่า แต่จะไม่เร็วเท่ากับธุรกิจที่กล่าวมาข้างต้น

กลุ่มพลังงาน เป็นกลุ่มธุรกิจที่อาจเรียกได้ว่าเป็นธุรกิจที่ fully dollarized กล่าวคือ ราคาขายสินค้าสำเร็จและราคาขายวัตถุดิบถูกตั้งราคาในรูปของดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากราคาสินค้าสำเร็จแพงกว่าราคาวัตถุดิบ จึงส่งผลให้ธุรกิจกลุ่มพลังงานได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทบ้าง เช่นกัน แต่จะน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ก็ยังมีกลุ่มธุรกิจที่ได้ประโยชน์ ซึ่งก็คือธุรกิจที่นำเข้าสูงส่งออกจำกัด หรือ import content สูง ขณะที่ export content ต่ำ เพราะสามารถประหยัดต้นทุนจากการนำเข้าวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จได้มากกว่า รายได้ที่สูญเสียไปจากราคาขายที่ลดลง ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตเหล็กทั้งเหล็กเส้นและเหล็กรีดร้อน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนการนำเข้าสูงส่งออกจำกัด โดยมีสัดส่วนการนำเข้าสูงราว 70% ขณะที่มีสัดส่วนการส่งออกเพียงราว 15% และหากค่าเงินบาทอ่อนค่าเกินราว 40 – 45 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในไตรมาส 4 ปีนี้ ผู้ผลิตเหล็กถึงจะประสบปัญหาขาดทุน

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ระบุว่า แม้ว่าภาครัฐมีความพยายามออกมาตรการต่างๆ เพื่อสกัดกั้นค่าเงินบาทไม่ให้แข็งขึ้น แต่จะช่วยได้ในระยะสั้นๆ เท่านั้น คงไม่สามารถทำให้ทิศทางของค่าเงินบาทกลับมามีแนวโน้มอ่อนค่าได้ และในระยะยาวน่าจะยังคงมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อไป ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ที่คงหลีกเลี่ยงได้ยากและไทยคงทำอะไรไม่ได้มากนัก ดังนั้น ผู้ประกอบการควรเตรียมรับมือแนวโน้มดังกล่าวดังนี้

ระยะสั้น: ควรต้องทำป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (hedging) ตามความเหมาะสม

ระยะกลาง: ควรหาโอกาสและตลาดใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นในประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงจากการแข็งค่าของเงินบาท หรือตลาดต่างประเทศที่ค่าเงินของประเทศนั้นต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่ามากกว่าค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบค่าเงินระหว่างประเทศนั้นกับค่าเงินบาทแล้ว (cross currency) ค่าเงินบาทจะอ่อนตัวลง ยกตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่สิ้นปี 2009 จนถึงวันที่ 14 ตุลาคม 2010 นั้น ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นราว 14.4% ส่วนค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ นั้นแข็งค่าขึ้น 11.8% ดังนั้น ค่าเงินบาทจะอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินเยนราว 3%

ระยะยาว: ควรสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าตนเอง โดยการต่อยอดสินค้าที่มีอยู่ให้มีสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ผลที่ได้คือ รายได้เพิ่มมากขึ้น และยังสามารถหาตลาดใหม่ๆ ได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตยางแปรรูปขั้นต้น นอกเหนือจากการส่งออกยางแปรรูปขั้นต้นเพียงอย่างเดียว ยังสามารถนำสินค้าที่มีอยู่มาผลิตเป็นยางรถยนต์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น เช่น จากการผลิตยางแผ่นรมควันราคา 400 บาท มาเป็นการผลิตยางรถยนต์ธรรมดา 4,000 บาท และ 20,000 บาท สำหรับการผลิตยางรถยนต์สำหรับรถยนต์พิเศษ

แหล่งที่มา กรุงเทพธุรกิจ


อยากให้อ่านเรื่องนี้ด้วยครับ



ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

girdpol
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Friends' blogs
[Add girdpol's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.