|
ทำรางปลั๊กไฟไว้ใช้เองดีกว่า จะได้หมดปัญหาที่พบเจอบ่อยๆกับปลั๊กพ่วงแบบเดิมๆ
จากเดิมที่เคยมารีวิวไว้ในพัททิป จนเคยขึ้นเป็นกระทู้แนะนำในลิงค์นี้ ////topicstock.pantip.com/home/topicstock/2008/12/R7320030/R7320030.html
วันนี้ขอนำมาเก็บเอาไว้ในบล็อกส่วนตัวของกระผม เพื่อที่จะได้เป็น ประโยชน์ไม่มากก็น้อย สำหรับผู้ที่กำลังมองหาไอเดียไปประยุกต์ใช้ และสะดวกต่อการค้นหา อีกอย่างก็คือ เผื่อวันใดที่กระทู้ของผมเกิดสูญหาย ไม่ว่าโดยการเวลาหรือปัจจัยใดๆ ท่านผู้อ่านก็จะได้มีฉบับในบล็อกนี้ไว้อ่าน
มาทำปลั๊กพ่วงไว้ใช้กันเอง เพราะโดยส่วนตัวผมเอง บอกลาไปนานแล้วกับปลักพ่วงแบบเก่าๆที่เป็นตลับกลมๆ หรือที่เป็นรางแต่ใช้สายไฟเส้น เล็กไม่ได้คุณภาพมาทำ พวกปลั๊กพ่วงส่วนใหญ่ระบบป้องกันจะน้อยหรือแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้
รุ่นที่ไม่มีฟิวส์หรืออุปกรณ์ป้องกันชนิดอื่น อันนี้น่ากลัวมาก เพราะเขาจะใช้สายไฟเส้นเล็ก ส่วนมากจะขนาดขนาด 0.5 sq.mm.ซึ่งโดยประมาณจะทนกระแสได้เพียง5-8Aเท่านั้น และบางท่านก็ชอบเอาไปพ่วงกับปลั๊กหม้อหุงข้าว กระทะไฟฟ้าหรือเตาไฟฟ้า ซึ่งล้วนแต่กินกระแสสูงๆทั้งนั้น เมื่อสายแบกรับภาระทางไฟฟ้าไม่ได้ก็จะเกิดภาวะที่เรียกว่า โอเวอร์โหลด
สายจะร้อน จนทำให้ฉนวนชำรุดและเกิดการลัดวงจรในที่สุด และพวกตลับปลั๊กกลมๆที่มีสายยาวๆ เวลาใช้กับกระแสไฟสูงๆ โดยที่ไม่ดึงสายออกมาให้หมด สายที่ขดกันภายในนั้น จะเกิดสนามแม่เหล็กและทำให้เกิดความร้อน อีกอย่าที่ย่าคิดคือ ปลั๊กพ่วงบางอันได้รับมาตรฐานแค่สายไฟเท่านั้น แต่ส่วนสำคัญอย่างเต้ารับเต้าเสีย กลับไม่มีมาตรฐาน
เต้าเสียบแบบปั๊มก็ทนกระแสได้ไม่ดี ร้อนนิดหน่อยตรงพลาสติกส่วนขาก็ละลายแล้ว ส่วนรางปลั๊กไฟแบบทั่วไปก็เช่นกัน ที่ดูภายนอกสวยงาม แต่...เอ่อ เคยเปิดดูข้างในบ้างไหมครับ
ส่วนใหญ่ภายในรางปลั๊กแบบทั่วๆไป จะมีรางทองเหลืองหรือทองแดงบางๆ วางตลอดแนว ซึ่งรางดังกล่าวนี้เป็นขั้วเต้ารับของปลั๊กพ่วงพวกนี้บางอันทำรูสายดินแบบหลอกๆ คือมีแต่ช่องเสียบสายดินเท่านั้น ไม่เกิดผลอะไร การเชื่อมต่อภายในก็นิยมใช้การ บัคกรีเพียงเล็กน้อย และสายที่บัคกรีทับไปก็ไม่ได้มีการยึดด้วยวัสดุใดๆทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อใช้ไฟมากๆจนร้อน รอยบัคกรีก็จะละลาย สายไฟก็จแยกออกจากรางโลหะ บางท่านที่ไม่ทราบก็จะคิดว่า มันเสียแล้ว ได้เวลาเปลี่ยนใหม่ซะแล้ว
ส่วนสวิชต์เปิดปิดปุ่มแดงๆมีไฟหรือที่เรียกว่าสวิชต์แลมป์ก็เปราะบางเหลือเกิน เปิดปิดมากๆหรือใช้ไฟมากๆก็ไปเสียแล้ว
หลายหลายปัญหาน่าเบื่อของปลั๊กพ่วงแบบเดิมๆ ทำให้ผมเองก็เบื่อกับปลั๊กพวกพวกนี้ แต่ที่บ้านของผมยังมีปลั๊กพ่วงแบบสำเร็จรูปใช้อยู่5ราง แต่ต้องเป็นของดีเท่านั้นที่ผมจะเลือกใช้ ซึ่งเป็นปลั๊กพ่วงชนิดที่ป้องกันแรงดันไฟเกิน-ลัดวงจร-ฟ้าผ่า-ไฟกระชาก ของยี่ห้อหนึ่ง ไม่ขอเอ่ยนาม ปลั๊กพ่วงแบบนี้วงจรภายในถือว่าอยู่ในระดับดีและการป้องกันที่ดี ซึ่งผมนำมาใช้กับทีวี,ชุดโฮมเทียเตอร์ ,โทรศัพท์ไร้สาย,เครื่องแฟกส์,คอมพิวเตอร์PC-note book,เครื่องถ่ายเอกสาร,ปริ้นท์เตอร์,สโคป
ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าพวกนี้เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไวต่อกระแสไฟมากๆ จึงต้องเลือกปลั๊กพ่วงดีๆสักอันมาป้องกัน

มาเข้าวิธีการทำเลย
เตรียมเครื่องมือให้พร้อม แล้วแต่สะดวกจะใช้อะไร ก็เตรียมมาครับ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้อาจจะดัดแปลงตามความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าได้ครับ

สายไฟ ผมเลือกใช้สายVCT ชนิด3แกน ยี่ห้อBCC (บางกอกเคเบิ้ล) ส่วนตัวชอบBCCมากกว่าYAZAKI เพราะYAZAKIฉนวนเหนียวบ้าบอคอแตก ปอกแล้วเจ็บมือ มีดจะหัก เนื้อทองแดงก็เหมือนๆกัน ของBCCฉนวนกำลังดีไม่หนาไม่อ่อนเกินไป ขนาดที่ใช้ เป็นสาย3แกน ขนาด1.5sq.mm. ซึ่งสายขนาด1.5sq.mm.จะทนกระแสได้ที่15-17A

แผงไม้ ขนาด6x12นิ้ว จำนวน2อัน เอามาไว้ทำแผงวางเต้ารับและฝาปิดด้านหลัง

ฝาพลาสติดหน้ากากสำหรับเต้ารับ ยี่ห้อPanasonic รุ่นFULL-COLOR ซึ่งรุ่นนี้เป็นรุ่นยอดนิยม และราคาถูกที่สุดของPanasonic เหมาะที่จะเอามาทำรางปลั๊กพ่วง

เซฟตี้เบรกเกอร์(SB) Panasonic ขนาด15A IC1500A ขนาดกระแสของเบรกเกอร์ต้องเป็นขนาดที่สัมพันธุ์กันกับขนาดสายไฟ ห้ามใช้เกินพิกัดของสายไฟ เพราะกรณีคุณใช้ไฟเกิน มันจะไม่ตัดไฟ สายไฟอาจจะร้อน

หน้ากากเบรกเกอร์แบบฝัง


เต้ารับ-สวิชต์ รุ่น Panasonic รุ่นFULL-COLOR (กล่องสีน้ำเงิน-ขาว) ส่วนกล่องสีฟ้า-ขาวซึ่งเป็นเต้ารับ และในแพ๊คซึ่งเป็นสวิชต์ เป็นของเกรดต่ำยี่ห้อMUTSUKAMI ราคาถูกกว่า Panasonic รุ่นFULL-COLOR เกินครึ่ง รูปแบบจะคล้ายกันมาก สามารถใส่ด้วยกันได้ทั้งหน้ากากและสวิตซ์ หากไม่ต้องการของเกรดดีเลิศหรืออยากจะประหยัดงบ ลองหันมามองของเกรดรองลงมาได้ครับ

เต้าเสียบ ผมเลือกใช้เต้าเสียบแบบมาตรฐานเยอรมัน (ทนกระแสได้สูงสุด16A) เพราะว่าที่บ้านติดเต้ารับเยอรมันไว้บนผนังแทบทุกจุด เพราะส่วนตัวชอบระบบของเต้ารับเต้าเสียบแบบเยอรมัน เนื่องจาดมีความปลอดภัยสูง ป้องกันมือสัมผัสโดนกับขาเต้าเสียบขณะเสียบ และยังเสียบได้แน่น ไม่หลุดง่าย เต้าเสียบมีระบบสายดินที่เป็นแผ่นโลหะอยู่ข้างๆ ทำให้สามารถใช้กับเต้ารับแบบ2ตาได้ และเมื่อต่อเต้าเสียบเข้ากับเต้ารับแบบเยอรมันที่มีการต่อกราวด์ไว้เรียบร้อย รางปลั๊กพ่วงอันนี้ก็จะต่อลงดินโดยอัตโนมัติ แต่ใครที่ไม่เอาระบบสายดิน จะใช้เต้าเสียบ2ขาก็ได้ หรือจะใช้เต้าเสียบแบบ3ขาก็ไม่เป็นไร แต่เต้าเสียบแบบ3จะมีข้อจำกัดในการใช้ได้กับเต้ารับ3ตาเท่านั้น

เต้ารับเยอรมันของ bticino ทนกระแสได้สูงสุด16A ติดไว้บนรางปลั๊กพ่วง เพื่อรองรับเต้าเสียบแบบเยอรมันของเครื่องใช้ไฟฟ้าจำพวก เตารีด คอมพิวเตอร์ ไมโครเวฟ หม้อหุงข้าว ฯลฯ

เต้ารับคู่+กราวด์(ปลั๊กกราวด์คู่) ของVENAทนกระแสได้สูงสุด16A เต้ารับคู่+กราวด์VENAคุณภาพพอๆกับ Panasonic รุ่นFULL-COLOR และราคาถูกกว่าด้วย ติดตั้งไว้สำหรับรองรับเต้าเสียบ3ขา

เริ่มจากการประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชุดเข้าด้วยกัน และ วางเพื่อกำหนดจุดที่จะติดตังบนแผงไม้

ร่างเส้นส่วนที่ต้องการจะตัดออก และทำการตัดออกโดยใช้สว่านเจาะนำรู แล้วเอาเรื่อยฉลุไฟฟ้าตัดตามเส้น

วางอุปกรณ์ลงบนแผงไม้ แล้วทำการเจาะรูเพื่อยึดสกรูของอุปกรณ์เข้ากับแผงไม้

ต่อสายไฟเข้ากับเบรกเกอร์ แล้วต่อสายออกจากเบรกเกอร์เข้าสู่เต้ารับแต่ละชุด

เทคนิคการรับแรงดึงของสายไฟที่อาจเกิดขึ้นขณะใช้งาน โดยนำเอาเคเบิ้ลไทด์ มายึดให้แน่นที่สายเอาไว้

ต่อสายไฟเข้าเต้ารับแต่ละจุด เมื่อต่อสายเสร็จเรียบร้อย ทำการตรวจสอบวงจร

อย่าลืมสายดินด้วยนะครับ! :D

นำแผงไม้อีกอัน มาทำการงัด เอาแต่แผ่นไม้อัด โครงไม้ไม่ต้องนะครับ

แล้วเอาแผ่นไม้อัด มาปิดทับด้านหลังของรางปลั๊ก แล้วยึดด้วยสกรู

เสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้งานครับ

ใครมีไอเดียแจ่มๆ ก็สามารถดัดแปลงให้เป็นแบบอื่นได้ แล้วแต่ความต้องการใช้งานและความเหมาะสม


ปลั๊กพ่วงที่ทำขึ้นเอง หากทำอย่างถูกต้องเลือกใช้ของที่ได้มาตรฐานตรงตามสเป็ก และในเรื่องการใช้งาน นำไปใช้งานอย่างถูกวิธีในสภาวะที่ปกติ ผมกล้าพูดได้เลยว่ามันจะอยู่กับคุณไปนานมาก นานจนลืมไปเลยว่าทำไว้เมื่อไหร่ เมื่อเทียบกับปลั๊กพ่วงแบบสำเร็จรูปราคาถูกๆที่ขายตามท้องตลาดที่มีปัญหากวนใจอยู่บ่อยๆ
และใช่ว่าปลั๊กพ่วงแบบสำเร็จรูปจะไม่ดีเสมอไป ในการเลือกซื้อ ผมแนะนำให้พิจารณาดูดีๆ อย่างแรกที่ต้องดูให้ดีๆคือ ระบบป้องกัน อย่างที่สองคือขนาดของสายไฟและมาตรฐานของอุปกรณ์ และสุดท้ายคือเรื่องระบบสายดินว่ามีระบบสายดินจริงๆหรือมีแบบหลอกเอาไว้ ซึ่งปลั๊กพ่วงที่มีคุณภาพดีๆก็มีอยู่มากมาย แต่...ราคาก็ไม่ช่น้อยเลยนะครับ

บอกลาปลั๊กพ่วงคุณภาพต่ำแบบเดิมๆไปได้เลย

หมายเหตุ: ตลับปลั๊กแบบมวนกลมที่สามารถม้วนเก็บสายได้ ในกรณีที่ใช้งานกระแสสูงๆ จำเป็นต้องดึงสายออกจากม้วนให้หมด เพราะหากไม่ดึงสายออกมา สายที่ขดม้วนกันอยู่ภายใน จะเกิดสนามแม่เหล็ก ทำให้เกิดความร้อนได้
Create Date : 26 พฤษภาคม 2552 |
Last Update : 26 พฤษภาคม 2552 17:53:19 น. |
|
32 comments
|
Counter : 62696 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: หนูดำจำมัย วันที่: 26 พฤษภาคม 2552 เวลา:21:48:56 น. |
|
|
|
โดย: pinklilac วันที่: 27 พฤษภาคม 2552 เวลา:9:14:45 น. |
|
|
|
โดย: จ๊ะเอ๋ (เจ๋อ๊ะ ) วันที่: 27 พฤษภาคม 2552 เวลา:9:43:32 น. |
|
|
|
โดย: แม่ส้มแป้น วันที่: 27 พฤษภาคม 2552 เวลา:16:41:33 น. |
|
|
|
โดย: Ronnakorn (ronnakorn ) วันที่: 15 สิงหาคม 2552 เวลา:18:15:22 น. |
|
|
|
โดย: หมูบิน IP: 203.113.28.138 วันที่: 22 ตุลาคม 2552 เวลา:15:36:09 น. |
|
|
|
โดย: bobmberman IP: 180.183.96.203 วันที่: 20 มีนาคม 2553 เวลา:19:20:15 น. |
|
|
|
โดย: iJINZ IP: 183.89.112.144 วันที่: 26 มีนาคม 2553 เวลา:4:47:07 น. |
|
|
|
โดย: จอส IP: 125.24.237.243 วันที่: 21 พฤษภาคม 2553 เวลา:15:45:58 น. |
|
|
|
โดย: กอล์ฟ IP: 124.121.135.238 วันที่: 7 กันยายน 2553 เวลา:13:31:56 น. |
|
|
|
โดย: tawee IP: 118.172.74.186 วันที่: 13 ตุลาคม 2553 เวลา:14:44:15 น. |
|
|
|
โดย: tawee IP: 118.172.74.186 วันที่: 13 ตุลาคม 2553 เวลา:14:45:28 น. |
|
|
|
โดย: ขอแจม IP: 202.91.18.201 วันที่: 25 กรกฎาคม 2554 เวลา:14:52:20 น. |
|
|
|
โดย: juney_07@hotmail.com IP: 192.168.184.253, 183.88.249.38 วันที่: 9 ธันวาคม 2554 เวลา:21:00:14 น. |
|
|
|
โดย: knune IP: 58.8.8.37 วันที่: 14 เมษายน 2555 เวลา:23:14:58 น. |
|
|
|
โดย: ประยงค์ วรรณเสน IP: 101.51.51.243 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:22:50:55 น. |
|
|
|
โดย: 57656 IP: 182.53.81.2 วันที่: 4 เมษายน 2556 เวลา:18:55:13 น. |
|
|
|
โดย: 3253456 IP: 182.53.81.2 วันที่: 4 เมษายน 2556 เวลา:18:57:37 น. |
|
|
|
โดย: Cloning man IP: 171.101.10.243 วันที่: 29 มกราคม 2557 เวลา:10:21:52 น. |
|
|
|
โดย: นวพร IP: 171.7.50.171 วันที่: 14 มีนาคม 2557 เวลา:13:41:22 น. |
|
|
|
โดย: อ้น IP: 27.55.225.60 วันที่: 21 กันยายน 2557 เวลา:10:04:54 น. |
|
|
|
โดย: อ้น IP: 27.55.225.60 วันที่: 21 กันยายน 2557 เวลา:10:15:53 น. |
|
|
|
โดย: อ้น IP: 27.55.225.60 วันที่: 21 กันยายน 2557 เวลา:10:15:53 น. |
|
|
|
โดย: อ้น IP: 27.55.225.60 วันที่: 21 กันยายน 2557 เวลา:10:18:48 น. |
|
|
|
โดย: แบงคื IP: 110.77.148.218 วันที่: 9 พฤษภาคม 2558 เวลา:14:28:57 น. |
|
|
|
โดย: แบงค์ IP: 103.10.231.94 วันที่: 9 พฤษภาคม 2558 เวลา:14:30:16 น. |
|
|
|
โดย: สมโชค IP: 182.255.9.64 วันที่: 22 มีนาคม 2560 เวลา:12:44:16 น. |
|
|
|
โดย: ปลั๊กไฟบล็อกไม้สัก IP: 49.228.124.41 วันที่: 8 มิถุนายน 2560 เวลา:20:57:38 น. |
|
|
|
โดย: วัลลภ IP: 122.155.46.49 วันที่: 13 ตุลาคม 2560 เวลา:14:53:33 น. |
|
|
|
| |
|
-------------------------------------
เนื้อหาที่ปรากฏ อนุญาติให้นำไปใช้เพื่อการศึกษา/หาความรู้
ซึ่งไม่เป็นการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ
-------------------------------------
|
|
|
|
|
|
|
เก่งจังค่ะ