โคมไฟจากแกลลอนพลาสติก
คนป่าจากขวดแกลลอน

วันนี้จะมาทำหัวตนป่า ที่มีสีสันสดใสจากขวดแกลลอนพลาสติกที่ไม่ใช้แล้ว ให้กลับมาใช้ประโยชน์ อีกครั้ง เป็นของเล่นเกมส์โยนลูกบอลล์เข้าปาก หรือทำที่ตักขยะ หรือทำเป็นโคมไฟประดับห้อง เสริมจินตนาการ เป็นแนวทางพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ หรือเป็นกิจกรรมสนุกๆ ภายในครอบครัวยามว่าง

นำขวดมาวาดเส้นตามตำแหน่งที่ต้องการตัด ใช้คัทเตอร์และกรรไกรตัดตามเส้นส่วนของลิ้นจะอยู่ตรง โค้งมนของก้นขวด ควรทำงานร่วมกับผู้ใหญ่ เพื่อป้องกันอันตรายจากคัทเตอร์ ส่วนของฟันที่ตัดแล้ว จะเป็นปลายแหลมตำมือได้ ให้ใช้กรรไกรตัดปลายแหลมออกให้เล็กน้อย



ส่วนของหน้ากากและดวงตา
นำแบบที่วาดไว้แล้วมาตัดออกตามเส้น เหลือส่วนของขอบเส้นสีดำไว้ ติดวงกลมสีขาวทำแววตา ชิดขอบของตาสีดำ และนำมาติดบนหน้ากากสีเหลือง แล้วจึงนำไปติดบนคอขวดส่วนทีเว้าใต้มือจับ กะให้ได้กึ่งกลาง

ส่วนของปากและลิ้น
ทากาวติดปากและลิ้นค่อยๆ ติดจากส่วนปลายลิ้นเข้าไปหาด้านใน ส่วนจมูกตัดกระดาษสีเขียวเป็นเส้นยาวประมาณ 2 นิ้ว ทากาวม้วนหุ้มรอบมือจับ

ถ้าต้องการเน้นฟันให้เด่นขึ้นให้ใช้กระดาษสีฟ้าหรือน้ำเงินติดทับพื้นที่ภายในปาก โดยเว้นส่วนของลิ้นไว้ ผูกไหมพรมที่เตรียมไว้ตรงปากขวด แล้วคลี่ออกให้ฟูเหมือนผม ใช้กาวทาไหมพรมด้านในติดกับขวดไว้เพื่อให้คงรูป



เสร็จแล้วเท่ห์มั๊ยครับ ! เอาไปอวดเพื่อนๆ ตอนกลางวันได้ไม่อายใครหรือถ้าต้องการพาออกงานตอนกลางคืน ก็นี่เลยเจาะรูที่ฝาขวดใส่สายไฟ
ต่อเข้ากับขั้วหลอดแบบแขวน ใช้กับหลอดปิงปองขนาด 10 วัตต์ แขวนไว้ใต้ต้นไม้ สนามหญ้า หรือในห้องรับแขกได้อารมณ์ไปอีกแบบ

นอกจากนี่ยังนำไปดัดแปลงใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่นทำเป็นที่ตักขยะภายในบ้าน หรือผูกเชือกกับลูก บอลล์ด้านหนึ่ง และผูกกับมือจับอีกด้านหนึ่ง
ใช้เล่นเป็นเกมส์โยนลูกบอลล์เข้าปาก กับน้องๆ ก็เข้าท่า เวลาเล่นก็เพียงเหวี่ยงเชือกให้ลูกบอลล์ลอยขึ้น แล้วใช้ปากรับ สนุกได้ไม่ต้องซื้อ



เห็นไหมครับ มีความคิดดีดีบวกศิลปะนิดหน่อย ก็สามารถนำเอาสิ่งเหลือใช้รอบตัวมาทำประโยชน์ได้ ไม่ยากแถมสนุกและเสริมสร้างความสัมพันธ์ในบ้านได้ด้วยประหยัดน้ำมันไม่ต้องเสียตังค์ออกไปเที่ยว นอกบ้าน



Create Date : 15 กรกฎาคม 2552
Last Update : 24 พฤษภาคม 2556 19:16:57 น.
Counter : 2583 Pageviews.

8 comment
กระบอกใส่ของฝาสองด้าน


ตอนที่แล้วเป็นการแสดงขั้นตอนการนำเอาแกนกระดาษทิสชู ทำเป็นกระบอกใส่ดินสอ ตอนนี้เป็นการนำผลงานมาสาทิต และดัดแปลงเพื่อเพิ่มประโยชน์การใช้สอยได้มากขึ้น

แกนกระดาษที่นำมาใช้เป็นแกนกระดาษทิสชูที่มีขนาดใหญ่ซึ่งแข็งแรงกว่าแกนกระดาษทิสชูี่ที่ใช้ตามบ้าน
ใช้กระดาษลูกฟูกตัดเป็นวงกลม ทากาวให้รอบ แล้วปิดก้นให้เสมอขอบแกนกระดาษ
ใช้กระดาษสาผิวหยาบปิดทับรอบนอกเหลือชายกระดาษส่วนล่างไว้ปิดก้นเพิ่มความแข็งแรง และสวยงาม
ตัดกระดาษสาเป็นวงกลมทากาวให้ทั่วโดยเฉพาะริมขอบนำมาปิดทับอีกทีแล้วใช้ผ้าสะอาดลูบให้สนิท
ด้วยคุณสมบัติของกระดาษสาที่แสดงเส้นใยธรรมชาติทำให้ชิ้นงานดูมีราคาไม่ต้องเพิ่มลวด



แกนกระดาษจะมีขนาดที่เท่ากันสามารถนำมาต่อเพิ่มความยาวได้โดยนำมาทากาวเชื่อมต่อขอบทั้งสองอันเข้าด้วยกันทิ้งไว้ให้แห้งเมื่อหุ้มด้วยกระดาษสาจะไม่เห็นรอยต่อ

คราวนี้เราจะมาทำที่ใส่เครื่องเขียนที่มีฝาครอบปิดโดยใช้แกนกระดาษมาตัดทำขอบเสริมอยู่ด้านใน เมื่อสวมปิดจะแน่นสนิทพอดี ซึ่งฝานี้สามารถเลือกใช้ฝาได้ทั้งสองด้าน

การทำขอบและฝาครอบ



วัดขอบแกนกระดาษกว้าง 1 นิ้ว โดยรอบใช้คัทเตอร์ค่อยๆ กรีดตามรอยให้ลึกลงไปครึ่งหนึ่งแล้วค่อยๆ ลอกขอบนอกของความหนาออกครึ่งหนึ่ง
ใช้คัทเตอร์กีดส่วนที่เหลือตามรอยให้ขาดออกจากกัน แต่งขอบให้เรียบร้อย
นำส่วนขอบที่ตัดออกมาสวมลงกับแกนกระดาษด้านในวัดรอบวงให้พอดี แล้วตัดส่วนที่เกินออก
ใช้กาวทารอบด้านในแกนกระดาษนำขอบที่เตรียมไว้มาติดให้ส่วนที่เป็นขอบสูงขึ้นมา 1/2 ของความกว้าง ( ดูรูปด้านบน)
ทากาวที่ขอบด้านล่าง เพื่อเสริมความแข็งแรง ตากแดดหรือตั้งทิ้งไว้ให้แห้ง
ใช้กระดาษลูกฟูกตัดเป็นวงกลมปิดเป็นก้น ของกระบอกส่วนล่าง
ใช้แกนกระดาษที่เหลือจากที่ตัดขอบนำมาเป็นฝาครอบปิดกระดาษลูกฟูกด้านบนโดยติดให้ต่ำ กว่าขอบลงมา 1/2 หรือเท่ากับส่วนสูงของขอบใน
ที่ทำไว้
นำฝาครอบมาทดสองสวมลงบนปากกระบอกที่ทำขอบไว้ ถ้าแน่นเกินไปให้ใช้ด้ามปากกาลูกลื่นกดถูปากขอบให้รอบ เพื่อทำให้หลวมไว้เล็กน้อย เผื่อความหนาของกระดาษสาที่ปิดทับ ( ดูรูปด้านล่าง)

การหุ้มปิดด้วยกระดาษสา



วัดความกว้างของกระดาษเท่ากับส่วนสูงของฝาครอบด้านบนเหลือส่วนที่เลยขอบทั้งด้านล่างและด้านบนประมาน 1/2 นิ้ว
ทากาวให้ทั่วด้านนอกของแกนกระดาษปิดทับด้วยกระดาษสาสีน้ำเงินทากาวที่ขอบบนและ ปลายกระดาษที่ตัดเป็นแฉก แล้วพับลงขอบใน
ดังรูปที่ 1 และ 2
ทำเช่นเดียวกันกับส่วนบนของฝาเสร็จแล้วตัดกระดาษเป็นวงกลมปิดทับให้มิดนำส่วนฝาครอบมาทดลองสวมปิดกับขอบกระบอกให้แน่นพอดี
ใช้กระดาษสาสีฟ้าปิดทับด้านนอกของกระบอกให้ด้านบนเสมอขอบส่วนด้านในตัดกระดาษ กว้าง 1 นิ้ว ปิดทับเฉพาะส่วนที่เป็นขอบ ดูรูปที่ 3
ตัดกระดาษเป็นวงกลมปิดทับส่วนที่พับขอบด้านใต้กระบอกรอยนูนที่เกิดจากการพับขอบให้กดขอบกระบอกกับพื้นหมุนให้รอบจะเรียบมน
เมื่อแห้งแล้วนำฝาครอบมาสวมจะแน่นสนิททั้งสองด้าน ดังรูปที่ 4

ก็คงไม่ยากจนเกินไปนะครับสำหรับตอนนี้ และถ้ามีเวลาพอนำผลงานที่ทำเสร็จแล้วมาต่อเติมเสริมแต่ง เพิ่มลวดลายติดภาพสวยๆ จะเพิ่มมูลค่า
ของงานให้ดูดีมีราคามากขึ้นครับ




Create Date : 15 กรกฎาคม 2552
Last Update : 24 พฤษภาคม 2556 19:16:32 น.
Counter : 711 Pageviews.

1 comment
กระบอกใส่ดินสอ
การใช้เวลาว่างนำของเหลือใช้ หรือของเก่ามาประดิษฐ์ ตบแต่งให้เป็นของใช้สารพัดประโยชน์แล้ว ยังเป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และเพิ่มทักษะงานฝีมือ จนนำไปสู่การสร้างงานเสริมอาชีพได้อีกทางหนึ่ง

ของเหลือใช้ภายในบ้านเช่น กล่องกระดาษ ขวดพลาสติก แม้แต่แกนกระดาษทิสชูที่ใช้หมดแล้วก็สามารถนำมาทำประโยชน์ได้ง่ายๆ เพียงนำแกนกระดาษมาปิดก้นด้วยกระดาษแข็งและหุ้มด้วยกระดาษสี เช่น ปกนิตยสาร กระดาษห่อของขวัญ หรือกระดาษสา จากของทิ้งแล้วกลับมาเป็นที่เก็บของกระจุกกระจิกบนโต๊ะทำงาน หรือหน้าโต๊ะเครื่องแป้ง ที่เก๋ไก๋ตามสไตล์ของคุณเอง

ที่ใส่ดินสอจากแกนทิชชู

1. เริ่มจากนำแกนกระดาษมาวางทาบบนกระดาษแข็งใช้ดินสอวาดเส้นรอบแกนกระดาษเป็นรูปวงกลม
2. ใช้กรรไกรตัดตามรอยเส้น จะได้แป้นสำหรับปิดด้านล่าง ( ก้นกระบอก)
3. ใช้กาวลาเท็กซ์ทาที่สันขอบของแกนกระดาษให้รอบ แล้วนำมาวางลงบนแป้นวงกลมที่ตัดไว้
4. วางทิ้งไว้ให้แห้ง ก่อนนำมาปิดทับด้วยกระดาษสี



1. นำกระบอกที่ทำไว้มาวางทาบบนกระดาษสีวัดขนาดให้ม้วนหุ้มรอบและเหลือส่วนปลายให้เลยออกมาเล็กน้อยจะได้ปิดทับได้สนิท
2. วัดขอบกระดาษส่วนล่างให้เลยออกมาประมาณ 1 ซ. ม. เพื่อไว้พับปิดก้นกระบอก
3. ตัดกระดาษสาตามที่วาดไว้ ส่วนที่เลยก้นกระบอกตัดเป็นรูปฟันปลา ดังรูปที่ 4
4. ทากาวบนกระบอกตามแนวตั้ง จากขอบบนถึงก้นกระบอก
5. นำกระดาษมาทาบตรงที่ทากาวไว้ แล้วลูบให้เรียบ ม้วนกระดาษให้รอบกระบอก



1. ทากาวที่ปลายประดาษส่วนที่เกย แล้วปิดทับ ลูบกระดาษให้เรียบตึง ดังรูปที่ 5
2. ทากาวรอบขอบของก้นกระบอกแล้วพับขอบกระดาษที่ตัดเป็นฟันปลาลงมาให้ติดกันกาวใช้มือ ลูบให้เรียบ
3. ตัดกระดาษให้เป็นวงกลมเล็กกว่าขอบกระบอกเล็กน้อยทากาวปิดทับรอบพับของขอบกระดาษ ดังรูปที่ 6
4. หารูปการ์ตูนสวยๆ หรือรูปเท่ห์ๆ ของตัวเองปิดทับ

เสร็จแล้วครับ ดูแล้วน่ารักดีใช้ไหมครับ ทดลองทำกันหลายๆ อันเก็บไว้ใช้เองหรือเป็นของขวัญใน โอกาสพิเศษให้เพื่อนที่รู้ใจ ไม่ต้องง้อใคร ประหยัดเงินค่าขนมด้วย

หมายเหตุ :

แกนกระดาษทิสชูทั่วไปจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 1/2 ซ.ม.ไม่หนามาก ถ้านำมาทำที่ใส่ ดินสอจะไม่มั่นคงต้องใช้กระดาษแข็งตัดเป็นแป้นสี่เหลี่ยมหรือแป้นวงกลมกว้างประมาณ 7 – 8 ซ.ม. เป็นฐานจึงจะแข็งแรง

ส่วนแกนกระดาษที่ผมใช้เป็นแกนของกระดาษทิสชูแบบม้วนใหญ่ี่ ที่ใช้กับห้องน้ำตามห้าง จะมีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 1/2 ซ.ม. หนาประมาณ 1/2 ซ.ม. แข็งแรงมากสามารถนำมาดัดแปลงทำงาน ฝีมือได้หลากหลายกว่า



Create Date : 15 กรกฎาคม 2552
Last Update : 24 พฤษภาคม 2556 19:16:06 น.
Counter : 1088 Pageviews.

26 comment
ปั้นกระดาษเป็นเงิน
“ ธุรกิจที่ใช้เงินทุนน้อยแต่ให้กำไรมากกว่าร้อยเท่า” เปเปอร์มาเช่คือการนำเอาเศษกระดาษที่เหลือใช้ เช่นหนังสือพิมพ์เก่ามาผสมกับกาวเพื่อทำให้ได้รูปร่างแบบต่างๆแล้วแต่งด้วยสีสดใสก่อนเคลือบด้วยแล็คเกอร์ เป็นสิ้นค้าอมตะที่ได้รับความนิยมทั่วโลก

สเน่ห์ของเปเปอร์มาเช่อยู่ที่ความเรียบง่าย ความเป็นธรรมชาติ ความหลากหลายของรูปแบบและสีสัน ที่สำคัญคือความเป็นศิลปะที่สร้างขึ้นด้วยมือล้วนๆ มีชิ้นเดียวในโลก อาจเป็นเพราะเปเปอร์มาเช่ เป็น ประติมากรรมกระดาษที่ใกล้ชิดกับคนเรามากกว่างานศิลปะอื่นๆ จึงเป็นที่นิยมของคนทุกระดับ

เปเปอร์มาเช่ เป็นงานที่สามารถทำได้หลายรูปแบบและทำได้ง่าย ใช้เทคนิคง่ายๆ วัสดุที่ใช้ก็หาได้ง่าย และราคาถูกคือกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ใช้แล้ว โดยนำกระดาษมาฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ และนำไปแช่น้ำจนเปื่อย แล้วนำมาปิดลงบนแบบที่เตรียมไว้ทากาวปิดทับทีละชั้นจนหนาพอ ทิ้งให้กาวแห้งก่อนแต่งผิวให้เรียบร้อย ด้วยกระดาษสีขาว เสร็จแล้วจึงตกแต่งด้วยสี การทำเปเปอร์มาเช่เป็นงานที่สามารถสร้างผลงาน ตามจินตนาการของตัวเอง ไม่ต้องเหมือนแบบใครลงทุนน้อย เป็นอาชีพอิสระเป็นธุรกิจในครอบครัวเหมาะกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ชาวต่างประเทศจะให้ความสำคัญกับศิลปะทำมือมาก โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นมิตรกับธรรมชาติไม่สร้าง ปัญหากับสิ่งแวดล้อม ยิ่งเป็นของใช้ที่ประดิษฐ์จากวัสดุรีไซเคิ้ลอย่างเปเปอร์มาเช่ด้วยแล้วจะให้ความนิยมมากกว่าสิ่งผลิตจากโรงงานที่เป็นพลาสติกและโฟม เพราะสิ่งเหล่านั้นย่อยสลายยาก ถ้านำไปเผา ก็จะเกิดเป็นควันพิษ สร้างมลภาวะทำให้้โลกร้อน

คุณวันชัย บุญสำราญ ประธานกลุ่มคนกระดาษ ผู้มีประสบการณ์คลุกคลีอยู่ในวงการหัตถกรรมกระ ดาษมากว่า 27 ปี บอกว่าจุดสนใจของธุรกิจเปเปอร์ มาเช่ อยู่ที่การลงทุนต่ำแต่รายได้ดี ทำให้มีนักลง ทุนหน้าใหม่เกิดขึ้นทุกปี ความต้องการของตลาด “ ในยุโรปนิยมบริโภคความดิบของชิ้นงานตรงที่มองเห็นรายละเอียดเท็คเจอร์ของเส้นใยกระดาษที่มีความสวยงามในตัวเอง สีที่ใช้จะเป็นสีโทนเย็นให้อารมณ์ ความรู้สึกที่สงบนิ่งบางชิ้นแทบไม่ต้องลงสีเลยก็มี และที่สำคัญลักษณะของชิ้นงานเป็นงานลอยตัวโดดเด่น หรือเป็นดีสเพลย์ตกแต่งในงานเทศกาลต่างๆ จะได้รับความนิยมมาก”

ขณะที่ตลาดยุโรปเน้นเป็นของแต่งบ้าน ต่างกับในอเมริกาที่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยเป็นอันดับแรก เช่น กล่องใส่ของ ถุงกระดาษที่มีดีไซน์ในรูปแบบที่แตกต่างกัน เป็นต้น

สำหรับตลาดเอเซียอย่างในตะวันออกกลาง ใต้หวัน สิงคโปร์ จะเน้นที่สีสันฉูดฉาด มีลูกเล่นในที่เป็น ดีไซน์ค่อนข้างมากการจะยืนอยู่ในธุรกิจเปเปอร์มาเช่ผู้ออกแบบจะต้องเข้าใจเพราะเป็นการพบกันคนละครึ่งทางระหว่างศิลปะและการค้าในสัดส่วนศิลปะ 30% และการค้า 70%

ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามได้ที่สถาบันพัฒนาการอาชีพหัตถศิลป์ โทร .02-5191194

เปเปอร์มาเช่ การ์ตูนล้อคนดังสร้างเงินจากไอเดีย



คุณรุ่งธรรม ธรรมเที่ยง เจ้าของความคิด"ทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้" ด้วยแนวคิดเก๋ไก๋เป็นงาน ศิลปะ เปเปอร์มาเช่รูปล้อเลียนคนดังเช่น บิน ลาเดน นักฟุตบอล โรนัลโด้ เดวิด เบ๊กแฮม และบุคคล ที่มีชื่อเสียงต่างๆ เป็นที่ใส่ทิสชููแขวนฝาผนังโดยให้ทิสชูออกมาทางตา ทางหู หรือทางจมูก

สิ่งที่คุณรุ่งธรรมคิดก็คือ การเลียนแบบภาพคนดังจะทำให้อยู่ในกระแสความนิยมได้เรื่อยๆ และนี่เป็น จุดหนึ่งที่นับว่าเป็นจุดขายทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่แวะเข้า ในสวนลุมพาซ่าทั้งชาวยุโรปและเอเซีย

นอกจากเทคนิคในการผลิตแล้ว "ก่อนที่เราจะผลิตอะไรออกมาต้องดูก่อนว่าจะขายใคร เมื่อทราบว่าจะ ขายใครก็จะโยงไปที่ราคาขาย และต้นทุน ผมวางแผนว่า จะทำที่ใส่ทิชชู คนที่ใช้ทิสชูต้องเป็นคน ระดับกลางๆ ถึงบน เมื่อได้กลุ่มลูกค้าแล้วก็ทำสินค้าให้เหมาะกับกลุ่มลูกค้า คำนวณราคาขาย ต้นทุน การผลิต สถานที่วางขาย ต้องเชื่อมโยงกันไป"

เป็นหลักการตลาดที่คำนึงถึงปัจจัย 4 ข้อ คือ ตัวผลิตภัณฑ์ ราคาขาย สถานที่ขาย และการโฆษณา ประชาสัมพันธ์หรือที่ในภาษาอังกฤษจะใช้ตัวอักษรที่จำง่าย ๆ คือ 4 p ได้แก่ product price place promotion

" สมัยนี้ทำงานศิลป์เพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีเรื่องการตลาดเข้ามาด้วย ซึ่งผมมีเพื่อนอีกคนหนึ่ง ช่วยดูทางด้านการตลาดให้ ส่วนผมเป็นฝ่ายผลิต"

คลิกเข้าไปดูรายละเอียดได้ในเว็บไซท์ Idea I am หรือแวะไปคุยกับคุณรุงธรรมที่สวนลุมไนท์พาซ่า

เปเปอร์มาเช่ หลุดโลกโอทอปจากเมืองสิงห์



ปกติงานเปเปอร์มาเช่ทั่วไป จะเน้นที่ความสวยงามน่ารัก แต่ผลิตภัณฑ์โอทอป จากกลุ่มศิลป์อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี มีรูปแบบต่างออกไป โดยนำเสนอความแตกต่าง ออกมาในสไตล์ดูแปลกเหนือธรรมชาติแต่ ก็มีเสน่ห์ไปอีกแบบ

“ แคทรียา สุขสัมฤทธิ์” ทายาทเจ้าของไอเดียเล่าที่มาว่า เมื่อ 3 ปีที่แล้ว จ.สิงห์บุรี เกิดปัญหาน้ำท่วม หนัก จนไม่สามารถออกจากบ้านได้ คุณพ่อ (อนันต์ สุขสัมฤทธิ์) ได้ใช้เวลาว่างขึ้นแบบเปเปอร์มาเช่ โดยสร้างรูปแบบของตัวเอง มีจุดเด่นที่ผิวหยาบ ซึ่งเป็นเทคนิคพิเศษเฉพาะตัว ในขณะที่เน้นทาด้วยสี สด ให้อารมณ์ของตัวเปเปอร์มาเช่มีความสนุกสนาน ยียวนแต่ดูน่ารัก และเป็นแบบแนวเหนือธรรม ชาติ แต่ใช้งานได้จริง อาทิ ออกแบบเป็นกระปุกออมสิน , กรอบรูป , กระจก , ที่แขวน กระดาษชำระ เป็นต้น ส่วนราคาขายแค่หลักร้อยต้นๆ เท่านั้น

แคทรียา เล่าต่อว่าการออกแบบทั้งหมดคุณพ่อเธอจะเป็นคนคิดขึ้นเองโดยแหล่งหาข้อมูลคือรายการสารคดีเกี่ยวกับสัตว์ต่างๆ ทำให้พบเห็นสัตว์นานาชนิดจากทั่วทุกมุมโลกนำเอาบุคลิกมาประยุกต์ออกมาเป็นตุ๊กตาเปเปอร์มาเช่ แปลก แปลกที่คนทั่วไปไม่เคยเห็นมาก่อน

สำหรับช่องทางจำหน่ายสินค้า ทุกวันนี้มีร้านอยู่ที่สวนจตุจักรโครงการ 2 และมีตัวแทนในเมืองพัทยา รับไปจำหน่าย ส่วนเป้าหมายหลักที่วางไว้จะส่งไปยังตลาดต่างชาติ โดยเฉพาะแถบยุโรปซึ่งจะชอบ งาน ลักษณะนี้ ซึ่งกำลังหาช่องทางส่งออกต่อไป

เปเปอร์มาเช่ ออกแบบดีมีอนาคต



นุจรี ปรีดาสุวรรณ อายุ 31 ปี เป็นอีกคนหนึ่งที่มาจับธุรกิจการทำเปเปอร์มาเช่ เพราะมีความรู้สึกเบื่อ กับงานที่ทำอยู่จึงตัดสินใจลาออก และต้องการจะมีธุรกิจเป็นของตัวเองที่สามารถทำงานอยู่กับบ้าน ได้ จึงมองไปที่งานประดิษฐ์ของตกแต่งบ้าน เพราะพอจะมีความรู้เรื่องศิลปะอยู่บ้างจากที่เรียนมา

สาเหตุที่ทำงานเปเปอร์มาเช่ เพราะคิดว่าตลาดด้านนี้น่าจะไปได้ไกล ลงทุนที่ไม่สูงมากนัก ลูกค้าก็มี ทุกเพศทุกวัยและมีทั้งชาวไทยและต่างชาติอีกอย่างงานเปเปอร์มาเช่นั้นสามารถคิดพัฒนารูปแบบได้มากมายไม่มีการตัน จึงตัดสินใจที่จะผลิตงานเปเปอร์มาเช่ออกจำหน่าย

นุจรีบอกว่า สุดท้ายก็มาลงตัวที่จะทำเป็นสัตว์ ต่าง ๆ เพราะส่วนตัวแล้วเป็นคนชอบสัตว์ เพียงแต่ต้อง ดึงเอาความน่ารักใสซื่อของสัตว์เหล่านั้นออกมาทำให้ได้ ทดลองทำอยู่ประมาณ 2-3 เดือนก็สามารถ ได้แบบที่ต้องการส่วนขนาดที่ทำไม่ใหญ่มาก ที่ไม่ทำงานชิ้นใหญ่ เพราะส่วนใหญ่บริษัทใหญ่ ๆ จะทำ กันหมดแล้ว...

การลงทุนทำแรก ๆ นั้น นุจรีบอกว่าก็มีความลำบากอยู่บ้าง เพราะไม่มีความรู้ในเรื่องของการทำธุรกิจ มาก่อนก็ได้เข้าไปอบรมกับโครงการ NEC การทำธุรกิจก็ดีขึ้น สามารถบริหารจัดการบัญชีวางแผนจัด จำหน่ายและทำสินค้าให้้ดึงดูดใจลูกค้าได้มากขึ้น

ขั้นตอนการทำ...เริ่มจากการออกแบบสเกตช์ภาพสัตว์ในอิริยาบถต่าง ๆ ที่ต้องการจะทำหลังจากที่ได้ แบบ ที่ต้องการแล้ว ต่อจากนั้นก็ลงมือปั้นแบบด้วยขี้ผึ้ง การที่ต้องใช้ขี้ผึ้งมาปั้นแบบนั้นก็เพราะว่าขี้ผึ้ง มีความแข็ง เวลาแก้แบบสามารถแก้ไขได้ง่ายกว่าใช้ดินน้ำมันหรือดินเหนียวปั้น

การปั้นแบบก็จะปั้นเฉพาะส่วนหัวกับตัว ส่วนพวกขา หู จะใช้การปะติดทีหลัง เมื่อได้แบบที่ปั้นเสร็จแล้ว ก็ทำการหล่อแบบด้วยปูนปลาสเตอร์ การหล่อนั้นต้องใช้ดินน้ำมันเป็นตัวกั้นกลาง ค่อยๆ หล่อทีละข้าง จนครบ...

หลังจากได้แบบที่หล่อด้วยปูนปลาสเตอร์แล้ว ก็ทำการปะติดกระดาษหนังสือพิมพ์ลงไปบนแบบ ปิดทับไปเรื่อย ๆ พอความหนาได้ประมาณ 2 มิลลิเมตรก็พอ จากนั้นก็ปล่อยทิ้งไว้ให้กาวแห้ง สนิท แล้วถึงจะแกะออกจากแบบได้ ระวัง..ถ้าไม่แห้งสนิทเวลาแกะออกจากแบบรูปทรงจะบิดเบี้ยว?

กระดาษที่ใช้ปะติดนั้นจะต้องใช้วิธีการฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ ไม่ควรใช้วิธีตัดด้วยกรรไกร เป็นเคล็ดลับของ นุจรี และเมื่องัดกระดาษที่ติดลงบนแบบออกมาแล้ว ก็ทำการประกบเข้าด้วยกันโดยใช้กาวลาเท็กซ์ติด จากนั้นก็ต่อขาและหูโดยขานั้นจะให้ตะเกียบไม้เสียบ ใช้กระดาษปั่นผสมกาวปั้นติดเป็นรูปทรงแล้วก็ ใช้กระดาษสาปะติดทับซ้ำอีกรอบ ที่ต้องใช้กระดาษสาก็เพื่อต้องการให้ผิวเรียบ สวยงาม...

ขั้นต่อไปก็ทำการลงสีขาวเพื่อเป็นการรองพื้นต่อไปก็ลงสีสันต่าง ๆ ตามที่ต้องการและขั้นตอนสุด ท้ายก็เป็นการพ่นแลกเกอร์เพื่อเคลือบเงา

เปเปอร์มาเช่ของนุจรี ที่ทำขายอยู่นั้นมีราคาตั้งแต่ 100 บาท ไปจนถึง 3,500 บาทโดยสินค้าที่ขายดี ตอนนี้ก็เห็นจะเป็นเปเปอร์มาเช่ สัตว์ชนิดต่าง ๆ ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 370 บาท... ติดต่อ นุจรี ปรีดาสุวรรณ เปิดร้าน Paper space อยู่ที่ซอย 6 JJ มาร์เก็ต จ.เชียงใหม่ โทร.0-9852-6517



ที่มา : หนังสือ SMEs ชี้ช่องรวย / ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต




Create Date : 15 กรกฎาคม 2552
Last Update : 24 พฤษภาคม 2556 19:15:45 น.
Counter : 1767 Pageviews.

6 comment
ขยะรีไซเคิ้ล
หลายปีที่ผ่านมา เราคงคุ้นกับคำว่า “ รีไซเคิล” หรือการนำเอาสิ่งที่ไม่ได้ใช้หรือของเก่าเอามาแปรรูป แล้วกลับมาใช้ใหม่หลังยุคฟองสบู่แตก “ ซาเล้ง” รับซื้อขวดกระดาษหนังสือพิมพ์และเศษเหล็ก ฟูเฟื่อง และเกิดเป็นธุรกิจรับซื้อของเก่าทั่วทุกหัวละแหงผู้มีทุนมากหน่อยก็จะใช้เป็นรถปิคอัพ ทุ่นน้อยหน่อยก็เป็นซาเล้ง จักรยานสองล้อหรือรถเข็นที่จนจริงๆ ก็จะแบกถุงเดินเก็บขวด กระป๋องน้ำอัดลม และเศษกระดาษตามถังขยะริมถนน



ที่น่ายกย่องและสรรเสริญคงเป็นที่ วัดสวนแก้วของพระพยอมกัลยาโณที่เปิดรับบริจาคของเก่ามาแปร รูปเปิดเป็นซุปเปอร์มาเก็ตคนจนเป็นที่พึงของคนยากสร้างงานให้ผู้ไร้อาชีพได้ให้ลืมตาอ้าปากแก้ ปัญหาสังคมได้อย่างตรงจุดได้ประโยชน์ทั้งผู้ให้และผู้รับ

และด้วยนโยบายประชานิยมของรัฐบาลทั้งกองทุนหมู่บ้านการพักชำระหนี้ และ 30 บาท รักษาทุกโรค ทำให้ประชาชนชั้นรากหญ้าได้กลับมายืนขึ้นและหันมาพัฒนาอาชีพใกล้ตัว เอาวัสดุที่ผลิตได้ในชุมชนมาแปรรูปเป็นสินค้าทำเองใช้เองและนำออกขายแต่ก็เป็นไปได้ไม่นานทุกอย่างก็ค่อยๆ กลับสู่สภาพเหลืออยู่บ้างก็เพียงส่วนน้อย ที่ยืนขึ้นได้ เพราะทำธุรกิจมาก่อนแล้ว เมื่อได้รับการผลักดันจากภาครัฐจึงมีโอกาสโตขึ้น ได้เป็นสินค้า OTOP3 ดาวบ้าง 4 ดาวบ้าง

เมื่อพูดถึงสินค้า OTOP คงต้องยอมรับว่าเป็นนโยบายหนึ่งที่เข้าตาชาวบ้าน เพราะเป็นนโยบายที่รัฐบาลมุ่งหาเสียงในระดับรากหญ้าต้องทุ่มเงินมหาศาลอย่างต่อเนื่องเพื่อการโปรโมตโครงการให้เห็นเป็นรูปธรรมเพราะ สมัยนี้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปสินค้าทุกอย่างหากไม่มีการประชาสัมพันธ์หรือการสร้างภาพสร้างกระแสก็ยากที่จะได้รับการยอมรับ



ลองย้อนกลับมาดูการ รีไซเคิล กันอีกสักครั้ง

กระบวนการที่เรียกว่า " รีไซเคิล" คือ การนำเอาของเสียที่ผ่านการใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ที่อาจ เหมือน เดิมหรือไม่เหมือนเดิมก็ได ้ของใช้แล้วจากภาคอุตสาหกรรมนำกลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ กระดาษ แก้ว กระจก อะลูมิเนียมและพลาสติก "การรีไซเคิล"เป็นหนึ่งในวิธีการลดขยะ ลดมลพิษให้กับสภาพแวดล้อม ลดการใช้พลังงาน และลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของโลก ไม่ให้ถูกนำมาใช้สิ้นเปลืองมากเกินไป

การแปรรูปของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่มีกระบวนการอยู่ 4 ขั้นตอน ได้แก่
1. การเก็บรวบรวม
2. การแยกประเภทวัสดุแต่ละชนิดออกจากกัน
3. การผลิตหรือปรับปรุง
4. การนำมาใช้ประโยชน์ในขั้นตอนการผลิตหรือปรับปรุงนั้น

วัสดุที่แตกต่างชนิดกันจะมีกรรมวิธีในการผลิตแตกต่างกัน เช่น ขวด แก้วที่ต่างสี พลาสติกที่ต่างชนิด หรือกระดาษที่เนื้อกระดาษและสีที่แตกต่างกันต้องแยกประเภทออกจากกัน เมื่อผ่านขั้นตอนการผลิตแล้วของเสียที่ใช้แล้วเหล่านี้จะกลายมาอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ใหม่ จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนในการนำมา ใช้ประโยชน์ ผลิตภัณฑ์รีไซเคิลจึงสามารถสังเกตได้จากเครื่องหมายที่ประทับไว้บนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตทุกครั้ง

การรีไซเคิลทำให้โลกมีจำนวนขยะลดน้อยลง และช่วยลดปริมาณการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็น วัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมให้น้อยลงลดการถลุงแร่บริสุทธิ์และลดปริมาณการโค่นทำลายป่าไม้ลงด้วยการหมุนเวียนนำมาผลิตใหม่ยังเป็นการลดการใช้พลังงานจากใต้พิภพลดปริมาณการปล่อยก๊าซ

คาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่อากาศลดภาวะการเกิดฝนกรด และปัญหาโลกร้อน สำหรับประเทศไทยนั้น จากการศึกษาของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ สิ่งแวดล้อมพบว่าศักยภาพของวัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์จากมูลฝอยที่เก็บขนได้ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศมีประมาณร้อยละ 16.34 ของปริมาณมูลฝอยที่เก็บได้แต่มีเพียงร้อยละ 7 หรือประมาณ 2,360 ตันต่อวันเท่านั้น ที่มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ การนำกลับ มาใช้ใหม่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยเพิ่มคุณภาพให้กับชีวิตเพิ่มคุณค่าให้กับสิ่งแวดล้อมและช่วยถนอมรักษาทรัพยากรธรรมชาติของโลกไว้ได้ดีที่สุด ในหนทางหนึ่งวัสดุรีไซเคิลเหล่านั้นได้แก่ กระดาษแก้วพลาสติก โลหะ น้ำมัน และอื่นๆ



การรีไซเคิลกระดาษ
เกือบ 30เปอร์เซ็นต์ ของกระดาษที่ใช้แล้วที่ได้มีการนำกลับมาทำผลิตภัณฑ์ใหม่อีกครั้ง ส่วนที่เหลือ จะกลายเป็นขยะอยู่ในแหล่งทิ้งขยะ

ในปีหนึ่งๆจะมีใบปลิวแผ่นโฆษณาหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ จำนวนมหาศาลที่ผ่านการอ่านเพียง ไม่ถึงครึ่งและกลายเป็นขยะนับว่าเป็นการใช้ทรัพยากรที่สิ้นเปลืองที่สุดกระดาษทุกชนิดที่เราใช้ทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ผลิตจากเนื้อเยื่อของต้นไม้และมีกระดาษหลายชนิดที่เมื่อใช้แล้วสามารถนำมาผลิตใช้ได้อีกเช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษบันทึก กระดาษสำเนา กระดาษพิมพ์ดีดและกระดาษคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

การรีไซเคิลกระดาษ เริ่มต้นด้วยกระบวนการใช้น้ำและสารเคมีกำจัดหมึกที่ปนเปื้อนออก ไปทำให้กระ ดาษเหล่านั้นกลายเป็นเนื้อเยื่อ จากนั้นจึงทำความสะอาดเนื้อเยื่อเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการผลิตเส้นใย ที่สามารถนำไปผลิตเป็นกระดาษต่อไป

กระดาษที่ใช้แล้วเมื่อนำมาผลิตขึ้นใช้ใหม่มีกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อนไฟเบอร์ในเนื้อเยื่อของ
กระดาษจะลดน้อยลง กระดาษที่ผลิตขึ้นใหม่จึงมีคุณภาพด้อย กระดาษรีไซเคิลส่วนใหญ่จึงเหมาะสำหรับทำเป็นกล่องบรรจุสินค้าและแปรรูปทำเป็นฝ้าเพดาน หรือฉนวนกันความร้อน มีเพียงร้อยละ 3 เปอร์เซ็นต์ ของกระดาษหนังสือพิมพ์เท่านั้นที่สามารถนำไปผลิตเป็นสิ่งพิมพ์ได้ใหม่

แล้วที่เหลือล่ะ ! เราควรนำมาทำอะไรให้ได้ประโยชน์มากกว่านั้น คงต้องติดตามตอนต่อไป



ที่มา : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ภาพจากอินเตอร์เน็ต




Create Date : 15 กรกฎาคม 2552
Last Update : 24 พฤษภาคม 2556 19:15:21 น.
Counter : 632 Pageviews.

4 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  

idea4thai
Location :
ปทุมธานี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]



ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเยาวชนและชุมชมไทย

All Blog