ขยะรีไซเคิ้ล
หลายปีที่ผ่านมา เราคงคุ้นกับคำว่า “ รีไซเคิล” หรือการนำเอาสิ่งที่ไม่ได้ใช้หรือของเก่าเอามาแปรรูป แล้วกลับมาใช้ใหม่หลังยุคฟองสบู่แตก “ ซาเล้ง” รับซื้อขวดกระดาษหนังสือพิมพ์และเศษเหล็ก ฟูเฟื่อง และเกิดเป็นธุรกิจรับซื้อของเก่าทั่วทุกหัวละแหงผู้มีทุนมากหน่อยก็จะใช้เป็นรถปิคอัพ ทุ่นน้อยหน่อยก็เป็นซาเล้ง จักรยานสองล้อหรือรถเข็นที่จนจริงๆ ก็จะแบกถุงเดินเก็บขวด กระป๋องน้ำอัดลม และเศษกระดาษตามถังขยะริมถนน



ที่น่ายกย่องและสรรเสริญคงเป็นที่ วัดสวนแก้วของพระพยอมกัลยาโณที่เปิดรับบริจาคของเก่ามาแปร รูปเปิดเป็นซุปเปอร์มาเก็ตคนจนเป็นที่พึงของคนยากสร้างงานให้ผู้ไร้อาชีพได้ให้ลืมตาอ้าปากแก้ ปัญหาสังคมได้อย่างตรงจุดได้ประโยชน์ทั้งผู้ให้และผู้รับ

และด้วยนโยบายประชานิยมของรัฐบาลทั้งกองทุนหมู่บ้านการพักชำระหนี้ และ 30 บาท รักษาทุกโรค ทำให้ประชาชนชั้นรากหญ้าได้กลับมายืนขึ้นและหันมาพัฒนาอาชีพใกล้ตัว เอาวัสดุที่ผลิตได้ในชุมชนมาแปรรูปเป็นสินค้าทำเองใช้เองและนำออกขายแต่ก็เป็นไปได้ไม่นานทุกอย่างก็ค่อยๆ กลับสู่สภาพเหลืออยู่บ้างก็เพียงส่วนน้อย ที่ยืนขึ้นได้ เพราะทำธุรกิจมาก่อนแล้ว เมื่อได้รับการผลักดันจากภาครัฐจึงมีโอกาสโตขึ้น ได้เป็นสินค้า OTOP3 ดาวบ้าง 4 ดาวบ้าง

เมื่อพูดถึงสินค้า OTOP คงต้องยอมรับว่าเป็นนโยบายหนึ่งที่เข้าตาชาวบ้าน เพราะเป็นนโยบายที่รัฐบาลมุ่งหาเสียงในระดับรากหญ้าต้องทุ่มเงินมหาศาลอย่างต่อเนื่องเพื่อการโปรโมตโครงการให้เห็นเป็นรูปธรรมเพราะ สมัยนี้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปสินค้าทุกอย่างหากไม่มีการประชาสัมพันธ์หรือการสร้างภาพสร้างกระแสก็ยากที่จะได้รับการยอมรับ



ลองย้อนกลับมาดูการ รีไซเคิล กันอีกสักครั้ง

กระบวนการที่เรียกว่า " รีไซเคิล" คือ การนำเอาของเสียที่ผ่านการใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ที่อาจ เหมือน เดิมหรือไม่เหมือนเดิมก็ได ้ของใช้แล้วจากภาคอุตสาหกรรมนำกลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ กระดาษ แก้ว กระจก อะลูมิเนียมและพลาสติก "การรีไซเคิล"เป็นหนึ่งในวิธีการลดขยะ ลดมลพิษให้กับสภาพแวดล้อม ลดการใช้พลังงาน และลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของโลก ไม่ให้ถูกนำมาใช้สิ้นเปลืองมากเกินไป

การแปรรูปของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่มีกระบวนการอยู่ 4 ขั้นตอน ได้แก่
1. การเก็บรวบรวม
2. การแยกประเภทวัสดุแต่ละชนิดออกจากกัน
3. การผลิตหรือปรับปรุง
4. การนำมาใช้ประโยชน์ในขั้นตอนการผลิตหรือปรับปรุงนั้น

วัสดุที่แตกต่างชนิดกันจะมีกรรมวิธีในการผลิตแตกต่างกัน เช่น ขวด แก้วที่ต่างสี พลาสติกที่ต่างชนิด หรือกระดาษที่เนื้อกระดาษและสีที่แตกต่างกันต้องแยกประเภทออกจากกัน เมื่อผ่านขั้นตอนการผลิตแล้วของเสียที่ใช้แล้วเหล่านี้จะกลายมาอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ใหม่ จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนในการนำมา ใช้ประโยชน์ ผลิตภัณฑ์รีไซเคิลจึงสามารถสังเกตได้จากเครื่องหมายที่ประทับไว้บนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตทุกครั้ง

การรีไซเคิลทำให้โลกมีจำนวนขยะลดน้อยลง และช่วยลดปริมาณการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็น วัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมให้น้อยลงลดการถลุงแร่บริสุทธิ์และลดปริมาณการโค่นทำลายป่าไม้ลงด้วยการหมุนเวียนนำมาผลิตใหม่ยังเป็นการลดการใช้พลังงานจากใต้พิภพลดปริมาณการปล่อยก๊าซ

คาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่อากาศลดภาวะการเกิดฝนกรด และปัญหาโลกร้อน สำหรับประเทศไทยนั้น จากการศึกษาของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ สิ่งแวดล้อมพบว่าศักยภาพของวัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์จากมูลฝอยที่เก็บขนได้ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศมีประมาณร้อยละ 16.34 ของปริมาณมูลฝอยที่เก็บได้แต่มีเพียงร้อยละ 7 หรือประมาณ 2,360 ตันต่อวันเท่านั้น ที่มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ การนำกลับ มาใช้ใหม่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยเพิ่มคุณภาพให้กับชีวิตเพิ่มคุณค่าให้กับสิ่งแวดล้อมและช่วยถนอมรักษาทรัพยากรธรรมชาติของโลกไว้ได้ดีที่สุด ในหนทางหนึ่งวัสดุรีไซเคิลเหล่านั้นได้แก่ กระดาษแก้วพลาสติก โลหะ น้ำมัน และอื่นๆ



การรีไซเคิลกระดาษ
เกือบ 30เปอร์เซ็นต์ ของกระดาษที่ใช้แล้วที่ได้มีการนำกลับมาทำผลิตภัณฑ์ใหม่อีกครั้ง ส่วนที่เหลือ จะกลายเป็นขยะอยู่ในแหล่งทิ้งขยะ

ในปีหนึ่งๆจะมีใบปลิวแผ่นโฆษณาหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ จำนวนมหาศาลที่ผ่านการอ่านเพียง ไม่ถึงครึ่งและกลายเป็นขยะนับว่าเป็นการใช้ทรัพยากรที่สิ้นเปลืองที่สุดกระดาษทุกชนิดที่เราใช้ทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ผลิตจากเนื้อเยื่อของต้นไม้และมีกระดาษหลายชนิดที่เมื่อใช้แล้วสามารถนำมาผลิตใช้ได้อีกเช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษบันทึก กระดาษสำเนา กระดาษพิมพ์ดีดและกระดาษคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

การรีไซเคิลกระดาษ เริ่มต้นด้วยกระบวนการใช้น้ำและสารเคมีกำจัดหมึกที่ปนเปื้อนออก ไปทำให้กระ ดาษเหล่านั้นกลายเป็นเนื้อเยื่อ จากนั้นจึงทำความสะอาดเนื้อเยื่อเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการผลิตเส้นใย ที่สามารถนำไปผลิตเป็นกระดาษต่อไป

กระดาษที่ใช้แล้วเมื่อนำมาผลิตขึ้นใช้ใหม่มีกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อนไฟเบอร์ในเนื้อเยื่อของ
กระดาษจะลดน้อยลง กระดาษที่ผลิตขึ้นใหม่จึงมีคุณภาพด้อย กระดาษรีไซเคิลส่วนใหญ่จึงเหมาะสำหรับทำเป็นกล่องบรรจุสินค้าและแปรรูปทำเป็นฝ้าเพดาน หรือฉนวนกันความร้อน มีเพียงร้อยละ 3 เปอร์เซ็นต์ ของกระดาษหนังสือพิมพ์เท่านั้นที่สามารถนำไปผลิตเป็นสิ่งพิมพ์ได้ใหม่

แล้วที่เหลือล่ะ ! เราควรนำมาทำอะไรให้ได้ประโยชน์มากกว่านั้น คงต้องติดตามตอนต่อไป



ที่มา : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ภาพจากอินเตอร์เน็ต




Create Date : 15 กรกฎาคม 2552
Last Update : 24 พฤษภาคม 2556 19:15:21 น.
Counter : 632 Pageviews.

4 comments
  
//www.koonrecycle.co.cc/




รีไซเคิ้ลเปิดใหม่ครับ จังหวัดนครราชสีมา
ว่างๆก็เข้ามาเยี่ยมชมได้นะครับ
โดย: BK IP: 180.180.160.211 วันที่: 29 มิถุนายน 2553 เวลา:19:45:53 น.
  
อยากำได้ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของขยะรีไซเคิ้ล
โดย: n.may IP: 118.175.125.206 วันที่: 6 กันยายน 2553 เวลา:10:10:46 น.
  
ทามว่า !!!!

รีไซเคล

นานไมค๊าบ

ประมาณกี่เดือน/วัน

!!!!!!
โดย: ห้อยเซอร์วิท เพชรบุรี IP: 122.154.68.66 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2553 เวลา:15:52:34 น.
  
อยากรู้ราคาติกรวม


โดย: ภพ IP: 117.47.103.220 วันที่: 6 มกราคม 2554 เวลา:22:11:44 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

idea4thai
Location :
ปทุมธานี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]



ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเยาวชนและชุมชมไทย

All Blog