Group Blog
 
All Blogs
 

Soft Test : ชั้นวางเครื่องเสียง "Audiophile Base" ; Alphabase, Betabase, & Stratabase

Editor : Mr.Chaiwat Jongpatanagitruang

Reviewer, Photographer, & Writer : Highfly

 

 

ท่านผู้อ่านเคยบ้างไหมครับ เวลาที่ลองเครื่องเสียงมาจากโชว์รูมเสียอย่างดิบดี พอยกกลับมาเซตที่บ้านแล้วกลายเป็นว่าเสียงเบสที่เคยกระชับ รายละเอียดที่เคยระยิบระยับ มิติที่เคยถูกแจกแจงได้อย่างเด็ดขาดชัดเจน ทุกสิ่งทุกอย่างพาลกลับฟังดูมืดมัว อื้ออึง รกหู ตำแหน่งของชิ้นดนตรีต่างๆโดยเฉพาะที่มีเสียงต่ำนั้น มีมิติที่แบนราบ ราวกับว่ากำลังฟังเพลงจากลำโพงทั้งสองข้างในโหมดโมโน(mono)อยู่อย่างนั้นแหละ

1128

ผมอยากจะบอกว่าสาเหตุหนึ่ง มาจากเสียงเบสที่อื้ออึงนั่นเองครับ ที่คอยมารบกวนย่านความถี่อื่นๆ รวมไปถึงรายละเอียดและมิติต่างๆให้อ่อนด้อยลงไป ซึ่งเสียงที่อื้ออึงนั้นก็ไม่ได้มาจากไหน แต่เกิดจากการสั่นคราง(resonance)ของตัวตู้ โต๊ะ หรือแม้กระทั่งชั้นวางราคาประหยัด แต่ไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้กับเครื่องเสียงเป็นการเฉพาะ ทำให้เกิดไวเบรชั่นไปตามเสียงเพลงที่เปิดอยู่นั่นเอง ค่อนข้างโชคร้ายที่เสียงรบกวนเหล่านี้มักอยู่ในย่านความถี่ต่ำๆ-จนถึงต่ำมาก ทำให้เราไม่สามารถหาแหล่งต้นตอที่แน่ชัดของมันได้ และหลงคิดไปว่าเป็นเสียงที่มาจากลำโพง หลายท่านพยายามปรับแก้ด้วยวิธีการเปลี่ยนเส้นสายสัญญาณต่างๆ ก็ยังไม่หาย และที่โชคร้ายไปกว่านั้น ผมเชื่อว่านักเล่นเครื่องเสียงกว่า 90% ล้วนเจอปัญหาชั้นวางแอ่น-งอ โค้งเว้าไปตามทิศทางแรงดึงดูดของโลก เป็นอาการที่เริ่มส่อเค้าว่าจะรับน้ำหนักชุดเครื่องเสียงสุดที่รักของคุณไม่ไหวแล้วนั่นเอง
{A4}

ผมคิดว่าหากท่านใดกำลังประสบปัญหาทั้งหลายนี้อยู่ อย่าฝืนทนอีกต่อไปเลยครับ เราลองหันมาใส่ใจกับชั้นวางที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับนักเล่นเครื่องเสียง ผู้ที่มีใจรักในความเป็นออดิโอไฟล์จริงๆ กันดีกว่า เราลองมาเพิ่มความพิถีพิถันกันอีกสักนิด ลงทุนเพิ่มในรายละเอียดกันอีกสักหน่อย แล้วคุณจะรู้สึกได้ถึงความคุ้มค่าที่ย้อนกลับมา ในทุกๆขณะเวลาที่ได้ดูหนัง-ฟังเสียงเพลงจากชุดซิสเต็มชุดเดิมของคุณอย่างแน่นอนครับ
:D




 

Create Date : 24 กันยายน 2555    
Last Update : 2 ตุลาคม 2555 12:34:26 น.
Counter : 2972 Pageviews.  

รีวิว : DAC Ayre QB-9 สายธารแห่งเสียงเพลงในโลกยุคดิจิตอล

Editor : Mr.Chaiwat Jongpatanagitruang

Reviewer, Photographer, & Writer : Highfly

 

<cool>
Ayre QB-9 นับได้ว่าเป็นอุปกรณ์ประเภท D/A Converter สำหรับการฟังเพลงอีกตัวหนึ่งที่อยู่ในชั้นแนวหน้า อีกทั้งยังได้รับการการันตีและถูกจัดอันดับให้เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทดิจิตอลโปรเซสซิ่ง ในระดับ A+ โดยนิตยสาร Stereophile ปี 2010 และล่าสุดในปี 2012 (โปรดคลิกที่เลขปีเพื่อดูรายละเอียด) ซึ่ง DAC Ayre QB-9 ที่ผมจะกล่าวถึงในรีวิวนี้ จะทำหน้าที่ในการปรับเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ตัวเดิมของคุณ ให้กลายเป็นแหล่งกำเนิดเสียงเพลงซึ่งมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ อันเกินกว่าขอบเขตที่จะสามารถจินตนาการได้ ลองคิดดูเล่นๆนะครับว่าจะดีแค่ไหน ที่อัลบั้มสุดโปรดหลายร้อยหลายพันอัลบั้ม บรรจุเพลงอยู่นับพันนับหมื่นรายการ อัดแน่นอยู่ในคอมพิวเตอร์โน้ตบุคขนาดพกพาเล็กๆเพียงตัวเดียวเท่านั้น เปรียบเทียบกับการสะสมซีดีเอาไว้ในชั้นวางขนาดมหึมา ซึ่งอาจจะหล่นลงมาทับตัวคุณจนหายใจไม่ออก ในสักวันใดสักวันหนึ่งก็ไม่อาจรู้ แถมยิ่งไปกว่านั้น ยังทำให้สามารถเล่นเพลงในฟอแมท Hi-Res ซึ่งมีความละเอียดและจำนวนข้อมูลทางดิจิตอลที่เหนือชั้นกว่าแผ่นซีดีอยู่หลายขุมนัก โดยผมมีความเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าหากท่านใดได้สัมผัสกับเสียงเพลงดีๆจากไฟล์ Hi-Res มาแล้วสักครั้งหนึ่ง รับรองได้ว่าย่อมลืมไม่ลง ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าจู่ๆจะไปหยิบ DAC บุโรทั่งจากที่ไหนมาใช้ฟังเพลงแล้วจะเกิดอาการอย่างที่ว่านี้ได้
แต่ทว่า Ayre QB-9 นั้น นับเป็นหนึ่งใน DAC ในจำนวนไม่มาก ที่หากเผลอตัวไปได้ลองฟังเสียงแล้วสักครั้ง อาจจะถึงกับทำให้คุณเกิดอาการรับประทานไม่ได้ นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย เอาแต่หลงเพ้อคร่ำครวญโหยหาในน้ำเสียงของมัน ได้ถึงหลายวันเลยทีเดียว
{A4}

 




 

Create Date : 15 กันยายน 2555    
Last Update : 24 กันยายน 2555 0:58:37 น.
Counter : 1749 Pageviews.  

รีวิว : Exposure 2010 S2 Series ซีดี+อินทิเกรทแอมป์

 

Editor : Mr.Chaiwat Jongpatanagitruang

Reviewer, Photographer, & Writer : Highfly

  

{Z} <cool>


หลังจากสองสามรีวิวที่ผ่านมา ผมได้ทดสอบซิสเต็มฟังเพลงในระดับปลายมิดเอนด์ ไล่ไปจนถึงเริ่มต้นไฮเอนด์อย่างสนุกสนานจนหนำใจแล้ว (whistling) กลัวว่าเดี๋ยวนักเล่นเครื่องเสียงหลายๆท่านจะน้อยใจและมองค้อนเอาได้ ผมจึงพยายามมองหาชุดสองแชนแนลในสนนราคาระดับกลางๆที่น่าสนใจ มาทดสอบและทำรีวิวให้ได้อ่านเพื่อพิจารณาเป็นทางเลือกกันบ้าง โดยเฉพาะสำหรับท่านที่อยู่ในช่วงกำลังตัดสินใจเลือกซื้อ-เลือกหาชุดแอมป์ฟังเพลงมาประจำการไว้สักชุด ในงบประมาณที่ไม่ถึงกับแรงจนเกินไป และสามารถถ่ายทอดสุ้มเสียงของความเป็นดนตรีออกมาได้อย่างเต็มภาคภูมิ
{ho}

เอาล่ะครับ ชุดซิสเต็มที่ผมกำลังจะกล่าวถึงนั้น ไม่ใช่แบรนด์ใหม่ล่าสุดเกินที่จะคาดเดาแต่อย่างใด แบรนด์ที่จะกล่าวถึงนี้ ถือได้ว่าเป็นสินค้าสัญชาติอังกฤษแท้ๆ นามว่า Exposure นั่นเอง โดยกาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีทีมงานท่านหนึ่ง (คุณ อ. นามสมมติ) ได้ทำการรีวิวทดสอบในรุ่น 3010 S2 ไปแล้วอย่างดุเด็ดเผ็ดมันถึงพริกถึงขิงกันเลยทีเดียว มาในคราวนี้ จึงถือได้ว่าเป็นหน้าที่ของผมที่่จะทำการทดสอบในรุ่น 2010 S2 ดูบ้าง และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปดูข้อมูลเชิงเทคนิคกันก่อนเลยดีกว่าครับ ว่าใน CD Player กับ Integrated Amplifier ของรุ่น 2010 S2 นี้มีอะไรมาให้พวกเราบ้าง
#Think#

 

<<อ่านต่อ>>




 

Create Date : 08 กันยายน 2555    
Last Update : 15 กันยายน 2555 22:00:41 น.
Counter : 4503 Pageviews.  

รีวิว : Octave V 40 SE ปฐมบทแห่งสุนทรียศาสตร์ทางดนตรี

 

Editor : Mr.Chaiwat Jongpatanagitruang

Reviewer, Photographer, & Writer : Highfly

 

 

คงเป็นที่ใฝ่ฝัน...และได้แต่ฝันใฝ่สำหรับนักเล่นฯหนุ่มใหญ่ ผู้ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการเครื่องเสียงระดับปลายมิดเอนด์-ต้นไฮเอนด์มานับหลายปี ว่าที่สุดของชีวิตนี้ขอให้ได้สัมผัสน้ำเสียงสุดยอดอันเป็นที่เลื่องชื่อลือนามของแอมป์หลอดสักครั้ง ยิ่งไปกว่านั้นคือการได้เป็นเจ้าของมันสักเครื่อง โดยนัยยะหนึ่งก็เสมือนว่าเป็นการพิชิตสิ่งอันเป็นสุดยอด ซึ่งได้เฝ้ารอคอยและถวิลหามาเป็นเวลานานแสนนาน แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่สามารถตัดสินใจเลือกรุ่น-เลือกยี่ห้อได้เสียที เนื่องจากคราใดที่ไปขอทดลองฟังตามสำนักต่างๆ บากหน้าไปร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำจนถ้วนทั่วทุกแห่งหนก็ยังคงมืดมนไม่ได้ความ เพราะเสียงเบสที่อวบอืดอื้ออึงนั้นมันตามหลอกหลอนไปเสียทุกที่ อย่างเสียงกลางที่อิ่มๆใหญ่ๆก็ไม่ต่างกัน ฟังผาดแรกๆก็รู้สึกว่านุ่มนวลน่าประทับใจดีอยู่หรอก แต่พอฟังไปนานๆมันยิ่งผะอืดผะอมราวกับรับประทานขนมปังทาเนยถั่วอย่างนั้นแหละ ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ก็ไม่ได้เพ้อฝันเป็นตุเป็นตะมาจากไหน แท้จริงแล้วเป็นประสบการณ์ส่วนตัวจากผู้เขียนเองล้วนๆ แล้วก็ขอสรุปแบบเออออห่อหมกเอาเลยว่าท่านอื่นๆก็คงเกิดอาการอย่างที่ว่าด้วยเหมือนกัน

(ไม่มากก็น้อยล่ะน่า...)

{ho}


ทว่าสรวงสวรรค์นั้นท่านยังมีตา จึงได้ประทาน Mr.Hoffman ลงมาสู่โลกมนุษย์และดลบันดาลให้ก่อเกิดแบรนด์ Octave ขึ้นมาตั้งแต่ในยุค ค.ศ.1968 และในที่สุดแล้วก็น่าจะเป็นเพราะ"ห้างปิยะนัสฯ"ในปี ค.ศ.2012 นี้เอง ผู้ที่ซึ่งทำให้แอมป์หลอดดีๆ เสียงเปิดกระจ่าง รายละเอียดระยิบระยับ ฟังแล้วเกิดความรู้สึกสว่างไสว ได้เป็นที่รู้จักแก่หูนักเล่นชาวไทยกันเสียที

ด้วยศาสตร์ทางวิศวกรรมอิเล็คทรอนิคส์ ผนวกรวมเข้ากับความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในสุนทรียภาพทางดนตรี วัสดุที่ล้วนถูกคัดเกรดเลือกเฟ้นมาเป็นอย่างดีและพิถีพิถัน จึงทำให้เกิดปฐมบทแห่งอินทิเกรทแอมป์รุ่นเล็กอันเรียบง่าย แต่ได้รับความเอาใจใส่ในทุกๆกระบวนการตั้งแต่ช่วงวางแผนงานไปจนถึงการผลิต และในที่สุดแล้วก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในนาม Octave V 40 SE เพื่อนักเล่นผู้พิศมัยในสัมผัสแรกอันหวานฉ่ำของความเป็นไฮเอนด์อย่างสมบูรณ์แบบ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับออดิโอไฟล์ทุกๆท่านนั่นเอง


ใน Octave V 40 SE ตัวล่าสุดนี้ ถูกออกแบบให้มีภาคอินพุทถึง 5 ช่อง รวมกับ Pre-Out และ Main In อีกอย่างละหนึ่งด้วยกัน วงจรขยายสัญญาณประกอบด้วย Line Stage Preamp และภาคขยายกำลังแบบ Push-Pull ด้วยหลอดแบบ Penthode เบอร์ EL 34 แชนแนลละสองตัว หรือที่รู้จักกันในชื่อของวงจรขยายแบบคลาส AB จึงทำให้หมดห่วงคลายกังวลได้เลย ว่าจะไม่มีความร้อนสะสมจนราวกับว่าเอาเตาทำความร้อนมาตั้งอยู่ในห้องแต่อย่างใด และนอกจากนี้วงจรขยายในคลาส AB นี้ ยังถือว่ามีกำลังขับที่เหนือชั้นกว่าแอมป์ในแบบดั้งเดิมด้วย โดยสามารถสังเกตุได้จากชื่อรุ่น V 40 SE ซึ่งทำให้เป็นที่เข้าใจได้โดยง่ายดาย ว่าแอมป์หลอดแท้ๆเครื่องนี้จะมีกำลังขับมากถึง 40W ต่อแชนแนลเลยทีเดียว ยิ่งไปกว่านั้น V 40 SE ยังถูกออกแบบให้มีระบบ Eco-Mode คือการสแตนบายตัวเองเมื่อตรวจพบว่าไม่มีสัญญาณอินพุทเข้ามา ถือเป็นการช่วยชาติประหยัดไฟ ลดโลกร้อนไปได้อีกทางหนึ่ง และในส่วนของระบบป้องกันการลัดวงจรที่ขั้วลำโพงนั้น ใน Octave รุ่นนี้ก็มีมาให้เช่นกัน โดยเครื่องจะตัดการทำงานอย่างฉับพลันเมื่อพบความผิดปกติขึ้นโดยทันท่วงที
<L> <cool>



และด้วยเสป็คฯเดิมๆของเครื่องนั้น ถูกออกแบบให้รองรับกับลำโพงหลากหลายขนาด ว่ากันตั้งแต่ 4-16 โอห์มเลยทีเดียว ซึ่งก็ถือว่าครอบคลุมมากแล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากเจอลำโพงที่ขึ้นชื่อว่าหินกว่านั้น Octave V 40 SE ก็ยังไม่หวั่น ด้วยออพชั่นเสริม ซึ่งได้แก่ Black Box และ Super Black Box ซึ่งจะทำการเพิ่มขุมกำลังสำรองของภาคจ่ายไฟให้มากยิ่งขึ้น ขยายขอบเขตความสามารถจากเดิมให้รองรับกับลำโพงซึ่งมีความต้านทานเฉลี่ยต่ำสุดถึง 2 โอห์ม การใช้งานก็ง่ายแสนง่าย เพียงนำสายจาก Black Box หรือ Super Black Box ต่อเข้ากับช่องทางด้านหลังของอินทิเกรทแอมป์ (ขณะปิดเครื่อง) ก็เป็นอันว่าเรียบร้อย
8)

<<คลิกที่นี่เพื่ออ่านต่อ>>




 

Create Date : 18 สิงหาคม 2555    
Last Update : 28 สิงหาคม 2555 20:25:01 น.
Counter : 2295 Pageviews.  

รีวิว : Cambridge Audio Azur 851 Series ความงดงามล้ำสมัย

Editor : Mr.Chaiwat Jongpatanagitruang

Reviewer, Photographer, & Writer : Highfly

 

 

หากท่านผู้อ่านทั้งหลายยังพอจะจำกันได้ ในรีวิวเปิดตัวฉบับแรกของผมที่เขียนให้แก่ทางปิยะนัสฯนั้น ผมได้เขียนรีวิวเกี่ยวกับชุดซิสเต็มฟังเพลงแบบ 2 แชนแนล ซึ่งก็ได้แก่ Cambridge Audio 651 Series ที่ให้สุ้มเสียงระดับไฮเอนด์อย่างสูงส่ง แต่สวนทางกับราคาอันสุดแสนจะประหยัดนั่นเอง และในครั้งนี้ ผมรู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมาก เมื่อทราบว่าจะได้ทำการทดสอบชุดซิสเต็มฟังเพลงกับ Cambridge Audio อีกครั้ง แถมยังเป็นรุ่นที่กล่าวได้ว่าเป็นตัว Top ล่าสุดในตอนนี้เลยก็ว่าได้ นี่ยิ่งทำให้ผมเกิดอาการรับประทานไม่ได้นอนไม่หลับมากขึ้นไปอีก เพียงแค่เริ่มต้นหาข้อมูลและรีวิวจากหลากหลายสำนัก ได้เห็นทั้งรูปทั้งข้อมูลต่างๆ ก็เล่นเอาหัวใจชักเริ่มจะสั่นๆเสียแล้ว เอาล่ะครับ ไม่ต้องพูดพล่ามหรือเท้าความอะไรให้มันมากเรื่อง เดี๋ยวจะเป็นการเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ผมว่าเรามาทำความรู้จักความสามารถต่างๆของ 851 Series คู่นี้กันเลยดีกว่าครับ



เริ่มต้นที่ 851C ซึ่งเป็น CD-Player รุ่นใหญ่สุด ณ เวลานี้ของ Cambridge Audio จุดเด่นหลักๆของเครื่องเล่นซีดีรุ่นนี้ ได้แก่การมีช่องอินพุทมากมายให้เราเลือกต่อใช้งานตามความพอใจ โดยจะเน้นไปทาง Digital Input หลากหลายรูปแบบ เช่น USB, Coaxial, Optical, Balanced เบ็ดเสร็จนับรวมได้ถึง 6 ช่องต่อด้วยกัน จากนั้นจะรับสัญญาณเข้าไปประมวลผลโดยชิป AD1955 24-Bit DACs โดยแยกการทำงานระหว่างแชนแนลซ้าย-ขวาอย่างอิสระ และเพื่อให้น้ำเสียงมีความไพเราะละเอียดละเมียดละไมไปให้ถึงขีดสุด วงจรประมวลผลจะทำหน้าที่ในการ Upsampling ให้สูงขึ้นไปถึง 384kHz ก่อนที่จะปล่อยเป็นสัญญาณ Analog Output ออกมา


ในฝั่งของสัญญาณเอาพุท ก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน ทางผู้ผลิตได้ออกแบบให้มีสัญญาณขาออกหลากหลายรูปแบบด้วยกัน อันได้แก่ Analog Output ทั้งแบบ RCA และ Balanced หรือ Digital Output ในแบบ S/P DIF Coaxial, Optical, หรือแม้กระทั่งแบบ Balanced ทาง Cambridge Audio ก็จัดมาให้อย่างครบครันชนิดไม่ไว้หน้าคู่แข่งกันเลยทีเดียว
{Z}

และสำหรับ 851A ซึ่งเป็นอินทิเกรทแอมป์รุ่นบิ๊ก อย่างที่ทราบกันดีว่า Cambridge Audio มีความใส่ใจในด้านการออกแบบ ดังจะเห็นได้ตั้งแต่ในเครื่องรุ่นเล็กไปจนถึงรุ่นใหญ่ที่สุด ตัวอย่างหนึ่งที่สามารถสังเกตุเห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือการที่ผู้ผลิตได้เลือกใช้หม้อแปลงแบบเทอรอยด์ในทุกๆรุ่น และยิ่งถ้าหากเป็นรุ่น 851A แล้วด้วยนั้น เราจะเห็นหม้อแปลงตัวเขื่อง มีขนาดใหญ่ชนิดที่ว่าไม่ต้องเกรงอกเกรงใจกันไปเลย



และในส่วนของระบบ Protection นั้น ขอบอกว่าหายห่วง เพราะทางผู้ผลิตก็ยังคงบรรจงจัดมาให้แบบไม่ยั้ง ด้วยฟังก์ชัน DC Detection, Over temperature detection, Overvoltage/overcurrent detection, Short circuit detection, และ Intelligent clipping detection ทั้งหมดนี้ จึงสามารถวางใจหายห่วงเรื่องความเสียหายอันเกิดจากขั้วต่อลำโพงที่เชื่อมต่อไม่เข้าที่ ปลายสายแตะกัน หรืออื่นๆ ได้อย่างเต็มที่ 1000%
<38098>

 

<<อ่านต่อ>>




 

Create Date : 13 สิงหาคม 2555    
Last Update : 18 สิงหาคม 2555 18:34:10 น.
Counter : 5233 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  

highfly
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add highfly's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.