Group Blog
 
All Blogs
 

Focal Aria 906 บันไดขั้นแรกสู่ไฮเอนด์

สำหรับสินค้าในไลน์ Aria 900 ซึ่งเพิ่งได้เปิดตัวมาเมื่อเร็วๆนี้ นับได้ว่าเป็นรุ่นสินค้าที่สร้างความฮือฮาเป็นอย่างมากในวงการเครื่องเสียง ถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของ Focal JM Labs เลยก็ว่าได้ ด้วยน้ำเสียงที่มีความละเมียดละไมและอัดแน่นด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงกว่าเดิม


     และเฉกเช่นกับลำโพง Focal ในรุ่นก่อนๆ ในลำโพงรุ่นใหม่นี้ยังคงได้รับการออกแบบและผลิตในประเทศฝรั่งเศส (Made in France) โดยไดรเวอร์ในรุ่นนี้ จะได้รับการออกแบบขึ้นมาด้วยเทคนิค Flax Sandwich Cones ส่วนทวีตเตอร์จะเป็นแบบ TNF Aluminium/Magnesium inverted dome แถมท้ายด้วยวงจรภาคครอสโอเวอร์ซึ่งถูกออกแบบใหม่ทั้งหมดอย่างพิถีพิถัน


     สินค้าในไลน์ Aria 900 ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยลำโพงวางพื้น วางหิ้ง และเซนเตอร์ ล้วนถูกออกแบบขึ้นมาให้เข้ากับชุดซิสเต็มทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นชุดโฮมเธียเตอร์มัลติแชนแนล หรือชุดฟังเพลงระดับกลาง อย่างสองแชนแนลก็ได้เช่นกัน

และสำหรับในรุ่น Aria 906 ซึ่งจะพูดถึงในรีวิวฉบับนี้ เป็นลำโพงวางหิ้ง (Bookshelf) แบบสองทาง ซึ่งการออกแบบก็ยังคงยึดหลักการโครงสร้างและวัสดุเดียวกันกับลำโพงในรุ่นวางพื้นตัวอื่นๆ โดย Aria 906 ตัวนี้ ทางผู้ผลิตได้แนะนำว่าหากนำไปใช้กับชุดฟังเพลงสองแชนแนล ห้องที่เหมาะสมควรมีขนาดประมาณ 15 ตารางเมตร และมีระยะจากจุดนั่งฟังไปถึงตัวลำโพงที่ราวๆ 2.5 เมตร จึงจะเปล่งประสิทธิภาพและสุ้มเสียงที่ดีที่สุดออกมา ซึ่งเท็จจริงจะเป็นอย่างไรนั้น เรามาทดสอบฟังกันดูเลยดีกว่าครับ

~G~




 

Create Date : 22 สิงหาคม 2557    
Last Update : 22 สิงหาคม 2557 12:25:56 น.
Counter : 2910 Pageviews.  

รีวิว : ชุดฟังเพลง Ayre CX-7e MP + AX-7e ไฮเอนด์วิถีอเมริกัน

Editor : Mr.Chaiwat Jongpatanagitruang

Reviewer, Photographer, & Writer : Highfly

 

1136ในบางครั้งของช่วงเวลาที่ว่างจากการงาน และเรื่องราววุ่นวายทั้งหลายแหล่ในชีวิตประจำวัน ผมลองไล่เรียงรีวิวของตัวเองที่ผ่านมาในอดีต ซึ่งถ้าพูดถึงเฉพาะอินทิเกรทแอมป์ระดับไฮเอนด์แล้ว ก็ดูเหมือนว่าจะเคยได้ลอง ได้สัมผัส กับแอมป์หลากหลายยี่ห้อด้วยกัน ทั้งจากทางฝั่งประเทศอังกฤษ และ เยอรมัน เสียเป็นส่วนใหญ่ ลองนั่งนึก นอนนึก ตีลังกา หกคะเมน อยู่เสียตั้งนาน ก็ยังนึกไม่ออกว่าถ้าอยากจะเล่นแอมป์อเมริกันแท้ๆ เสียงดีๆสักตัว ควรจะเลือกยี่ห้อไหนดี จนมาวันหนึ่งคุณชัยวัฒน์ได้ชี้ทางสว่าง ให้เกิดความกระจ่างขึ้นที่กลางหัวใจ โดยแนะนำให้ผมมาลองฟังและทดสอบชุดฟังเพลง ของ Ayre ซึ่งเป็นยี่ห้อที่เคยสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ Ayre QB-9 ออกมา จนเลื่องชื่อลือชา กระฉ่อนไปถึงสิบหกชั้นฟ้าสิบห้าชั้นดินมาแล้วนั่นเอง

{Z} {Z} {Z}

และในชุดฟังเพลงที่ผมจะทำการรีวิวในครั้งนี้ จะประกอบด้วยเครื่องเล่นซีดีรุ่น CX-7eMP และอินทิเกรทแอมป์รุ่น AX-7e โดยผมคาดว่าการเล่นเครื่องเสียงแบบ 2 แชนแนล ด้วยอุปกรณ์หลักเพียงสองชิ้นแบบนี้ น่าจะได้รับความนิยมจากผู้คนในยุคปัจจุบันพอสมควร ทั้งนี้ก็เนื่องด้วยเพราะว่าไม่เปลืองเนื้อที่ในการจัดวางมากจนเกินไป แถมยังสามารถถ่ายทอดสุ้มเสียงออกมาได้อย่างไพเราะ สมศักดิ์ศรีความเป็นไฮเอนด์และไม่น้อยหน้าไปกว่าการเล่นแยกชิ้นอย่างเต็มรูปแบบสักเท่าไรนัก

และก่อนที่ผมจะฝอยเสียจนทุกท่านหลับ >:( เอาเป็นว่าเรามาดูเสป็คคร่าวๆ ของทั้งเครื่องเล่นซีดี และ อินทิเกรทแอมป์เซ็ทนี้กันเลยดีกว่า ว่าจะพกพาความสามารถหรือจุดเด่นอะไร มาให้ผู้ใช้งานอย่างพวกเราประทับใจกันได้บ้าง หากทุกท่านพร้อมแล้ว ก็อย่าได้รอช้า โปรดเร่เข้ามาติดตามอ่านกันต่อเลยดีกว่าครับ

1140 1140 1140

 

<<อ่านต่อ>>




 

Create Date : 13 พฤศจิกายน 2555    
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2555 11:30:32 น.
Counter : 2997 Pageviews.  

รีวิว : Yamaha RX-A820 , A/V Receiver คุ้มค่าคุ้มราคาที่น่าลอง

 

Editor : Mr.Chaiwat Jongpatanagitruang

Reviewer, Photographer, & Writer : Highfly

 

 

 

{!!!}


Yamaha RX-A820 ถือว่าเป็น AVR หนึ่งในซีรี่ Aventage ซึ่งถูกออกแบบมาให้มีประสิทธิภาพที่สูง และอยู่บนพื้นฐานของแนวความคิดในการที่จะทำให้ AVR รุ่นดังกล่าวนี้ มีความสามารถในการถ่ายทอดสุ้มเสียงออกมาได้อย่างยิ่งใหญ่อลังการเต็มรูปแบบ เพื่อการรับชมภาพยนตร์ภายในบ้านอย่างมีอรรถรสสูงที่สุด แถมยังสามารถใช้ฟังเพลงได้อย่างไพเราะ เที่ยงตรง ถูกต้องตามต้นฉบับที่ถูกบันทึกมา

โดยในการออกแบบนั้น ทางผู้เชี่ยวชาญของ Yamaha ยังได้คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่อาจจะส่งผลต่อเสียง และได้พินิจพิเคราะห์ในการเลือกสรรวัสดุทุกชิ้น ซึ่งมีคุณสมบัติ Anti-Resonance มาประกอบเข้าด้วยกันอย่างพิถีพิถัน จากนั้นจึงปรับจูนทุกส่วนให้มีการทำงานที่สอดประสานสัมพันธ์กัน ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ก็เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการที่จะทำให้ RX-A820 มีความสามารถต่างๆ เพื่อให้ผู้ฟังมีประสบการณ์ความเพลิดเพลินกับความบันเทิงในทุกๆด้านได้อย่างแท้จริง เทียบเท่ากับมาตรฐานของอุปกรณ์เครื่องเสียงระดับสตูดิโอ แต่มีสนนราคาที่ย่อมเยาว์จนต้องจับตามอง

1143


และก่อนที่จะเริ่มการทดสอบ ผมได้ลองศึกษาข้อมูลต่างๆ ของ Yamaha RX-A820 ตัวนี้มากขึ้น ก็พบว่าทางผู้ผลิตได้คัดสรร Feature และฟังก์ชันต่างๆ มาให้เลือกใช้งานอย่างมากมาย เพราะฉะนั้นแล้ว เดี๋ยวเราจะลองมาดูกันก่อนครับ ว่าจุดเด่นที่สำคัญของ AVR รุ่นนี้ จะมีอะไรดีๆ เป็นทีเด็ดมามอบให้แก่พวกเราบ้าง...
8)

 

<<อ่านต่อ>>




 

Create Date : 30 ตุลาคม 2555    
Last Update : 30 ตุลาคม 2555 21:35:49 น.
Counter : 4132 Pageviews.  

รีวิว : สายลำโพง InAkustik LS 803 1203 และ 1603 สำเนียงที่ลื่นไหลในสไตล์เยอรมัน

Editor : Mr.Chaiwat Jongpatanagitruang

Reviewer, Photographer, & Writer : Highfly

สำหรับรีวิวฉบับนี้ ถือได้ว่าเป็นภาคต่อจากคราวที่แล้ว (คลิกที่นี่) ซึ่งผมได้รีวิวสาย Interconnect ของ In-Akustik เอาไว้ ในซีรี่ที่มีชื่อว่า “Referenz” ทั้งสามรุ่น อันได้แก่ 803, 1203, และ 1603 โดยหากอ้างอิงจากความรู้สึกโดยส่วนตัวแล้ว ผมมีความเชื่ออยู่ลึกๆว่า หลายๆท่านน่าจะกำลังให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์ที่เป็นแบรนด์”เยอรมัน”แท้ๆตัวนี้ {hot} กันอยู่พอสมควรเลยทีเดียว ดังนั้นเพื่อให้ครบสูตร ผมจึงอยากจะลองทดสอบสายลำโพงในซีรี่เดียวกันนี้ เพื่อให้เป็นแนวทางแก่ท่านผู้อ่านทั้งหลายดูบ้าง โดยถ้าหากว่าท่านใดอยู่ในช่วงระหว่างการตัดสินใจ ก็จะได้นำข้อมูลดังกล่าวนี้ไปใช้ประกอบการพิจารณา และจัดงบประมาณที่เหมาะสม ให้แล้วเสร็จในคราวเดียวกันไปเลย

~G~




สายลำโพง In-Akustik ที่ผมจะทดสอบและรีวิวในครั้งนี้ จัดว่าเป็นสายที่อยู่ใน Referenz Series ซึ่งตัวที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน จะมีอยู่ทั้งหมด 3 รุ่นด้วยกัน ได้แก่ LS-803, LS-1203, และ LS-1603 การออกแบบอยู่บนพื้นฐานความคิดที่ว่าสายที่มีตัวนำแบบแกนเดี่ยวนั้น ยิ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่มาก ก็จะยิ่งไม่สามารถถ่ายทอดสัญญาณเสียงออกมาได้อย่างเท่าเทียมกันทุกความถี่ อันเนื่องมาจากเหตุผลที่ว่ากระแสไฟฟ้าจะเคลื่อนที่อยู่เฉพาะพื้นผิวด้านนอก รอบๆเส้นผ่าศูนย์กลางเสียเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่สัญญาณความถี่สูงๆนั้น จะเคลื่อนที่เป็นกระแสที่ไหลวน ปั่นป่วน อยู่ภายในพื้นผิวที่ลึกลงไป ทำให้สัญญาณในย่านดังกล่าวนี้ เคลื่อนที่ได้ช้ากว่าความถี่อื่นๆ และถูกลดทอนจนน้อยลง หรืออาจสลายไปในที่สุด ซึ่งผลลัพธ์ที่เราสามารถสังเกตุได้ชัดเจนที่สุดนั้น ก็คือเสียงแหลมจะมีประกายที่ไม่เป็นธรรมชาติ มีบางส่วนที่ขาดๆเกินๆ หรือหุบห้วนน้อยกว่าความเป็นจริงนั่นเอง

<<อ่านต่อ>>




 

Create Date : 21 ตุลาคม 2555    
Last Update : 30 ตุลาคม 2555 21:31:49 น.
Counter : 3024 Pageviews.  

รีวิว : สายสัญญาณ InAkustik นวัตกรรมล้ำเลิศจากเยอรมัน (NF-803, NF-1203, NF-1603)

 

Editor : Mr.Chaiwat Jongpatanagitruang

Reviewer, Photographer, & Writer : Highfly

 

 

มีบ้างไหมครับ ที่นักเล่นเครื่องเสียงบางท่านจะมีความปลาบปลื้มชื่นชอบในวิศวกรรมสัญชาติ"เยอรมัน"อย่างสูงส่ง วางใจเลือกใช้แต่เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ล้วนแล้วถูกผลิตขึ้นมาจากประเทศนี้ อันเนื่องมาจากความประทับใจในเทคโนโลยี การออกแบบ ความทนทาน แถมยังมีคุณภาพ-ประสิทธิภาพในการใช้งานอย่างยิ่งยวด

<38074>

หรือแม้แต่ขนาดที่ว่าบางท่านอาจจะถึงกับสู้อุตส่าห์ขับยานพาหนะคู่ใจ เช่น เมอเซเดสฯ หรือ พอร์ช ฯลฯ 1136 ไปที่โชว์รูมปิยะนัสฯ เพื่อขอทดลองฟังเสียงจากแอมป์ฯบรรลือโลก อย่าง Octave, Accustic Arts, หรือแม้แต่กระทั่งสุดยอดลำโพงดังอย่าง Isophon ฯลฯ

บางท่านที่จัดซื้อจัดหาชุดซิสเต็มเหล่านี้ไปแล้ว ก็อาจจะมีบ้างที่รู้สึกว่า"พอ" happy แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็อาจจะยังมีบางท่าน ผู้ซึ่งรักในความพิถีพิถัน พินิจพิเคราะห์ พิจารณาไปถึงในเรื่องของสาย ว่าถ้าหากใช้แบรนด์ที่เป็น"เยอรมัน"ด้วยกันแล้ว ก็คงจะเข้าที ดีอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว...

#Think#

ในวันนี้เอง ผมจึงมีความภาคภูมิใจ ใคร่ที่จะขอนำเสนอสายรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อันถูกดูแลเอาใจใส่ ตั้งแต่แรกเริ่มออกแบบ ผลิต ตรวจสอบมาตรฐาน ตลอดไปจนถึงกระบวนการแพคเกจจิ้งลงกล่องอย่างพิถีพีถัน โดยขั้นตอนที่กล่าวนั้น ล้วนได้ถูกกระทำและดำเนินการภายในประเทศเยอรมัน ทั้งหมดทั้งสิ้นร้อยเปอเซนต์ แบรนด์ที่ผมกำลังจะกล่าวถึงนั้น คงจะเป็นยี่ห้ออื่นใดไปไม่ได้ นอกเสียจาก In-Akustik นั่นเองครับ






<<อ่านต่อ>>

 




 

Create Date : 02 ตุลาคม 2555    
Last Update : 21 ตุลาคม 2555 11:44:30 น.
Counter : 3125 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  

highfly
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add highfly's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.