Group Blog
 
All Blogs
 

เทคนิคในการจด Lecture


      "เลคเชอร์ (lecture)" กับ "การเรียน" ถือเป็นของคู่กัน หากฟังอย่างเดียวแต่ไม่จด ผลคือ น้อยมากที่จะจำเนื้อหาได้หมด และอาจตกหล่นประเด็นสำคัญไป ดังนั้น การจดบันทึกจึงสำคัญ และเป็นประโยชน์เพื่อใช้ทบทวนภายหลัง สำหรับน้องใหม่ที่กำลังปรับตัวเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย 'Edutainment Zone' มีเทคนิคจดเลคเชอร์มาบอกกัน

      เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม เช่น สมุด ควรใช้ 1 เล่ม ต่อ 1 วิชา เพื่อแยกเป็นสัดส่วน ป้องกันการสับสน ปากกา อาจใช้หลายสี ไว้จดแยกสาระสำคัญของประเด็นต่างๆ

      ไม่ควรจดทุกคำพูด แต่ควรฟังให้เข้าใจก่อน จากนั้นจับใจความสำคัญแล้วค่อยบันทึกเป็นความเข้าใจของตัวเอง มี ข้อสังเกต! ว่า การจดเกือบทุกคำพูดของอาจารย์ เมื่อกลับมาทบทวน หลายคนจะไม่เข้าใจ เพราะไม่ได้ทำความเข้าใจตามไปด้วย มุ่งอยู่กับการเขียนอย่างเดียว ทำให้ไม่รู้ที่มาที่ไป

      ใช้คำย่อ-สัญลักษณ์เข้าช่วย ทำให้จดเร็วขึ้น อาจกำหนดตัวอักษรขึ้นเอง (แต่คนจดต้องเข้าใจด้วยว่าหมายถึงอะไร) ส่วนใหญ่นิยมใช้จากคำขึ้นต้นของคำนั้นๆ รวมทั้งอักษรย่อที่เป็นมาตรฐาน

      หากจดสาระสำคัญไม่ทัน ควรทำเครื่องหมายไว้ และบันทึกตามในประเด็นที่อาจารย์กำลังอธิบาย แล้วค่อยถามทีหลัง หากมัวพะวงจะทำให้จดไม่ทันทั้งหมด

      ถามอาจารย์เมื่อไม่เข้าใจ อย่าปล่อยให้ผ่านไป เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่มักบูรณาการเกี่ยวเนื่องกันหมด หากไม่เข้าใจจุดหนึ่งจะทำให้งงกับส่วนอื่นตามไปด้วย และเมื่อได้คำอธิบายแล้ว อย่าลืมหมายเหตุไว้ เวลาทบทวนจะได้เน้นย้ำเป็นพิเศษ

      ที่สำคัญ! เลคเชอร์แล้ว ต้องกลับไปทำความเข้าใจอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความฟิตสำหรับการสอบเทอมนี้กัน

ที่มา : เดลินิวส์




 

Create Date : 19 มิถุนายน 2553    
Last Update : 19 มิถุนายน 2553 22:18:22 น.
Counter : 1013 Pageviews.  

ชี้การศึกษาไทยต้องก้าวข้ามโอเน็ต

รศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวถึงการสร้างเด็กไทยสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติว่า ปัจจุบันเด็กไทยมีพื้นฐานความสามารถเทียบเท่ากับเด็กในระดับนานาชาติได้ เพราะการเรียนรู้สังคมโลกทั่วถึงเหมือนกันหมด ดังนั้นหากจะพัฒนาเด็กไทยให้ก้าวไกลมากกว่านี้รัฐควรจะวางแนวทางส่งเสริม อย่างชัดเจน ทั้งการกำหนดลักษณะผู้เรียนให้มีความเข้มแข็ง ารกระตุ้นเด็กให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยครูไม่จำเป็น ต้องสอนให้เด็กท่องจำเพียงอย่างเดียว แต่ควรให้เด็กคิดค้นหากิจกรรมสร้างผลงานให้เกิดขึ้น เพื่อไปแข่งขันกับคนอื่นได้ด้วยตนเอง

รองอธิการ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ยังมองอีกว่า การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ไม่ได้เป็นการวัดความสามารถที่แท้จริง แต่เป็นการวัดในเรื่องการเรียนหนังสือมากกว่า ซึ่งการศึกษาไทยต้องก้าวข้ามเรื่องโอเน็ตไปได้แล้ว เพราะความสามารถของเด็กที่แท้จริง คือ ความคิด ความสร้างสรรค์ที่เกิดจากตนเอง ซึ่งเราต้องพยายามผลักดันสิ่งเหล่านี้ออกมาจากตัวเด็กให้ได้

ที่มา : นสพ.เดลินิวส์




 

Create Date : 27 เมษายน 2553    
Last Update : 27 เมษายน 2553 20:30:36 น.
Counter : 154 Pageviews.  

วธ.ชงครม.อนุญาตข้าราชการบวชถวายในหลวงไม่ถือเป็นวันลา

นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากที่กรมการศาสนา (ศน.) ได้จัดทำโครงการอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ปีที่ 60 วันที่ 5 พฤษภาคม 2553 และเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษา 5 ธันวาคม 2553 ขึ้น เพื่อให้ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ได้ร่วมอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติฯพร้อมกันทั่วประเทศนั้น ตนจะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบให้ข้าราชการทุกประเภท พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ลาอุปสมบทเนื่องในโอกาสมหามงคลดังกล่าวเป็นระยะเวลา 15 วัน โดยไม่ถือเป็นวันลาและได้รับเงินเดือนตามปกติ หากได้รับความเห็นชอบแล้ว หน่วยงานราชการต่าง ๆ ก็สามารถดำเนินการได้ทันที ทั้งนี้ผู้ที่จะลาอุปสมบทจะต้องเข้าร่วมในโครงการที่ส่วนราชการจัดขึ้นตาม แนวทางที่ ศน.กำหนด หากอุปสมบทเป็นเอกเทศโดยไม่ได้เข้าร่วมโครงการจะไม่ได้รับสิทธิในการลาดัง กล่าว

ที่มา : นสพ.เดลินิวส์




 

Create Date : 27 เมษายน 2553    
Last Update : 27 เมษายน 2553 20:29:53 น.
Counter : 233 Pageviews.  

ควันหลง! งานศิลปหัตถกรรมระดับชาติ

ใครที่ไปแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ที่เมืองทองธานี 18-20 เมษายน 2553 มาบ้าง

บรรยากาศเป็นอย่างไร เล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ

  

  

ที่มาข้อมูล : moe.go.th




 

Create Date : 27 เมษายน 2553    
Last Update : 27 เมษายน 2553 20:29:14 น.
Counter : 235 Pageviews.  

สทศ.ให้ ครูในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการออกข้อสอบ O-NET สุ่มใช้ปีหน้า

นางอุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการ สทศ. เปิดเผยว่า สทศ.ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการสร้างเครื่องมือในการออกข้อสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้น พื้นฐาน (O-NET) ประจำปีการศึกษา 2553 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายให้ครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เข้าร่วมออกข้อสอบ O-NET กับ สทศ. เพื่อต้องการให้ครูในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการออกข้อสอบ ซึ่ง สพฐ.เป็นผู้คัดเลือกครูมาร่วมออกข้อสอบ 3 ระดับ คือ ป.6 ม.3 และม.6 ใน 8 กลุ่มสาระวิชา จำนวน 120 คน แต่มีครูเข้าร่วมเพียง 95 คน เนื่องจากติดธุระ ส่วนข้อสอบที่ออกจะเน้นข้อสอบที่ซับซ้อนหรือเน้นการคิดวิเคราะห์ และลักษณะข้อสอบจะมีหลายคำตอบเหมือนกับข้อสอบO-NET ที่ผ่านมา โดยในแต่ละกลุ่มสาระวิชาจะมีรูปแบบข้อสอบไม่น้อยกว่า 2 รูปแบบ

ผอ.สทศ.กล่าวอีกว่า จะให้มีคณะกรรมการกลั่นกรองข้อสอบที่ครู สพฐ.มาร่วมออกดูอีกครั้งว่าเนื้อหาถูกต้องหรือไม่ และสามารถที่จะวัดความรู้นักเรียนได้จริงหรือไม่ด้วย จากนั้นจะต้องนำไปให้คณะกรรมการตรวจความถูกต้อง จึงยังบอกไม่ได้ว่าข้อสอบที่ครูออกมานี้จะนำไปใช้ในการสอบ O-NET ครั้งต่อไปได้ทั้งหมดหรือไม่ แต่ถือว่าเป็นการเริ่มต้นของครูในโรงเรียนที่จะมาร่วมออกข้อสอบระดับชาติ

ที่มา : สยามรัฐ




 

Create Date : 27 เมษายน 2553    
Last Update : 27 เมษายน 2553 20:25:11 น.
Counter : 244 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  

DeWalt
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add DeWalt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.