เหรียญมีสองด้าน แล้วแต่คุณจะเลือกมองด้านไหน
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2549
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
2 ตุลาคม 2549
 
All Blogs
 
ผลกระทบของนโยบายการคลังด้านรายได้

นโยบายการคลังสามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน
- นโยบายด้านรายได้
- นโยบายด้านรายจ่าย
- นโยบายการชดเชยการชาดดุล
วันนี้จะมาพูดเรื่องนโยบายด้านรายได้กัน

ดังที่เคยทราบกันแล้วว่า รายได้หลักของภาครัฐ คือ ภาษีอากร ซึ่งคิดเป็นมูลค่ามากกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ภาครัฐทั้งหมด ผลของการดำเนินนโยบายการคลังด้านรายได้ จึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

จากรายได้ทั้งหมดดังกล่าวได้แบ่งเป็น
ภาษีสรรพากรประมาณร้อยละ 60
ภาษีสรรพสามิตประมาณร้อยละ 20
ภาษีศุลกากรประมาณร้อยละ 10

นอกจากรายได้ที่จัดเก็บจะอยู่ในระดับที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญแล้ว ผลกระทบของการจัดเก็บภาษีต่อระบบเศรษฐกิจยังมีความแตกต่างกันในหลายมิติ กล่าวคือ

- ภาษีสรรพากร จะเก็บภาษีโดยไม่เลือกปฏิบัติตามชนิดสินค้าหรือกลุ่มบุคคล แต่จะเก็บจากผู้เข้าข่ายเสียภาษีตามข้อกำหนด
เช่น ผู้ที่บริโภคสินค้าต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7
ผู้มีรายได้สุทธิเกินกว่า 1 แสนบาทต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาร้อยละ 10
โดยมีบทบาทหลักอยู่ที่การกระจายรายได้ของประชาชน

- ภาษีสรรพสามิต จะมีฐานการจัดเก็บภาษีอยู่บนสินค้าที่ต้องมีการควบคุมเฉพาะ หรือสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อสังคม ประชาชน หรือสิ่งแวดล้อม เช่น ภาษีสุรา ภาษียาสูบ ภาษีรถยนต์ ภาษีเครื่องใช้ไฟฟ้า ภาษีน้ำมัน
ทั้งนี้สามารถแบ่งประเภทใหญ่ๆได้ 3 ประเภทดังนี้
1. Pollution Tax เก็บกับสินค้าที่ก่อให้เกิดมลพิษ เช่น น้ำมัน
2. Sin Tax เก็บกับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม เช่น เบียร์ ไพ่ บุหรี่
3. Luxury Tax เก็บกับพวกสินค้าฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะสินค้านำเข้า

- ภาษีศุลกากร จะมีเป้าหมายในเชิงการค้าระหว่างประเทศ
เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ จากการแข่งขันจากต่างชาติที่มีศักยภาพในการผลิตสูงกว่า


ในแง่ผลกระทบในเชิงเศรษฐศาสตร์ จะแบ่งผลกระทบออกเป็น 2 ลักษณะคือ
- ภาษีทางตรง ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อพฤติกรรมของคนผ่านทางรายได้ ซึ่งจะกระทบต่อไปยังการบริโภคและการลงทุน (หรือการออม)
ภาษีที่มีผลกระทบทางตรงคือ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
การเพิ่มภาษีในส่วนนี้ จะส่งผลให้คนมีการบริโภคสินค้าน้อยลง จากการที่มีรายได้น้อยลง

- ภาษีทางอ้อม จะส่งผลกระทบโดยอ้อมต่อพฤติกรรมของคนผ่านทางด้านราคา ซึ่งทำให้มีผลต่อการตัดสินใจการบริโภคของคน
ภาษีที่มีผลกระทบทางอ้อมคือ
ภาษีสรรพากรที่เหลือทั้งหมดนอกจากภาษี 3 อย่างข้างบน
เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์
ภาษีสรรพสามิตทั้งหมด
และภาษีศุลกากรทั้งหมด
การเพิ่มภาษีในส่วนนี้ จะทำให้คนบริโภคสินค้าน้อยลง
จากการที่สินค้ามีราคาแพงขึ้น อีกทั้งยังส่งผลให้รายได้ที่แท้จริง (อำนาจซื้อ) ของคนลดลง ทำให้แม้จะมีรายได้เท่าเดิม ก็ยังซื้อสินค้าลดลงอีกด้วย

จะเห็นได้ว่า การจัดเก็บภาษีแต่ละอย่าง ส่งผลกระทบต่อประชาชน สังคม และระบบเศรษฐกิจแตกต่างกัน จำเป็นศึกษาผลกระทบต่างๆให้ดี ไม่ใช่ว่าอยากใช้เงินก็ขึ้นภาษี ทุกสิ่งทุกอย่างในระบบเศรษฐกิจมีการเชื่อมโยงกันอยู่ครับ


Create Date : 02 ตุลาคม 2549
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2549 21:34:01 น. 0 comments
Counter : 8531 Pageviews.

TheShadow
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ข่าวเศรษฐกิจไทย
ข่าวต่างประเทศ


ข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศ
ข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศ
ค้นคว้าข้อมูลทั่วไป
แหล่งเชื่อมโยงอื่นๆที่น่าสนใจ
Friends' blogs
[Add TheShadow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.